Sunday, March 31, 2013

การเลือกตายอย่างสงบ (Euthanasia)


การเลือกตายอย่างสงบ (Euthanasia)
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia


Keywords: การแพทย์, medicine, สาธารณสุข, health, healthcare, สุขภาพ, Euthanasia, assisted suicide, Groningen Protocol, ยูเจนิคส์, Eugenics, Brain dead, Brazil, Virginia Helena Soares de Souza

ความนำ

เกิด แก่ เจ็บ และตาย เป็นธรรมชาติของชีวิต ทุกคนที่เกิดมาจะต้องผ่านสิ่งเหล่านี้

เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าว “แพทย์ชาวบราซิลสังหารคนไข้ 7 คนเพื่อให้เตียงว่าง” ทำให้ผมต้องหันมาอ่านเรื่อง การเลือกตายอย่างสงบ (Euthanasia)

ศึกษาและเรียบเรียงจาก “Brazilian doctor killed 7 patients to free up hospital beds, police say.” โดย Marilia Brocchetto, CNN, March 29, 2013 -- Updated 1225 GMT (2025 HKT)


ภาพ แพทย์หญิงเวอร์จิเนีย เฮเลนา ซัวเรส เดอซัวซ่า (Virginia Helena Soares de Souza)

CNN --- แพทย์ชาวบราซิลปรากฏตัวที่ศาลในข้อหาฆ่าคนไข้ 7 คน เพื่อให้เตียงในโรงพยาบาลว่างลง เหตุเกิดที่เมืองคูริทิบา (Curitiba, Brazil) ทางตอนใต้ของประเทศบราซิล
แพทย์หญิงเวอร์จิเนีย เฮเลนา ซัวเรส เดอซัวซ่า (Virginia Helena Soares de Souza) ได้เรียกแพทย์กลุ่มหนึ่ง เพื่อช่วยเธอให้ยาสลบ (anesthetics), ยากล่อมประสาท (sedatives) และยาระงับปวด (painkillers) แบบเกินขนาดแก่คนไข้จำนวนหนึ่ง อันเป็นผลทำให้คนไข้ถึงแก่ความตาย

นอกจากนี้ ตามที่หมอเดอซัวซ่าสั่ง กลุ่มแพทย์และบุคลากรยังปรับลดออกซิเจนสำหรับคนไข้ ซึ่งนำไปสู่การขาดอากาศหายใจ (Asphyxiation) ตำรวจกล่าว นอกจากหมอเดอซัวซ่าแล้ว ยัวมีบุคลากรวิชาชีพอีก 7 คนที่ถูกข้อหาร่วมสังหารคนไข้ดังกล่าว

อัยการกล่าวว่า การที่หมอเดอซัวซ่าดึงสายยางช่วยชีวิตออกจากคนไข้ เป็นการฝืนความต้องการของคนไข้และญาติของเขา และทำเช่นนั้นเป็นการผิดกฎหมาย ที่เธอทำเช่นนั้น เพื่อทำให้เตียงในห้องผู้ป่วยฉุกเฉินว่าง ลดความวุ่นวายในการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นคำกล่าวของตำรวจ

หมอเดอซัวซ่าถูกจับตัวในเดือนกุมภาพันธ์ แล้วถูกปล่อยตัวออกมาจนกว่าจะมีการพิจารณาคดี และหมอเดอซัวซ่าจะต้องรายงานตัวเป็นรายเดือน มิฉะนั้นจะมีความผิดฐานหลบหนีคดี และต้องกลับคืนสู่คุก

ฝ่ายกระทรวงสาธารณสุขเอง เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ก็ต้องไปค้นประวัติคนไข้กว่า 1,700 คน ต้องมีการสัมภาษณ์แพทย์ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
ในประเทศบราซิล การฆ่าหรือทำให้ตายอย่างสงบ (Euthanasia) ถือเป็นอาชญากรรม

ความหมายของคำ

คราวนี้มาลองทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ยูธาเนเซีย (Euthanasia) ซึ่งในที่นี้ขอเลือกใช้ความหมายว่า “การเลือกตายอย่างสงบ” ไปก่อน

ยูธาเนเซีย (Euthanasia) มาจากภาษากรีก มีความหมายว่า “การตายที่ดี” Eu = ดี, θάνατος, thanatos (Death) = ความตาย ยูธาเนเซีย หรือ Euthanasia หมายถึงการปฏิบัติโดยหวังจบชีวิตเพื่อให้พ้นจากความเจ็บปวดและทุกข์ยาก

ในแต่ละประเทศมีกฎหมายที่เกี่ยวกับ Euthanasia ที่แตกต่างกัน ในสหราชอาณาจักร (United Kingdom – UK) ในสภาขุนนาง มีคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง ชื่อว่า “คณะกรรมการจริยธรรมทางการแพทย์” (British House of Lords Select Committee on Medical Ethics) ได้ให้คำจำกัดความของ euthanasia ว่า เป็นความตั้งใจที่จะแสดงออกด้วยการจบชีวิตจากการเจ็บปวดที่ไม่สามารถรักษาได้

ในประเทศเนเธอร์แลนด์ Euthanasia เป็นที่เข้าใจว่า หมายถึง การจบชีวิตโดยแพทย์ตามคำขอของผู้ป่วย

ยูธาเนเซีย (Euthanasia) การจบชีวิตมีได้หลายวิธี ซึ่งรวมถึง สมัครใจ (Voluntary), ไม่อยู่ในสถานะสมัครใจ (Non-voluntary) หรือ การทำให้ตายโดยผู้ตายไม่เต็มใจ ไม่ได้ตั้งใจ ไม่รู้ตัว (Involuntary)
ซึ่งผู้เขียนจะขยายความดังต่อไปนี้

การตายโดยสมัครใจ
Voluntary euthanasia

ศึกษาเรื่องสิทธิในการตาย (Right to die)

การเลือกตายโดยสมัครใจ (Voluntary euthanasia)

เป็นการเลือกตายโดยความยินยอมของผู้ป่วย การเลือกตายอย่างตั้งใจ (Active voluntary euthanasia) เป็นเรื่องถูกกฎหมายในประเทศเบลเยี่ยม (Belgium), ลักเซมเบอร์ก (Luxembourg) และเนเธอร์แลนด์ (Netherlands) ในสหรัฐอเมริกา การปล่อยให้ตายอย่างเฉื่อย (Passive voluntary euthanasia) เป็นสิ่งถูกกฎหมายในสหรัฐอเมริกา ดังกรณี “ครูซานกับผู้อำนวยการกรมสาธารณสุของรัฐมิสซูรี (Cruzan v. Director, Missouri Department of Health) ที่ผู้ป่วยเลือกตายโดยการช่วยเหลือของแพทย์ คำว่า “การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือ” (Assisted suicide) เป็นสิ่งถูกกฎหมายในสวิสเซอร์แลนด์ ในรัฐโอเรกอน (Oregon), วอชิงตัน (Washington) และมอนทาน่า (Montana) ของประเทศสหรัฐอเมริกา

การฆ่าตัวตายโดยรับความช่วยเหลือ (assisted suicide) ซึ่งในที่นี้หมายถึงการรับความช่วยเหลือจากบุคลากรทางการแพทย์

การตายโดยมิได้สมัครใจ
Non-voluntary euthanasia

การตายโดยที่การสมัครใจตายโดยผู้ป่วยไม่สามารถกระทำได้ (Non-voluntary euthanasia)
กรณีตัวอย่าง - การปล่อยให้เด็กทารกตายหรือทำให้เด็กทารกตาย (Child euthanasia) โดยเด็กนั้นไม่อยู่ในสถานะที่จะตัดสินใจได้เองเกี่ยวกับชีวิตของตน แต่พ่อแม่สามารถร่วมคิดในการตัดสินใจได้ การช่วยให้เด็กตายนี้ เป็นสิ่งผิดกฎหมาย (Illegal) แต่ไม่ถือเป็นอาชญากรรม (Decriminalized) ไม่ถูกดำเนินการตามความผิดฐานเจตนาฆ่าคนตาย

ในบางสถานะ ดังในประเทศเนเธอร์แลนด์ ดังกรณี เมื่อเด็กทารก ไม่อยู่ในฐานะที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตว่าจะอยู่ หรือจะขอตายได้ แล้วจะทำอย่างไร จึงได้เกิด Groningen Protocol

Protocol = พิธีสาร, แบบพิธี, พิธีกรรมในทางการทูต

ในที่นี้ Gronigen Protocol จะใช้คำในภาษาไทยว่า “แบบพิธีโกรนิงเกน”

แบบพิธีโกรนิงเกน (Gronigen Protocol) เป็นเอกสารที่สร้างขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 2004 โดย อีดูอาด เวอร์ฮาเกน (Eduard Verhagen) ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ (Medical director) ของแผนกกุมารแพทย์ (pediatrics) ที่ศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยโกรนิงเกน (University Medical Center Groningen - UMCG) เมืองโกรนิงเกน (Groningen) ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands) เอกสารนี้บรรจุข้อชี้แนะและเกณฑ์ (Criteria) ที่แพทย์จะสามารถปฏิบัติได้ “เพื่อจบชีวิตทารก” (child euthanasia) โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

คาดว่า ในประเทศไทย แพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุขก็ได้ใช้มาตรการในทำนองเดียวกับ แบบพิธีโกรนิงเกน (Gronigen Protocol) เพื่อลดความยุ่งยากของแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุขที่ต้องดำเนินการเกี่ยวกับเด็กป่วยในกรณีพิเศษ

การให้ผู้ป่วยตายโดยไม่สมัครใจ
Involuntary euthanasia

ศัพท์ทางเทคนิค 3 รายการที่เกี่ยวกับการทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

Voluntary euthanasia คือ การทำให้ตายโดยความประสงค์ของบุคคลนั้นๆ

Non-voluntary euthanasia คือ การทำให้ตาย โดยบุคคลนั้นๆ ไม่อยู่ในฐานะที่จะตัดสินใจได้ เช่น เขาอยู่ในอาการโคม่า หรือเป็นเด็กทารก ไม่มีความสามารถรับรู้เกี่ยวกับความเป็นความตายของตนเอง
ส่วน Involuntary euthanasia คือการทำให้คนตายโดยที่เขาไม่ได้สมัครใจ หรือไม่ได้รับรู้ ต่างจาก 2 ประเภทของการทำให้ตาย คือเป็นการทำให้ตายโดยฝืนความต้องการของผู้ตาย หรือทำโดยเขาไม่ได้รับรู้ วิธีการทำให้ตายในลักษณะนี้ ได้รับการสนับสนุนจากพวกศึกษาการคัดเลือกพันธุกรรม หรือพวกยูเจนิคส์ (Eugenics)

ยูเจนิคส์ (Eugenics) คือ วิชาเกี่ยวกับการทำให้ลักษณะทางพันธุ์ดีขึ้น นั่นหมายถึงคนที่มีโอกาสที่จะเติบโตขึ้นมาแล้วต้องประสบปัญหาทางพันธุกรรม ทำให้เขา หรือครอบครัวของเขาเองต้องทุกข์ยากจากการมีชีวิตอยู่ ทางแพทย์ก็กระทำการให้ตาย เพื่อบุคคลและครอบครัวนั้น ไม่ต้องเสี่ยงต่อความทุกข์ยากที่จะเกิดขึ้น ถึงแม้เขาจะยอมหรือไม่ยอมเลือกความตาย

มีนักวิทยาศาสตร์ในแนวนี้บางคนเสนอให้มีการทำหมันคนที่เกิดมาปัญญาอ่อน หรือมีความบกพร่องทางพันธุกรรม เพื่อจะได้ไม่ต้องสืบพันธุกรรมที่ไม่สมบูรณ์ต่อไปอีก บางคนเสนอให้ทำหมันพวกนักโทษคดีอาชญากรรม เพื่อเขาจะได้ไม่ก่อกรรมทำเข็ญกับคนอื่นๆต่อไป


ภาพ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) 

ตัวอย่างที่รุนแรง คือในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายนาซี (Nazis) ภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ได้กระทำการสังหารให้คนตายโดยที่เขาเหล่านั้นทั้งผู้ใหญ่และเด็กไม่ได้เต็มใจที่จะเลือกตาย จำนวนนับหลายล้านคน


ภาพ เตาเผาศพชาวยิวที่ถูกสังหารในค่ายกักกัน ที่ใช้วิธีการเผา ชาวยิวเสียชีวิตด้วยการเจตนาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นับหลายล้านคนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ในกรณีของหมอเวอร์จิเนียเฮเลนา ซัวเรส เดอซัวซ่า (Virginia Helena Soares de Souza) ในประเทศบราซิล (2013) ในการตัดสินใจโดยพละการที่จะหยุดชีวิตของผู้ป่วย โดยมิได้รับความเห็นชอบของผู้ป่วยหรือญาติ ก็เข้าอยู่ในข่ายนี้

การทำให้ตายแบบเฉื่อย หรือแบบกระตือรือร้น
Passive and active euthanasia

การตายแบบเฉื่อย (Passive euthanasia) คือการถอนในสิ่งที่ยังทำให้เขามีชีวิต เช่นถอดสายยางช่วยชีวิต หรือหยุดให้ยา ส่วนการทำให้ตายอย่างกระตือรือร้น (Active euthanasia) คือการทำให้คนตาย โดยใส่สาร ยา หรือใช้กำลังที่ทำให้เขาตาย เช่น ฉีดยาพิษให้ตาย นักศึกษาด้านนี้หลายคนไม่เห็นเหตุผลที่จะศึกษาเรื่องนี้ลึกๆลงไป ทำให้เป็นเรื่องหลงประเด็น ไม่ได้ข่วยอะไร เพราะอย่างไรเสีย ก็เป็นความตายในที่สุด


ภาพ นายแพทย์จาคอบ เควอร์เคียน (Jacob "Jack" Kevorkian) 

นายแพทย์จาคอบ เควอร์เคียน (Jacob "Jack" Kevorkian) เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1928 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2011 รู้จักกันในชื่อ "หมอแห่งความตาย" (Dr. Death) เป็นแพทย์ผู้ชำนาญพยาธิวิทยา นักรณรงค์สิทธิการตาย นักวาดภาพ นักประพันธ์ ผู้ประพันธ์ดนตรี และเล่นดนตรี เขารู้จักกันในฐานะเป็นแพทย์ที่รณรงค์ให้ผู้ป่วยที่เป็นวาระสุดท้าย ได้มีสิทธิเลือกตาย โดยการช่วยเหลือของแพทย์ (Physician-assisted suicide) เขาอ้างว่าได้ช่วยให้คนฆ่าตัวตายแล้วอย่างน้อย 130  คน คำกล่าวที่มีชื่อเสียงของเขาคือ "การตายไม่ใช่เป็นอาชญากรรม" (Dying is not a crime.)

ข้อสรุปของแต่ละบุคคล

คนเราแต่ละคน เมื่อถึงเวลาจะจากโลกไป กลับมีสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป
คนเราทั่วไป และรวมถึงตัวผมเอง ไม่อยากพูดถึงความตายบ่อยนัก แต่ตามคำพระ เราต้องไม่ตั้งตนอยู่ในความประมาท การเกิด แก่ เจ็บ และตาย เป็นเรื่องธรรมชาติ ทุกคนล้วนต้องผ่านสิ่งเหล่านี้ และเมื่อจะต้องเกิดกับเรา เราควรช่วยทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาแก่คนที่จะตามมาให้น้อยที่สุด นั่นคือเราควรเลือกอนาคตการตายของเราให้บุตร ธิดา สามีหรือภรรยา หรือคนที่ดูแลเราให้ทราบความตั้งใจของเราเสียแต่เนิ่นๆ เพราะบางครั้ง เมื่อไม่ได้สั่งเสีย ก็ทำให้คนที่เขาต้องรับภาระในชีวิตเราในบั้นท้ายนั้นต้องยากลำบากในการตัดสินใจ

มีกรณีของญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง เป็นที่รักของบุคคลในครอบครัวอย่างมาก แต่มาวันหนึ่ง ด้วยวัยที่สูงแล้ว และสุขภาพไม่ดี เกิดเส้นโลหิตในสมองแตก หมดสติต้องนำส่งโรงพยาบาล แพทย์ผู้ดูแลบอกว่า หากจะรักษาก็คงจะมีโอกาสมีชีวิตรอดร้อยละ 50 แต่จะไม่เหมือนเดิม เพราะบางส่วนของสมองได้ตายไปแล้ว บรรดาญาติๆ ก็ได้ปรึกษาหารือกันในค่ำคืนนั้นว่าจะทำอย่างไร ในที่สุด ก็ตัดสินใจไม่รับการผ่าตัด แล้วในเวลาอีกไม่ถึงครึ่งวัน ญาติผู้ใหญ่ของผมท่านนั้นก็จากไปอย่างสงบ

คนบางคนยังแข็งแรง แต่แล้วเมื่อเจ็บป่วย ต้องผ่าตัดใหญ่ แล้วก็ไม่หาย มีค่ารักษาพยาบาลมากมาย เกินกว่าที่ครอบครัวจะแบกรับได้ แต่สมาชิกครอบครัวของเขาก็ต้องทำ ต้องดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มที่ กลายเป็นเรื่อง “คนป่วย หรือคนตาย ขายคนเป็น” กลายเป็นคนที่ตามมาต้องประสบปัญหาชีวิตกันอีกมากมาย เพราะเงินทองมากมาย ตลอดจนทรัพย์สินต้องขายมาเพื่อใช้ในการรักษาพยาบาล

คนบางคน เจ็บป่วย ผ่าตัดสมอง แล้วไม่หาย แต่ไม่ตาย ในแง่หัวใจยังเต้นอยู่ ทุกอย่างในร่างกายยังทำหน้าที่ได้ ยกเว้นสมอง ซึ่งเรียกว่า Brain dead แล้วในกรณีนี้ ผู้ป่วยอาจมีชีวิตต่อไปอีกนับเป็นสิบปี ด้วยวิทยาการแพทย์ยุคใหม่ แต่กลับเป็นการสร้างความทุกข์ยากให้กับบุคคลรอบข้างมากมาย

ในกรณีของผม หากเมื่อใดที่ผมต้องมีสถานะเป็น “สมองตาย” (Brain dead) จะด้วยการป่วย หรืออุบัติเหตุ ก็ให้ถือว่าผมตายไปแล้ว ไม่ต้องดูแลรักษาร่างกายผมให้มีชีวิตต่อไป

แต่ในกรณีที่สมองยังไม่ตาย ยังมีความรู้สึกนึกคิดได้ดี แต่ทางร่างกายได้เสื่อมลงไปมากแล้ว ผมควรจะเป็นคนตัดสินใจเองว่า จะดำเนินการกับชีวิตของตนเองอย่างไรต่อไป แต่ที่แน่ๆ ไม่อยากให้เป็นภาระกับคนอื่นๆมากนัก

Saturday, March 30, 2013

ประชาชนต้องได้รับการศึกษาด้านพลังงาน (Energy Education) ด้วยตนเอง

ประชาชนต้องได้รับการศึกษาด้านพลังงาน (Energy Education) ด้วยตนเอง


ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: ยุโรป, สหภาพยุโรป, Europe, European Union, EU, พลังงาน, พลังงานทางเลือก, alternative energy, ปิโตรเลียม, petroleum, gasoline, gasohol, biodiesel, รถไฟความเร็วสูง, high speed train, High Speed Rail Association - USHSR, สหรัฐอเมริกา, USA, รถไฟ, การขนส่ง, transportation, คมนาคม, พลังงาน, energy, alternative energy,

ความนำ

หลักเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารในโลกนี้ ให้เข้าใจว่า “คนรู้มักไม่ได้พูด” หรือคนรู้ไม่พูดความจริง เพราะความที่เขามีส่วนได้เสียในข้อมูลนั้นๆ และ “คนพูดมักไม่รู้” กล่าวคือ คนที่ไม่มีข้อมูล เพราะเป็นคนนอกมักไม่มีข้อมูลลึกเท่ากับคนภายใน แต่มักจะพูด เพราะไม่ได้มีส่วนได้เสียกับข้อมูลข่าวสารนั้นๆโดยตรง ซึ่งก็เพราะความไม่มีข้อมูลที่ลึกซึ่งเพียงพอ ก็อาจจะผิดพลาดได้

ดังนั้นในโลกยุคข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง คนได้รับข้อมูลผิดก็ตัดสินใจผิด ประชาชนต้องเป็นคนฉลาดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็น iPeople อันหมายถึงเป็นคนที่มีความสามารถจะหาข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงจากแหล่งต่างๆได้อย่างกว้างขวาง แล้วใช้สติปัญญา ช่วยกันทำความจริงให้ปรากฏ

ประชาชนต้องใช้สติปัญญา มากกว่าอารมณ์และอคติใดๆ ช่วยกันทำความจริงให้ปรากฏ
ประเทศไทยเรากำลังสับสนด้านนโยบายพลังงาน (Energy policy) มีนโยบายบางอย่างที่สับสนกันเอง เช่น ทำให้น้ำมันราคาถูก ทั้งๆที่ไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตน้ำมัน แต่ในขณะเดียวกัน ก็กลับไปส่งเสริมกิจกรรมที่ทำให้ใช้พลังงานน้ำมัน (Gasoline) โดยไม่ประหยัดเกิดขึ้น ดังเช่น

นโยบายรถคันแรก คือส่งเสริมให้ประชาชนมีรถยนต์เพิ่มขึ้น โดยการลดหรืองดภาษีรถยนต์ขนาดเล็กที่บุคคลซื้อเป็นคันแรก คาดว่าทำให้มีคนซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้น 1 ล้านคัน ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดในเมืองใหญ่เพิ่มขึ้นอีก ทำให้เงินภาษีอากรที่จะนำไปใช้เพื่อการส่งเสริมการขนส่งและยานพาหนะทางเลือก การขนส่งมวลชนสาธารณะทั้งหลายต้องไม่ได้รับการส่งเสริมเพียงพอ

การไม่มีนโยบายด้านพลังงานจากพืชที่ชัดเจน สลับกันไปมากับนโยบายจะทำให้น้ำมันราคาถูก โดยไม่เก็บภาษีน้ำมัน ซึ่งเท่ากับไปส่งเสริมการใช้น้ำมันและพลังงานจากปิโตรเลียมให้มากยิ่งขึ้นไปอีก เกษตรกรเองก็สับสนว่า แล้วเขาควรปลูกพืชที่นำมาทำเป็นพลังงานทดแทนได้ จะดีหรือไม่ เขาก็กลัวว่าทำไปแล้ว ลงทุนไปแล้ว รัฐบาลไม่สนับสนุน ท้ายสุด ปัญหาก็ตกอยู่กับเกษตรกร ดังปัญหาน้ำมันปาล์มราคาต่ำ และรวมถึงราคายางพาราที่ไม่แน่นอน เป็นต้น

ยุโรปกับนโยบายประหยัดพลังงาน

ในยุโรปเกือบทั้งทวีป เขาเก็บภาษีน้ำมันอย่างสูง ทำให้น้ำมันปิโตรเลียมราคาสูงกว่าในสหรัฐ และในประเทศไทย เกือบร้อยละ 50 แต่ขณะเดียวกัน เขาใช้เงินภาษีจากพลังงานปิโตรเลียมและถ่านหิน ไปสนับสนุนพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืนกว่า (Sustainable energy) เช่น พลังงานจากลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากพืช ดังเช่น ไบโอดีเซล (Biodiesel) ในขณะเดียวกัน เขาส่งเสริมให้เกิดรถไฟความเร็วสูง (High-speed rail system) ที่จะเป็นทางเลือก ทดแทนการเดินทางโดยใช้รถยนต์ รถโดยสาร (Buses) เครื่องบิน (Airplanes) ซึ่งเป็นการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่า
ตาราง 1 ราคาน้ำมัน (Gasoline) ในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union Countries)

Country
Retail Price
Austria
€ 1.425
Belgium
€ 1.665
Bulgaria
€ 1.340
2.63 лв.
Cyprus
€ 1.418
Czech Republic
€ 1.420
36.60 Kč
Denmark
€ 1.686
12.57 kr
Estonia
€ 1.364
Finland
€ 1.649
France
€ 1.711
Germany
€ 1.620
Greece
€ 1.728
Hungary
€ 1.425
431 Ft
Ireland
€ 1.614
Italy
€ 1.802
Latvia
€ 1.343
Ls 0.942
Lithuania
€ 1.377
Lt 4.75
Luxembourg
€ 1.363
Malta
€ 1.480
Netherlands
€ 1.815
Poland
€ 1.338
5.59 zł
Portugal
€ 1.708
Romania
€ 1.339
5.91 lei
Slovakia
€ 1.511
Slovenia
€ 1.505
Spain
€ 1.438
Sweden
€ 1.759
14.68 kr
United Kingdom
€ 1.631
£ 1.378
EU AVERAGE
€ 1.535


ข้อมูลจาก Europe’s Energy Portal: http://www.energy.eu/
1 Euro = 37.50 Thai Baht

น้ำมันเบนซิน (Gasoline) เฉลี่ยในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปในปัจจุบัน เท่ากับลิตรละ € 1.535 หรือ 57.56 บาท

ให้สังเกตว่า ราคาน้ำมันในแต่ละประเทศจะไม่ห่างกันมากนัก เพราะมิฉะนั้น ก็จะเกิดการขับรถยนต์ไปเติมน้ำมันในประเทศเพื่อนบ้านในแถบชายแดน และเกิดการลักลอบขนน้ำมันข้ามประเทศ หลบเลี่ยงภาษี ดังที่ประเทศไทยเองก็เกิดการลักลอกไปเติมน้ำมันในประเทศเพื่อนบ้านทางใต้ ทั้งทางรถและทางเรือ ที่น้ำมันถูกกว่า และขณะเดียวกัน ประเทศเพื่อนบ้านฝั่งภาคพื้นดิน ก็มาใช้น้ำมันจากประเทศไทย ที่มีราคาถูกกว่า

ตาราง 2 ราคาน้ำมันดีเซลในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union Countries)

Country
Retail Price
Austria
€ 1.382
Belgium
€ 1.488
Bulgaria
€ 1.340
2.63 лв.
Cyprus
€ 1.428
Czech Republic
€ 1.408
36.30 Kč
Denmark
€ 1.465
10.92 kr
Estonia
€ 1.337
Finland
€ 1.544
France
€ 1.560
Germany
€ 1.442
Greece
€ 1.414
Hungary
€ 1.452
439 Ft
Ireland
€ 1.542
Italy
€ 1.701
Latvia
€ 1.300
Ls 0.912
Lithuania
€ 1.333
Lt 4.60
Luxembourg
€ 1.241
Malta
€ 1.380
Netherlands
€ 1.487
Poland
€ 1.342
5.61 zł
Portugal
€ 1.487
Romania
€ 1.332
5.88 lei
Slovakia
€ 1.423
Slovenia
€ 1.381
Spain
€ 1.362
Sweden
€ 1.705
14.23 kr
United Kingdom
€ 1.714
£ 1.449
EU AVERAGE
€ 1.443


ข้อมูลจาก Europe’s Energy Portal: http://www.energy.eu/
1 Euro = 37.50 บาท (Thai Baht)

น้ำมันดีเซล (Diesel) เฉลี่ยในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปในปัจจุบัน เท่ากับลิตรละ € 1.443 หรือ 54.11 บาท

ยุโรปกับ Euro Diesel

ในยุโรป เขาได้พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ดีเซล (Euro diesel)  ทำให้รถยนต์ที่ใช้เครื่องดีเซลใช้พลังงานที่เผาผลาญอย่างหมดจดกว่าเดิม ปล่อยควันเสียลดลง ให้พลังงานที่ทำให้รถมีประสิทธิภาพการใช้น้ำมันที่ดีขึ้น และทำให้มีเครื่องยนต์ดีเซลที่มีขนาดเล็กลง สามารถใช้เครื่องยนต์ขนาดอาจเล็กเพียง 800 CC กับรถยนต์ขนาดเล็กได้

ในอีกด้านหนึ่ง เพราเขาเก็บภาษีน้ำมันโดยรวมสูง เขาจึงใช้เงินรายได้ส่วนนี้ไปสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกพืชที่น้ำมันพัฒนาเป็นพลังงานเชื้อเพลิงได้ เช่น ไบโอดีเซล แกสโซโฮล (Gasohol) อันเป็นน้ำมันเบนซินผสมกับแอลกอฮอล (Alcohol) และเมื่อเขาสามารถพัฒนาดีเซลเป็นพลังงานทางเลือกได้ดีกว่าน้ำมันเบนซิน (Gasoline) ในยุโรป ราคาน้ำมนดีเซลจึงถูกกว่าน้ำมันเบนซิน ซึ่งเป็นทิศทางที่ต่างกันกับในอเมริกา ที่ยังมองว่าน้ำมันดีเซลเป็นน้ำมันที่สร้างมลพิษทางอากาศ และในอเมริกาเหนือ ก็ไม่ได้พัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์ดีเซลเหมือนในยุโรป อเมริกาจึงยังคงใช้รถยนต์ที่มีแต่ใช้น้ำมันเบนซินเป็นส่วนใหญ่

และหากเลยจากนี้ไป สหรัฐหรืออเมริกาเหนือ ก็จะไปส่งเสริมเรื่องรถยนต์ไฟฟ้า (Electric cars, Electric Vehicles – EV) ซึ่งต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ซึ่งกำลังรอช่วงของการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ

ภาพ เครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ใช้ในรถยนต์นั่ง uniJet Turbo Diesel เรียกย่อๆว่า JTD เป็นเทคโนโลยีของบริษัทรถยนต์ Fiat Group ในอิตาลี เป็นเครื่องยนต์คอมมอนเรล (Common rail) เบอร์โบดีเซล (Turbodiesel) คำว่า Multijet เป็นชื่อที่ใช้เรียก JTD รุ่นที่สอง ซึ่งใช้คอมมอนเรล รถยนต์ในเครือของ Fiat, Alfa Romeo และ Lancia ใช้เครื่องยนต์ดีเซลในแบบนี้ และรวมถึงบริษัทรถยนต์อเมริกัน General Motors ที่ผลิตในยุโรป และ PSA Peugeot Citroën ของประเทศฝรั่งเศส ก็ใช้เครื่องยนต์ในลักษณะนี้ แล้วใช้ชื่อเรียกว่า JTD

ภาพ เครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้กับรถขนาดเล็กในยุโรป ดังรถ Fiat 500 Diesel


ภาพ รถยนต์ขนาดเล็ก Fiat 500 Diesel ที่ใช้เครื่องขนาด 1,200 CC ใช้เครื่อง Diesel Turbo ดังที่เรียกว่า JTD

Friday, March 29, 2013

มารู้จักรถไฟความเร็วสูงในประเทศจีน (High-speed rail in China)


มารู้จักรถไฟความเร็วสูงในประเทศจีน (High-speed rail in China)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: ประเทศจีน, China, HSR, รถไฟความเร็วสูง, high speed train, High Speed Rail Association - USHSR, สหรัฐอเมริกา, USA, รถไฟ, การขนส่ง, transportation, คมนาคม, พลังงาน, energy, alternative energy, Siemens, เยอรมัน, Bombardier ฝรั่งเศส, Kawasaki Heavy Industries, ประเทศญี่ปุ่น

รถไฟความเร็วสูงในประเทศจีน (High-speed rail in China) ในที่นี้หมายถึงรถไฟที่ใช้เชิงพาณิชย์ภายในประเทศจีน ซึ่งมีความเร็ว 200 กม./ชั่วโมง หรือสูงกว่า และตามคำจำกัดความนี้ ประเทศจีนมีทางรถไฟความเร็วสูง (High-speed rail - HSR) ที่ยาวที่สุดในโลก คือยาวถึง 9300 กิโลเมตร ตามการนับในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 สายที่ยาวที่สุดในประเทศจีนเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 2012 มีความยาว 2,298 กม. จากเมืองหลวงของประเทศ จีน ยาวออกไปทางเหนือจนถึงเมืองกวางเจา (Guangzhou)

บริการรถไฟความเร็วสูงในประเทศจีนได้เริ่มขึ้นในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2007 โดยมีผู้ใช้บริการ 237,000 ในปี ค.ศ. 2007 และได้เพิ่มขึ้นเป็น 1.33 ล้านคนในปี ค.ศ. 2012 ทำให้ระบบรถไฟความเร็วสูงของประเทศจีนเป็นระบบที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก

รถไฟความเร็วสูงของประเทศจีนประกอบด้วยรางรถไฟที่ปรับปรุงจากของเดิม (Upgraded conventional railways), ทางที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อรถไฟความเร็วสูงโดยเฉพาะ (High-speed passenger designated lines – PDLs) และทางรถไฟความเร็วสูงระบบหัวแม่เหล็ก (Magnetic levitation (maglev) line) ระบบทางรถไฟความเร็วสูงด้วยการกระตุ้นการลงทุนโดยภาครัฐ ทำให้เร่งการก่อสร้างอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั่วประเทศ โดยทำให้มีรางรถไฟที่ใช้วิ่งได้ด้วยความเร็วสูง 200 กม./ชั่วโมงถึง 18,000 กม. เมื่อสิ้นปี ค.ศ. 2015 หรือโดยรวมจะมีรางรถไฟความเร็วสูงในทุกประเภทถึง 40,000 กม.

ในระยะเริ่มต้น ประเทศจีนได้ใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงจากต่างประเทศในแบบความร่วมมือการถ่ายทอดเทคโนโลยี (technology transfer agreements) กับบริษัทผู้ร่วมทุนจากต่างประเทศ ซึ่งบริษัทเหล่านี้ได้แก่ Siemens, ของเยอรมัน Bombardier ของฝรั่งเศส และ Kawasaki Heavy Industries ของประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างนั้นวิศวกรของจีนก็ได้เริ่มพัฒนาบางชิ้นส่วนจากภายในท้องที่ และในระยะหลัง รถไฟที่พัฒนาขึ้นเองโดยเทคโนโลยีของจีนก็สามารถทำความเร็วได้ถึง 380 กม./ชั่วโมง

ในปัจจุบัน รถไฟความเร็วสูงของจีน (HSR) มีค่าตั๋วโดยสารถูกกว่าในประเทศพัฒนาแล้วอย่างมาก แต่ก็ยังแพงกว่าค่าโดยสารรถไฟความเร็วธรรมดา โดยเปรียบเทียบให้เห็น ค่ารถไฟจากปักกิ่ง (Beijing) ไปยังจินาน (Jinan) ระยะทางประมาณ 400 กม. รถไฟความเร็วสูงจะเสียประมาณ 186 หยวน หรือ US$30 หรือประมาณ 900 บาท หรือ 2.25 บาท/กม. ใช้เวลาวิ่ง 1 ชั่วโมง 32 นาที ในขณะที่รถไฟธรรมดาใช้เวลาวิ่ง 6 ชั่วโมง และมีค่าโดยสาร 75 หยวน เทียบเท่ากับ US$12 หรือ 360 บาท ราคาใกล้เคียงกับในประเทศไทย

ในกรณีที่ฝ่ายทางการไทยบอกว่าค่าโดยสารกิโลเมตรละ 1.60 บาท ก็นับว่ายังจะยิ่งถูกกว่าของจีน (2.25 บาท/กม.) ซึ่งอาจเป็นไปได้ด้วยต้องมีการอุดหนุน (Subsidy) เพื่อให้มีค่าโดยสารที่ลดลงได้

โดยเปรียบเทียบ รถไฟ Acela trains วิ่งระหว่างกรุงวอชิงตัน ดีซี ไปยังเมืองนิวยอร์ค ระยะทาง 368 กม. ค่าโดยสาร US$310  หรือ 9,300 บาท และใช้เวลาวิ่งนาน 2 ชั่วโมง 45 นาที
การพัฒนารถไฟความเร็วสูงในประเทศจีนได้ช้าลงอย่างมากหลังปี ค.ศ. 2011 หลังปลดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรถไฟ (Chinese Railways Minister) ลุย ซีจุน (Liu Zhijun) ในเดือนกรกฎาคม อันเนื่องด้วยอุบัติเหตุและความกังวลเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของระบบรถไฟความเร็วสูงของจีน และติดตามด้วยราคาค่าตั๋วที่เพิ่มขึ้น การมีคนมาใช้บริการลดลง ความไม่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเองทางการเงินของรถไฟความเร็วสูง และผลกระทบของการสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อของจีนอย่างกว้างขวาง

แผนพัฒนาทางรถไฟความเร็วสูงOther high-speed rail lines

ตามแผนการพัฒนาเครือข่ายทางรถไฟในประเทศจีนระยะกลางและระยะยาว (Mid-to-Long Term Railway Network Plan) ซึ่งปรับปรุงในปี ค.ศ. 2008 กระทรวงรถไฟ (MOR) ได้วางแผนสร้างทางรถไฟความยาวรวม 40,000 กม. เพื่อขยายทางรถไฟไปทางตะวันตก เพื่อลดช่องว่างเมื่อเปรียบเทียบกับทางตะวันออกและภาคกลางของจีน ทางรถไฟที่สร้างใหม่นี้จะเป็นรถไฟความเร็วสูง 200-250 กม./ชั่วโมง ที่ใช้ทั้งเพื่อรับส่งผู้โดยสารและรับส่งสินค้า สิ่งเหล่านี้เรียกว่ารถไฟความเร็วสูง ถึงแม้จะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแผนรถไฟความเร็วสูงแห่งชาติ (National PDL Grid) หรือรถไฟความเร็วสูงระหว่างเมือง (Intercity High Speed Rail)



ภาพ แผนที่ทางรถไฟความเร็วสูงของประเทศจีน (China High-speed rail - HSR)


ภาพ รัฐมนตรีว่าการรถไฟในขณะนั้น ลุย ซีจุน (Liu Zhijun) เป็นเจ้าภาพต้อนรับแนนซี (Nancy Pelosi) เปลอซี่ และเอ็ดเวิร์ด มาร์คีย์ (Edward Markey) สมาชิกจากรัฐสภาอเมริกันที่กรุงปักกิ่ง ในปี ค.ศ. 2009


ภาพ รถไฟความเร็วสูงสาย Shanghai Maglev Train วิ่งบนระบบรางแม่เหล็ก (Maglev track) วิ่งระยะจากสนามบิน Shanghai Pudong International Airport ที่อยู่นอกเมือง วิ่งระยะทาง 30.5 กม. สู่กลางเมืองเซียงไฮ เป็นรถไฟความเร็วสูงสุดในโลก ด้วยความเร็วอาจสูงถึง 431 กม./ชั่วโมง และสามารถทำสถิติความเร็วกว่า 500 กม./ชั่วโมง

Thursday, March 28, 2013

ซีตรอง ดีเอส (Citroën DS) รถที่สวยที่สุดในศตวรรษ

ซีตรอง ดีเอส (Citroën DS) รถที่สวยที่สุดในศตวรรษ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: รถยนต์, ฝรั่งเศส, France, French, car, sedan, ซีตรอง ดีเอส (Citroën DS) ฟลามินิโอ เบอร์โตนิ (Flaminio Bertoni) อังเดร ลาเฟเวอร์ (André Lefèbvre)



ภาพ ซีตรอง ดีเอส (Citroën DS) รุ่น 1956

ซีตรอง ดีเอส (Citroën DS) เป็นรถยนต์ที่ผลิตและดำเนินการตลาดโดยบริษัทของฝรั่งเศสชื่อ ซีตรอง (Citroën) ในช่วงปี ค.ศ. 1955-1975 ออกแบบโดยนักประติมากรรมและนักออกแบบอุตสาหกรรมชาวอิตาลี ชื่อฟลามินิโอ เบอร์โตนิ (Flaminio Bertoni) และร่วมกับนักออกแบบอากาศยานชาวฝรั่งเศส ชื่อ อังเดร ลาเฟเวอร์ (André Lefèbvre) รถรุ่น DS นี้ เป็นที่รู้จักกันในฐานะมีรูปแบบที่ถูกหลักอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamic design) ก้าวล้ำอนาคต และเป็นนวตกรรมด้านเทคโนโลยีแห่งยุค รวมทั้งการใช้ระบบกันสะเทือนแบบ “ไฮโดรนิวแมติก” (hydropneumatic self-levelling suspension) ทำให้เมื่อขับเคลื่อน วิ่งนุ่มนวลเหมือนอยู่บนเบาะลม สามารถปรับยกสูง เมื่อต้องวิ่งบนทางขลุขละ หรือแม้เมื่อยางแตกไปหนึ่งเส้น ก็สามารถขับต่อไปได้

รถซีตรองรุ่น DS นี้ประสบความสำเร็จและก้าวหน้ากว่ามาตรฐานรถยนต์ของยุค ทั้งในด้านการขับขี่ (Ride quality), การควบคุม (Handling), และระบบหยุดรถ (Braking) ตลอดเวลาที่ออกสู่ตลาดในช่วงเวลา 20 ปี สามารถขายได้ 1.5 ล้านคัน ในการประกวดรถยนต์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในฐานะรถยนต์แห่งศตวรรษ (1999 Car of the Century) รถยนต์ Cetroen DS มาในอันดับสาม และโดยนิตยสารรถยนต์ Classic & Sports Car ได้รับการตั้งฉายาว่าเป็น “รถยนต์ที่สวยที่สุดตลอดกาล

ซีตรอง ดีเอส
Citroën DS
ผลิตโดย
Manufacturer
มีชื่อเรียกอื่น
Also called
Citroën ID
ช่วงการผลิต
Production
ค.ศ. 1955–1975
สถานที่ประกอบ
Assembly
รุ่นก่อนหน้านี้
Predecessor
รุ่นที่ผลิตต่อมา
Successor
ระดับรถ
Class
รถหรูขนาดกลาง
Mid-size luxury car /
รถสำหรับนักบริหาร
Executive car
ลักษณะรูปร่าง
Body style
รถนั่ง 4 ประตู 4-door sedan
รถนั่ง 5 ประตู 5-door Safari station wagon
2 ประตูเปิดประทุนได้
2-door convertible
ลักษณะวางระบบ
Layout
วางเครื่องหน้า ขับเคลื่อนด้วยล้อหน้า (MF layout)
ขนาดเครื่องยนต์
Engine
1,911 cc (1.911 L; 116.6 cu in) I4
1,985 cc (1.985 L; 121.1 cu in) I4
2,175 cc (2.175 L; 132.7 cu in)109 hp[2]I4
2,347 cc (2.347 L; 143.2 cu in) I4
ระบบเกียร์
Transmission
3-speed อัตโนมัติ automatic
4-speed เกียร์มือ manual
5-speed เกียร์มือ manual
4-speed กึ่งเกียร์มือ semi-automatic
ฐานล้อ
Wheelbase
3,124 mm (123.0 in) [3]
ความยาว
Length
4,826 mm (190.0 in) (saloon)
4,991 mm (196.5 in) (estate)
ความกว้าง
Width
1,791 mm (70.5 in)
ความสูง
Height
1,464 mm (57.6 in) (saloon)
1,537 mm (60.5 in) (estate)
น้ำหนักตัวรถ
Curb weight
1,270 kg (2,800 lb)(saloon)
1,384 kg (3,050 lb)(estate)
ส่วนเกี่ยวข้อง
Related
ผู้ออกแบบ
Designer(s)
ฟลามินิโอ เบอร์โตนิ
Flaminio Bertoni




ภาพ รถ Citroën Traction Avant รุ่นก่อนหน้า Citroen DS


ภาพ ซีตรอง ดีเอส (Citroën DS) รุ่นท้ายสุดก่อนหยุดผลิต ยังคงมีรูปทรงไม่ต่างจากเมื่อออกสู่ตลาดแรกๆมากนัก