Monday, September 17, 2012

แอนดรู คาร์เนกี้ (Andrew Carnegie) จากผ้าขี้ริ้วสู่ความมั่งคั่ง


แอนดรู คาร์เนกี้ (Andrew Carnegie) จากผ้าขี้ริ้วสู่ความมั่งคั่ง

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia


ภาพ แอนดรู คาร์เนกี้ (Andrew Carnegie)

Keywords: philanthropist, ผู้มีใจกุศล, ธุรกิจ, การศึกษา, ห้องสมุด, มหาวิทยาลัย, แอนดรู คาร์เนกี้ (Andrew Carnegie)

Surplus wealth is a sacred trust which its possessor is bound to administer in his lifetime for the good of the community. - Andrew Carnegie
ความร่ำรวยที่มากล้นเป็นความรับผิดชอบอันศักดิ์สิทธิของเจ้าของ ที่จะต้องจัดการมันในชีวิตของเขา เพื่อประโยชน์ของชุมชน – แอนดรู คาร์เนกี้

แอนดรู คาร์เนกี้ (Andrew Carnegie) เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1835 เสียชีวิตในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1919 เป็นนักอุตสาหกรรมอเมริกันเชื้อสายสก๊อต ผู้ได้ขยายอุตสาหกรรมเหล็กของอเมริกาในช่วงหลังของศตวรรษที่ 19 ไปอย่างกว้างขวาง เขาจัดเป็นคนใจกุศล (philanthropists) ที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในยุคของเขา

คาร์เนกี้เกิดที่เมือง Dunfermline ในสก๊อตแลนด์ (Scotland) แล้วติดตามอพยพมาอยู่ในสหรัฐอเมริกากับพ่อแม่ของเขาในปี ค.ศ. 1848 งานแรกที่เขาทำในสหรัฐอเมริกาคือเป็นคนงานในโรงงานกระสวย (Bobbin factory) เป็นเด็กเปลี่ยนกระสวยด้วยวัยเพียง 13 ปี ในโรงงานทอผ้า ทำงานวันละ 12 ชั่วโมง 6 วันต่อสัปดาห์ ได้ค่าแรงงานสัปดาห์ละ 1.20 เหรียญ Willliam Carnegie พ่อของเขาเริ่มงานในโรงงานปั่นฝ้าย แม่ของเขา Margaret Morrison Carnegie ทำงานเย็บรองเท้า

แอนดรู คาร์เนกี้เป็นคนสนใจไฝ่รู้ มีความจำดีเลิศ เขามีความสามารถที่จะทำงานหนัก มีความอดทน และตื่นตัวที่จะหาโอกาสก้าวหน้า

ต่อมา เขาได้กลายเป็นพนักงานเรียกเก็บเงินให้กับเจ้าของกิจการ หลังจากนั้นเขาทำหน้าที่เป็นคนส่งสาร เขาได้ก้าวหน้าขึ้นมาเรื่อยๆในบริษัทไปรสณีย์ เขาได้กลายเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทด้านอุตสาหกรรมเหล็กในเมืองพิทส์เบอร์ก (Pittsburgh) ชื่อ Carnegie Steel Company ซึ่งต่อมาได้รวมกับกิจการของ Elbert H. Gary ชื่อ Federal Steel Company และได้รวมกับบริษัทผลิตเหล็กขนาดเล็กอีกหลายบริษัท กลายเป็นบริษัทชื่อ U.S. Steel

ด้วยการประสบความสำเร็จทางธุรกิจมากมาย เขาได้หันมาใช้เงินของเขาพัฒนากิจการสาธารณกุศล ดังเช่น สร้าง Carnegie Hall สถานที่แสดงดนตรีและศิลปะที่มีชื่อเสียง ต่อมาเขาได้อุทิศชีวิตให้กับงานการกุศลให้เป็นประโยชน์กับการศึกษา โดยสร้างองค์การชื่อ Carnegie Corporation of New York เพื่อเป็นมูลนิธิเพื่อสนับสนุนด้านการศึกษา, สร้างกองทุนเพื่อสันติภาพนานาชาติ ชื่อ Carnegie Endowment for International Peace, สร้างองค์กรเพื่อสนับสนุนงานวิจัย ชื่อ Carnegie Institution of Washington, สร้างมหาวิทยาลัยชื่อ Carnegie Mellon University และสร้างพิพิธภัณฑ์ชื่อ Carnegie Museums of Pittsburgh ที่เมืองพิทส์เบอร์ก ในรัฐเพนซิลเวเนีย

คาร์เนกี้บริจาคเงินเกือบทั้งหมดของเขาให้กับการจัดตั้งห้องสมุด โรงเรียน และมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา และประเทศอื่นๆ และใช้เงินกองทุนเพื่อจัดตั้งสวัสดิการให้กับคนที่เคยทำงานให้กับเขา

หากนับความสำเร็จทางธุรกิจของเขา เขาจัดเป็นคนที่รวยที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ รองจาก John D. Rockefeller มหาเศรษฐีจากกิจการน้ำมัน แต่คาร์เนกี้เริ่มกิจการของเขาจากกิจกรรมโทรเลข และในทศวรรษ 1860s เขาได้ลงทุนในกิจการรถไฟ สร้างรถตู้นอน สะพาน และแท่นขุดเจาะน้ำมัน (Oil derricks) เขาประสบความมั่งคั่งยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อเขาทำกิจการขายพันธบัตรระดมเงินเพื่อการลงทุนของชาวอเมริกันในกิจการในยุโรป

ชีวิตของคาร์เนกี้เป็นต้นแบบของความร่ำรวยจากความไม่มีอะไร ที่เรียกว่า “จากผ้าขี้ริ้วสู่ความมั่งคั่ง” ("rags to riches") และยิ่งกว่านั้น เขาเป็นต้นแบบของคนที่ใช้ความมั่งคั่งของเขาในการพัฒนาสังคมรอบตัวเขาให้ดีขึ้น

ภาษิตของแอนดรู คาร์เนกี้

ในช่วงสุดท้ายของชีวิต เขาป่วยเป็นโรคปอดบวม (Bronchial pneumonia) ก่อนเขาเสียชีวิตในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1919 คาร์เนกี้ได้บริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศล $350,695,654 และที่หลุมศพของเขามีคำเขียนที่เรียกว่า "Andrew Carnegie Dictum" ที่สะท้อนความเป็นตัวตนของเขา
·         ใช้เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตกับการได้รับการศึกษามากที่สุดเท่าที่จะทำได้
·         ใช้เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตต่อไป เพื่อการหาเงินมากเท่าที่ชีวิตจะทำได้
·         ใช้เวลา ใน ของชีวิตช่วงสุดท้าย เพื่อการให้เงินทั้งหมดกลับคืนสู่การสร้างสิ่งดีๆให้กับสังคม

ภาพ มหาวิทยาลัย ที่ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่เขา Carnegie Mellon University


ภาพ อาคารหอสมุด Carnegie Library at Syracuse University

No comments:

Post a Comment