รถไฟความเร็วสูง – จะทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจและการต้องรับผิดชอบรัดเข็มขัดไปพร้อมๆกัน
Keywords: การคมนาคม, transportation,การขนส่ง, ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน, รถไฟความเร็วสูง, High-Speed
Rail, High-Speed Trains, Boston, New York, ฟิลาเดลเฟีย, Philadelphia
ภาพ รถไฟความเร็วสูงของจีน ที่เร็วที่สุดในโลกระหว่างสนามบินเซียงไฮกับในตัวเมือง
ผู้เขียนได้อ่านบทความเรื่อง
“High-Speed Rail: Unexpected Economic
Stimulus Vs. Austerity.” โดย Matthew E. Kahn ซึ่งเป็นศาสตราจารย์อยู่ที่ UCLA's Institute of the Environment, the Department of
Economics, และ
Department of Public Policy ได้เกิดความคิดที่อยากจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
เพราะที่สหรัฐอเมริกา โดยการนำของรัฐบาลกลางของโอบาม่า
เขาก็กำลังสนใจพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (High-Speed Rail – HSR system) เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
และเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทาง และติดต่อสื่อสาร แต่เขาก็ประสบปัญหาว่า
แล้วจะทำอย่างไรกับระบบทางหลวงสำหรับการขนส่งโดยรถโดยสาร
และที่มากที่สุดคือการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว
จากประสบการณ์รถไฟความเร็วสูงในประเทศจีน
ทำให้เกิดโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ที่นอกเหนือจากการสร้างและการดำเนินการรถไฟ
มันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของเมืองที่เกิดการต่อเชื่อม นักการเมือง นักวิชาการ และผู้นำธุรกิจจำนวนมากที่ไปดูงานในประเทศจีนต่างก็มองเห็นโอกาสใหม่ๆที่เกิดขึ้นนี้
สมมุติตัวอย่าง - ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมืองฟิลาเดลเฟีย
(Philadelphia) ในรัฐเพนซิลเวเนีย อยู่ห่างจากเกาะแมนฮัตตัน (Manhattan,
NYC) ในเมืองนิวยอร์ค 101 ไมล์
ในปัจจุบันใช้เวลาเดินทางระหว่างสองเมืองนี้ประมาณ 1 ชั่วโมง
50 นาที สมมุติว่าสายการเดินรถไฟดัง Amtrak สามารถใช้ความเร็วได้เหมือนรถไฟหัวกระสุนในประเทศจีน วิ่งได้ด้วยความเร็ว 175
ไมล์/ชั่วโมง ใช้เวลา 35 นาที
โอกาสที่บ้านในเมืองฟิลาเดลเฟียจะมีราคาเพิ่มขึ้นไปจากค่าเฉลี่ย $140,000 (4.2
ล้านบาท) เป็นไปได้สูงมาก
เพราะโอกาสในการทำงานในเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์คก็จะสูงมากขึ้น
การเดินทางไปทำงานในยุคใหม่ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องไปอยู่ในเมืองใหญ่
แต่เป็นการมีความสามารถเดินทางไปติดต่อพูดคุย เจรจาธุรกิจ นัดพบลูกค้าและเครือข่าย
เหล่านี้สามารถกระทำได้เป็นระยะๆ เช่น เดือนละ 2-4 ครั้งแบบไปเช้าเย็นกลับ
ไม่ต้องเสียค่าที่พัก ดังนี้ก็สามารถกระทำได้
ประชากรของเมืองฟิลาเดลเฟียก็จะเพิ่มขึ้น
ระบบสนับสนุนต่างๆ ก็จะผลุดขึ้นเพื่อรองรับ เกิดเป็นที่ๆเขาเรียกด้วยคำใหม่ว่า “Suburbia”
หรือชานเมืองยุคใหม่
การมีรถไฟความเร็วสูงในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเรื่องดีแน่
แต่ขณะเดียวกัน ก็มีคำถามเช่นเดียวกันว่า แล้วบทบาทของรัฐบาลกลาง (Federal
government) ควรจะเป็นเช่นใด เพราะรัฐบากลางก็ต้องอาศัยภาษีอากรจากคนทั้งประเทศ
ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ แล้วทำอย่างไรจึงจะยุติกรรมสำหรับคนทั้งประเทศ
เพราะมิใช่ทุกเมืองจะได้ประโยชน์เหมือนกัน
ใช้ข้อมูลจาก 262 เมืองที่ได้เก็บข้อมูล
พบว่าจะทำให้เมืองที่มีระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงผ่าน บ้านจะมีราคาสูงขึ้น
เมื่อมีการต่อเชื่อมกับเมืองใหญ่ โดยคำนวณว่าในทุกการใช้รถไฟความเร็วสูง 1,000
ล้านกม./คน ราคาบ้านจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ผมกระทบนี้จะมีต่อเมืองที่เจ้าของที่ดินในเมืองระดับสองหรือสาม
(Second & third tier cities) สรุปได้ว่าเมืองที่อยู่ ณ
สถานีต้นทาง ปลายทาง และบริเวณรัศมีออกไป จะได้ประโยชน์จากรถไฟความเร็วสูงแน่ และเขาก็อยากได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้มาโดยไม่ต้องจ่าย
แต่เป็นเงินที่ได้มาจากภาษีอากรของคนอื่นๆ ในส่วนอื่นๆ
สำหรับประเทศโดยรวม
การที่มีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่างเมืองใหญ่กับเมืองใหญ่ หรือกับเมืองขนาดเล็กรองลงไป
ทำให้ผู้คนไม่ต้องมากระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่
ที่มีข้อจำกัดด้านที่พักอาศัยและระบบสาธารณูปโภคอยู่แล้ว ทำให้ปัญหาความแออัดในเมืองใหญ่ลดลงไป
สามารถมีเวลาและทรัพยากรเหลือที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู่อยู่อาศัยได้ดีขึ้น การเชื่อมโยงการขนส่งและเดินทาง
ทำให้เมืองได้ประโยชน์
เหมือนกับที่เมื่อมีอินเตอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างกัน สังคมโดยรวมก็ได้ประโยชน์
รองย้อนกลับมาที่กรุงเทพฯ (Bangkok) การจะมีที่พักแบบคอนโดมิเนียมใหม่ ขนาด 60 ตารางเมตร/หน่วย
มี 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ ราคาตารางเมตรละ
100,000 บาท คิดเป็นเงินเท่ากับ 6,000,000 บาท แต่ที่พักแบบในเมืองขนาดรองลงไป เช่นนครราชสีมา พิษณุโลก
เพชรบุรี/ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี ระยอง จะมีราคาประมาณ 1.5 ล้านบาท
หรือ 1 ใน 4 ของบ้านในเขตเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ
ดังนั้นการที่คนจะเลือกไปอยู่เมืองเล็กกว่า
ค่าครองชีพถูกกว่า หาบ้านพักได้ในราคาไม่แพง คุณภาพชีวิตดีกว่า
และเมื่อต้องการติดต่อเรื่องการงาน ก็ค่อยเข้ามาในเมืองใหญ่
และเข้ามาแบบไม่ต้องใช้รถยนต์ส่วนตัว แต่ใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทน
เหมือนกับคนใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ ในนิวยอร์ค ปารีส ลอนดอน โตเกียว ฮ่องกง ฯลฯ เขาก็ไม่ใช้รถยนต์ส่วนตัวกัน
เรื่องแบบนี้ ทุกคนมองเห็นโอกาสของรถไฟความเร็วสูง แต่มักอยากได้ของฟรี
ไม่ต้องลงทุน รัฐบาลกลางรับไปจัดการ
แต่รถไฟความเร็วสูงมีค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น
นับหลายพันล้านเหรียญ ดังแผนรถไฟความเร็วสูงที่รวมต้องใช้เงินถึง 2 ล้านล้านบาท แล้วใครจะเป็นคนออกค่าใช้จ่าย คำตอบคือ Who benefit,
who pay. หรือใครได้ประโยชน์ ฝ่ายนั้นๆ ก็ต้องเป็นคนรับค่าใช้จ่าย ทั้งนี้อาจเป็นในระยะสั้น
หรือในระยะยาว สำหรับสังคมโดยรวม เมื่อต้องลงทุนในสิ่งหนึ่ง
ก็ต้องไปลดค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ นำผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นมาจากระบบโครงสร้างพื้นฐานนี้
ไปจ่ายสนับสนุนโครงการที่จะจัดให้มีขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องกระทำอย่างมีวินัยทางการเงิน
(Austerity)
เมื่อมีรถไฟความเร็วสูงเกิดขึ้น
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณนั้นๆได้รับประโยชน์
เขาก็ต้องมีส่วนจ่ายค่าภาษีที่ดินมาสมทบ เมื่อคนเดินทางโดยรถไฟความเร็วสูงได้
ไม่ต้องไปขับรถยนต์เพื่อเดินทางระหว่างเมือง หรือต้องนั่งเครื่องบิน
สิ่งที่จะได้มาคือการประหยัดพลังงานน้ำมัน ก็ต้องไปหาทางเก็บภาษีน้ำมันเพิ่มขึ้น
เพื่อเป็นการปรามให้คนใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลง หรือใช้อย่างระมัดระวังยิ่งขึ้น เหมือนในยุโรปที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงได้บวกค่าภาษีเอาไว้อย่างมาก
ทำให้น้ำมันแพงขึ้นไปเป็นร้อยละ 40-50
การจะเกิดรถไฟความเร็วสูงแล้วมีคนใช้บริการจำนวนมากพอ
จึงจะเกิดความคุ้ม ดังนั้นจึงต้องทำให้ค่าใช้จ่าย ค่าตั๋วให้ถูกอย่างน้อยในช่วงระยะสั้น
เพื่อดึงดูดให้คนมาใช้บริการจนคุ้น เป็นเหมือนระยะการส่งเสริมการขาย
ทำให้คนเห็นประโยชน์ใช้สอยให้เป็นรูปธรรมได้มากและเร็ว แต่ขณะเดียวกัน
ก็ต้องมาวางนโยบายที่เป็นธรรมในด้านค่าใช้จ่ายจริงที่เกี่ยวข้อง
คนหรือบริเวณที่ได้รับประโยชน์ ก็ต้องเป็นคนจ่ายมากกว่าส่วนอื่นๆ
ส่วนคนที่เขาอยู่ห่างออกไป หรือเส้นทางยังไม่ยังประโยชน์ให้เขาโดยตรง
ก็ไม่ต้องจ่าย จนกว่าจะมีแผนงานและเส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่าน
ย้อนกลับมาที่นโยบายรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย
ผู้เขียนไม่เถียงว่าเป็นของไม่ดี แต่ต้องเป็นของที่คิดอย่างรอบคอบ
ไม่ใช่คิดถึงเพียงการใช้เงิน หรือทางเทคโนโลยี
แต่ต้องคิดถึงการนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ และวิธีการหางานมาเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง
ภาพ ผู้นำทางการเมืองของสหรัฐ ไปดูงานการพัฒนารถไฟความเร็วสูงในประเทศจีน
ภาพ รถไฟความเร็วสูงในสหรัฐ มีคนอยากได้ แต่ยังไม่ได้พูดถึงวิธีการที่จะหาคนมาจ่าย ไม่ได้ทำเป็นนโยบายภาครัฐที่มีข้อยุติ
No comments:
Post a Comment