ประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล
(Effectiveness) ต่างกันอย่างไร (1)
Keywords: ประสิทธิภาพ,
ประสิทธิผล, การศึกษา, education
management, efficiency, effectiveness, drugs, ยาเสพติด
ข้อแนะนำแรก ให้ลองไปอ่านบทความของผมที่ได้เคยเรียบเรียงเอาไว้ที่
My Words ใน “ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในองค์กรการศึกษา”
ประสิทธิภาพ (Efficiency) การได้บรรลุตามประสงค์อันใกล้นั้น
จาก Wikipedia, the free
encyclopedia.
Efficiency is the capability of acting or producing effectively
with a minimum of waste expense or unnecessary effort. The term has widely
variant meanings in different disciplines. See
ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง ขีดความสามารถในการผลิตหรือให้บริการที่สามารถลดความสูญเสีย
ค่าใช้จ่าย แรงงานหรือความพยายาม คำนี้มีการใช้ในหลายๆ ศาสตร์
ประสิทธิผล (Effectiveness) การได้บรรลุสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
จาก Wikipedia, the free
encyclopedia.
Effectiveness means the capability of or success in achieving a
given goal. Contrary to efficiencythe focus of effectiveness is the achievement as
such not the resources spent so not anything that is effective has to be
efficient but anything that is efficient also has to be effective.
ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ขีดความสามารถในการบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมาย (ต่างจาก Efficiency) ประสิทธิผลไม่ได้เน้นเพียงการใช้ทรัพยากรน้อย การลดต้นทุน การลดเวลาและความยุ่งยากในการทำงาน
งานทุกอย่างที่ทำอย่างมีประสิทธิภาพ อาจไม่ได้หมายความว่าจะมีประสิทธิผล
หรือเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
การวัดประสิทธิผลมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นหลายมิติ
จะมองเพียงมิติใดมิติเดียวไม่ได้ ประสิทธิผล
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านปริมาณ (Quantity) และในเชิงคุณภาพ (Quality) และในบทความนี้จะเน้นไปที่ประสิทธิผลขององค์การ เป็นหลัก
ตัวอย่าง –
การแก้ปัญหายาเสพติดในสังคมไทย
หากคิดอย่างเน้นประสิทธิภาพ (Efficiency)
ก็จะดูได้จาก การไล่ล่าจับยาเสพติด
ซึ่งนับเป็นจำนวนเม็ดหรือมูลค่าซื้อขายในตลาดได้ หรือ การรับรักษาพยาบาลผู้ป่วย
หากรับได้มาก เพิ่มขึ้นกว่าที่ผ่านมา
ส่วนหนึ่งก็ถือว่ารัฐบาลได้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
หากคิดอย่างเน้นประสิทธิผล (Effectiveness)
จะไม่ดูเพียงการปราบหรือปรามยาเสพติดในประเทศ
แต่อาจเน้นการตัดเส้นทางยาเสพติดในเส้นทางสากล (International route) ด้วย หากจะดูแลผู้ป่วย คิดอย่างเน้นประสิทธิผล ก็ยังถือว่าเป็นการตั้งรับ
ต้องเน้นไปที่การป้องกัน (Preventive measures)
ตัดโอกาสที่เยาวชนจะเสี่ยงที่จะไปเสพยา การต้องส่งเสริมกิจกรรมไปจนถึงในครอบครัว
ให้มีภูมิต้านทาน
ประสิทธิผล ต้องทำให้เกิดผลจริง
และเป็นผลในทั้งระยะสั้นและยาว ทำให้สังคมไทยปลอดยาเสพติด
No comments:
Post a Comment