บริษัทรถยนต์ Detroit Electric ฟื้นคืนชีพ หันมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) อีกครั้ง
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Keywords: การคมนาคม, transportation,การขนส่ง, ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน, fuel efficiency, Detroit
Electric, Anderson Electric Car Company, Lotus,
Tesla Roadster, SP:01, EV, PHEV, HEV, electric hybrid,
เรียบเรียงจาก “Detroit Electric, jolted
back from the dead.” BBC-AUTO, ALT-GREEN| 4 April 2013 โดย Matthew Phenix
ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า SP:01 ของบริษัท Detroit Electric
บริษัทรถยนต์ Detroit Electric ฟื้นคืนชีพ หันมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) อีกครั้ง
โดยผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น SP:01 ออกสู่ตลาด
รถยนต์ไฟฟ้า SP:01 เป็นรถยนต์สปอร์ตสองที่นั่ง
ขนาดเล็ก จัดเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่เร็วที่สุดในโลก ใช้โครงร่างรถสปอร์ตพัฒนาโดยบริษัทรถยนต์
Lotus รุ่นสูงสุด รถยนต์ไฟฟ้า SP:01 วิ่งได้
62 ไมล์ต่อชั่วโมงภายใน 3.7 วินาที
ทำความเร็วสูงสุดได้ 155 ไมล์/ชั่วโมง
ด้วยความเข้มงวดด้านน้ำหนักตัวรถและความแข็งแรง
รถยนต์รุ่น SP:01 จึงใช้ตัวถังเป็นวัสดุประสมคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon
Fiber) ร่วมกับอลูนิเนียม ติดตั้งตัวมอเตอร์ไว้ตรงกลางรถ ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่แบบลิเธียมโพลิเมอร์
(Lithium Polymer) ให้พลังงาน 201 แรงม้า
ล้อหลังเป็นตัวขับเคลื่อนด้วยระบบ 4 เกียร์มือ
และมีให้เลือกแบบ 2 เกียร์อัตโนมัติ น้ำหนักตัวรวม 2,400
ปอนด์ หรือ 1,090 กก.
ซึ่งรวมถึงน้ำหนักแบตเตอรี่แล้ว นับว่าคุมน้ำหนักตัวรถได้ดี
Detroit Electric จะผลิตรถยนต์รุ่นนี้มาทั้งหมด 999
คัน เริ่มขายในเดือนสิงหาคม ราคาตกอยู่ที่คันละ $135,000 หากใครคุ้นเคยกับรถยนต์ไฟฟ้า Tesla
Roadster ซึ่งใช้ตัวถังแบบเดียวกันที่เคยขายในราคา $110,000 ก็ให้เข้าใจได้ว่าเป็นราคาปรับตัวตามค่าเงินเฟ้อ สำหรับแฟนๆ ของ Tesla
Roadster ที่ชอบรถเล็กความเร็วจัด ราคาขนาดนี้คงไม่พลาด
บริษัทรถยนต์ไฟฟ้า Detroit Electric (1907–1939)
เป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดยชื่อเดิมเรียกว่า Anderson Electric Car Company ตั้งอยู่ที่เมืองดีทรอยต์
รัฐมิชิแกน (Detroit, Michigan) ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกมา 13,000
คัน ในช่วงปี ค.ศ. 1907 ถึงปี ค.ศ. 1939
แต่ในที่สุดต้องปิดตัวไป ทั้งๆที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า
มีลูกค้ากลุ่มที่ต้องการใช้
แต่ไม่สามารถต่อสู้กับแนวทางของรถยนต์ใช้น้ำมันปิโตรเลียม
ในยุคที่มีการสำรวจขุดเจาะน้ำมันกันอย่างกว้างขวางในทางตะวันตกของประเทศสหรัฐ
ในยุคปัจจุบัน น้ำมันปิโตรเลียมที่เร่งขุดเจาะทั่วโลก
กำลังจะใกล้ถึงจุดหมดไปจากธรรมชาติ จึงได้เกิดความพยายามโดยทั่วไปที่หันมาใช้รถยนต์พลังไฟฟ้า
ซึ่งในปัจจุบัน เราสามารถผลิตไฟฟ้าได้จากแหล่งอื่นๆที่ไม่ใช่น้ำมัน ก๊าซ
หรือถ่านหิน ที่สามารถหมดไปจากโลกได้ ไฟฟ้าสามารถผลิตได้จากพลังงานทางเลือกอื่นๆ
เช่น พลังลม พลังน้ำ แสงอาทิตย์ พลังจากพืชที่สามารถปลูกทดแทนได้ ฯลฯ
รถยนต์ไฟฟ้า (Electric car – EVs) เป็นทางเลือกใหม่ ในปัจจุบันนับได้ว่า การกลับมาพัฒนาเทคโนโลยีอันเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าได้ก้าวหน้า
จนถึงระดับก้าวกระโดด (Breakthrough) ได้
ทั้งในด้านการลดน้ำหนักตัวรถ การเพิ่มประสิทธิภาพแบตเตอรี่
และทำให้ราคาแบตเตอรี่ลดลง น้ำหนักเบาลง ชาร์จไฟได้เร็วขึ้น มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น
ฯลฯ โดยมีวัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นแบตเตอรี่ได้มากชนิดขึ้น
การกลับมาของ Detroit Electric - สุภาษิตญี่ปุ่นบทหนึ่งกล่าวว่า “ล้มเจ็ดครั้ง แต่ให้ลุกขึ้นแปดครั้ง”
ในปี ค.ศ. 2008 Albert Lam อดีตผู้บริหารของกลุ่ม Lotus Engineering Group
และผู้บริหารสูงสุดของ Lotus Cars of England โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะผลิตรถชั้นเยี่ยมที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น
โดยจะใช้การออกแบบที่มีสุนทรียภาพและความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี พร้อมกับมีความเยี่ยมยอดในการขับขี่
ในวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2013 ได้มีการประกาศเปิดตัว
Detroit Electric อีกครั้งในโลก
โดยการลงนามใช้อาคารสำนักงานที่อาคาร Fisher Building ในเมืองดีทรอยต์
รัฐมิชิแกน (Detroit Michigan)
ภาพ รถยนต์ไฟฟ้ารุ่น ค.ศ. 1915 Detroit Electric Brougham
ภาพ รถยนต์ไฟฟ้า รุ่นค.ศ. 1917 Detroit
Electric in Maffra, นำมาแสดงใหม่ในปี ค.ศ. 2007
ภาพ รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นปี 1916 Detroit
Electric อยู่ในพิพิธภัณฑ์กรุงบรัซเซล Brussels Autoworld
Museum
No comments:
Post a Comment