การเรียนรู้ด้วยการแสวงหา (Enquiry
Learning)
Keywords: Inquiry,
enquiry, learning, การศึกษา, การเรียนรู้, การฝึกอบรม, การเมือง,
การปกครอง, เศรษฐกิจ, สังคมศาสตร์, วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี
Inquiry หรือ Enquiry = การสืบสวนสอบสวน,
Enquiry learning = การเรียนรู้ด้วยการสืบสวนสอบสวน,
การเรียนรู้ด้วยการแสวงหา
Enquiry learning คือ การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดและการแก้ปัญหา
(Thinking and problem solving skills) นับเป็นวัตถุประสงค์อันจำเป็นของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
(Sustainable development)
เป็นความจำเป็นที่จะทำให้เด็กๆและเยาวชนของเรามีความสามารถที่จะเผชิญกับความรีบด่วนต่างๆของปัญหาที่รุมเร้าโลกในปัจจุบันนี้
ทักษะเหล่านี้จะสร้างขึ้นได้ ด้วยวิธีการสอนแบบ Enquiry learning - UNESCO
สำหรับผม ไม่อยากแปล Enquiry learning ว่าเป็นการเรียนรู้ด้วย “การสืบสวนสอบสวน”
เพราะฟังดูเหมือนกิจกรรมของพนักงานสอบสวน หรือตำรวจ หรือเรื่องอาชญากรรม
แต่อยากใช้คำว่า “การเรียนรู้ด้วยการแสวงหา” เพราะในการเรียนแบบนี้
ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องจำกัดตนเองในฐานะผู้ได้รับโจทย์ แล้วเขาไปหาคำตอบ
แต่อยากให้เปิดกว้างเพื่อการแสวงหา ผู้เรียนได้มีความเป็นอิสระ ที่จะเรียนรู้ในโลกของความเป็นจริง
เขาสามารถตั้งคำถามกับตัวเขาเอง กับชุมชน
และสังคมกว้างในสรรพสิ่งที่เขาได้เห็นแล้วไม่เข้าใจ และคำตอบนั้นอาจจำเป็นสำหรับสังคมโลกในยุคของเขา
ผู้ใหญ่ไม่จำเป็นต้องเป็นฝ่ายกำหนดกรอบ หรือวางหลักสูตรการเรียนให้เขาเสมอไป
Enquiry learning
เป็นสิ่งที่ต้องเน้นที่ตัวผู้เรียน (Learner-centered approach) เน้นทักษะการคิดในระดับที่สูงขึ้นไป อาจจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ (Analysis) การแก้ปัญหา (Problem-solving) กิจกรรมที่เกี่ยวกับการค้นหา
ค้นพบ (Discovery) และการสร้างสรรค์ (Creativity) ทั้งในชั้นเรียน ในชุมชน และสังคมใหญ่ สำคัญที่สุด
การเรียนรู้ด้วยการแสวงหานี้ ผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบต่อกระบวนการเกี่ยวกับข้อมูลด้วยตนเอง
และเขาจะทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และสรุปผลได้ด้วยตนเอง
Enquiry learning เป็นระบบการเรียนรู้ที่ไม่จำกัดเฉพาะสายวิชา
(Disciplinary) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสรรพสิ่งรอบตนเอง
และคำตอบอาจมาจากศาสตร์หลายๆด้าน ทั้ง วิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม การเมือง เศรษฐกิจ
สังคม เทคโนโลยี ฯลฯ เรียนรู้เพียงคนเดียวตามลำพังไม่ได้
ก็ให้เรียนรู้แบบเป็นกิจกรรมกลุ่ม สามารถกระทำกันได้แบบข้ามสายวิชาการ สหวิทยาการ (Inter-disciplinary
approach) บทบาทของครูจะเน้นไปที่การเป็นที่ปรึกษา
การให้การสนับสนุน (Facilitators) หากบทบาทของครูไม่เพียงพอ
ผู้เรียนก็สามารถไปแสวงหาความรู้ได้จากแหล่งความรู้ ผู้รู้
ผู้เชียวชาญได้จากนอกโรงเรียน
ภาพ มาร์โค โปโล (Marco Polo) เป็นพ่อค้าชาวเวนิส (Venetian) ผู้ท่องเที่ยวและเดินทางไกล
เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1254 และเสียชีวิตเมื่อวันที่
9 มกราคม ค.ศ. 1324 เพราะการท่องเที่ยวและเดินทางไกลมายังตะวันออก
และบันทึกที่กลายเป็นงานเขียนหนังสือชื่อ Il Milione จึงทำให้ชาวยุโรปได้รู้จักเอเชียกลาง
และจีน
ภาพ เส้นทางการเดินทางของมาร์โค โปโล มายังตะวันออก
มายังจีน และตะวันออกไกล
เพราะการเดินทางมายังตะวันออกของมาร์โค โปโลป
จึงดลใจให้นักผจญภัยสำรวจโลก อย่าง คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส และคนอื่นๆ ได้สำรวจแสวงหาเส้นทางเดินทางมายังโลกใหม่ทางตะวันออก
ตลอดจนเปิดทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย และอีกหลายๆที่ในโลกที่จะตามมา
ภาพ แผนที่ระหว่างปี
ค.ศ. 1492-1503 คริสโตเฟอร์
โคลัมบัส (Christopher Columbus) ได้เดินทางข้ามทวีป
ระหว่างสเปนกับอเมริกา 4 ครั้ง โดยการสนับสนุนของเจ้าครองนครคาสตีล
(the Crown of Castile) ในยุคกลางขณะนั้น
เพราะโลกและอนาคตเป็นของเด็กและเยาวชนในวันนี้
เราจะยังไม่รู้หรอกว่าอะไรสำคัญสำหรับเขาในวันข้างหน้า หากเราไม่จัดระบบการศึกษา
เพื่อเปิดทางให้เขาได้กำหนดอนาคต และเส้นทางเดินของเขาเองไปพร้อมๆกันด้วย
No comments:
Post a Comment