ความต้องการใช้แร่ลิเธียมเพื่อผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ามาก
จนต้องผลิตจากน้ำทะเล
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
ศึกษาและเรียบเรียงจาก “Electric Vehicle
Boom Spurs Lithium Production From Salty Water.” EV News, SUNDAY, SEPTEMBER 30,
2012
Keywords: EVs, PHEVs, Hybrids, รถยนต์ไฟฟ้า, electric cars, Lithium, Bolivia
ภาพ แหล่งแร่ลิเธียม ดังที่พบในทะเลทรายในประเทศโบลิเวีย แล้วจะสกัดแร่ที่มีอยู่อย่างเจือจางจากพื้นที่อันกว้างขวางนี้ได้อย่างไร
ความต้องการใช้แร่ลิเธียม (Lithium) เพื่อผลิตแบตเตอรี่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า ในช่วง 8 ปีต่อไปนี้จะมากจนทำให้ความต้องการเพิ่มมากขึ้นเป็นสองเท่า
ทำให้ต้องคิดวิธีการผลิตแร่ใหม่ โดยการสกัดแร่ลิเธียมจากน้ำเค็ม (Brine) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย
บริษัท Simbol Materials LLC ได้เสนอให้โรงงานที่ Imperial Valley ใกล้กับชายแดนเมกซิโก
ที่คิดวางแผนตัดค่าใช้จ่ายในการสกัดแร่ลิเธียม โดยหันไปใช้การเลือกสกัดจากน้ำเค็ม (Salty
water) ผู้บริหารของบริษัท Luka Erceg กล่าว
โดยทายว่าบริษัทอย่าง Pleasanton ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย
ที่เคยสกัดแร่ลิเธียมได้ปีละ 8,000 ตัน ให้กลายเป็น 64,000
ตันในอีก 10 ปีข้างหน้า Erceg กล่าวว่าด้วยผลิตผลนี้ จะเท่ากับความต้องการใช้แร่ร้อยละ 21 ของโลก
Simbol เป็นบริษัทที่คาดว่าจะเข้าสู่กลุ่มผู้ผลิตแร่ลิเธียมที่ปัจจุบัน
ถูกครอบงำโดย 4 บริษัทใหญ่ ซึ่งรวมถึง Rockwood
Holdings Inc. (ROC) ที่ตั้งอยู่ที่เมือง Princeton ในรัฐ New Jersey
ราคาแร่ลิเธียมที่เป็นแร่ที่มีน้ำหนักเบาที่สุด
แต่มีคุณสมบัติที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ที่จะนำไปผลิตแบตเตอรี่สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว
อุปกรณ์ไฟฟ้าแบบไร้สาย และในปัจจุบันใช้เพื่อผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (Electric
vehicles – Evs) ลิเธียมในปัจจุบันราคาเพิ่มขึ้นไปร้อยละ 35 ในรอบ 18 เดือน ทั้งนี้ตามการวิเคราะห์ของ Jonathan
Lee นักวิเคราะห์ที่ตลาดเงิน Byron Capital Markets ในเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา (Toronto, Canada)
ในที่สุดรถยนต์ไฟฟ้า จะเป็นรถยนต์หลักที่มีการขายมากที่สุด
และจะต้องใช้ลิเธียมเพิ่มขี้นมาก เพราะแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าหนึ่งคัน
จะเท่ากับเป็นหลายร้อยเท่าของแบตเตอรี่ที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว
และยานพาหนะเหล่านี้จะเป็นกระแสหลักที่ทำให้เกิดความต้องการแร่ลิเธียม
Chris
L. Shaw นักวิเคราะห์ของ Monness Crespi Hardt & Co ที่มีฐานอยู่ในเมืองนิวยอร์คกล่าว
ความต้องการใช้ลิเธียมในโลกจะเพิ่มเป็นสองเท่า
เป็น 300,000 ตันในปี ค.ศ. 2020 ตามการวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์ที่
Dahlman Rose & Co ซึ่งประมาณการว่า รถยนต์ไฟฟ้าที่จะขาย 1 ล้านคันต่อปี
จะต้องการแร่ลิเธียมเท่ากับ 18,144 ตัน Seifi Ghasemi
ผู้บริหารของ Rockwood กล่าวเมื่อเร็วๆนี้
รถยนต์ไฟฟ้า (EV) เฉลี่ยคันหนึ่งใช้ลิเธียมเกรดแบตเตอรี่
22.7 กิโลกรัม แต่หากเป็นรถยนต์ไฟฟ้าลูกประสม (Hybrids)
หนึ่งคัน จะใช้ประมาณ 9.1 กิโลกรัม
สำหรับโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่องใช้ 0.1 ออนซ์ หรือ 2.83 กรัม
แต่ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์แทบเล็ตอย่าง iPad จะใช้เป็น 10
เท่า คือประมาณ 28.3 กรัม ในปีที่ผ่านมา
มีการขายรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) และรถยนต์ไฟฟ้าแบบเสียบปลั๊ก (PHEVs)
40,000 คัน ตามการรายงานของ EV City Casebook
ซึ่งปรากฏอยู่ที่เว๊บไซต์ของ International Energy Association
ในปี ค.ศ. 2020 จะมีการขายรถยนต์ไฟฟ้าลูกประสม
(Hybrid vehicles) ปีละ 3.9 ล้านคัน
รถยนต์ไฟฟ้าแบบเสียบปลั๊ก (PHEVs) 1.4 ล้านคัน และรถยนต์ไฟฟ้า
(EVs) 2.8 ล้านคัน Erceg กล่าว
สำหรับวิธีการสกัดแร่เป็นแบบแร่ดิบ (Ore)
ทั่วไปจากเหมือง จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการใช้วิธีการละเหย
ซึ่งจะมีต้นทุนต่ำสุด สำหรับวิธีการที่ Simbol’s technology จะทำนั้น
เขาจะใช้ความร้อนจากโลก (Geothermal power plants) แล้วสกัดแร่โดยวิธีการกรองแบบ
reverse osmosis ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 90 นาทีถึง 2 ชั่วโมง แต่หากใช้วิธีการระเหยแบบดั่งเดิม
จะใช้เวลาถึง 18 เดือน Erceg กล่าว
No comments:
Post a Comment