อินเดียเน้นการส่งออกเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กสำหรับรถยนต์
Keywords: เครื่องยนต์ดีเซล, diesel engine, ยูโรดีเซล, Euro-diesel, Bio-diesel, ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน, Fuel
efficiency, อินเดีย,
India, ญี่ปุ่น, Japan, Maruti Suzuki, Honda, Fiat, อิตาลี,
Italy
อินเดีย
(India) เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก
เพียงรองจากประเทศจีน โดยปัจจุบันมีประชากร 1,210 ล้านคน
มีพื้นที่ 3,287,590 ตารางกม. เมื่ออินเดียใช้นโยบายเปิดตลาด
ทั้งเพื่อการส่งออก และใช้ระบบตลาดเสรีในประเทศมากขึ้น ชาวอินเดียบริโภคมากขึ้น
มีคนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้น อินเดียจึงเป็นตลาดใหญ่ ที่อุตสาหกรรมทั่วโลกต่างสนใจ
รวมถึงประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีประสบการณ์ในการพัฒนารถยนต์นั่งมาในระดับแนวหน้าของโลก
เครื่องยนต์เป็นหัวใจสำคัญของรถยนต์
เครื่องยนต์เบนซิน (Petrol) ใช้น้ำมันที่มักผลิตจากปิโตรเลียม
โดยทั่วไปยังมีสัดส่วนการใช้พลังงานจากแอลกอฮอลทดแทน (Gasohol) ไม่มากนัก แต่เครื่องยนต์ดีเซลไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก
สามารถใช้น้ำมันจากพืชตามธรรมชาติทดแทนได้ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ และนอกจากนี้
โดยปริมาณที่เท่ากัน น้ำมันดีเซลมีมวลพลังงานที่แน่นกว่าและมากกว่า
ทำให้มีประสิทธิภาพให้พลังงานได้มากกว่าน้ำมันเบนซินอย่างที่เราใช้กันถึงร้อยละ 40
ภาพ รถยนต์ Suzuki Swift อย่างที่เห็นในตลาดรถยนต์เมืองไทย ใช้เครื่องยนต์ใหญ่สุดได้ถึง 1.6, 1.8 หรือ 2.0 ลิตร ขึ้นอยู่กับตลาดนั้นเป็นตลาดรถยนต์ในประเทศไทย ยุโรป หรืออเมริกาเหนือ แต่ตลาดประเทศกำลังพัฒนา เขาต้องใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็กลง ประหยัดค่าพลังงาน จึงหันมาใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก ดังเช่น 1.0 ลิตร
ในยุโรปกว่าครึ่งหนึ่งของรถยนต์ที่วิ่งอยู่บนถนน
ใช้เครื่องดีเซล ซึ่งเครื่องยนต์เทคโนโลยียุโรป หรือที่เรียกว่า Euro-diesel
มีประสิทธิภาพในการใช้น้ำมันได้อย่างหมดจด ให้พลังเร่งได้ดี
มักจะพัฒนาในแบบที่เป็น Turbo ที่นำพลังงานและความร้อนกลับไปใช้ใหม่ได้ดียิ่งขึ้น
เครื่องยนต์เดินได้เรียบและเงียบ มีระบบลดแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องมายังตัวรถได้ดีขึ้น
แต่กล่าวโดยรวมแล้ว
เครื่องยนต์ดีเซลมักจะเป็นเครื่องที่ใช้กับรถยนต์ขนาดกลางและใหญ่ได้ดีมากแล้ว แต่ยังไม่มีการพัฒนาเพื่อใช้ในรถยนต์ขนาดเล็กมากนัก
อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยมีสองบริษัทญี่ปุ่นที่อยู่ในตลาดข้ามชาติ
คือ Honda และ Maruti Suzuki ได้วางแผนระยะยาวที่จะพัฒนาและผลิตเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กสำหรับตลาดในอินเดีย
และตลาดเกิดใหม่ในโลก ซึ่งน้ำมันจะมีราคาแพงขึ้น
แต่ความต้องการใช้รถยนต์ส่วนตัวก็เกิดมากขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาใหม่ๆ ทั้งในเอเชียและทั่วโลก
ทางเลือกคือการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้น้ำมันที่มีทางเลือกในการผลิตได้จากธรรมชาติอย่างดีเซล
ในปี ค.ศ. 2012 บริษัท Maruti
Suzuki ได้รวมกับบริษัท Suzuki Powertrain India ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Suzuki Motor Corporation แห่งประเทศญี่ปุ่นอยู่แล้ว
ทั้งนี้เพื่อทำให้ระบบผลิตเครื่องยนต์ดีเซลให้อยู่ในการจัดการเดียว
ตามข่าวที่ปรากฏ บริษัทนอกจากจะผลิตเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ใช้กับรถยนต์นั่ง
คือขนาด 1 ลิตร เครื่องยนต์นี้กำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาในประเทศญี่ปุ่น
และคาดว่าจะออกสู่ตลาดในปี ค.ศ. 2014
เครื่องยนต์ขนาด 1.0 ลิตร
เป็นเครื่องยนต์แบบ 3 สูบ ในขณะที่เครื่องยนต์ขนาด 1.4
ลิตรที่ใหญ่กว่า จะเป็น 4 สูบ
ดังที่มีใช้อยู่โดยทั่วไป ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1.4
ลิตรจะเข้ามาทดแทนเครื่องยนต์ดีเซล Multijet ของบริษัท Fiat ซึ่งจะหมดสัญญาในปี ค.ศ. 2015 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่เคยใช้เครื่องของ Fiat ขนาด 1.3 ลิตรนั้น Suzuki จะเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1.4 ลิตร ในขนาดใกล้เคียงของตนเองแทน
ภาพ Suzuki Alto ใช้ขนาดเครื่องดีเซลเล็กขนาด 1.0 ลิตร และตามข่าวอาจมีการใช้เครื่องดีเซลพัฒนาใหม่ที่ขนาด 800 ซีซี
ปัจจุบัน Maruti Suzuki
ได้ส่งออกรถยนต์รุ่น A-Star, Alto, Estilo, Ritz และรุ่น
800 ไปมากกว่า 125 ประเทศ รถ Suzuki รุ่น A-Star และ Estilo
จะช่วยกระตุ้นยอดการส่งออกและสามารถทำให้รถ Suzuki บุกตลาดที่เกิดใหม่ในต่างประเทศได้
ในอีกด้านหนึ่ง บริษัท Honda เป็นบริษัทผลิตรถยนต์คุณภาพ ระดับส่งออกไปอเมริกาเหนือ และยุโรป
ก็มีแนวทางในการพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลในระดับที่จะแข่งขันกับเครื่องยนต์ดีเซลที่พัฒนาและใช้กันในยุโรป
ดังที่เรียกว่า Euro-diesel แต่ญี่ปุ่นน่าจะมีความสามารถทำได้ดีเท่า
แต่ในราคาที่แข่งขันได้มากกว่า
บริษัท Honda Motors ต้องการแสดงให้เห็นว่า
“สิ่งดีๆคือการทำให้เล็กลง” โดยประกาศว่าจะใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1.6 ลิตร ชื่อ i-DTEC diesel engine ซึ่งจะผลิตในโรงงานที่ Swindon
ประเทศสหราชอาณาจักร โดยเน้นตลาดในยุโรป
ซึ่งคุ้นเคยกับการใช้เครื่องยนต์ดีเซลในรถยนต์นั่งอยู่แล้ว
เครื่องยนต์ดีเซลนี้มีน้ำหนักเบาที่สุดในชั้นของมัน
เครื่องยนต์ดีเซล i-DTEC นี้เป็นผลผลิตของโปรแกรม Earth Dreams Technology
ของ Honda เครื่องยนต์ขนาดเล็กนี้
นอกจากจะให้พลังงานที่เพียงพอแล้ว ยังมีขนาดเล็กลงอย่างมากด้วย
เป้าหมายของการพัฒนา คือทำให้เครื่องดีเซล i-DTEC ขนาด 1.6 ลิตรนี้ มีน้ำหนักเบากว่าเครื่อง i-DTEC ขนาด 2.2 ลิตร 47 กิโลกรัม เพราะการทำให้น้ำหนักเบานี้ ลูกสูบจะมีความหนาเพียง 8 มิลลิเมตร ส่วนฝาสูบ (Cylinder head) ทำด้วยอลูมิเนียมที่นอกจากจะช่วยระบายความร้อนได้ดีแล้ว ยังทำให้น้ำหนักโดยรวมของเครื่องลดลง
เครื่องยนต์ขนาดเล็กนี้จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
โดยจะมีประสิทธิภาพการใช้น้ำมันที่ 78.5 ไมล์/แกลลอน (3
ลิตร/100 กม.)
ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่ 94 กรัม/กม.
อีกด้านหนึ่งนอกจากจะทำให้เครื่องยนต์มีน้ำหนักเบาแล้ว
ยังต้องลดการเสียดทาน โดยทำให้ลูกสูบและกระบอกสูบ (Piston skirt) มีขนาดสั้นลง ในความเร็วระดับ 1500 รอบ/นาที (RPM)
เครื่องยนต์ขนาด 1.6 ลิตรนี้มีแรงเสียดทานลดลงกว่าเครื่องรุ่น
i-DTEC ขนาด 2.2 ลิตร ถึงร้อยละ 40
ภาพ เครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก 1.6 ลิตร น้ำหนักตัวเครื่องเบา แต่ทรงประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงาน
ภาพ เครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กของ Honda แบบผ่าโครงสร้างให้เห็น
No comments:
Post a Comment