Friday, October 12, 2012

พระราชินีอลิซาเบธที่หนึ่งแห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England)


พระราชินีอลิซาเบธที่หนึ่งแห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England)


ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: ประวัติศาสตร์, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร, กษัตริย์, ความเป็นผู้นำ, leadership  history, England, United Kingdom, monarch, king, queen, Elizabeth, Mary, พระเจ้าเฮนรี่ที่แปด
Henry VIIIAnne Boleyn, พระนางแมรี่ ราชินีแห่งสก๊อต (Mary, Queen of Scots

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia


ภาพวาด Elizabeth I , "Darnley Portrait", ในปี ค.ศ. 1575

I know I have the body of a weak and feeble woman, but I have the heart and stomach of a king, and of a king of England too. - Elizabeth I

ข้าฯรู้ว่าข้าฯมีร่างกายที่อ่อนแอและบอบบางของสตรี แต่ข้าฯมีหัวใจและความอดทนเยี่ยงราชาคนหนึ่ง และเป็นราชาของอังกฤษด้วย - พระนางเจ้าอลิเซาเบธที่หนึ่ง

พระราชินีแห่งอังกฤษและไอร์แลนด์
Queen of England and Ireland (more...)
ครองราชย์
Reign
วันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1558 24 มีนาคม ค.ศ. 1603
17 November 1558 – 24 March 1603
สรวมมงกุฎ
Coronation
15 มกราคม ค.ศ. 1559
15 January 1559
ผู้ครองราชย์มาก่อน
Predecessors
แมรี่ที่หนึ่งและฟิลิป
Mary I and Philip
ผู้สืบอำนาจต่อ
Successor
เจมส์ที่หนึ่ง
James I
ราชวงศ์
House
ราชวงศ์ทูดอร์
House of Tudor
บิดา
Father
พระเจ้าเฮนรี่ที่แปด
Henry VIII
มารดา
Mother
แอน โบลีน
Anne Boleyn
เกิดเมื่อ
Born
7 กันยายน ค.ศ. 1533
7 September 1533
เมืองกรีนวิช ประเทศอังกฤษ
Greenwich, England
เสียชีวิต
Died
24 มีนาคม ค.ศ. 1603
(อายุ
69 ปี)
24 March 1603 (aged 69)
ที่เมืองริชมอนด์ ประเทศอังกฤษ
Richmond, England
ฝังศพ ณ
Burial
วิหารเวสท์มินเตอร์
Westminster Abbey
ลายเซ็นSignature
Description: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/54/Autograph_of_Elizabeth_I_of_England.svg/125px-Autograph_of_Elizabeth_I_of_England.svg.png

พระราชินีอลิซาเบธที่หนึ่ง (Elizateth I) หรือเรียกง่ายๆว่า “อลิซาเบธ” (Elizabeth) จนกระทั่งมีพระราชินีอลิซาเบธที่สอง (Elizabeth II)

อลิซาเบธที่หนึ่ง คือกษัตริย์ของอังกฤษและสหราชอาณาจักร เกิดเมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1533 และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1603 พระองค์เป็นพระราชินีผู้ครองราชย์ (Regnant queen) ของประเทศอังกฤษและไฮร์แลนด์ จากวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1533 จนถึงเมื่อสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1603

พระองค์ได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชินีพรหมจรรย์” (The Virgin Queen) “ผู้นำมาซึ่งชัยชนะ” หรือ กลอเรียน่า (Gloriana) หรือ “ราชินีเบสผู้ประเสริฐ” (Good Queen Bess) พระนางเป็นกษัตริย์องค์สุดท้าย ของราชวงศ์ทูดอร์ (Tudor dynasty) ซึ่งมีกษัตริย์ทั้งหมด 5 พระองค์

พระราชินีอลิซาเบธที่หนึ่งไม่ได้อภิเษกสมรส เป็นโสดตลอดชีวิต จึงไม่ได้ผูกพันกับการมีทายาทสืบทอดอำนาจต่อไป ในทางการเมืองพระนางใช้การทูต การเจรจาควบคู่ไปกับการทำให้อังกฤษมีความแข็งแกร่ง ในทางศิลปะ วัฒนธรรม พระนางทรงส่งเสริมให้เสรีภาพในการแสดงออก การคิดและการเขียน

พระราชินีอลิซาเบธที่หนึ่ง (Elizabeth I) พระนางเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 และองค์สุดท้ายของราชวงศ์ทูดอร์ (Tudor dynasty) เป็นธิดาของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 (Henry VIIIเมื่อเกิดเป็นเจ้าฟ้าหญิง (Princess) โดยพระมารดา แอน โบลีน (Anne Boleyn) ซึ่งเป็นพระราชินีของกษัตริย์เฮนรีที่ 8 แต่หลังประสูติได้ 2 ปีครึ่ง พระมารดาถูกประหารชีวิต อลิซาเบธถูกประกาศตัดจากเป็นพระธิดาที่ถูกต้องตามกฎหมาย พี่น้องต่างมารดาผู้สืบทอดอำนาจ คือยุวกษัตริย์ Edward VI ก่อนสิ้นพระชนม์ ได้ยกการสืบทอดอำนาจต่อให้ท่านผู้หญิงเจน เกรย์ (Lady Jane Grey) โดยตัดพระนางและแมรี่ (Mary) ออกจากการสืบราชบัลลังก์ ต่อมา Lady Jane Grey ซึ่งอยู่ในอำนาจได้เพียงช่วงสั้นๆ 7 วัน ก็ถูกโค่นล้ม และต่อมาถูกตัดสินประหารชีวิต


ภาพ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 บิดา และ พระมารดา แอน โบลีน (Anne Boleyn) 

ในปี ค.ศ. 1558 อลิซาเบธได้ครองอำนาจต่อจากพระราชินีแมรี่ที่หนึ่ง (Catholic Mary I) ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้อง ผู้นับถือคริสต์ศาสนานิกายคาธอลิก ในระหว่างที่พระราชินีแมรี่ครองอำนาจ อลิซาเบธถูกจำคุกด้วยความไม่ไว้วางใจเป็นเวลาเกือบปี แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายกบฏนับถือนิกายโปรเตสแตนท์

พระราชินีอลิซาเบธที่หนึ่ง (Elizabeth I) ตลอดชีวิตของพระนางได้ใช้ชีวิตโดยไม่มีการสมรสในขณะดำรงตำแหน่งพระราชินีของอังกฤษ พระนางเป็นตัวอย่างที่ดีเลิศของการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่เมื่อต้องทำหน้าที่ ก็สามารถดึงความสนใจและรวมถึงเสน่ห์ที่เป็นข้อได้เปรียบ ดังมีบทบาทสำคัญในการเจรจาเพื่อสันติภาพระหว่างฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งรวมถึงการโปรยเสน่ห์กับผู้ปกครอง Anjou และ Alencon ให้ถอนทหารออกไปเมื่อมีการลงนามในสัญญาสงบศึก

พระนางอลิซาเบธเป็นคนมีลักษณะไม่ตกปากตกคำกับใครง่ายๆ ดูเหมือนตัดสินใจช้า ฟังข้าราชการที่ถวายความเห็น แต่เมื่อตัดสินใจแล้วก็จะได้รับการยกย่องว่าเป็นการตัดสินใจที่ดี

ในการปกครอง อลิซาเบธบริหาราชการแบบสายกลาง ไม่ได้ใช้อำนาจเหมือนอย่างพระบิดา น้องชาย พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่หก (Edward VI)  หรือพระนางแมรี่ (Queen Mary) น้องสาวของพระนางก่อนหน้านี้ 

คำขวัญของพระนางคือ "video et taceoข้าได้เห็น และข้าไม่พูดอะไร (I see, and say nothing) หรืออีกนัยหนึ่ง คือ การเป็นกษัตริย์ไม่จำเป็นต้องไปมีความเห็นในทุกเรื่อง หรือเมื่อเห็นแล้ว ไม่ได้พูด ก็แสดงว่าทำอะไรมาก็ทำต่อไป

ในทางศาสนา ขณะที่ประเทศอังกฤษกำลังมีความแตกแยกทางศาสนา ส่วนหนึ่งยังสวามิภักดิ์ต่อกรุงโรม เป็นพวกนิกายคาธอลิก (Catholic) ส่วนอีกพวกเป็นพวกไม่เห็นด้วยกับกระแสหลัก (Protestants) พระนางมีความอดทนในความแตกต่างเหล่านี้ และหลีกเลี่ยงการลงโทษผู้นับถือศาสนาต่าง หลังปี ค.ศ. 1570 พระสันตปาปาในกรุงโรมประกาศตัดเยื่อใยกับพระนาง และให้ผู้นับถือนิกายคาธอลิกไม่ต้องสวามิภักดิ์ต่อพระนาง ทำให้มีการข่มขู่คุกคามพระนาง จนถึงการลอบสังหาร แต่แผนการเหล่านั้นก็ล้มเหลว ทั้งนี้ด้วยพระองค์ขุนนางที่สวามิภักดิ์ และมีหน่วยสืบราชการลับคอยดูแลปกป้อง อลิซาเบธดำเนินนโยบายการต่างประเทศอย่างระมัดระวังที่จะต้องดูแลมหาอำนาจในยุโรปอย่างฝรั่งเศสและสเปนในขณะนั้น

มีคนส่วนหนึ่งมองว่าอลิซาเบธเป็นคนมีโชค ที่ทำให้ชะตาได้มาครองอำนาจในประเทศอังกฤษ และครองอยู่ได้อย่างราบรื่นเป็นเวลายาวนาน แต่ชีวิตของพระนางอลิซาเบธจริงๆมิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ มิได้เป็นกษัตริย์ที่ทำตามใจตัวเองได้ดังปรารถนา

พระนางเกิดมาเป็นพระธิดาของพระเจ้าเฮนรี่ที่แปด (Henry VIII) มีฐานะเป็นเจ้าหญิง (Princess) แต่เมื่อพระมารดา แอน โบลีน (Anne Boleyn) ซึ่งเป็นมเหสีองค์โปรดของพระเจ้าเฮนรี่ มิได้เป็นที่โปรดปรานอีกต่อไป ด้วยเหตุผลหนึ่งคือไม่สามารถให้กำเนิดพระโอรสได้ ต่อมาได้เกิดความแปลกแยก ห่างเหิน และขัดแย้ง จนในที่สุด แอน โบลีนเป็นหญิงแกร่งที่เชื่อมั่นในตนเอง มีลักษณะยอมหัก แต่ไม่ยอมงอ เมื่ออลิซาเบธมีอายุได้ 2 ปีครึ่ง พระมารดา ก็ถูกตัดสินประหารชีวิต อลิเซาเบธถูกปลดจากฐานันดร มิได้มีสถานะเป็นเจ้าหญิงอีกต่อไป ต่อมาพี่น้องต่างมารดา พระเจ้าเอดเวิร์ดที่หก (Edward VI) ยกราชบัลลังก์ให้กับท่านผู้หญิงเจน เกรย์ (Lady Jane Grey) ตัดพี่น้องสององค์ คือ อลิซาเบธ และแมรี่ซึ่งเป็นแคธอลิก (Catholic Mary) ออกไป แต่กระนั้นแมรี่ได้เป็นพระราชินีครองราชย์ต่อมา ท่านผู้หญิงเจน เกรย์ถูกประหารชีวิต ในปี ค.ศ. 1558 อลิซาเบธได้รับสืบทอดราชวงศ์ต่อมาจากแมรี่ แต่มิใช่ได้มาโดยง่าย เพราะก่อนหน้านั้น ด้วยความหวาดระแวง อลิซาเบธถูกจำคุกด้วยสงสัยว่าเป็นผู้สนับสนุนพวกโปรเตสแตนท์ให้ก่อการกบถ


ภาพวาด วิเลเลียม ซีซิล (William Cecil)

อลิซาเบธใช้หลักการบริหารด้วยการมีที่ปรึกษาที่ดี (Rule by good counsel) โดยพระนางปกครองโดยพึ่งพากลุ่มที่ปรึกษาที่นำโดย William Cecil, Baron Burghley

วิเลเลียม ซีซิล (William Cecil), ซึ่งมีตำแหน่งเป็น 1st Baron Burghley บางทีสะกดว่า Burleigh), KG เกิดเมื่อวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1520 เสียชีวิตเมื่อ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1598 เป็นชาวอังกฤษ เป็นรัฐบุรุษ (statesman) หัวหน้าคณะที่ปรึกษาของพระราชินีอลิซาเบธที่หนึ่งเกือบตลอดชั่งสมัยการปกครอง ได้ครองตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทย (Secretary of State) สองครั้ง คือ ค.ศ. 1550–1553 และ 1558–1572 และเป็นรัฐมนตรีดูแลการคลัง (Lord High Treasurer)

สิ่งที่พระนางทำต่อมาคือการจัดตั้งคริสตศาสนานิกายอังกฤษ (English Protestant church) ซึ่งพระนางทำหน้าที่เป็นผู้ปกครอง การจัดตั้งนิกายใหม่ต่อมาได้ค่อยๆเปลี่ยนไป จนปัจจุบัน คือ Church of England

ในระหว่างครองราชย์ มีคนคาดการณ์กันว่าพระนางจะต้องอภิเษกสมรส เพื่อจะได้มีผู้สืบราชวงศ์ทูดอร์ แต่พระนางก็มิได้กระทำเช่นนั้น แม้ในระหว่างนั้นได้มีความสัมพันธ์กับผู้ชายหลายคน (numerous courtships) ได้รับข้อเสนอเพื่อสมรสด้วยหลายครั้ง แม้จนเมื่อสูงอายุแล้ว พระนางมีชื่อเสียงในฐานะเป็นโสด ทำให้เกิดการเอาอย่าง มีการแห่แหน ยกย่อง ตลอดจนมีวรรณกรรมที่เกี่ยวกับพระนางแม้จนปัจจุบัน

ในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อลิซาเบธเลือกการสร้างสัมพันธไมตรีกับทุกประเทศ หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและการทำสงคราม แม้จะมีการรบกันบ้างกับ อลิซาเบธไม่ได้ทุ่มเทการลงทุนของประเทศไปกับกิจการทหาร เมื่อต้องรบกับเพื่อนบ้านอย่าง Netherlands, France, และ Ireland จนกระทั่งในช่วงกลางทศวรรษที่ 1580s ที่การสงครามกับสเปนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แล้ว อังกฤษภายใต้การนำของเธอก็เป็นฝ่ายรบชนะ

จากการรบกับฝ่ายสเปนที่เรียกว่า Spanish Armada สเปนภายใต้การนำโดย Duke of Medina Sidonia ในปี ค.ศ. 1588 โดยหวังว่าจะเป็นการโค่นล้มอลิซาเบธ แล้วทำให้ประเทศอังกฤษของพระนางไม่ยุ่งกับพันธมิตรสเปนและเนเธอร์แลนด์ (Spanish Netherlands) ในกิจการขยายอิทธิพลในมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิกอีกต่อไป แต่ผลของการสู้รบทางเรือ

ฝ่ายอังกฤษสูญเสียที่การสู้รบที่เกรฟไลน์ (Battle of Gravelines) โดย เสียชีวิต 50-100 คน, บาดเจ็บ 400 คน เสียเรือปืน 8 ลำ ป่วยตายด้วยโรค (Disease) 6,000–8,000 คน

ฝ่ายสเปน (Habsburg Spain) ประกอบด้วย Castile, ปอร์ตุเกส (Portugal) และราชอาณาจักรแห่งเนเปิล (Kingdom of Naples) สูญเสียที่การสู้รบที่เกรฟไลน์ (Battle of Gravelines) เสียชีวิต 600 คน บาดเจ็บ 800 คน ถูกจับได้ 397 คน เรือจมหรือถูกจับได้ 5 ลำ แต่ที่สูญเสียหนัก คือจากพายะ และโรคภัยไข้เจ็บ โดย เรือจม 51 ลำ แตกหนี 10 ลำ และเสียชีวิต 20,000 คน ความพ่ายแพ้ใหญ่ คืออังกฤษสามารถตัดขาดกองเรือของฝ่ายสเปน แล้วไล่ติดตาม จนเรือของฝ่ายสเปนต้องแตกทัพออกสู่ทะเลใหญ่ แล้วประสบปัญหาพายุในทะเล จากเรือ 131 ลำ มีถึง 53 ลำไม่สามารถกลับไปยังสเปนได้เลย


ภาพ เซอร์ ฟรานซิส เดรค (Sir Francis Drake)

ในช่วงการปกครองของอลิซาเบธ หรือที่เรียกว่า Elizabethan era อังกฤษรุ่งเรืองด้านการละคร (English drama) นำโดยบทละครของศิลปินอย่าง William Shakespeare และ Christopher Marlowe ในด้านการบุกเบิกแสวงโอกาสทางทะเล พระนางมีคนอย่าง Sir Francis Drake ซึ่งเป็นนายทหารเรือวีรบุรุษสำหรับชาวอังกฤษ แต่สเปนมองว่าเขาคือโจรสลัด


ภาพ พระนางแมรี่ ราชินีแห่งสก๊อต (Mary, Queen of Scots

ในด้านการแย่งชิงอำนาจ พระนางแมรี่ ราชินีแห่งสก๊อต (Mary, Queen of Scots) ซึ่งเป็นพระญาติของอลิเซาเบธ แมรี่

ราชินีแห่งสก๊อต (Mary, Queen of Scots) เป็นคนละคนกับ พระราชินีแมรีที่หนึ่งแห่งอังกฤษ (Mary I of England)

พระนางแมรี ราชินีแห่งสก๊อต (Mary, Queen of Scots) หรือรู้จักกันในนาม Mary Stuart หรือ Mary I of Scotland เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1542 และเสียชีวิตวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1587 พระนางแมรีได้เคยอ้างสิทธิในบรรลังก์ของอังกฤษ ที่ครองโดยอลิซาเบธ ซึ่งฝ่ายอังกฤษผู้นับถือคาธอลิก รวมถึงฝ่ายกบฎที่รู้จักกันในชื่อ Rising of the North เห็นว่าพระนางแมรีคือผู้มีสิทธิสืบราชบัลลังก์ที่แท้จริง

พระนางแมรีได้ถูกจำคุกจำกัดบริเวณตั้งแต่ปี ค.ศ. 1568 และถูกโยกย้ายไปในหลายที่ จนในปี ค.ศ. 1587 พระนางแมรี่ได้ถูกพิจารณาโทษฐานซ่องสุม ก่อการกบฏ วางแผนลอบสังหารพระราชินีอลิเซาเบธ และถูกนำตัวสู่การพิจารณาในศาล และในที่สุดได้ถูกประหารชีวิต

พระราชินีอลิซาเบธที่หนึ่ง สวรรคตในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1603 ในช่วง 44 ปีที่อลิซาเบธครองราชย์ นับได้ว่าเป็นช่วงความสงบที่ประเทศมีเสถียรภาพ มีความรุ่งเรือง และสร้างเอกลักษณ์ความเป็นชาติให้เกิดขึ้น

การสวรรคตของพระราชินีอลิซาเบธได้สร้างความเศร้าโศกแก่ชาวอังกฤษ แต่บางฝ่ายก็บอกโล่งอก อลิซาเบธได้รับการยกย่องในบรรดากล่มผู้นับถือคริสตศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ นับเป็นช่วงยุคทอง ฝ่ายคาธอลิกมองว่าอลิซาเบธเป็นผู้เห็นใจชาวคาธอลิก ฝ่ายรักชาติที่มองเห็นเอกภาพของอังกฤษ มองอลิซาเบธว่าแม้ไม่ใช่กษัตริย์นักรบ แต่ได้สร้างความเป็นปึกแผ่นให้เกิดขึ้น แม้มีช่วงที่นับเป็นความยุ่งยากทางการทหารและเศรษฐกิจ สมัยของอลิซาเบธนับเป็นช่วงที่ฝ่ายราชวงศ์ ศาสนจักร และรัฐสภา สามารถทำงานร่วมกันได้ตามรัฐธรรมนูญอย่างสมดุล

No comments:

Post a Comment