Thursday, October 24, 2013

ผู้นำต้องยอมเสีย ดีกว่าจะปล่อยให้เรื่องยืดเยื้อเสียหายหนักในระยะยาว


ผู้นำต้องยอมเสีย ดีกว่าจะปล่อยให้เรื่องยืดเยื้อเสียหายหนักในระยะยาว

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com



Keywords: ความเป็นผู้นำ, leadership, การเงิน, finance, การธนาคาร, banking, สหรัฐอเมริกา, United States, USA, เจมี ไดมอน, Jamie Dimon, JPMorgan Chase

ศึกษาและเรียบเรียงจาก TIME, Oct. 21, 2013

ในภาษาไทยมีสุภาษิตว่า “รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ” หากมีอะไรเสียหายที่ต้องได้รับการแก้ไข ก็ต้องตัดสินใจดำเนินการเสียแต่เนิ่นๆ ดีกว่าปล่อยให้เรื่องคลุมเครือ และสร้างบรรยากาศความไม่แน่นอนในระยะยาว


ภาพ เจมี ไดมอน (Jamie Dimon) ขณะให้ปากคำต่อคณะกรรมการธิการวุฒิสภาสหรัฐ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ที่อาคารรัฐสภา กรุงวอชิงตันดีซี (Capitol Hill in Washington, DC.)

เจมี ไดมอนในฐานะประธานและผู้บริหารสูงสุดของสถาบันการเงินใหญ่ JPMorgan Chase ซึ่ง เจมี ไดมอนได้รับคำยกย่องว่าเป็นผู้นำพาธนาคารผ่านวิกฤติการเงินและหลีกหนีการปล่อยเงินให้กับกิจการอสังหาริมทรัพย์ในช่วง subprime mortgage market ที่ล้มเหลว

แต่ปี ค.ศ. 2013 นับเป็นกระแสหวนกลับ อันด้วยมีเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการบริหารการเงิน botched London Whale trade ซึ่งทำให้บริษัทต้องสูญเสียไปหลายพันล้านเหรียญ ไดมอนอยู่ในช่วงการเจรจาต่อรองกับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐและหน่วยงานกำกับกิจการธนาคาร ซึ่งท้ายสุดคาดว่า JPMorgan Chase จะต้องจ่ายค่าปรับ 13,000 ล้านเหรียญ หรือ 390,000 ล้านาทไทย ซึ่งนับเป็นครึ่งหนึ่งของเงินกำไรของธนาคารในปีนี้ ไดมอนหวังว่าการรีบเคลียร์ค่าปรับจะทำให้เรื่องวิกฤติการเงินของธนาคารได้จบลง เพื่อที่จะได้เริ่มอนาคตใหม่ขององค์การต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม

เจมส์ หรือ เจมี ไดมอน เกิดวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1956 เป็นนักบริหารธุรกิจชาวอเมริกัน ปัจจุบันเขาเป็นประธานบริษัทและผู้บริหารสูงสุด (CEO) ของ JPMorgan Chase หนึ่งในสี่ธนาคารใหญ่สุดของสหรัฐอเมริกา ก่อนหน้านี้เขาเคยทำงานเป็นผู้อำนวยการฝ่าย Class A ของคณะอำนวยการของ New York Federal Reserve ไดมอนได้รับการยกย่องจากนิตยสาร Time ให้เป็นหนึ่งใน 100 ผู้ทรงอิทธิพลสุดของโลกในปี ค.ศ. 2006, 2008, 2009 และ 2011 เขาได้รับการยกย่องให้เป็น CEO ที่ดีที่สุดจากการสำรวจทีมผู้บริหารที่ดีที่สุดของอเมริกา จากช่วงปี ค.ศ. 2008 จนถึง 2011

No comments:

Post a Comment