Monday, September 10, 2012

การจัดลำดับความพร้อมของประเทศด้าน ICT (E-readiness)


การจัดลำดับความพร้อมของประเทศด้าน ICT (E-readiness)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: E-Readiness, ICT, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ความพร้อมทางด้าน ICT หรือ E-Readiness คือความสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นประโยชน์ต่อชาติของตนเอง

ICT เป็นคำย่อมาจาก Information & Communication Technology ในภาษาไทยใช้คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งในที่นี้จะใช้คำทับศัพท์ว่า ICT เพื่อย่นย่อและเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ในการวัดได้ใช้ดรรชนีขั้นเทียบ (Benchmarking Indices) ในระดับมหภาค อันเป็นในระดับโลกและระดับสากล ซึ่งคำนวณโดยใช้ข้อมูลจากหน่วยงาน เครือข่ายบริหารรัฐกิจแห่งสหประชาชาติ (UNPAN), ธนาคารโลก (World Bank), และหน่วยงานวิจัย Economist Intelligence Unit อันเป็นหน่วยงานธุรกิจอิสระ เน้นการทำหน้าที่สำรวจและวิจัยภายใต้เครือข่ายของ The Economist Group

เพราะการศึกษาเป็นระดับมหภาค (Macro level) ที่รวมความในวงกว้าง จึงเกี่ยวข้องกับหน่วยงานด้านต่างๆ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐบาล หน่วยงานท้องถิ่นในระดับเทศบาลหรือเมือง ((Cities, towns, etc.) ระดับบุคคล ซึ่งรวมถึง เพศหญิง บุคคลพิการ (Female, individuals with disabilities, etc.) โดยเน้นการเข้าถึงเทคโนโลยี และในการศึกษาระดับจุลภาคที่มีขั้นเทียบที่เป็นส่วนหนึ่งในการวัดความก้าวหน้าด้านคอมพิวเตอร์ย่อยต่างๆ อันได้แก่ เครือข่าย (Networking),แอพพลิเคชั่น (Applications), การเข้าถึงและความพร้อมด้านอินเตอร์เน็ต (Web-Accessibility and Readiness) ซึ่งโดยรวมเรียกว่า NAWAR
·       
  • Networking
  •   Applications
  • Web-Accessibility and Readiness


ดรรชนีความพร้อมด้าน ICT (E-Readiness Indices) ในระดับมหาภาคเป็นการจัดทำขึ้นเพื่อจัดอันดับประเทศ สนับสนุนให้มีการเปรียบเทียบระหว่างประเทศในช่วงเวลาที่ต่างกัน ดรรชนีนี้สามารถใช้เพื่อติดตามสภาวะที่ประเทศต่างๆในโลกมีความแตกต่างกันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Global digital divide) ความแตกต่างด้านการเข้าถึง ICT ของแต่ละประเทศเป็นผลมาจากรายได้และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน

NAWAR เป็นหลักของการแบ่งกลุ่มเพื่อใช้วัดการใช้งาน ICT ยกตัวอย่าง NAWAR เป็นความตระหนักในการวัดความต่างของมนุษย์ในการเข้าถึง ICT ในการใช้ ICT ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ดูว่าองค์การนั้นๆได้ใช้ระบบ ICT สนับสนุนการทำงานหรือไม่ ดังเช่น แป้นพิมพ์อักษรเบรล (Braille) สำหรับผู้พิการทางสายตา และงานพิมพ์ แป้นพิมพ์ใช้มือเดียว การมีเว็บไซท์ในการมีซอฟต์แวร์สนับสนุนการอ่านหน้าจอ และองค์การนั้นๆมีวัฒนธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green computing) หรือไม่

สำคัญยิ่งกว่านั้น คือ NAWAR จะคำนึงถึง ICT ในการใช้งานด้านพัฒนา การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับระดับของกิจกรรม การเปลี่ยนจากความพร้อมด้าน ICT ที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

การจัดลำดับความพร้อมประเทศด้าน ICT
Economist Intelligence Unit e-readiness rankings

Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/47/EIU_e-readiness_2008.svg/380px-EIU_e-readiness_2008.svg.png
ภาพ แผนที่โลกแสดงความพร้อมด้าน ICT
World map showing the e-readiness scores

การให้คะแนน กลุ่มประเทศที่ได้คะแนนสูงสุดจะอยู่ที่ช่วง 8.000-8.999 ส่วนกลุ่มที่ได้ต่ำสุดของประเทศที่มีการประเมินจะอยู่ในกลุ่ม 3.000 - 3.999 หากต่ำกว่านี้แสดงว่าประเทศเหล่านั้นยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะประเมิน

·        8.000 - 8.999
·         7.000 - 7.999
·         6.000 - 6.999
·         5.000 - 5.999
·         4.000 - 4.999
·         3.000 - 3.999
·         No Data

ในแต่ละปี มีองค์การภาคธุรกิจที่ให้ความสนใจด้านความพร้อมด้าน ICT อันได้แก่ IBM Institute for Business Value, the Economist Intelligence Unit ได้ออกมาจัดอันดับความพร้อมด้าน ICT ของแต่ละประเทศทั่วโลก โดยอาศัย 6 ฐานเสาของความพร้อมด้าน ICT (E-Readiness) อันได้แก่ การต่อเชื่อมและโครงสร้างพื้นฐาน (connectivity & technology infrastructure), สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (business environment), สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม (social & cultural environment), สภาพแวดล้อมทางกฎหมาย (legal environment), นโยบายรัฐบาลและวิสัยทัศน์ (government policy & vision) และการที่ผู้บริโภคและธุรกิจนำ ICT มาใช้ (Consumer & business adoption)

1.    Connectivity & technology infrastructure
2.    Business environment
3.    Social & cultural environment
4.    Legal environment
5.    Government policy & vision
6.    Consumer & business adoption

ในปี ค.ศ. 2009 ความพร้อมทางด้าน ICT ของแต่ละประเทศตกต่ำลง อันเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกในปลายปี ค.ศ. 2008  นอกจากนี้ในรายงานได้เริ่มครอบคลุมการใช้ ICT ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการที่แต่ละประเทศได้ใช้ ICT อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น

ผลของการจัดอันดับความพร้อมด้าน ICT ของบางประเทศที่น่าสนใจ

ประเทศที่ได้รับการจัดเป็นอันดับที่ 1 ต่อเนื่องถึง 3 ใน 4 ปี คือประเทศเดนมาร์ก ตามด้วยอันดับที่สอง คือสวีเดน และอันดับสามคือเนเธอร์แลนด์ อันดับที่สี่ คือ นอร์เวย์ ทั้งสี่ประเทศนี้เป็นประเทศขนาดเล็กและกลาง ประชากรไม่มาก อยู่ในกลุ่มสแกนดิเนเวีย และยุโรปเหนือ

ประเทศสหรัฐอเมริกา มีประชากรกว่า 300 ล้านคน ซึ่งจัดว่ามีวิทยาการด้าน ICT ก้าวหน้าที่สุด แต่หากเป็นการจัดความพร้อมด้าน ICT โดยรวมแล้ว ในปี ค.ศ. 2009 จัดอยู่ในอันดับที่ 5 หลังจากที่เคยอยู่ในอันดับ 3 และ 1 มา

ประเทศเกาหลีใต้ได้รับการจัดอยู่ในอันดับที่ 19 ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นตามมาใกล้ๆที่อันดับที่ 22 ในสองประเทศนี้ ประเทศญี่ปุ่นจะประสบปัญหาประชากรมีอายุยืน และทำให้สัดส่วนของผู้สูงอายุที่เลยวัยทำงานปกติเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีผลกระทบต่อรายได้มวลรวมของประเทศมากกว่า

ประเทศไทยมีประชากร 65 ล้านคน ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 49 ในปี ค.ศ. 2009 ตกลงไปจากปี ค.ศ. 2006 ที่อยู่ในอันดับที่ 47 ซึ่งอาจเป็นผลจากการขาดเสถียรภาพทางการเมือง และการหยุดเฉยในระบบราชการในช่วงเวลาดังกล่าว

สำหรับ 4 ประเทศที่จัดเป็นกลุ่มประเทศที่มีขนาดใหญ่ และมีการเติบโตทางเศรษฐกิจรวดเร็ว และมีผลต่อเศรษฐกิจใหม่ของโลกที่เรียกว่า BRIC อันได้แก่ บราซิล (Brazil) จีน (China) รัสเซีย (Russia) และ อินเดีย (India) รวม 4 ประเทศมีประชากรถึง 2,893 ล้านคน

ประเทศจีน มีประชากร 1,347 ล้านคน มีความพร้อมด้าน ICT ที่ลำดับ 56 และ ประเทศอินเดีย มีประชากร 1,210 ล้านคน มีความพร้อมด้าน ICT ที่ลำดับ 58 จีนจัดว่ามีอัตราการเติบโตที่สูงที่สุด และมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานมากที่สุด ทั้งในด้านการคมนาคม การขนส่ง และการสื่อสาร

ประเทศบราซิล มีประชากร 193 ล้านคน จัดเป็นประเทศมีขนาดประชากรมากที่สุดในอเมริกาใต้ มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับที่ 7 ของโลก มีอันดับความพร้อมด้าน ICT ที่อันดับ 42

ประเทศรัสเซีย มีประชากร 143 ล้านคน มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับที่ 9 ของโลก อยู่ในอันดับที่ 59 ตกลงมาจาก 4 ปีก่อนที่ 52 ซึ่งต้องถือว่าต่ำกว่าระดับความสามารถทางเศรษฐกิจที่มีความแข็งแกร่งจากน้ำมัน ถ่านหิน และแก๊ส นอกเหนือไปจากที่เคยก้าวหน้าอย่างมากในยุคเป็นแกนกลางของสหภาพโซเวียต

Rank
2009
ประเทศ
Country
e-readiness score
(out of 10)
2009
1
8.87
2
8.67
3
8.64
4
8.62
5
8.60
6
8.45
7
8.35
8
8.33
9
8.33
10
8.30
11
8.21
12
8.15
13
8.14
14
8.02
15
7.89
16
7.86
17
7.85
18
7.84
19
7.81
20
7.71
21
7.71
22
7.69
23
7.46
24
7.28
25
7.24
26
7.09
27
7.09
28
6.86
29
6.63
30
6.49
31
6.46
32
6.34
33
6.33
34
6.12
35
6.04
36
6.02
37
5.97
38
5.87
39
5.80
40
5.73
41
5.68
42
5.42
43
5.34
44
5.33
45
5.25
46
5.14
47
5.11
48
5.07
49
5.00
50
4.92
51
4.88
52
4.84
53
Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/cf/Flag_of_Peru.svg/22px-Flag_of_Peru.svg.png Peru
4.75
54
4.58
55
4.40
56
4.33
57
4.33
58
4.17
59
3.98
60
3.97
61
3.89
62
3.85
63
3.85
64
3.80
65
3.51
66
3.50
67
3.46
68
Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/ca/Flag_of_Iran.svg/22px-Flag_of_Iran.svg.png Iran
3.43
69
3.31
70
2.97

ศึกษาเพิ่มเติมSee also

การอ้างอิงReferences

ข้อมูลเชื่อมโยงจากภายนอกExternal links

§  The Electronic Journal of Information Systems in Developing Countries: E-Readiness for Developing Countries
§  Center for International Development at Harvard University: Readiness for the Networked World — A Guide for Developing Countries
§  Extensive bigliographic collection on e-Readiness

2 comments:

  1. I am glad to see this article. It's a nice information for us. They tell us about ICT business organization. Keep it up. Now it's time to avail shutters in birmingham for more information.

    ReplyDelete
  2. I enjoyed reading every single bit of this article. I was searching to read that kind of article and I finally found it. Now its time to avail moving company in Tuscaloosa, AL for more information.

    ReplyDelete