Monday, September 17, 2012

วิสัยทัศน์รถไฟความเร็วสูงในอเมริกา


วิสัยทัศน์รถไฟความเร็วสูงในอเมริกา

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: USA, สหรัฐอเมริกา, รถไฟความเร็วสูง, high speed rail, HSR, High Speed Train, พลังงาน, การคมนาคม

US HIGH SPEED RAIL ASSOCIATION - 21st Century Transportation for America

สหรัฐอเมริกาจัดได้ว่าเป็นชาติที่มีวิทยาการด้านต่างๆก้าวหน้าที่สุดในโลก แต่สภาพวิกฤติเศรษฐกิจดังที่ได้ประสบมาในช่วง 10 ปีหลังนี้ ทำให้ต้องมีการกลับมาคิดใหม่ว่า สหรัฐจะเดินหน้าไปทางไหน และประเทศนี้จะเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสได้อย่างไร


ภาพ รถไฟความเร็วสูงในประเทศจีน ซึ่งหลายส่วนในอเมริกาเห็นว่าน่าจะเป็นตัวอย่างของการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการคมนาคมยุคใหม่


ภาพ ระบบรถไฟความเร็วสูงในประเทศจีน

สิ่งหนึ่งอยู่ในนโยบายของรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า คือการหันมาพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง ซึ่งสามารถติดตามได้จากข้อเขียนต่อไปนี้

นโยบายของสมาคมรถไฟความเร็วสูงของสหรัฐอเมริกา หรือที่เรียกว่า US HIGH SPEED RAIL ASSOCIATION (USHSR) ซึ่งเป็นการรวมตัวของนักวิชาการ นักเทคนิควิทยา ระบบอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์สนับสนุนการริเริ่มด้านรถไฟความเร็วสูงในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งต้องยอมรับว่า อเมริกาเป็นชาติที่มีคนเคลื่อนย้ายมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่การเดินทางของคนอเมริกันส่วนใหญ่จะใช้ถนน และใช้ยานพาหนะประเภทรถยนต์ส่วนตัวค่อนข้างมาก และใช้การเดินทางโดยเครื่องบินในระยะกลางและระยะยาว ซึ่งการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานและขาดประสิทธิภาพในการเดินทาง เป็นการสวนทางกับปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อมโลกที่กำลังดำรงอยู่


ภาพ แผนที่ระบบเครือข่ายรถไฟความเร็วสูง ที่จะมี 4 ระยะ (Phases) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 จนถึงระยะที่ 4 เสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2050



ภาพ แผนที่โครงข่ายรถไฟฟ้าความเร็วสูงในสหรัฐอเมริกา ที่มีเป้าหมายเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2050

สมาคม USHSR มีวิสัยทัศน์ที่จะเสนอให้อเมริกามีทางเลือกเพื่อการเดินทางใหม่ ที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนอเมริกัน ซึ่งวิสัยทัศน์ดังกล่าวมีดังนี้

สหรัฐอเมริกามีแผนที่จะปฏิรูปการเดินทางในศตวรรษที่ 21 โดยจะสร้างรางสำหรับรถไฟความเร็วสูงความยาว 17,000 ไมล์ ที่จะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ (Phases) ที่จะเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2030 แผนนี้จะเป็นตัวเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอเมริกัน กระตุ้นระบบอุตสาหกรรม สร้างงานใหม่นับล้านๆงาน ทำให้อเมริกาลดการพึ่งพาน้ำมันที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ลดการจราจรที่ติดขัด ตัดอัตราการเผาผลาญคาร์บอน (Carbon footprint) ลงไปอย่างมาก ทำให้การพลังงานของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นไปด้วยระบบไฟฟ้า ทำให้ระบบนี้คงอยู่ได้ในระยะยาว มีค่าใช้จ่ายที่พอรับได้ และทำให้การเดินทางในอนาคตปลอดภัยยิ่งขึ้น
ในการพัฒนานี้จะให้สอดคล้องกับเขตธุรกิจใหม่ของอเมริกา ที่เรียกว่า Megaregions หรือ”เขตมหภาค” ที่แบ่งได้เป็น 10 เขต ซึ่งระบบรถไฟความเร็วสูงจะสอดคล้องกับการพัฒนาเขตธุรกิจใหม่นี้ทั่วประเทศ

สำหรับรถไฟความเร็วสูงในอเมริกาจะเน้นไปที่มาตรฐาน 220 ไมล์/ชม. หรือ 342 กิโลเมตร/ชม. เชื่อมโยงเมืองสำคัญต่างๆ และสำ หรับการเชื่อมโยงเมืองระดับเล็กลงมา จะใช้รถไฟความเร็วมาตรฐาน 176 กิโลเมตร/ชม. ซึ่งเป็นระบบที่ก็ยังเร็วกว่าทางรถยนต์อย่างระบบทางหลวงระหว่างรัฐถึงร้อยละ 50 และด้วยมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงกว่า และประหยัดพลังงานมากกว่า

ในระบบการคมนาคมของประเทศนี้ จะเป็นระบบประสมประสาน โดยมีรถไฟความเร็วสูงเป็นแกนกลาง แน่นอนว่าในการเดินทางไกลระดับ 1,000 ไมล์ขึ้นไปนั้น เครื่องบินย่อมมีประสิทธิภาพแข่งขันได้อยู่ทั้งทางด้านความรวดเร็ว และการใช้พลังงาน 

แต่สำหรับการเดินทางในระยะกลางและระยะสั้นลงมา นอกจากจะมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงแล้ว ก็จะมีรถไฟวิ่งระหว่างเมือง (Commuter rail) รถรางไฟฟ้าขนาดเบาในเมือง (Light rail) รถรางที่วิ่งในเมือง (Streetcars, trams), รถประจำทางไฟฟ้า (Electric buses) และรถจักรยาน (Bicycles)



ภาพ ระบบทางหลวงระหว่างรัฐ ที่มีวิศวกรรมการก่อสร้างที่ล้ำหน้าของยุค ทำให้ยานพาหนะสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูง โดยไม่ต้องติดสัญญาณไฟแดง


ภาพ นอกจากการใช้ Interstates เพื่อการเดินทางของคนแล้ว การขนส่งสินค้าเป็นอันมาก ก็ใช้บริการของระบบรถบรรทุกขนาดใหญ่ วิ่งบนทางหลวง จนทำให้ระบบการขนส่งโดยราง (Rail system) ขาดการสนับสนุน เพราะระบบถนนสำหรับรถยนต์และรถบรรทุกได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง และรัฐบาลรัฐ แต่สำหรับรถไฟนั้น ต้องพัฒนาระบบรางและดูแลซ่อมแซมเอง


ภาพ สัญญลักษณ์ของถนนหลวงระหว่างรัฐ หรือ Interstate

ความยุ่งยากของสหรัฐอเมริกาที่จะผลักดันให้มีระบบรถไฟความเร็วสูงนั้น ส่วนหนึ่งเพราะสหรัฐมีระบบเครือข่ายถนนอยู่ทั่วประเทศอยู่แล้ว มีระบบทางหลวงระหว่างรัฐ หรือที่เรียกว่า Interstates นับเป็นนวตกรรมของสหรัฐที่ได้แนวคิดจาก Autobahn ของประเทศเยอรมันในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ปัจจุบัน สหรัฐมีทางหลวงระหว่างรัฐความยาวถึง 75,932 กิโลเมตร จัดเป็นประเทศมีทางหลวงยาวที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากประเทศจีน จากการสำรวจ การเดินทางบนถนนทั้งหลายในแต่ละวัน มีร้อยละ 25 ที่ใช้การเดินทางโดย Interstates

หนทางที่จะทำให้เกิดการผลักดัน และมีทรัพยากรเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลง ก็คือ การต้องปรับให้มีภาษีจากน้ำมันเชื้องเพลิงเพิ่มขึ้น ภาษีรถยนต์ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น การผลักภาระให้ Interstates ทั้งหลายต้องมีการเก็บค่าผ่านทาง แล้วนำเงินหล่านี้มาสนับสนุนการพัฒนาการคมนาคมขนส่งในระบบรางเพิ่มขึ้น

No comments:

Post a Comment