Monday, October 1, 2012

โตโยต้าซื้อเหมืองลิเธียมในประเทศอาร์เจนติน่า


โตโยต้าซื้อเหมืองลิเธียมในประเทศอาร์เจนติน่า

ประกอบ คุปรัตน์Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

ศึกษาและเรียบเรียงจากข่าว “Toyota buys stake in Argentinian lithium deposit.” EV News, SATURDAY, SEPTEMBER 29, 2012

Keywords: Rare earths, lithium, electric cars, ev, Toyota, China, Argentina,


ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า Toyota IQ EV 2013 เป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบ โดยไม่ใช้เครื่องยนต์เผาไหม้เลย

ในขณะที่จีนขู่จะตัดอุปทานของแร่หายาก (Rare earths) ที่จะส่งให้ญี่ปุ่นและชาติอื่นๆในโลก บริษัทญี่ปุ่นเองก็ต้องตื่นตัวที่จะหาแหล่งแร่หายาก ดังลิเธียม (Lithium) ในที่อื่นๆของโลก ซึ่งแร่เหล่านี้จะเป็นแร่สำคัญที่จะมีบทบาทต่อการขยายตัวของกิจการรถยนต์ไฟฟ้า (Electric cars, EVs)

โตโยต้า (Toyota) จะเข้าถือหุ้นร้อยละ 25 ของบริษัท Salar de Olaroz ซึ่งมีสัมปทานแร่ลิเธียมและโปแตสเซียมในอาร์เจนติน่า (Argentina) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทฯจะมีแหล่งแร่ลิเธียมที่ใหญ่พอที่จะสนับสนุนกิจการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตโดยบริษัท

การเคลื่อนไหวของโตโยต้าไม่ได้สร้างความแปลกใจให้กับผู้ติดตามข่าวสารมากนัก  เพราะ Toyota Tsusho ภายใต้การสนับสนุนของบริษัทแม่ได้มองหาแหล่งแร่ที่ใหญ่พอที่จะสนับสนุนกิจการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าของตนมานานพอสมควรแล้ว ญี่ปุ่นต้องการลิเธียม ที่เขาเรียกว่า “ทองคำสีขาว” ปีละ 17,000 ตัน ซึ่งมากเพียงพอที่จะสนับสนุนกระบวนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าปีละ 550,000 คัน ซึ่งหมายความว่าบริษัท Salar de Olaroz จะสามารถให้หลักประกันได้ว่าโตโยต้าจะมีแหล่งแร่รองรับการผลิตของโตโยต้าไปได้อีก 15 ปี

เหมืองแร่ที่ได้มีการถือหุ้นนี้คาดว่าจะมีแหล่งแร่ราคาถูกไปได้ 40 ปี ซึ่งเป็นความได้เปรียบของบริษัท และนอกจากนี้แล้ว ยังเป็นแหล่งแร่โปแตสเซียมได้อีก 10,000 ตันต่อปี

บริษัท Australian Orocobre ของออสเตรเลียเป็นเจ้าของ Salar de Olaroz ร้อยละ 66.5 องค์กร Jujuy provincial Energy and Mining Society of the State (JEMSE) มีหุ้นอยู่ร้อยละ 8.5 ส่วนกิจการน้ำมันของญี่ปุ่น Japan Oil, Gas and Metals National Corporation ให้การค้ำประกันด้วยเงิน $200 ล้าน หรือประมาณ 60,000 ล้านบาท ด้วยดอกเบี้ยต่ำ โดยผ่านการกู้จากธนาคาร Mizuho Corporate Bank ของประเทศญี่ปุ่น

ตามการคาดการ การเจรจาจะจบลงใน 2 สัปดาห์ งานก่อสร้างจะเริ่มขึ้นโดยเร็วที่สุด ส่วนโรงงานเองจะเปิดสายการผลิตได้ในปี ค.ศ. 2014 และหลังจากนั้นจะผลิตแร่ลิเธียมได้ 17,500 ตัน ซึ่งเกินจากความต้องการพื้นฐานที่ 16,400 ตัน

Orocobre อยู่ในฐานะที่ดีที่จะแข็งแกร่งไปตามตลาดที่เติบโตของแร่ลิเธียมและแร่หายากอื่นๆ เมื่อเร็วๆนี้บริษัทได้เข้าครองอีกโครงการในอาร์เจนติน่าจาก Rio Tinto ซึ่งทำให้ได้แร่ Boron และเป็นตัวเสริมให้กับคุณสมบัติของลิเธียม

ชาวเหมืองคาดว่าบริษัทฯจะได้ผลผลิตลิเธียมปีละ 17,500 ตัน เพิ่มจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ปีละ 16,400 ตัน

นอกจากจะใช้ลิเธียมเพื่อผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว แร่นี้ยังใช้เพื่อผลิตแบตเตอรี่สำหรับคอมพิวเตอร์แทบเล็ต (Tablets), คอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว (Notebooks), กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital cameras) และโทรศัพท์มือถือ (Cell phones) ราคาแร่นี้จะเป็น $6,100 ต่อตัน ความต้องการใช้แร่นี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ต่อปี

No comments:

Post a Comment