รถยนต์ไร้คนขับของกูเกิล
(Google driverless car)
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Keywords: การขนส่ง, transportation, การเดินทาง, commuting, รถยนต์ไฟฟ้า, electric
car, รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสม, hybrid electric car, รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมแบบเสียบปลั๊ก, Google, PHEV, Toyota
Prius, driverless technology,
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the
free encyclopedia
ภาพ
รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสม Toyota Prius
ที่ปรับแต่งเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนได้โดยไม่ต้องมีคนขับ
(Driverless car) เพื่อใช้ในระดับทดลอง
โครงการรถยนต์ไร้คนขับของกูเกิล
(Google driverless car) เป็นโครงการของกูเกิลที่พัฒนาเทคโนโลยีการขับเคลื่อนได้โดยไม่ต้องใช้คนขับ
โครงการนี้นำโดยวิศวกรของกูเกิล ซีบาสเตียน ทรุน (Sebastian Thrun) ผู้อำนวยการของห้องทดลองปัญญาประดิษฐ์แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
(Stanford Artificial Intelligence
Laboratory) รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
และเป็นผู้ร่วมประดิษฐ์รถยนต์ถ่ายภาพท้องถนนที่ใช้ประกอบแผนที่ของกูเกิล (Google Street View) ทีมงานของทรุนพัฒนาระบบที่ชนะเลิศความคิดสร้างสรรค์ของ
DARPA ในปี ค.ศ. 2005 ที่เรียกว่า 2005 DARPA Grand Challenge ซึ่งได้รับรางวัล 2 ล้านเหรียญจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐ
ทีมพัฒนานี้ประกอบด้วยวิศวกรที่ทำงานให้กูเกิล 15 คน
ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึง Chris
Urmson, Mike Montemerlo, และ Anthony Levandowski
ซึ่งทำงานให้กับ DARPA Grand
and Urban Challenges
ในวันที่ 29
มิถุนายน ค.ศ. 2011 รัฐเนวาดาในสหรัฐอเมริกา
ได้อนุญาตให้ผ่านกฎหมายที่ทำให้กูเกิลได้ใช้รถยนต์ที่ไม่มีคนขับบนท้องถนนได้อย่างถูกกฎหมาย
ซึ่งมีผลอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2012 ใบอนุญาตนี้ได้มอบให้รถยนต์ไฟฟ้าลูกประสมปรับแต่ง
Toyota Prius เพื่อให้กูเกิลได้ทดลองใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนรถยนต์โดยไม่ใช้คนขับ
(Driverless technology)
ในปัจจุบันนี้มี 3 รัฐและกรุงวอชิงตัน
ดีซี ที่อนุญาตให้ใช้รถยนต์ใช้เทคโนโลยีไร้คนขับ ที่ทำให้วิ่งบนท้องถนนได้อย่างถูกกฎหมาย
ในยุคต่อไป ฝ่ายนิติบัญญัติก็คงจะมีเรื่องต้องมาปรับปรุงกฎหมายว่าเมื่อไม่มีคนขับ
แล้วมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ ซึ่งก็ได้ความว่า
ก็บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไร้คนขับนี้
ทั้งนี้เพื่อให้ไม่กระทบค่าประกันรถยนต์ที่บริษัทประกันภัยอาจเรียกเพิ่ม
หรือไม่รับประกันในกรณีเกิดอุบัติเหตุกับรถยนต์ไร้คนขับ
ฝ่ายผู้ประดิษฐ์รถยนต์ไร้คนขับนี้เขามั่นใจว่า
เมื่อพัฒนาไปถึงระดับหนึ่งแล้ว รถยนต์ไร้คนขับจะมีความปลอดภัยโดยสถิติดีกว่ารถยนต์ที่ใช้คนขับ
โดยเฉพาะคนขับในกลุ่มเสี่ยง เช่นคนชรา คนป่วย หรือพิการ คนขับในขณะร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อน
กำลังใช้ยา ฯลฯ ที่ระบบประสาทตอบสนองไม่สมบูรณ์ปกติเหมือนทั่วไป
No comments:
Post a Comment