Saturday, March 30, 2013

ประชาชนต้องได้รับการศึกษาด้านพลังงาน (Energy Education) ด้วยตนเอง

ประชาชนต้องได้รับการศึกษาด้านพลังงาน (Energy Education) ด้วยตนเอง


ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: ยุโรป, สหภาพยุโรป, Europe, European Union, EU, พลังงาน, พลังงานทางเลือก, alternative energy, ปิโตรเลียม, petroleum, gasoline, gasohol, biodiesel, รถไฟความเร็วสูง, high speed train, High Speed Rail Association - USHSR, สหรัฐอเมริกา, USA, รถไฟ, การขนส่ง, transportation, คมนาคม, พลังงาน, energy, alternative energy,

ความนำ

หลักเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารในโลกนี้ ให้เข้าใจว่า “คนรู้มักไม่ได้พูด” หรือคนรู้ไม่พูดความจริง เพราะความที่เขามีส่วนได้เสียในข้อมูลนั้นๆ และ “คนพูดมักไม่รู้” กล่าวคือ คนที่ไม่มีข้อมูล เพราะเป็นคนนอกมักไม่มีข้อมูลลึกเท่ากับคนภายใน แต่มักจะพูด เพราะไม่ได้มีส่วนได้เสียกับข้อมูลข่าวสารนั้นๆโดยตรง ซึ่งก็เพราะความไม่มีข้อมูลที่ลึกซึ่งเพียงพอ ก็อาจจะผิดพลาดได้

ดังนั้นในโลกยุคข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง คนได้รับข้อมูลผิดก็ตัดสินใจผิด ประชาชนต้องเป็นคนฉลาดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็น iPeople อันหมายถึงเป็นคนที่มีความสามารถจะหาข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงจากแหล่งต่างๆได้อย่างกว้างขวาง แล้วใช้สติปัญญา ช่วยกันทำความจริงให้ปรากฏ

ประชาชนต้องใช้สติปัญญา มากกว่าอารมณ์และอคติใดๆ ช่วยกันทำความจริงให้ปรากฏ
ประเทศไทยเรากำลังสับสนด้านนโยบายพลังงาน (Energy policy) มีนโยบายบางอย่างที่สับสนกันเอง เช่น ทำให้น้ำมันราคาถูก ทั้งๆที่ไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตน้ำมัน แต่ในขณะเดียวกัน ก็กลับไปส่งเสริมกิจกรรมที่ทำให้ใช้พลังงานน้ำมัน (Gasoline) โดยไม่ประหยัดเกิดขึ้น ดังเช่น

นโยบายรถคันแรก คือส่งเสริมให้ประชาชนมีรถยนต์เพิ่มขึ้น โดยการลดหรืองดภาษีรถยนต์ขนาดเล็กที่บุคคลซื้อเป็นคันแรก คาดว่าทำให้มีคนซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้น 1 ล้านคัน ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดในเมืองใหญ่เพิ่มขึ้นอีก ทำให้เงินภาษีอากรที่จะนำไปใช้เพื่อการส่งเสริมการขนส่งและยานพาหนะทางเลือก การขนส่งมวลชนสาธารณะทั้งหลายต้องไม่ได้รับการส่งเสริมเพียงพอ

การไม่มีนโยบายด้านพลังงานจากพืชที่ชัดเจน สลับกันไปมากับนโยบายจะทำให้น้ำมันราคาถูก โดยไม่เก็บภาษีน้ำมัน ซึ่งเท่ากับไปส่งเสริมการใช้น้ำมันและพลังงานจากปิโตรเลียมให้มากยิ่งขึ้นไปอีก เกษตรกรเองก็สับสนว่า แล้วเขาควรปลูกพืชที่นำมาทำเป็นพลังงานทดแทนได้ จะดีหรือไม่ เขาก็กลัวว่าทำไปแล้ว ลงทุนไปแล้ว รัฐบาลไม่สนับสนุน ท้ายสุด ปัญหาก็ตกอยู่กับเกษตรกร ดังปัญหาน้ำมันปาล์มราคาต่ำ และรวมถึงราคายางพาราที่ไม่แน่นอน เป็นต้น

ยุโรปกับนโยบายประหยัดพลังงาน

ในยุโรปเกือบทั้งทวีป เขาเก็บภาษีน้ำมันอย่างสูง ทำให้น้ำมันปิโตรเลียมราคาสูงกว่าในสหรัฐ และในประเทศไทย เกือบร้อยละ 50 แต่ขณะเดียวกัน เขาใช้เงินภาษีจากพลังงานปิโตรเลียมและถ่านหิน ไปสนับสนุนพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืนกว่า (Sustainable energy) เช่น พลังงานจากลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากพืช ดังเช่น ไบโอดีเซล (Biodiesel) ในขณะเดียวกัน เขาส่งเสริมให้เกิดรถไฟความเร็วสูง (High-speed rail system) ที่จะเป็นทางเลือก ทดแทนการเดินทางโดยใช้รถยนต์ รถโดยสาร (Buses) เครื่องบิน (Airplanes) ซึ่งเป็นการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่า
ตาราง 1 ราคาน้ำมัน (Gasoline) ในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union Countries)

Country
Retail Price
Austria
€ 1.425
Belgium
€ 1.665
Bulgaria
€ 1.340
2.63 лв.
Cyprus
€ 1.418
Czech Republic
€ 1.420
36.60 Kč
Denmark
€ 1.686
12.57 kr
Estonia
€ 1.364
Finland
€ 1.649
France
€ 1.711
Germany
€ 1.620
Greece
€ 1.728
Hungary
€ 1.425
431 Ft
Ireland
€ 1.614
Italy
€ 1.802
Latvia
€ 1.343
Ls 0.942
Lithuania
€ 1.377
Lt 4.75
Luxembourg
€ 1.363
Malta
€ 1.480
Netherlands
€ 1.815
Poland
€ 1.338
5.59 zł
Portugal
€ 1.708
Romania
€ 1.339
5.91 lei
Slovakia
€ 1.511
Slovenia
€ 1.505
Spain
€ 1.438
Sweden
€ 1.759
14.68 kr
United Kingdom
€ 1.631
£ 1.378
EU AVERAGE
€ 1.535


ข้อมูลจาก Europe’s Energy Portal: http://www.energy.eu/
1 Euro = 37.50 Thai Baht

น้ำมันเบนซิน (Gasoline) เฉลี่ยในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปในปัจจุบัน เท่ากับลิตรละ € 1.535 หรือ 57.56 บาท

ให้สังเกตว่า ราคาน้ำมันในแต่ละประเทศจะไม่ห่างกันมากนัก เพราะมิฉะนั้น ก็จะเกิดการขับรถยนต์ไปเติมน้ำมันในประเทศเพื่อนบ้านในแถบชายแดน และเกิดการลักลอบขนน้ำมันข้ามประเทศ หลบเลี่ยงภาษี ดังที่ประเทศไทยเองก็เกิดการลักลอกไปเติมน้ำมันในประเทศเพื่อนบ้านทางใต้ ทั้งทางรถและทางเรือ ที่น้ำมันถูกกว่า และขณะเดียวกัน ประเทศเพื่อนบ้านฝั่งภาคพื้นดิน ก็มาใช้น้ำมันจากประเทศไทย ที่มีราคาถูกกว่า

ตาราง 2 ราคาน้ำมันดีเซลในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union Countries)

Country
Retail Price
Austria
€ 1.382
Belgium
€ 1.488
Bulgaria
€ 1.340
2.63 лв.
Cyprus
€ 1.428
Czech Republic
€ 1.408
36.30 Kč
Denmark
€ 1.465
10.92 kr
Estonia
€ 1.337
Finland
€ 1.544
France
€ 1.560
Germany
€ 1.442
Greece
€ 1.414
Hungary
€ 1.452
439 Ft
Ireland
€ 1.542
Italy
€ 1.701
Latvia
€ 1.300
Ls 0.912
Lithuania
€ 1.333
Lt 4.60
Luxembourg
€ 1.241
Malta
€ 1.380
Netherlands
€ 1.487
Poland
€ 1.342
5.61 zł
Portugal
€ 1.487
Romania
€ 1.332
5.88 lei
Slovakia
€ 1.423
Slovenia
€ 1.381
Spain
€ 1.362
Sweden
€ 1.705
14.23 kr
United Kingdom
€ 1.714
£ 1.449
EU AVERAGE
€ 1.443


ข้อมูลจาก Europe’s Energy Portal: http://www.energy.eu/
1 Euro = 37.50 บาท (Thai Baht)

น้ำมันดีเซล (Diesel) เฉลี่ยในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปในปัจจุบัน เท่ากับลิตรละ € 1.443 หรือ 54.11 บาท

ยุโรปกับ Euro Diesel

ในยุโรป เขาได้พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ดีเซล (Euro diesel)  ทำให้รถยนต์ที่ใช้เครื่องดีเซลใช้พลังงานที่เผาผลาญอย่างหมดจดกว่าเดิม ปล่อยควันเสียลดลง ให้พลังงานที่ทำให้รถมีประสิทธิภาพการใช้น้ำมันที่ดีขึ้น และทำให้มีเครื่องยนต์ดีเซลที่มีขนาดเล็กลง สามารถใช้เครื่องยนต์ขนาดอาจเล็กเพียง 800 CC กับรถยนต์ขนาดเล็กได้

ในอีกด้านหนึ่ง เพราเขาเก็บภาษีน้ำมันโดยรวมสูง เขาจึงใช้เงินรายได้ส่วนนี้ไปสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกพืชที่น้ำมันพัฒนาเป็นพลังงานเชื้อเพลิงได้ เช่น ไบโอดีเซล แกสโซโฮล (Gasohol) อันเป็นน้ำมันเบนซินผสมกับแอลกอฮอล (Alcohol) และเมื่อเขาสามารถพัฒนาดีเซลเป็นพลังงานทางเลือกได้ดีกว่าน้ำมันเบนซิน (Gasoline) ในยุโรป ราคาน้ำมนดีเซลจึงถูกกว่าน้ำมันเบนซิน ซึ่งเป็นทิศทางที่ต่างกันกับในอเมริกา ที่ยังมองว่าน้ำมันดีเซลเป็นน้ำมันที่สร้างมลพิษทางอากาศ และในอเมริกาเหนือ ก็ไม่ได้พัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์ดีเซลเหมือนในยุโรป อเมริกาจึงยังคงใช้รถยนต์ที่มีแต่ใช้น้ำมันเบนซินเป็นส่วนใหญ่

และหากเลยจากนี้ไป สหรัฐหรืออเมริกาเหนือ ก็จะไปส่งเสริมเรื่องรถยนต์ไฟฟ้า (Electric cars, Electric Vehicles – EV) ซึ่งต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ซึ่งกำลังรอช่วงของการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ

ภาพ เครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ใช้ในรถยนต์นั่ง uniJet Turbo Diesel เรียกย่อๆว่า JTD เป็นเทคโนโลยีของบริษัทรถยนต์ Fiat Group ในอิตาลี เป็นเครื่องยนต์คอมมอนเรล (Common rail) เบอร์โบดีเซล (Turbodiesel) คำว่า Multijet เป็นชื่อที่ใช้เรียก JTD รุ่นที่สอง ซึ่งใช้คอมมอนเรล รถยนต์ในเครือของ Fiat, Alfa Romeo และ Lancia ใช้เครื่องยนต์ดีเซลในแบบนี้ และรวมถึงบริษัทรถยนต์อเมริกัน General Motors ที่ผลิตในยุโรป และ PSA Peugeot Citroën ของประเทศฝรั่งเศส ก็ใช้เครื่องยนต์ในลักษณะนี้ แล้วใช้ชื่อเรียกว่า JTD

ภาพ เครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้กับรถขนาดเล็กในยุโรป ดังรถ Fiat 500 Diesel


ภาพ รถยนต์ขนาดเล็ก Fiat 500 Diesel ที่ใช้เครื่องขนาด 1,200 CC ใช้เครื่อง Diesel Turbo ดังที่เรียกว่า JTD

No comments:

Post a Comment