Asiatique Riverfront สถานที่กินและเที่ยวทางเลือกของคนเมือง
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Keywords: กรุงเทพฯ, กรุงเทพมหานคร, Bangkok, BKK, เมืองกรุง, แหล่งเสื่อมโทรม, Logistics,
warehouse, ตลาดเทศกาล, festival market, marketplace, Asiatigue Riverfront, ตลาดนัดจตุจักร, weekend market
ภาพ Asiatique ตัวอย่างของตลาดเทศกาล พัฒนาโดยภาคเอกชน
กรุงเทพมหานคร
ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า Bangkok เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศไทย เขตเมืองมีพื้นที่ 1,568.7 ตารางกิโลเมตร เป็นที่ดินราบลุ่มปากแม่น้ำเจ้าพระยา
(Chao Phraya River delta) ในภาคกลางของประเทศไทย
ตามการสำรวจในปี ค.ศ. 2010
กรุงเทพฯมีประชากร 8,280,925 คน คิดเป็นความหนาแน่น 5300 คนต่อตารางกิโลเมตร
และหากนับจำนวนประชากรในกรุงเทพฯรวมปริมณฑลด้วยแล้วจะเป็นประมาณ 14,565,547 คน นับว่าเป็นเขตที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของประเทศ
มีคนร้อยละ 22.2 อาศัยอยู่ในบริเวณเมืองและปริมณฑลดังกล่าว
เพราะความที่เป็นเมือง (Urban area) มีลักษณะเป็นสากลมากขึ้น
ค่าครองชีพสูงขึ้นไปในระดับสากลด้วยเช่นกัน ค่าที่ดินในบางที่ราคาถึงตารางวาละ 1,000,000
บาท และมีเป็นอันมากที่ราคาที่ดินอยู่ที่ตารางวาละ 100,000-200,000
บาท เมื่อมีที่ดินจำกัด หากจะอยากอยู่ในที่กว้างขวาง อยู่บ้านอย่างที่เขาเรียกว่า
“บ้านมีรั้ว” ก็ต้องไปอยู่ไกลจากตัวเมือง ไปอยู่ย่านชานเมือง (Suburban
areas) ซึ่งก็ต้องใช้เวลาในการเดินทางเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน
เมื่อราคาที่ดินแพง การจะมีที่พักอาศัย
ที่สะดวกในการเดินทาง หากต้องซื้อหา ก็จะต้องใช้เงินระดับ 3-4 ล้านบาทต่อหน่วยขึ้นไป
และที่กล่าวนี้อาจมีพื้นที่ใช้สอยเพียงระดับ 30-35 ตารางเมตร
หรือมีราคาเทียบเท่ากับ 80,000 บาท ถึง 120,000 บาทต่อตารางเมตร นี่คือการพักอาศัยของคนชั้นกลางในเมืองยุคใหม่
คนกรุงเทพฯยุคใหม่
ต้องอยู่ในที่จำกัดขึ้น หากต้องเลือกความสะดวกในการเดินทาง คือต้องอยู่ Apartments หรือ Condominiums ซึ่งบริเวณดังกล่าว จะไม่ค่อยมีสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ
การหาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
ดังนั้น
เมื่อต้องการพักผ่อน หลีกพ้นความอุดอู้ด้านที่พัก คนเมืองเช่นคนกรุงเทพฯและปริมณฑล
จะเลือกหาที่กินที่เที่ยวอย่างไม่ไกลบ้านนัก เดินทางไปได้สะดวก
ด้วยระบบการขนส่งสาธารณะ (Mass Transit) เช่นรถไฟฟ้า รถประจำทาง รถแทกซี่ หรือเรือ ฯลฯ
ที่เที่ยวแบบตลาดนัดจตุจักร
ก็เก่าและร้อน คนชั้นกลางยุคใหม่ ก็มักจะกลัวร้อน กลัวผิวคล้ำ กังวลกับการไม่มีห้องน้ำสะอาด
การไม่มีร้านอาหารที่สะอาดและปลอดภัย ฯลฯ
ห้างสรรพสินค้า (Department Stores) ขนาดใหญ่และกลาง มีที่ติดเครื่องปรับอากาศทั้งอาคารก็เป็นทางเลือก
แต่หากมีสถานที่เที่ยวที่ดูปลอดโปร่ง ท่ามกลางท้องฟ้าเปิด อยู่ริมแม่น้ำ
จับจ่ายของแปลกใหม่บ้าง ได้กินอาหารในราคาพอรับได้ ดังนี้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ตลาดเทศกาล Asiatigue Riverfront
ดังนี้ Asiatigue Riverfront ก็เป็นทางเลือกของการท่องเที่ยวพักผ่อนอีกทางหนึ่ง
ในสมัยไม่นานมานี้ “ย่านถนนตก”
ส่วนติดแม่น้ำเจ้าพระยาคือศูนย์ Logistics ขนถ่ายสินค้าทางเรือจากต่างประเทศ โดยใช้เรือลำเลียงขนาดกลาง
เหมือนท่าเรือคลองเตย การขนส่งสินค้าต่อไปยังทั่วภาคกลาง
ก็อาศัยแม่น้ำเจ้าพระยาก็มาก
แต่ในปัจจุบัน
ท่าเรือย้ายไปอยู่แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี และท่าเรือมาบตาพุด จังหวัดระยอง และที่อื่นๆที่รับเรือน้ำลึกได้ดีกว่า
มีถนนและระบบขนส่งสะดวก ที่ดินที่เคยเป็นโกดังเก็บของ (Warehouses) ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ก็เปลี่ยนโอกาสธุรกิจไป
อาจกลายเป็นที่พักอาศัย และส่วนหนึ่งก็คือเป็นศูนย์การค้าและการท่องเที่ยวอย่าง Asiatique
Riverfront นี้แหละ ...
ภาพ Asiatigue ในยามค่ำคืน ที่เห็นเบื้องหลังหอนาฬิกา
เป็นชิงช้าสวรรค์ขนาดใหญ่ สูงพอที่จะทำให้เห็นทิวทัศน์ของกรุงเทพมหานคร
ภาพ Asiatique ผู้เขียน ถ่ายภาพร่วมกับ
"จับกัง" ยุคก่อนมี Crane และ Forklift ใช้ในโกดัง เขากำลังพุ้ยข้าวต้ม
ภาพ นิสิตนักศึกษาด้านดนตรีได้แสดงงานดนตรี และรับบริจาค นับเป็นสีสันของตลาดเทศกาลแบบนี้
ภาพ สาวคนนี้้กำลังนั่งอยู่ข้าง "จับกัง" คนในวัยคุณปู่หรือทวดของเขา ผู้กำลังพุ้ยข้าวต้ม จับกังคือแรงงานที่ต้องมีความแข็งแรง และอดทน จับกังชั้นดีต้องยกกระสอบข้าวสารหนัก 100 กิโลกรัมได้ตลอดวัน เพราะเขาจ่ายตามจำนวนกระสอบที่แบกลงเรือได้
ภาพ ผู้เขียนถ่ายภาพกับ "จับกัง" หุ่นเท่าขนาดคนจริง ซึ่งเขาจะสูงประมาณ 160-165 ซม. ผอมเกร็ง เขาเป็นคนรุ่นปู่หรือทวดของคนไทยเชื่อสายจีน ซึ่งปัจจุบันลูกหลานเป็นเถ้าแก่ไปหมดแล้ว
ภาพ Asiatique เป็นตลาดยามค่ำคืน ที่เห็นด้านหลังเป็นชิงช้าสวรรค์ขนาดสูงที่สุดในกทม.
ภาพ รถราง (Tram) นั่งฟรี แต่ระยะสื้นมากๆ เป็นการย้อนความหลัง สมัยหนึ่งในกทม. ผมเองเคยนั่งรถรางจากปากซอยนายเลิศ ไปโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์
ภาพ ทางเดินภายในตลาด แน่นอนว่าเขาเรียนรู้จากจุดอ่อนของตลาดนัดจตุจักร ที่ทางเดินแคบ และร้อน ที่นี่เป็น Open air ระบายความร้อนด้วย Ventilation ปกติ แต่ว่าโปร่งกว่า
ภาพ ร้านอาหารยามค่ำ คนส่วนหนึ่งอยากนั่งกลางแจ้ง รับลมตามธรรมชาติ สำหรับเจ้าของร้านก็ชอบเพราะไม่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
ภาพ มองจากภายนอกในยามค่ำ ซึ่งเหมาะสำหรับการเดินเที่ยวเตร่ หาร้านเหมาะๆ รับประทานอาหาร
ภาพ ร้านขายสินค้าแฟชั่น ของที่ระลึกที่มีอยู่มากที่สุด คล้ายศูนย์การค้า มาบุญครอง และ Platinum ประตูน้ำ
ภาพ Asiatique ร้านอาหารที่มีอยู่มากมายในบริเวณนี้
เขาบอกว่ามีกว่า 40 ร้าน
ทั้งที่อยู่ในห้องปรับอากาศและที่เปิด
No comments:
Post a Comment