Sunday, July 17, 2011

มารู้จักเนลสัน แมนเดลา (Nelson Mandela)

มารู้จักเนลสัน แมนเดลา (Nelson Mandela)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com


ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Education is the most powerful weapon which you can use to change the world. ~ Nelson Mandela


         การศึกษาเป็นอาวุธที่มีอานุภาพที่สุด ที่ท่านจะสามารถใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงโลก 
         ~ เนลสัน แมน เดลา

ภาพ เนลสัน แมนเดลา (Nelson Mandela)

Nelson Mandela

ประธานาธิบดีแห่งอัฟริกาใต้
ดำรงตำแหน่งในช่วง
In office
10 May 1994 – 14 June 1999
Deputy
มีผู้ช่วยประกอบด้วยThabo Mbeki
Frederik Willem de Klerk อดีตประธานาธิบดีคนผิวขาว
Preceded by
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าFrederik Willem de KlerkAs State President of South Africa
Succeeded by
ผู้ดำรงตำแหน่งภายหลังเขาThabo Mbeki
In office
2 September 1998 – 14 June 1999
Preceded by
Succeeded by
ข้อมูลส่วนตัว
Personal details
การเกิด
Born
ชื่อเมื่อเกิดRolihlahla Mandela
18 July 1918
(age 92)
สถานที่เกิด Mvezo, Union of South Africa
สัญชาติ
Nationality
ชาวอัฟริกาใต้South African
พรรคการเมืองที่สังกัด
Political party
สภาแห่งชาติอัฟริกันAfrican National Congress
คู่ครอง
Spouse(s)
มีภรรยา 3 คนEvelyn Ntoko Mase (1944–1957)
Winnie Madikizela
(1957–1996)
Graça Machel
(1998–present)
ที่พักในปัจจุบัน
Residence
เป็นศิษย์เก่าสถานศึกษา
ศาสนา
Religion
ลายเซ็น
Signature
Signature of Nelson Mandela
Website

เนลสัน แมนเดลา มีชื่อเต็มในภาษาอังกฤษว่า Nelson Rolihlahla Mandela เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 เขาได้ทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีของประเทศอัฟริกาใต้ (President of South Africa) ระหว่าง ค.ศ. 1994-1999 เขาเป็นประธานาธิบดีของอัฟริกาใต้คนแรกที่ได้รับเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ก่อนที่เขาจะได้เป็นประธานาธิบดี แมนเดลาเป็นนักรณรงค์ต่อต้านการปกครองแบบ apartheid ที่ชาติอันประกอบด้วยคนผิวดำที่เป็นเจ้าของประเทศถูกปกครองโดยชนกลุ่มน้อยที่เป็นผิวขาว แมนเดลาเป็นผู้นำของ Umkhonto we Sizwe อันเป็นส่วนจับอาวุธต่อสู้ของ “สภาแห่งชาติของอัฟริกัน” (African National Congress - ANC).

ภาพ คุกบนเกาะ Robbin Island

ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1962 เขาถูกจับให้ข้อหาก่อวินาศกรรม (Sabotage) และข้อหาร้ายแรงอื่นๆ และถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต แมนเดลาถูกจำคุกอยู่ 27 ปี ใช้เวลาส่วนใหญ่ที่คุกบนเกาะรอบเบ็น (Robben Island) และในคุกนี้ก็ยังมีการแบ่งแยกระหว่างนักโทษผิวขาว นักโทษผิวดำทั่วไป และนักโทษการเมืองผิวดำ เขาจัดอยู่ในกลุ่มนักโทษการเมืองผิวดำที่ถูกจำกัดสิทธิมากที่สุด

แต่ในระหว่างถูกจำคุกนี้ ความเป็นผู้นำในการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยคนผิวดำจากการเป็นเจ้าของประเทศก็มิได้หมดไป เขากลายเป็นสัญลักษณ์ของการถูกกดขี่โดยรัฐบาลเผด็จการคนผิวขาวส่วนน้อย ในช่วงปลายของการจองจำ เขาได้เป็นตัวแทนของพรรคพวกในการเจรจากับรัฐบาลอัฟริกาใต้ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Frederik Willem de Klerk

หลังจากการที่เขาได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 แมนเดลาได้เป็นตัวแทนของพรรค ANC ในการเจรจาเพื่อนำประเทศสู่ประชาธิปไตยที่ยอมรับในระบบมีประชากรหลายเผ่า (Multi-racial democracy) และเมื่อมีการเลือกตั้งอย่างเสรีเป็นครั้งแรก เขาและพรรค ANC ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 62 แมนเดลาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีผิวดำเป็นคนแรกในปี ค.ศ. 1994-1999 ตลอดช่วงการดำรงตำแหน่งของเขา เขาได้ให้ความสำคัญของการบริหารไปที่การสร้างความสมานฉันท์ (Reconciliation) ของคนในชาติที่มีคนผิวดำเป็นเจ้าของประเทศด้วยประชากรเสียงส่วนใหญ่ และมีคนผิวขาวที่เคยมีอำนาจและมีอิทธิพลอย่างสำคัญในทางเศรษฐกิจของประเทศ

ในอัฟริกาใต้ แมนเดลารู้จักกันในฐานะ “มาดิบา” (Madiba) อันเป็นชื่อของเขาในเผ่าโซซ่า (Xhosa) และในบางครั้งคนจะเรียกเขาว่า “ทาท่า” (Tata) ซึ่งในภาษาพื้นเมืองหมายถึง “พ่อ” เขาดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นประธานาธิบดี 1 สมัย และไม่ประสงค์จะรับตำแหน่งต่อ แต่บทบาทและการเป็นผู้นำสัญลักษณ์เพื่อการสมานฉันท์ยังคงอยู่ แมนเดลาได้รับการยอมรับจากนานาชาติ โดยในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา เขาได้รับรางวัลกว่า 250 รางวัล และหนึ่งในนั้นคือรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (1993 Nobel Peace Prize)

No comments:

Post a Comment