Sunday, September 16, 2012

คนทำงานรับใช้ในบ้าน (Domestic worker)

คนทำงานรับใช้ในบ้าน (Domestic worker)

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: สังคมวิทยา, แรงงานสัมพันธ์, คนรับใช้, Domestic workers



ภาพ ในเช้าวันอาทิตย์ อันเป็นวันหยุดงานของคนทำงานบ้าน (Domestic workers) ในประเทศฮ่องกง เขาจะออกมารวมตัวกัน พูดคุย ร้องเพลง หรือมีกิจกรรมอื่นๆ

คนทำงานรับใช้ในบ้าน (Domestic worker) คือคนที่ทำงานกับนายจ้าง ในบ้านของนายจ้าง (Employer's household) ในภาษาไทยเรียก “คนรับใช้” หรือ “คนใช้” ทำงานบริการหลายอย่างให้กับบุคคลหรือครอบครัว ตั้งแต่ดูแลเด็กและผู้สูงอายุ ทำความสะอาดบ้านและดูแลรักษาบ้าน ที่เรียกกันว่า Housekeeping มีความรับผิดชอบตั้งแต่การทำอาหาร (cooking), การซักผ้า (Doing laundry) และรีดผ้า (Ironing), การไปจ่ายหาซื้อกับข้าว (Food shopping) และงานรับใช้ให้ไปทำธุระต่างๆ (Household errands)

ในปี ค.ศ. 2011 องค์การแรงงานสากล (International Labour OrganizationILO) ได้รับข้อเสนอด้านเงื่อนไขการทำงานบ้านที่ดี (Convention Concerning Decent Work for Domestic Workers) ซึ่งรวมถึงการทำงานบ้านที่ดี จากการสำรวจโดย ILO ที่กระทำในแต่ละชาติใน 117 ชาติ ได้ประมาณว่าปัจจุบันมีคนประมาณ 53 ล้านคนทั่วโลกที่ทำงานบ้านในลักษณะที่เรียกว่า Domestic workers

แต่กระนั้น ILO ก็ได้ระบุเองว่า ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่าเนื่องจากงานที่ทำนี้มีบ่อยครั้งที่เป็นงานแบบหลบซ่อนและไม่มีการลงทะเบียน คนที่ทำงานรับใช้ในบ้านจริงๆจึงอาจสูงถึง 100 ล้านคน ILO กล่าวว่า ร้อยละ 83 ของคนทำงานรับใช้ในบ้านนี้เป็นสตรี และเป็นอันมากเป็นคนงานที่ย้ายถิ่นข้ามมาจากประเทศอื่น

คนรับใช้ ในภาษาอังกฤษเดิมเรียกว่า Servant ซึ่งเป็นคำเหมือนกับ Domestic worker ถึงแม้ว่าไม่ใช่ Servants ทุกคนจะทำงานภายในบ้านของนายจ้าง


ภาพ คนทำงานบ้านชาวฟิลิปปินส์ในฮ่องกง เมื่อเขาหยุดงานในวันอาทิตย์ เขาจะมารวมตัวกันร้องเพลง เล่นดนตรีอย่างง่ายๆ


ภาพ คนทำงานบ้านชาวฟิลิปปินส์ในฮ่องกง เขาจะมีกิจกรรมการแสดง ร้องเพลง และเขาจะแสดงการร้องเพลงได้ดังมืออาชีพ


ภาพ คนทำงานบ้านชาวฟิลิปปินส์ กำลังร้องเพลงในสวนสาธารณะที่เป็นแหล่งนัดพบ ทำกิจกรรมร่วมกัน

ส่วนคนทำงานบ้านชาวอินโดนิเซีย จะนิยมไปทำงานบ้านในประเทศมาเลเซีย เนื่องด้วยพูดภาษาเดียวกัน สื่อสารกันได้ง่ายกว่า และโดยภูมิประเทศ ก็อยู่ใกล้กัน เดินทางไปมาหากันได้สะดวก

สภาพการทำงานรับใช้ในบ้าน (Domestic workers) สำหรับคนไทยแล้ว นับเป็นอาชีพที่หนุ่มๆหรือสาวๆไม่ชอบมากที่สุด มากจนกระทั่งบ้านใดที่ต้องการคนรับใช้ ก็ต้องไปใช้แรงงานจากต่างประเทศ และสำหรับนายจ้างไทยแล้ว คนที่ทำงานรับใช้ที่นิยมจ้างกันมากที่สุดมักจะเป็นกลุ่มแรงงานจากพม่า มีที่เป็นกัมพูชาก็จะมีตามบริเวณชายแดนไทยกัมพูชา และทำงานเป็นแรงงานในลักษณะอื่นๆ

ในประเทศฮ่องกง แรงงานต่างชาติที่เข้าไปทำงานเป็น Domestic workers มากที่สุดจะเป็นพวกคนงานจากฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ซึ่งมักจะต้องเป็นพวกที่พูดภาษาอังกฤษได้ดี ส่วนคนไทยนั้นจะมีปัญหาด้านการสื่อสาร หากจะมีทักษะด้านภาษาที่ดีแล้ว เขาจะเลือกไปทำงานในลักษณะอื่นๆ

ยุคคนรับใช้ขาดแคลน

อย่างไรก็ตาม หญิงไทยไม่นิยมไปค้าแรงงานในต่างประเทศ เหมือนกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆในอาเซียน เพราะแรงงานในประเทศไทยเองก็ขาดแคลน ต้องใช้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าและกัมพูชาเป็นจำนวนหลายล้านคนอยู่แล้ว

เมื่อแรงงานที่จะทำหน้าที่เป็นคนรับใช้ตามบ้านของไทยขาดแคลน อาชีพใหม่คือรับจ้างทำงานบ้านแบบ 1 คนทำงานหลายบ้าน เช่นบ้านละ 2 วัน ทำงาน 3 บ้าน และทำเฉพาะงานเก็บกวาด ทำความสะอาด รวบรวมเสื้อผ้าไปซักและรีด ส่วนงานทำกับข้าวนั้น เจ้าของบ้านต้องไปดำเนินการเอง ดังนี้เป็นต้น การทำงานในแบบนี้คนทำงานจะได้รายได้เป็นรายวัน เช่นวันละ 400-500 บาท กินอยู่เอง เดือนหนึ่งอาจมีรายได้ที่ 12,000 บาท ซึ่งก็เป็นทางเลือกหนึ่งของคนทำงานบ้าน

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่รับทำงานบ้านแบบอยู่บ้านเดียวเลยนั้น ก็ไม่ใช่จะไม่ดี เพราะเมื่อแรงงานขาดแคลน นายจ้างก็ต้องโอนอ่อนให้คนทำงาน โดยแต่ละคนทำงานบ้านแต่ละคนจะต้องรู้จักเจรจากับนายจ้าง บางรายตกลงรับเงินค่าจ้างเป็นรายเดือน มีวันหยุดเพียงเดือนละ 1 วัน แต่ว่าช่วงทำนา ขอต้องกลับไปทำนาที่บ้านเป็นช่วงๆ รวมแล้ว 40-50 วันต่อปี ดังนี้ก็มี

ข้อดีของการทำงานบ้านแบบนาจ้างเดียวคือ คนทำงานบ้าน รับเงินเดือนละ 6,500 บาท แต่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นใดอีก เช่น ค่าอาหาร 3 มื้อฟรี ที่พักฟรี เงินที่เหลือเดือนละ 5,000-6,000 บาท บางคนได้รับสิทธิพิเศษ สามารถเก็บสิ่งของเหลือใช้ กระดาษหนังสือพิมพ์ ถุงพลาสติก และของเหลือใช้อื่นๆขายได้ ถือเป็นรายได้พิเศษ ส่วนวันลาหยุด ขอรวบลาเป็นช่วงยาวๆ กลับไปบ้าน คนทำงานเช่นนี้ มักจะเป็นสตรีที่มีอายุสักหน่อย ส่วนเงินที่เหลือใช้ ก็นำไปลงทุนซื้อที่ดิน ปลูกบ้านที่บ้านเกิดของตนเองในต่างจังหวัด

สำหรับนายจ้างที่คุ้นเคยกับการมีคนมารับใช้มากมายเหมือนในละครโทรทัศน์จากนิยายสมัยเก่านั้น ก็ต้องทำใจ เพราะนับวัน การจะมีคนมาคอยรับใช้ให้บริการนั้นจะเหลือน้อยลงทุกที สำหรับคนที่สูงอายุขึ้นเรื่อยๆ และต้องการคนที่จะช่วยดูแลยามแก่ชรา ก็ต้องคิดวิธีการสร้างชุมชนคนสูงวัยที่มีคนมาช่วยดูแลในบางเรื่อง และโดยส่วนใหญ่ ก็ต้องเปลี่ยนวิถีชีวิต ต้องพยายามช่วยตัวเองให้ได้มากที่สุด ทำตนเองให้เข้มแข็ง และเบิกบานใจกับการออกกำลังกาย


No comments:

Post a Comment