ศูนย์การค้าในเมืองร้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก
อยู่ในประเทศจีน
Keywords: เศรษฐศาสตร์, economics, เศรษฐกิจฟองสบู่, bubble economy, ประเทศจีน, China,
เมืองร้าง, ghost town,
ศึกษาและเรียบเรียงจาก “World's biggest
mall a China 'ghost town'.” โดย Johan Nylander, CNN, March
4, 2013 -- Updated 0230 GMT (1030 HKT)
ภาพ ศูนย์การค้าในเมือง Dongguan ในจังหวัดกวางตุ้ง (Guangdon, China) ประเทศจีนที่กลายเป็นเมืองร้าง
Dongguan, China (CNN) – เขาสร้างศูนย์การค้าที่ไม่มีคนมาจับจ่าย
ที่จังหวัดกวางตุ้ง (Guangdon Province) เมืองนี้ที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน
มีการสร้างศูนย์การค้าที่ มีพื้นที่ 5 ล้านตารางฟุต
สามารถจุร้านค้าได้ 2,350 ร้าน
จัดเป็นศูนย์การค้าที่มีพื้นที่ให้ร้านค้าเช่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดใหญ่กว่า Mall
of America ซึ่งจัดเป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ
ทุกอย่างออกแบบมาดูดีหมด แต่ปัญหาคือศูนย์การค้านี้มีแต่ความว่างเปล่า
แม้ว่ามีแผนการใหญ่โต แต่มีผู้มาเช่าใช้พื้นที่เพียงหยิบมือ
มีคนมาเยี่ยมใช้บริการน้อยมาก มีอัตราการใช้ประโยชน์น้อยมาก ที่ศูนย์การค้านี้ Emporis
ศูนย์ข้อมูลด้านอาคารต่างๆในโลก ได้จัดให้ที่นี่เป็น “ศูนย์การค้าที่ตาย”
(Dead mall)
ศูนย์การค้านี้ เปิดให้สาธารณชนเข้าใช้ได้ในปี
ค.ศ. 2005 ผู้พัฒนาหวังว่าจะมีคนมาใช้บริการวันละ 100,000
คนต่อวัน แต่ 8 ปีผ่านไป
มีคนไปใช้บริการเพียงที่ร้านอาหารแบบจานด่วนของอเมริกันที่บริเวณทางเข้าโรงภาพยนตร์
IMAX ไม่กี่คน มีพ่อแม่บางคนพาลูกๆไปเที่ยวที่ศูนย์สันทนาการ
Teletubbies Edutainment Center แต่โดยทั่วไปแล้ว
บรรยากาศเงียบเหงา
ปัญหาส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานที่ ซึ่ง Dongguan เป็นเมืองอุตสาหกรรมมีคน 10 ล้านคนก็จริง
แต่คนเหล่านี้อพยพมาจากที่อื่นๆ ต้องอยู่อย่างหาเช้ากินค่ำ เมื่อทำงานหนักในโรงงาน
ก็ไม่มีเวลาที่จะเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ
คนทำงาน ต้องทำงานหนักเพียงเพื่อความอยู่รอด ไม่มีเงินและเวลาที่จะไปใช้ซื้อตั๋วขึ้น
รถไฟเหาะตีลังกา (Rollercoaster) หาความสำราญ
การที่เกิดโครงการศูนย์การค้าใหญ่ขนาดนี้ เกิดขึ้นโดยไม่มีการศึกษาด้านการตลาดและธุรกิจอย่างดีพอ
และขณะเดียวกัน ด้วยความสำเร็จโดยรวมของประเทศจีนโดยรวม ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องมาตลอด
ทำให้ธนาคารปล่อยเงินอย่างไม่เคร่งครัด
แต่ศูนย์การค้าที่ว่างเปล่าในเมืองนี้
ก็ไม่ใช่เป็นเพียงแห่งเดียว
ในประเทศจีนมีโครงการที่เป็นเหมือนเมืองร้างเกิดขึ้นอีกหลายๆแห่ง
มีโครงการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ทั้งที่พักอาศัย
และศูนย์การค้า ที่ไม่มีคนมาใช้บริการ แต่ประเทศจีนก็เติบโตทางเศรษฐกิจที่ระดับร้อยละ
7-8 ต่อปี
ที่เป็นเช่นนี้
เพราะรัฐบาลกลางใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการลงทุนขั้นพื้นฐาน เร่งให้เกิดงานก่อสร้าง
แต่ปัญหาใหญ่คือรัฐบาลกลางไม่สามารถใช้ในโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไม่ระมัดระวัง
และปล่อยเงินไปกับการลงทุนที่ไม่เกิดประโยชน์เช่นนี้ได้อีกมากนัก และอันที่จริง
การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ระดับร้อยละ 7-8 ต่อปี
ก็ไม่จำเป็นสำหรับประเทศจีนเสียทีเดียว
หากการเติบโตนี้ไปสร้างความเสี่ยงในทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นกับประเทศโดยรวม
ผมนำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟัง ก็เพื่อให้สังคมไทยเราได้มองอย่างเตือนสติตัวเอง
เราไม่สามารถปล่อยให้ประเทศถูกชักพาไปด้วยแนวคิดเศรษฐกิจ “ประชานิยม” (Populism)
ที่ไม่สร้างความแข็งแกร่งให้กับพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศไปได้นานนัก
การกระตุ้นเศรษฐกิจในยามคับขันได้ผ่านไปแล้ว ตั้งแต่สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ช่วง
พ.ศ. 2551-2554 แต่หลังจากนั้นแล้ว
ประเทศไทยโดยการนำของรัฐบาลกลาง ควรได้เพิ่มความระมัดระวังด้านการเงิน
และต้องหันกลับมาสร้างวินัยทางการเงินการคลังให้กลับคืนมา และพยายามให้ธุรกิจทั้งภาคบริการและอุตสาหกรรม
สามารถกลับมายืนอยู่ได้บนขาของตนเอง
ภาพ ภายในศูนย์การค้า ที่กลายเป็นความว่างเปล่า ไม่มีคนมาจับจ่ายอย่างที่คาดหวัง
ภาพ ภายนอกของศุนย์การค้า
ส่วนการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่
ก็ต้องเป็นโครงการที่จำเป็นที่จะสร้างความแข็งแกร่งและความได้เปรียบทางเศรษฐกิจในระยะยาว
เช่น โครงการบริหารจัดการน้ำ (Water Management), การสร้างระบบขนส่งมวลชนด้วยราง
(Mass transit system), รถไฟความเร็วสูง สายยุทธศาสตร์ (Strategic
High-Speed Rail system) ฯลฯ
No comments:
Post a Comment