Sunday, March 3, 2013

BPA จากขวดและภาชนะพลาสติกมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคหืดในเด็ก


BPA จากขวดและภาชนะพลาสติกมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคหืดในเด็ก

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: สิ่งแวดล้อม, environment, ecology, นิเวศวิทยา, ecosystem, สุขภาพ, อนามัย, health, Bisphenol A, BPA, plastic, food, drink, bottles


ภาพ เด็กที่มีปัญหาโรคหอบหืด (Asthma) ที่ทำให้มีปัญหาด้านการหายใจ


ภาพ ในโลกยุคใหม่ พบเด็กที่ป่วยเป็นโรคหอบหืดมากขึ้น ตั้งแต่เด็กทารก อันอาจเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป



ภาพ โรคหอบหืด เมื่อมีอาการ ก็ต้องแก้ไปตามอาการ ด้วยการพ่นยาขยายหลอดลม แต่ดีที่สุดคือหาสาเหตุของโรค เช่น การแพ้สิ่งต่างๆ (Allergy)  ที่มีอยู่ในสภาวะแวดล้อมของเด็กและสังคมปัจจุบัน

จาก “BPA Exposure Linked To Asthma In Kids” โดย Alexandra Siffer ติดตามได้ใน @TIMEHealthland
The list of adverse health effects from BPA exposure continues to grow.

Bisphenol A, หรือ BPA เป็นส่วนที่ใช้ในภาชนะบรรจุอาหารและน้ำ ช่วยทำให้พลาสติกมีความยืดหยุ่น แต่จากการศึกษาพบว่า BPA มีส่วนไปปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่มที่เรากินและดื่ม การมี BPA พบมากในปัสสาวะมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพ เช่น โรคอ้วน (Obesity) ความผิดปกติทางฮอร์โมน (Hormone abnormalities) ปัญหาด้านไตและโรคหัวใจ แต่บัดนี้งานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย Columbia Center of Children’s Environmental Health ในเมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา BPA นี้มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงในอาการหอบหืด (Asthma) ในเด็กด้วย

BPA เป็นสารที่มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมน ทำให้เกิดความกังวลว่าจะใช้เป็นส่วนประกอบของภาชนะใส่อาหารและเครื่องดื่มได้หรือไม่ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 รัฐบาลหลายประเทศได้ตั้งคำถามเรื่องความปลอดภัย ผู้ค้าหลายรายได้ถอนผลิตภัณฑ์ที่มี polycarbonate ออกจากตลาด รายงานปี ค.ศ. 2010 คณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐ US Food and Drug Administration (FDA) ได้เตือนอันตรายของสารนี้ที่จะมีผลถึงทารกในครรภ์ (Fetuses) และเด็กเล็กทั้งหลาย ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2010 ประเทศแคนาดาเป็นประเทศแรกที่ประกาศให้ BPA เป็นสารมีพิษ (Toxic substance) ส่วนสหภาพยุโรป แคนาดา และสหรัฐอเมริกาได้ห้ามใช้ BPA เป็นส่วนประกอบของขวดใส่ของเหลวและอาหารสำหรับทารก


ภาพ ภาชนะที่ใช้บรรจุน้ำดื่ม ที่เขาอยากให้เป็นปลอดจาก BPA
 

ภาพ ขวดพลาสติกใส่น้ำดื่ม ที่ต้องระวังว่ามีสาร BPA เป็นส่วนประกอบหรือไม่ 

สำหรับหน่วยงานด้านอาหารและยาของไทยก็ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด สำหรับประชาชนทั่วไป หากเป็นไปได้ ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกเป็นภาชนะสำหรับอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ขวดที่เป็นแก้ว เซรามิค กระดาษ และโลหะที่พิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยสำหรับใช้เป็นภาชนะใส่อาหารมานานแล้ว แม้จะมีความยุ่งยากและมีราคาบ้าง แต่เพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ ก็ควรใช้เหมือนอย่างคนรุ่นพ่อแม่ ปู่ย่าตายายได้เคยใช้ ในยุคที่เรายังไม่มีพลาสติกใช้กันอย่างกว้างขวางในเกือบจะทุกเรื่องดังในปัจจุบัน

No comments:

Post a Comment