ห้องสมุดประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา
(Presidential Library)
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia
Keywords: ประวัติศาสตร์, history, สหรัฐอเมริกา, USA, ประธานาธิบดี, president,
presidency, ความเป็นผู้นำ, leadership, ห้องสมุด,
หอสมุด, Presidential library
ความนำ
อย่าปล่อยให้ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งเงียบหายไป
The dogmas of the quiet past are
inadequate to the stormy present. The occasion is piled high with difficulty,
and we must rise with the occasion. As our case is new, so we must think anew
and act anew.
ลัทธิที่เชื่อว่าปล่อยให้ประวัติศาสตร์เงียบหายไป
จะไม่เพียงพอที่จะเตรียมเราสำหรับคลื่นพายุใหญ่ในอนาคต
บางครั้งความยากลำบากถาโถมเข้ามา และเราต้องลุกขึ้นดำเนินการ
เพราะเรื่องมันเข้ามาใหม่ เราจึงต้องมีวิธีการใหม่ๆที่จะดูแลสิ่งเหล่านั้น
ประธานาธิบดีอับราฮัม
ลินคอล์น
Abraham Lincoln
Abraham Lincoln
ประวัติศาสตร์อาจเป็นความเจ็บปวด
เป็นความน่าอับอายของชาติและประชาชน และการอยากที่จะลืม
แต่เพื่อให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็งและมั่นคง เราต้องเรียนรู้จากอดีต
ไม่ว่ามันจะถูกหรือผิด จะเจ็บปวด หรือฮึกเหิม อดีตเป็นครูที่ทำให้เราอยู่กับปัจจุบันอย่างเข้าใจ
และความหยั่งรู้เช่นนี้ จึงจะทำให้เราก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ห้องสมุดประธานาธิบดี
ห้องสมุดประธานาธิบดี (Presidential
library) มิใช่เป็นห้องสมุดที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีคนใดคนหนึ่ง
หรือเป็นห้องสมุดที่ประธานาธิบดีแต่ละคนใช้เพื่อการศึกษาเป็นส่วนตัว อย่างที่เข้าใจกัน
ในประเทศสหรัฐอเมริกา (United States) ระบบห้องสมุดประธานาธิบดี
(presidential library system)
เป็นเครือข่ายห้องสมุดระดับชาติ มีห้องสมุด 13 แห่งที่บริหารโดยสำนักงานห้องสมุดประธานาธิบดี
(Office of Presidential Libraries) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ
หน่วยงานจัดเก็บข้อมูลด้านการบริหารแห่งชาติ (National
Archives and Records Administration) ที่เรียกชื่อย่อๆว่า
NARA ห้องสมุดเหล่านี้ทำหน้าที่เก็บรักษาและทำให้ข้อมูลด้านเอกสาร
บันทึก งานสะสม และเอกสารประวัติศาสตร์ของทุกประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
ตั้งแต่ประธานาธิบดีฮูเวอร์ (Herbert Hoover) เป็นต้นมา
แม้ห้องสมุดในระบบทั้งหมด
แม้จะมีประธานาธิบดีหลายคนที่มีข้อมูลที่ไม่ได้บริหารงานโดย NARA แต่ก็ถือว่าหน่วยงานนี้ทำหน้าที่ดูแลงานด้านประวัติศาสตร์ที่พร้อมจะให้ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานแผ่นดินของประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยลักษณะการทำงานของประธานาธิบดีต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ทำหน้าที่ให้กับประเทศ
ไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องราชการที่จะถือว่าเป็นความลับส่วนตัวที่ไม่เปิดเผย ประชาชนเจ้าของประเทศมีสิทธิรับรู้ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในช่วงของการบริหาร
ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงานแผ่นดินในฐานะประธานาธิบดีนั้น เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งแล้ว
เอกสารส่วนที่ถือเป็นความลับก็จะได้รับการพิจารณาเปิดเผย
หากข้อมูลนั้นไม่มีผลกระทบต่อการบริหารประเทศในปัจจุบัน และข้อมูลที่เปิดเผยนั้น
จะเป็นการทำให้สังคม
และสถาบันต่างๆได้เรียนรู้จากบทเรียนประวัติศาสตร์ที่ได้เกิดขึ้น
มีห้องสมุดประธานาธิบดีบางแห่ง
บริหารงานโดยตรงจาก NARA มีบางแห่งที่เป็นเจ้าภาพร่วมกันกับหน่วยงานภายในแต่ละรัฐ
ซึ่งอาจเป็นมูลนิธิที่ไม่แสวงกำไร หรือมหาวิทยาลัยหลักที่มีอยู่ในรัฐเหล่านั้น
ภาพ “บ้านเก่า”
(Old House) ที่ควินซี่ รัฐแมสซาชูเสทส์ (Quincy
Massachusetts) เป็นที่พักของตระกูลจอห์น อาดัมส์ (John
Adams) ประธานาธิบดีคนที่สองของสหรัฐอเมริกา และครอบครัวของเขาถึง 4
ชั่วคน มันเป็นบ้านของจอห์น อาดัมส์กับอบิเกล อาดัมส์ (Abigail
Adams) ภรรยาของเขา ลูกชาย จอห์น ควินซี่ อาดัมส์ (John
Quincy Adams) ซึ่งได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 เขาได้เป็นประธานาธิบดีช่นเดียวกับบิดา และภรรยา คือลุยซ่า แคเธอรีน
อาดัมส์ (Louisa Catherine Adams) และบุตรชาย ชาร์ลส ฟรานซิส
อาดัมส์ (Charles Francis Adams) ซึ่งได้เป็นเอกอัครทูตประจำประเทศสหราชอาณาจักรในช่วงของสงครามกลางเมืองในสหรัฐอเมริกา
และนักประวัติศาสตร์เฮนรี่ อาดัมส์ (Henry Adams) และบรูคส์
อาดัมส์ (Brooks Adams) ก็เคยอาศัยอยู่ที่นี่ บ้านเก่าอันเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์หลังนี้
ในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติอาดัมส์ (Adams
National Historical Park) ดำเนินการโดยสำนักงานอุทยานแห่งชาติ (National
Park Service) และเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้
ภาพ ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ประธานาธิบดีรูสเวลท์
(Franklin D. Roosevelt Presidential Library and Museum) ตั้งอยู่ที่ไฮด์
ปาร์ค รัฐนิวยอร์ค (Hyde Park, New York) ดำเนินการโดย NARA
หากใครต้องการจะเรียนรู้เกี่ยวกับผู้นำที่ต้องบริหารในช่วงความยากลำบากทางเศรษฐกิจ
(Great Depression) และการต้องเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่สอง
(World War II) ก็ต้องศึกษาการทำงานของประธานาธิบดีแฟรงคลิน
ดี รูสเวลท์ ผู้อยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีถึง 4 สมัย
No comments:
Post a Comment