เทคโนโลยีพัฒนามอเตอร์ในกงล้อ (Wheel
Motor)
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
ศึกษาและเรียบเรียงจาก “Wheel Motor
Start-up enters $10M GE Ecomagination Challenge” ใน Electric Vehicles News MONDAY, AUGUST 27,
2012
Keywords: ยานพาหนะ, รถยนต์ไฟฟ้า, electric car, hybrid car, hub motor, wheel motor,
Keywords: ยานพาหนะ, รถยนต์ไฟฟ้า, electric car, hybrid car, hub motor, wheel motor,
ภาพ ระบบมอเตอร์แทนที่จะอยู่ที่ในห้องเครื่องยนต์ตอนหน้าเดิม ก็มาอยู่อย่างอิสระในแต่ละกงล้อ เรียกว่า Wheel Motor เป็นการประหยัดพื้นที่ภายใน และน้ำหนักตัวรถลดลง
การพัฒนามอเตอร์ที่อยู่กับกงล้อ หรือ Wheel Motor ซึ่งเป็นความร่วมมือของส่วนงานของบริษัท
GE คือ Ecomagination Challenge
บริษัทนี้เป็นบริษัทในออสเตรเลียที่มีฐานะเป็นหน่วยวิจัยและพัฒนา
ทำงานเพื่อพัฒนาระบบขับเคลื่อนโดยตรง (Direct drive), ระบบเบรกอัจฉริยะ (idisc type), ระบบสอดใส่มอเตอร์ไปที่ล้อ (In-wheel
motors) สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหลาย
ระบบ Wheel motor นี้กำลังได้รับการพัฒนาอย่างเร่งรีบ
เพื่อให้รถยนต์ไฟฟ้าที่จะออกสู่ตลาดในรุ่นต่อๆไปได้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด
ระบบ Wheel motor ได้มีการใช้กันในการแข่งขันพลังงานแสงอาทิตย์
(Solar racecars)
ระบบพลังงานขับเคลื่อนตรง หรือ Direct
drive จาก Wheel motors นี้จะลดการสูญเสียจากระบบทดเฟืองเกียร์ที่กว่าจะส่งพลังไปถึงล้อได้จะต้องสูญเสียประมาณร้อยละ
20-30 อันเกิดจากการเร่งเครื่องและการเบรก ระบบใหม่นี้จะทำให้พลังงานที่จะสูญไปถึงร้อยละ
80 สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
โดยทั่วไปสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกๆที่ทำ คือ
การใส่มอเตอร์เข้าไปในบริเวณที่เคยเป็นที่ของเครื่องยนต์เผาไหม้
แล้วต่อเพลาส่งกำลังต่อมาในลักษณะไม่ต่างจากรถยนต์ใช้เครื่องเผาไหม้ปกติ
แต่เทคโนโลยีที่จะพัฒนากงล้อนั้นให้เป็นมอเตอร์ไปในตัว
ทำให้รถยนต์ใช้พลังงานลดลงอาจถึงร้อยละ 50 ซึ่งก็หมายความถึงทำให้วิ่งได้ไกลขึ้นเป็นเท่าตัว
เพราะทำให้น้ำหนักตัวรถลดลง ขนาดของแบตเตอรี่ก็ลดลงเป็นเท่าตัว ทำให้ต้นทุนในการผลิตก็ลดลงไปด้วย
ระบบการทำให้กงล้อเป็นพลังขับเคลื่อนไปในตัว (Direct
drive wheel motors) ทำให้ไม่มีพลังสูญเปล่าเมื่อต้องเบรครถ
พลังที่จะไปเบรกรถนั้น ก็กลับคืนมาเป็นพลังไฟฟ้าสะสม เพื่อการใช้งานในระยะต่อไป
รถไฟฟ้าทั่วไปในรุ่นแรกๆ ต้องไปเสียพลังกับระบบเบรกแบบ
ABS ระบบควบคุมเสถียรภาพ ระบบช่วยเบรกอัตโนมัติ ไม่สามารถรวบรวมพลังของรถให้กลับมาเป็นปั่นไฟคืนได้เต็มที่
แต่เมื่อตัวมอเตอร์ที่ให้พลังงานกลับมาเป็นตัวปั่นไฟคืนโดยตรง
ก็จะทำงานได้อย่างเต็มที่
บริษัท GE's Australia & New Zealand
ซึ่งมีเป้าหมายที่การทำงานด้านลดการเผาผลาญที่ไม่จำเป็น (Low
Carbon ecomagination Challenge) ได้ทดลองรูปแบบธุรกิจที่ซึ่ง
ผู้ประกอบการ นักนวตกรรม
และนักศึกษาได้มาร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าจะสามารถลดการเผาผลาญคาร์บอนได้อย่างไร
โดยมีเงินรางวัล $500,000 เป็นแรงจูงใจ และโอกาสลงทุนต่อไปจนถึงระดับ $10 ล้านจากบริษัท GE และหุ้นส่วนของเขา
ส่วนบริษัท GE (General Electric) ได้ร่วมทีมกับบริษัทผู้ลงทุนทั้งในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งรวมถึง Cleantech
Ventures, CVC Limited, Greenhouse Cleantech, MH Carnegie & Co และ Southern Cross Venture Partners
เพื่อช่วยสนับสนุนโครงการดีๆที่เกิดขึ้น
ข้อมูลจาก GE Ecomagination
No comments:
Post a Comment