Wednesday, July 6, 2011

7 กรกฎาคม ค.ศ. 1930 วันเริ่มสร้างเขื่อน Hoover

7 กรกฎาคม ค.ศ. 1930 วันเริ่มสร้างเขื่อน Hoover

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

จาก History.com “July 7, 1930: Building of Hoover Dam begins”

วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1930 เป็นวันเริ่มก่อสร้างเขื่อนฮูเวอร์ (Hoover Dam) และใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี ใช้คนงาน 21,000 คน ทำงานก่อสร้างเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในยุคสมัยนั้นของอเมริกา และของโลก

แม้เขื่อนจะใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี แต่การริเริ่มจนก่อสร้างจริงใช้เวลาเกือบ 30 ปี โดย Arthur Powell Davis วิศวกรจากสำนักงานบุกเบิก (Bureau of Reclamation) ได้มองเห็นวิสัยทัศน์ที่จะสร้างเขื่อนดังกล่าวตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1902 และรายงานทางวิศวกรรมของเขาได้เป็นประเด็นที่ใช้ในแผนที่จะเริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ. 1922

Herbert Hoover เป็นประธานาธิบดีคนที่ 31 ของสหรัฐเป็นคนที่เน้นการอนุรักษ์ (Conservationist) ได้มีบทบาทที่ทำให้วิสัยทัศน์ของ Davis กลายเป็นความจริง เมื่อ Hooverดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ในปี ค.ศ 1921 Hoover ได้เป็นผู้ผลักดันให้เกิดเขื่อนสูงนี้ที่หุบเขาชื่อ Boulder Canyon ในรัฐโคโลราโด (Colorado) เขื่อนได้ทำหน้าที่ในการควบคุมน้ำท่วมเนื่องจากหิมะละลายจากบริเวณเทือกเขา Rocky Mountains แล้วไหลไปตามแม่น้ำโคโลราโด ทำลายชุมชนพืชผลการเกษตรในแต่ละปี ในด้านบวก ยังทำให้สามารถขยายบริเวณเพาะปลูกเข้าไปในที่ดินที่เคยเป็นทะเลทรายมาก่อน และสามารถส่งน้ำไปยังเมืองใหญ่อย่างลอสแองเจลิส (Los Angles) และบริเวณตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนียอื่นๆ

ภาพ Herbert Hoover เป็นประธานาธิบดีคนที่ 31

แม้จะได้รับการสนับสนุนจาก Hoover แต่ก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐอื่นๆในภูมิภาคอเมริกาตะวันตกที่เกี่ยวข้อง การได้รับความเห็นชอบจากแต่ละรัฐในสภาผู้แทนและวุฒิสภาเป็นการช้ากว่าจะได้บรรลุผล เป็นเวลาหลายปีกว่าจะตกลงกันได้ถึงสิทธิในน้ำ ซึ่งรัฐที่แม่น้ำโคโลราโดไหลผ่านต่างถือว่ามีสิทธิ เพื่อให้แก้ปัญหานี้ตก Hoover ได้ตกลงแบ่งลุ่มน้ำออกเป้นสองภูมิภาค และมีการแบ่งน้ำกันในระหว่างสองลุ่มน้ำนี้

Hoover ต้องนำโครงการนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภาหลายครั้งกว่าจะได้รับการเห็นชอบของทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกให้ออกเป็นกฎหมายในปี ค.ศ. 1928

ในปี ค.ศ. 1929 Hoover ในขณะนั้นได้เป็นประธานาธิบดีแล้ว ได้ลงนามในนิติบัญญัติชื่อ Colorado River Compact นับเป็นโครงการที่มีผลกระทบต่อกลุ่มรัฐที่ต้องอาศัยกระบวนการทางรัฐสภาของสหรัฐเพื่อจัดการผลประโยชน์ระหว่างรัฐให้ได้ข้อยุติ

เมื่อได้รับความเห็นชอบ เขื่อน Hoover ได้เดินหน้าก่อสร้างอย่างรวดเร็ว ผู้รับเหมาสามารถทำงานเสร็จได้ก่อนเวลาถึงสองปี และใช้งบประมาณหลายล้านเหรียญต่ำกว่างบประมาณที่กำหนด ในปัจจุบันเขื่อน Hoover จัดเป็นเขื่อนที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศสหรัฐ และเป็นอันดับที่ 18 ในโลกปัจจุบัน สามารถให้พลังงานไฟฟ้าแก่ชุมชนกว่า 1 ล้านคน เขื่อนนับเป็นความสำเร็จด้วยการระดมปัญญาระดับอัจฉริยะ (Collective genius) ที่จะตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของคนส่วนใหญ่

No comments:

Post a Comment