Friday, October 26, 2012

ประเทศที่มีหนี้สาธารณะมากหรือน้อย มีความหมายอย่างไร?


ประเทศที่มีหนี้สาธารณะมากหรือน้อย มีความหมายอย่างไร?
List of countries by public debt

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: เศรษฐศาสตร์, การเงิน, การคลัง, หนี้สาธารณะ, public debt, national debt, government debt

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia



ภาพ การเดินขบวนประท้วงที่เกิดขึ้นในประเทศกรีก เมื่อคนว่างงานมากขึ้น รัฐมีสภาพใกล้ล้มละลาย


ภาพ คนที่ออกมาประท้วงที่เป็นคนหนุ่มสาว ที่ตกงาน อาหารการกินมีราคาสูง รัฐบาลมีหนี้สาธารณะสูง เอกชนล้มละลาย บริษัท ธนาคารต้องตกอยู่ในมือของต่างชาติ

ความนำ

เมื่อใดที่มีการพูดถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศ คนไทยทั่วไป แม้แต่คนมีการศึกษาก็ยังงง ไม่รู้ว่าเขาพูดถึงเรื่องอะไร เพราะคำว่าเศรษฐกิจสำหรับชาวบ้าน เราจะมองออกเพียงว่า ความเป็นอยู่ของเราฝืดเคืองหรือไม่ เรายังมีงานทำหรือไม่ งานที่ทำพอให้มีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ หรือมีเงินเหลือเก็บหรือเปล่า
แต่เมื่อใดที่มีการพูดถึงเศรษฐกิจมหภาค (Macro Economy) เกี่ยวกับเศรษฐกิจของระดับประเทศ ภูมิภาค หรือระดับโลก เราจะรู้สึกมึนงง ไม่รู้ว่าเขาพูดกันเรื่องอะไร เมื่อพูดถึงเศรษฐกิจหดตัวในยุโรป อเมริกาเหนือ หรือการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน เราจะยังไม่รู้สึกอะไร จนกว่าสิ่งเหล่านั้นมีผลกระทบต่อเราโดยตรง

ขอให้แข็งใจหน่อยครับ อะไรที่ไม่รู้ แต่อาจมีความสำคัญ ก็ต้องหาทางศึกษา ความเข้าใจบางอย่าง แม้ยากหน่อยแต่ก็ต้องค่อยๆเรียนรู้กันไป

ดังในคราวนี้จะขอพูดถึงเรื่องของ “หนี้สาธารณะ” (Public debt) ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับประเทศไทยและตัวเราแน่ มาเรียนรู้ด้วยกันครับ

หนี้สาธารณะคืออะไร

หนี้สาธารณะ (Public debt) ซึ่งมีเรียกในชื่ออื่นๆว่า หนี้รัฐบาล (Government debt) หรือหนี้ของชาติ (National debt) เป็นหนี้ที่ได้เกิดขึ้นโดยการกระทำของรัฐบาล และในประเทศที่มีหลายรัฐดังในสหรัฐอเมริกา (United States) หนี้นี้คือหนี้ที่กระทำโดยรัฐบาลกลาง (Federal government) หนี้สาธารณะอาจเป็นหนี้ที่ก่อโดยรัฐบาลของแต่ละรัฐในประเทศที่มีหลายรัฐ ก่อโดยรัฐบาลเมือง (Municipal government) หรือรัฐบาลท้องถิ่น หนี้นี้เป็นการนับเฉพาะส่วนที่รัฐบาลไปเป็นลูกหนี้

บางประเทศมีหนี้มาก แต่ขณะเดียวกันก็มีการเป็นประเทศเจ้าหนี้ หรือประเทศผู้ลงทุนในประเทศอื่นๆ ไปด้วยในตัว โดยผ่านทางความช่วยเหลือภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ (Multi-national corporation) ดังเช่น ประเทศญี่ปุ่น และหลายๆประเทศทางตะวันตก ยุโรปตะวันตก และอเมริกาเหนือ
หนี้สาธารณะ (Public Debt) คือหนี้ที่ก่อโดยรัฐบาลของประเทศนั้นๆ จึงเรียกได้อีกชื่อว่า Government Debt จึงต้องไม่ลืมว่า หากจะทำความเข้าใจภาพรวมๆ ให้พิจารณาควบคู่ไปกับหนี้ภาคเอกชนด้วย ดังปัญหาของเศรษฐกิจฟองสบู่ในช่วง ปี พ.ศ. 2539-40 ในเอเชียที่เริ่มจากประเทศไทยนั้น เรามีปัญหาทั้งหนี้ภาครัฐบาลและหนี้ภาคเอกชน ที่มีการนำเงินมาจากต่างประเทศมาใช้ในประเทศอย่างเกินตัว ฟุ่มเฟือย และขาดวินัยในการใช้จ่าย

การเปรียบเทียบว่าหนี้สาธารณะของประเทศว่ามีมากน้อยเพียงใด เขานับเป็นสัดส่วนกับรายได้ประชาชาติ (Gross Domestic Production – GDP) หรือรายได้มวลรวมของประเทศนั้นๆ

ความหมายที่แท้จริง

หลายประเทศก่อหนี้ได้มาก เพราะประเทศมีลักษณะเศรษฐกิจที่มีความสามารถในการหาและสร้างรายได้ องค์กรเจ้าหนี้มีความไว้วางใจในความสามารถในการหาเงินมาชำระหนี้ ดังตัวอย่างประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา หรือสิงค์โปร์ เป็นต้น

ประเทศญี่ปุ่น (Japan) มีหนี้สาธารณะคิดเป็น 229.77 ของ GDP นับว่ามีสัดส่วนของหนี้สาธารณะมากเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ญี่ปุ่นมีกิจการของภาคเอกชนที่ยังแข็งแกร่งอยู่ สินค้าและบริการของญี่ปุ่นเป็นระดับใช้เทคโนโลยีสูง มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของโลก แต่กระนั้นประเทศของเขาเองก็ต้องระวังตัว เพราะเขามีจุดอ่อนตรงกำลังคนของเขานั้นเฉลี่ยเริ่มสูงอายุ กลายเป็นผู้เกษียณเสียเป็นจำนวนมาก ภาระสังคมด้านค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ส่วนคนรุ่นใหม่ เมื่อเปรียบเทียบแล้วไม่ได้มีวินัยในการทำงานเหมือนคนรุ่นก่อนๆ

ประเทศสหรัฐอเมริกา (United States) มีหนี้สาธารณะคิดเป็นร้อยละ 102.94 ของ GDP จัดเป็นประเทศมีหนี้สาธารณะสูงอันดับ 11 ของโลก เป็นประเทศมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ประเทศเจ้าหนี้ของอเมริการายใหญ่อย่างจีน เขาต้องยอมผ่อนผัน เพราะอเมริกาเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ และจีนเชื่อมั่นว่าสหรัฐมีความสามารถที่จะฟื้อนตัวทางเศรษฐกิจ และจ่ายหนี้คืนในรูปต่างๆได้ และจุดสำคัญคือสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศมหาอำนาจทางทหารอันดับหนึ่งของโลก จะล้มไม่ได้

ประเทศแคนาดา (Canada) มีหนี้สาธารณะคิดเป็นร้อยละ 84.95 ของ GDP จัดเป็นประเทศมีสัดส่วนหนี้สาธารณะมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก แคนาดาเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมาก มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล คนมีการศึกษา มีระบบสังคมและการเมืองที่ก้าวหน้า มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีสูง เขาเป็นทั้งประเทศลูกหนี้ และประเทศเจ้าหนี้ไปพร้อมๆกัน

ประเทศสิงค์โปร์ (Singapore) มีหนี้สาธารณะคิดเป็นร้อยละ 100.79 ของ GDP จัดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก แต่จุดแข็งของสิงค์โปร์คือ ความเป็นศูนย์กลางของตลาดเงินในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีระบบการปกครองที่มีธรรมาภิบาล มีการจัดระเบียบสังคมที่เข้มแข็ง มีอัตราการคอรัปชั่นต่ำ มีการวางแผนระบบสาธารณูปโภคที่ดี คนมีการศึกษาสูง สิ่งเหล่านี้จึงทำให้สิงค์โปร์เป็นประเทศที่ยังมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ

ประเทศอิรัก (Iraq) มีหนี้สาธารณะ 86.92 ของ GDP จัดเป็นสัดส่วนหนี้มากอันดับ 17 ของโลก แต่อิรักเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมัน เป็นประเทศที่สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปเกี่ยวข้องทางการทหาร และต้องมีส่วนรับผิดชอบ แต่หากประเทศกลับสู่ความสงบภายในประเทศเมื่อใด เขาก็มีศักยภาพที่จะหารายได้จากทรัพยากรปิโตรเลียมที่มีแต่จะเหลือน้อยลงในโลก

หนี้สาธารณะในยุโรป

แต่โดยทั่วไป หนี้สาธารณะเป็นเรื่องที่หากมีในสัดส่วนที่มากเกินไปกว่ากำลังหา ก็ล้วนไม่เป็นสิ่งที่ดีทั้งสิ้น ยกตัวอย่างปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศกลุ่มยุโรป หลายประเทศเมื่อได้เข้าเป็นสมาชิกในกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union) จากที่เคยล้าหลังในช่วงหลังสงครามโลก ก็ได้รับเงินกู้ได้ง่ายขึ้น การเมืองในแบบประชาธิปไตยใหม่ ก็ทำให้หลายๆประเทศหาเสียงกันแบบ “ประชานิยม” (Populism) ยกระดับเงินเดือนค่าจ้างค่าตอบแทน มีสวัสดิการสุขภาพ การประกันการว่างงาน การศึกษาฟรีจนถึงระดับมหาวิทยาลัย ส่วนเงินนั้นหากหามาด้วยเก็บภาษีรายได้ในประเทศไม่ได้ ก็ใช้การกู้ยืมจากต่างประเทศ ภายในช่วง 1-2 สมัยเลือกตั้งยังไม่รู้สึก ประชาชนพอใจ แต่ยิ่งนานวัน ก็จะพบว่าประเทศขาดความสามารถในการแข่งขัน ประชาชนคาดหวังสูง แต่ประเทศขาดความสามารถในการแข่งขัน หนี้ก็ยิ่งสูงมากขึ้นจนขาดความสามารถในการจ่าย

เปรียบเหมือนกับคนทั่วไป อยากได้เงินเดือนสูงๆ รายได้มากๆ มีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ต้องการทำงานให้น้อยที่สุด ทำงานมากเหมือนถูกเอาเปรียบ ถ้าทัศนคติคนเป็นเช่นนี้กันมากๆ ประเทศก็จะอยู่ยาก เพราะโดยรวม ทำให้ไม่มีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ

ประเทศในกลุ่ม EU ในปัจจุบัน หลายประเทศมีหนี้สินภาครัฐมาก ทำให้ขาดสภาพคล่อง มีปัญหาอื่นๆตามมา เช่น คนตกงาน รัฐไม่มีความสามารถจะจ่ายเงินสวัสดิการสังคมได้อย่างที่กำหนด หากตัดการจ้างงานภาครัฐ ก็จะกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังภาคเอกชน ดังเช่น

ประเทศกรีก (Greece) มีหนี้สาธารณะเป็นสัดส่วน 160.81 เปอร์เซ็นต์ของ GDP มากเป็นอันดับสองของโลก ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าอาการวิกฤติทางเศรษฐกิจก็หนักหนาที่สุดในยุโรป และความสามารถที่จะใช้หนี้คืนก็ยิ่งลดต่ำลง เหมือนคนใกล้ล้มละลาย

ประเทศที่มีสัดส่วนหนี้สาธารณะในยุโรปที่ตามมาเป็นอันดับ 7 ของโลก คืออิตาลี (Italy) มีหนี้สาธารณะร้อยละ 120.11 ของ GDP; ตามมาด้วย อันดับ 9 ของโลก ปอร์ตุเกส (Portugal) มีหนี้สาธารณะ 106.79; อันดับ 10 ไอร์แลนด์ (Ireland) มีหนี้สาธารณะ 104.95; อันดับ 13 ไอซ์แลนด์ (Iceland) มีหนี้สาธารณะ 99.19; อันดับ 14 เบลเยี่ยม (Belgium) มีหนี้สาธารณะ 98.51; อันดับ 19 ฝรั่งเศส (France) มีหนี้สาธารณะ 86.26; และ อันดับ 22 สหราชอาณาจักร (United Kingdom) มี 82.50

เมื่อยุโรปมีลักษณะเศรษฐกิจที่ผูกพันกัน จะล้มก็ไม่ได้ จะเดินหน้าต่อไป ก็ลำบาก เป็นลักษณะผอืดผะอม การจะแก้ปัญหาทั้งหมดให้สำเร็จลุล่วงได้ ก็ต้องใช้เวลา เพราะปัญหาที่ได้เกิดขึ้น ก็เป็นเรื่องที่ได้ใช้เวลาสะสมกันมาอย่างต่อเนื่อง

หนี้สาธารณะของไทย

ประเทศไทย (Thailand) มีหนี้สาธารณะ คิดเป็นร้อยละ 41.69 ของรายได้ประชาชาติ (Gross Domestic Production - GDP) มากเป็นอันดับที่ 86 ของโลก จากที่มีการจัดเก็บข้อมูลได้ 180 ประเทศ

หากมองเพียงตัวเลขหนี้สาธารณะนี้ ก็ดูยังไม่น่าตกใจ เพราะหากเปรียบเทียบ ยังมีประเทศที่มีความแข็งแกร่ง เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศที่มีหนี้สาธารณะในสัดส่วนสูงกว่าประเทศไทย แต่สิ่งที่นักวิชาการกังวลคือ ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ไทยมีสภาพการเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพ ด้วยความขัดแย้งระหว่างสองขั้วการเมืองที่มีแนวคิดที่ต่างกัน แม้สภาพเศรษฐกิจยังดำเนินไปได้ แต่ก็ไม่ราบรื่น

ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ไทยเริ่มขาดวินัยทางการเงินการคลัง ได้มีการใช้เงินอย่างไม่เกิดประโยชน์ ไม่ได้สร้างศักยภาพความแข็งแกร่งสำหรับอนาคตเกิดขึ้นมากมาย ดังเช่น สูญเสียไปกับน้ำท่วมใหญ่ในปลายปี พ.ศ. 2554 มูลค่า 1.4 ล้านล้านบาท, การทุ่มเงินไปกับการรับจำนำข้าวที่ยังไม่สามารถระบายออกได้ 350,000 ล้านบาท ในแบบที่รับซื้อขาดมาแพง แต่ต้องนำไประบายขายออกในราคาต่ำกว่าต้นทุน แล้วขณะนี้ยังระบายด้วยการจำหน่ายไปยังต่างประเทศไม่ออก หากระบายมาในตลาดภายประเทศ ก็จะยิ่งไปซ้ำเติมราคาให้ต่ำลงไปอีก

มีผู้สงสัยว่าเศรษฐกิจไทยในแบบทุนนิยมภายใต้พรรคเพื่อไทย กำลังเป็นเศรษฐกิจที่เดินผิดทาง สร้างหนี้ที่ไม่เกิดประโยชน์ให้กับประเทศเป็นอันมาก ในขณะที่ตลาดแรงงานของไทย ก็มีคู่แข่งในภูมิภาคอย่างเวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ที่มีค่าแรงงานที่ต่ำกว่า เมื่อมีหนี้สาธารณะมากๆ จะไม่เป็นการซ้ำเติมให้กับเศรษฐกิจของประเทศหนักขึ้นไปอีกหรือ

การเปรียบเทียบในอาเซียน

มีคำถามว่า แล้วประเทศไทยมีหนี้สาธารณะอยู่ในระดับใด มากหรือน้อยอย่างไร ทางที่ดีที่จะให้คำตอบได้ คือเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังในกลุ่มอาเซียน

ประเทศไทย (Thailand) มีหนี้สาธารณะ คิดเป็นร้อยละ 41.69 ของรายได้ประชาชาติ (Gross Domestic Production - GDP) มากเป็นอันดับที่ 86 ของโลก จากที่มีการจัดเก็บข้อมูลได้ 180 ประเทศ มีประเทศในอาเซียน 4 ประเทศที่มีสัดส่วนหนี้สาธารณะมากกว่าไทย คือ สิงค์โปร์ ลาว มาเลเซีย และพม่า
ประเทศในอาเซียนที่มีหนี้สาธารณะในสัดส่วนมากกว่าประเทศไทยมี 4 ประเทศ เรียงตามลำดับได้ดังนี้

1.    ประเทศสิงค์โปร์ (Singapore) มีหนี้สาธารณะมากเป็นอันดับที่ 12 ของโลก คิดเป็นร้อยละ 100.79 ของ GDP ซึ่งนับว่าสูงสุดในกลุ่มอาเซียน
2.    ประเทศลาว (Laos) หนี้สาธารณะมากเป็นอันดับที่ 54 ของโลก คิดเป็นร้อยละ 57.36 ของ GDP
3.    ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) หนี้สาธารณะมากเป็นอันดับที่ 60 ของโลก คิดเป็นร้อยละ 52.56 ของ GDP และ
4.    ประเทศพม่า (Myanmar) มีหนี้สาธารณะมากเป็นอันดับที่ 79 ของโลก คิดเป็นร้อยละ 44.32 ของ GDP

ประเทศมาเลเซียมีประวัติการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาที่น่าศึกษา เพราะเป็นการพัฒนาที่มีการวางโครงสร้างพื้นฐาน (Infra-structure) ที่ชัดเจน กล้าที่จะลงทุน ซึ่งทำให้มีผลต่อการพัฒนาประเทศทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องตลอดมา แต่ในปัจจุบันและอนาคต มาเลเซียจะต้องประสบกับปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองมากขึ้น การต้องกู้เงินต่างประเทศจำนวนมาก เพื่อรักษาเสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ได้ระดับหนึ่ง จึงเป็นสิ่งที่เขาพยายามทำ

ประเทศลาวและพม่ามีลักษณะคล้ายกัน คือเป็นประเทศที่กำลังเปิดประเทศ มีทรัพยากรภายในประเทศมากมายที่ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ การนำเงินกู้ต่างประเทศเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศนั้น เป็นสิ่งที่อธิบายได้

มี 5 ประเทศหลักในอาเซียนที่มีหนี้สาธารณะในสัดส่วนน้อยกว่าประเทศไทย คือ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย และบรูไน

1.    ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines) มีหนี้สาธารณะมากเป็นอันดับที่ 92 ของโลก คิดเป็นร้อยละ 40.47 ของ GDP
2.    ประเทศเวียดนาม (Vietnam) มีหนี้สาธารณะมากเป็นอันดับที่ 97 ของโลก คิดเป็นร้อยละ 37.97 ของ GDP
3.    ประเทศกัมพูชา (Cambodia) มีหนี้สาธารณะมากเป็นอันดับที่ 128 ของโลก คิดเป็นร้อยละ 28.60 ของ GDP
4.    ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia) มีหนี้สาธารณะมากเป็นอันดับที่ 133 คิดเป็นร้อยละ 25.03 ของ GDP ซึ่งนับว่าต่ำสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากบรูไน
5.    ประเทศบรูไน (Brunei Darussalam) มีหนี้สาธารณะมากเป็นอันดับที่ 172 คิดเป็นร้อยละ 0.00 ของ GDP ซึ่งนับว่าต่ำสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน คือไม่มีหนี้สาธารณะเลย

ตามหลักของการบริหารการเงินการคลังของแต่ละประเทศย่อมมีแนวคิดและยุทธศาสตร์ที่แตกต่างกันไป ประเทศสิงค์โปร์เป็นประเทศเล็กมีคนไม่ถึง 4 ล้านคน วิธีการบริหารคล้ายกับบริษัทขนาดใหญ่ การมีหนี้สาธารณะในสัดส่วนสูงสำหรับเขา ก็ต้องยอมรับได้ หากเป็นการลงทุนเพื่อให้ประเทศมีความแข็งแกร่งต่อไป

ประเทศอินโดนีเซียมีประชากร 237,424,363 คนมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของกลุ่มอาเซียน และเป็นอันดับที่ 4 ของโลก ประเทศใหญ่ เขาก็ต้องบริหารกิจการอย่างอนุรักษ์ (Conservative) เขามีบทเรียนการบริหารงานภาครัฐที่ล้มเหลว รั่วไหลและไร้ประสิทธิภาพ ดังในสมัยเผด็จการทหารประธานาธิบดีซูฮาร์โต (Suharto Regime) มาแล้ว ปัจจุบัน เมื่อเขาเริ่มเดินมาถูกทางตามระบอบประชาธิปไตย สิ่งที่เขาทำได้คือการเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และให้มีเสถียรภาพ ไม่สุ่มเสี่ยง

สรุปโดยภาพรวมของอาเซียน สถานะของหนี้สาธารณะยังไม่ใช่ปัญหาใหญ่ของภูมิภาค ยังเปรียบไม่ได้กับในยุโรป ภูมิภาคโดยรวมเหมือนคนที่เคยหลับมาก่อน และเมื่อตื่นขึ้นก็อยากบริโภค อยากพัฒนาประเทศ ไทยก็จะได้รับผลรวมจากกระแสการพัฒนาภูมิภาคนี้ด้วย

สรุปบทเรียนประเทศไทย

ย้อนกลับมามองเศรษฐกิจไทย การสร้างหนี้สาธารณะเป็นนโยบายที่ขึ้นอยู่กับแนวคิดของรัฐบาล ในทัศนะของผู้เขียน หากเป็นระดับเดียวกับมาเลเซีย ก็ถือว่าน่าจะกระทำได้ คือประมาณร้อยละ 50 ถึงร้อยละ 70 เป็นอย่างสูง

แนวโน้มพรรคเพื่อไทย คือการใช้เงินจำนวนมาก เพื่อทำโครงการที่มีลักษณะ “ประชานิยม” (Populism policies) แต่จุดอ่อนของพรรคฯในปัจจุบัน คือขาดคนมีความสามารถในการสรรหาและคัดเลือกเข้ามาทำงาน เรียกว่าขาด “ระบบคุณธรรม” (Merit System) เป็นระบบคล้าย Spoils System คือผู้ชนะต้องได้สมบัติเชลย ตำแหน่งงาน การประมูลงาน การจัดสรรงบประมาณ ล้วนเกี่ยวข้องกับฐานเสียง และกระทำอย่างชัดแจ้ง อย่างจะบอกให้รู้ว่า หากเป็นพวกฉัน ท่านก็จะได้สิ่งดีๆเหล่านี้ แต่สิ่งดีๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่มาจากภาษีอากรของคนทั้งประเทศ

นโยบายประชานิยม หรือนโยบายที่ประชานิยมและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศนั้น ไม่เสียหาย และนับเป็นสิ่งที่ดีด้วย แต่ต้องทำอย่างเสมอภาค ให้ประโยชน์แก่ผู้คนอย่างถ้วนหน้า และไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ก่อให้เกิดการเล่นพรรคเล่นพวก หรือการคอรัปชั่นด้านนโยบาย

นโยบายบริการสาธารณสุขถ้วนหน้า หรือ Universal Healthcare ซึ่งพรรคเพื่อไทยใช้คำว่า “30 บาทรักษาทุกโรค” โดยรวมนับว่ามาถูกทาง นับเป็นสวัสดิการสังคมที่จำเป็น และประเทศไทยถึงเวลาที่จะดำเนินการได้แล้ว

นโยบายเบี้ยเลี้ยงช่วยเหลือคนชรา ที่ต้องมองหารูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ พรรคประชาธิปัตย์เสนอ แต่ก็เชื่อว่าจะต้องดำเนินการต่อ ซึ่งเป็นการให้โดยทั่วทั้งประเทศ แต่ยังเป็นค่าตอบแทนที่ระดับต่ำ

นโยบายการศึกษาฟรี 9-12 ปี โอกาสของการอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ ด้วยราคาที่เป็นเหตุเป็นผล การส่งเสริมการอาชีวศึกษา เพื่อให้แรงงานมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ในยุคที่ต้องตอบรับต่อ ASEAN ปี ค.ศ. 2558 เหล่านี้ล้วนเป็นนโยบายที่ถูกใจประชาชนโดยรวม ความสำคัญอยู่ที่จะทำได้อย่างไรและมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากน้อยเพียงใดเท่านั้น

กู้มาเพื่อใช้ทำอะไร

การที่รัฐบาลจะกู้เงินมาใช้นั้นเป็นสิ่งที่กระทำได้ หากโดยรวมแล้วยังไม่เกินกรอบที่จะสร้างความเสี่ยงเกินไป ลองดูตัวอย่าง

บริษัทขนาดใหญ่ทั้งหลาย ก็ล้วนมีการกู้เงินเพื่อนำมาลงทุนกันทั้งนั้น แต่เขาจะใช้วิธีการพิจารณาเป็นกรณีๆไป ไม่ใช่จะสามารถนำไปใช้จ่ายได้อย่างเสรี หรือกู้มาในนามบริษัท แล้วนำเงินไปใช้จ่ายเป็นการส่วนตัว

หากรัฐบาลกู้มาเพื่อพัฒนาโครงสร้างระบบจัดการน้ำ ระบบชลประทาน แก้ปัญหาน้ำท่วม เป็นสิ่งที่รับได้ ที่เคยของวงเงินงบประมาณเอาไว้ 350,000 ล้านบาทนั้น ก็เป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว แต่เพียงว่าจะทำอย่างไรอย่างมีหลักวิชา และแก้ปัญหาน้ำท่วมได้จริง ไม่ใช่นำเงินมาจ้างกัน ละลายทรัพย์กัน จนไม่ได้เนื้องานเป็นชิ้นเป็นอัน

กู้มาเพื่อสนับสนุนโครงการรับจำนำข้าว ประมาณการกันว่าใช้ไปแล้ว 350,000 ล้านบาท ความจริงคือการซื้อข้าวแบบขาดตัว ไม่มีใครมาไถ่ถอนคืน ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ดีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

กู้มาเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม ทั้งในเมืองและของประเทศ รถไฟฟ้าในกทม.และจังหวัดใกล้เคียง ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว นับว่าเป็นความจำเป็น และการกู้มาเพื่อพัฒนาการคมนาคมระบบราง รถไฟความเร็วสูง (High speed rails) นับเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต ทั้งสองโครงการนับเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เป็นประโยชน์ในการแข่งขัน ลดต้นทุนด้านพลังงาน

กู้มาเพื่อสนับสนุนโครงการ “รถยนต์คันแรก” ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ดี แม้แต่จะเป็นรถยนต์ประหยัดพลังงาน (Eco cars) เพราะผลของมันทำให้การคมนาคมในเมืองกลายเป็นปัญหาที่หนักขึ้น โดยรวม รัฐบาลต้องมีนโยบายด้านพลังงานที่ชัดเจนกว่านี้ เพราะพลังงานปิโตรเลียมที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงนั้น ประเทศไทยมีอย่างจำกัด และต้องนำเข้าเป็นส่วนใหญ่

โดยรวม รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องแสดงวินัยทางการเงินการคลังมากกว่านี้ ต้องมีการสอดส่องว่าวิธีการกระจายเงิน กระจายทรัพยากรนั้นเป็นไปอย่างยุติธรรมหรือไม่ ทำอย่างไรจึงจะให้เม็ดเงินที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น ได้ถูกใช้ไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศให้ได้มากที่สุด

“There is no free lunch.” ไม่มีอาหารกลางวันฟรีๆสำหรับใคร ของอะไรที่ได้มาฟรีๆ มักเป็นของที่ไม่มีค่า คนใช้ไม่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของหลักของการใช้เงิน คือ ใครได้ประโยชน์ คนนั้นเป็นคนจ่าย เอาเป็นหลักไว้ก่อน ส่วนการใช้เงินเพื่อทำให้คนจนคนด้อยโอกาสนั้น ก็ต้องพิจารณาว่า เงินนั้นจะไปสร้างความสามารถในการยืนบนขาตัวเองได้อย่างไร ไม่ใช่ไปช่วยอุ้มเขา จนจากที่เคยยืนได้ กลายเป็นง่อย รอขอแต่ของแจกฟรี

รายชื่อประเทศ

รายชื่อประเทศที่มีหนี้สาธารณะจัดอันดับจากมากไปหาน้อย โดยอาศัยข้อมูลจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund – IMP) ตัวเลขทั้งหมดจัดเก็บในช่วงปี ค.ศ. 2011

ลำดับที่
ประเทศ
Country
% of GDP
(IMF)
1.     
229.77
2.     
160.81
3.     
153.41
4.     
138.98
5.     
136.22
6.     
133.82
7.     
120.11
8.     
117.25
9.     
106.79
10.  
104.95
11.  
102.94
12.  
100.79
13.  
99.19
14.  
98.51
15.  
92.40
16.  
90.53
17.  
 Iraq
86.92
18.  
86.61
19.  
86.26
20.  
84.95
21.  
83.02
22.  
82.50
23.  
82.00
24.  
81.51
25.  
80.45
26.  
80.35
27.  
78.2
28.  
77.58
29.  
76.45
30.  
74.55
31.  
74.43
32.  
74.34
33.  
73.14
34.  
72.20
35.  
72.19
36.  
72.03
37.  
71.95
38.  
71.84
39.  
71.41
40.  
70.94
41.  
70.33
42.  
69.88
43.  
69.78
44.  
69.10
45.  
68.77
46.  
68.47
47.  
68.05
48.  
66.23
49.  
66.18
50.  
61.75
51.  
60.12
52.  
59.96
53.  
58.92
54.  
 Laos
57.36
55.  
55.46
56.  
55.39
57.  
54.39
58.  
54.19
59.  
 Fiji
53.89
60.  
52.56
61.  
52.44
62.  
50.79
63.  
50.63
64.  
50.24
65.  
49.61
66.  
48.94
67.  
48.65
68.  
48.61
69.  
48.56
70.  
47.89
71.  
47.31
72.  
46.43
73.  
45.83
74.  
45.57
75.  
45.50
76.  
45.23
77.  
44.63
78.  
44.39
79.  
44.32
80.  
44.20
81.  
43.81
82.  
43.39
83.  
42.52
84.  
42.46
85.  
42.41
86.  
41.69
87.  
41.46
88.  
40.90
89.  
40.80
90.  
40.63
91.  
40.62
92.  
40.47
93.  
39.65
94.  
39.44
95.  
38.96
96.  
38.77
97.  
37.97
98.  
37.83
99.  
37.77
100.               
37.44
101.               
37.26
102.               
37.04
103.               
36.50
104.               
36.46
105.               
35.35
106.               
35.27
107.               
35.10
108.               
34.67
109.               
34.14
110.               
34.07
111.               
33.88
112.               
33.86
113.               
33.20
114.               
32.96
115.               
32.88
116.               
32.35
117.               
 Chad
32.15
118.               
31.99
119.               
31.48
120.               
31.33
121.               
30.90
122.               
 Togo
30.84
123.               
30.76
124.               
 Mali
30.64
125.               
29.44
126.               
29.26
127.               
29.22
128.               
28.60
129.               
28.12
130.               
28.11
131.               
26.07
132.               
25.84
133.               
25.03
134.               
24.06
135.               
23.43
136.               
23.39
137.               
22.86
138.               
22.64
139.               
22.17
140.               
21.85
141.               
 Peru
21.64
142.               
20.85
143.               
20.57
144.               
20.45
145.               
18.94
146.               
17.98
147.               
17.86
148.               
17.53
149.               
17.26
150.               
17.04
151.               
16.89
152.               
15.35
153.               
13.92
154.               
13.66
155.               
12.87
156.               
 Iran
12.70
157.               
10.88
158.               
10.63
159.               
10.23
160.               
9.92
161.               
9.91
162.               
9.60
163.               
9.10
164.               
8.35
165.               
7.52
166.               
7.35
167.               
6.04
168.               
5.68
169.               
 Oman
5.06
170.               
171.               
172.               
0.00
173.               
 Cuba
174.               
175.               
176.               
0.00
177.               
178.               
179.               
180.               

No comments:

Post a Comment