Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, ประชาธิปไตย,
Democracy, เผด็จการรัฐสภา, ระบอบทักษิณ,
Taksinocracy, คณาธิปไตย, Oligarchy, ทักษิณ
ชินวัตร, Thaksin Shinawatra, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, พรรคเพื่อไทย, คอรัปชั่น, Corruption, ปฏิรูปประเทศไทย, Thailand Reform, การวิจัยเชิงคุณภาพ, Qualitative research, Interviewing technique
ภาพ การสัมภาษณ์ด้วยวิธีการโทรศัพท์ Telephone Interview
ภาพ การสัมภาษณ์บางส่วน อาจใช้ LINE เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารได้ หากมีระบบ SmartPhone อยู่แล้ว ใช้อินเตอร์เน็ตได้ไมจำกัดเวลา
ความนำ
ผมใช้ช่วงเวลาก่อนปีใหม่ 2557 นี้ ทำการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) อย่างง่ายๆ
โดยใช้โทรศัพท์สัมภาษณ์คนที่รู้จักกัน และมีฐานข้อมูลนับเป็นพันๆที่มีอยู่
แต่ผมเลือกศึกษาเพยงไม่เกิน 10 คน ต่อไปอาจใช้ LINE แล้วให้ตอบมาผ่าน LINE หรือ Message ใน Facebook
การศึกษาของผมเป็นการเรียนรู้แบบแสวงหา
(Inquiry Learning) โดยไม่ใช่เพียงการอ่านตำรา
หรือการฟังข่าวสารจากวิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อหนังสือพิมพ์
ซึ่งในปัจจุบันไม่ใช่ทางรับรู้ข่าวสารได้อย่างเสรี การศึกษาแบบแสวงหา
คือการเข้าถึงแหล่งข้อมูล คือประชาชนทั่วไปโดยตรงให้ได้มากที่สุด
สำหรับผมเลือกใช้กลุ่มคัดสรร (Elites) ที่มีการศึกษา
เป็นคนรู้เรื่องวงใน ผ่านทางระบบราชการ
หรือธุรกิจที่เขาทำเกี่ยวข้องกับราชการในยุคระบอบทักษิณในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา
คนทั่วไปอยากรู้อนาคต
และความไม่รู้อนาคตทำให้เกิดความกังวล ความไม่แน่ใจ (Future-related
anxiety) คนบางคนกินไม่ได้นอนไม่หลับ
เพราะเขาไม่รู้ว่าประเทศชาติกำลังเดินไปทางไหน กิจกรรมวิจัยแบบที่ผมทำนี้
ทำให้คนเข้าใจอนาคตของชุมชนและสังคมประเทศ ผมแนะนำให้คนที่อาจเกิดความกังวลในอนาคต
ได้ใช้วิธีการวิจัยแบบของผม ใช้การสื่อถามตรงไปยังคนที่เรารู้จัก
หรือในอนาคตรวมคนอื่นๆในชุมชน เน้นการฟัง และบันทึกข้อความช่วยการจำ ไม่ไปโต้แย้ง
ฝึกทักษะการฟังให้ดีที่สุด
กิจกรรมอย่างที่ทำนี้ ทุกคนสามารถทำได้
แล้วนำผลมาสัมมนาร่วมกัน (Seminar) นำมาแลกเปลี่ยนกัน
ทำให้เกิดการเรียนรู้ในวงกว้างมากขึ้น
โดยมีการนัดพูดคุยกันกับกลุ่มที่ไปเก็บข้อมูลมา อย่าลืม เน้นการเปิดใจ (Open-mindedness)
ที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันให้ได้มาก และกว้างขวางเสียก่อน
การศึกษาครั้งนี้เป็นเรื่องการรับรู้และทัศนคติ
(Perception & Attitudes) ยังไม่ใช่การไปรับรู้ข้อเท็จจริง
(Truth) เสียทีเดียว แต่หากได้มีการเข้าใกล้แหล่งข้อมูลแท้จริงมากขึ้นเรื่อยๆ
คนกล้าบอกกล้าเล่าความจริง ก็จะทำให้เราได้รับรู้ข้อเท็จจริง มากขึ้นเรื่อยๆ
แต่คนที่จะพูดคุยกับเรา เขาต้องไว้ใจเราเสียก่อน หากเขาเห็นต่างจากเรา
ก็ให้เน้นการรับฟังไว้ แล้วไปประมวลความคิดเห็นส่วนใหญ่อีกทีในภายหลัง
การวิจัยนี้ เป็นแรงกระตุ้นให้คนเข้าร่วมการศึกษาทางการเมืองอย่างมีส่วนร่วม (Participative Democracy) อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่เพียงการรับฟังและเฝ้าดูอยู่ห่างๆ การเปิดใจรับฟังกัน และเรียนรู้ที่จะเข้าใจความเป็นจริง นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบการเมืองไทยในยุคต่อๆไป
ผู้ตอบทั้งหมดเป็นผู้มีการศึกษา
และมีความรู้ในภาคส่วนของตนเอง อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3 คน ส่วนที่เหลืออยู่ในส่วนภูมิภาค
การวิจัยอย่างง่ายๆ
ผมตั้งคำถามดังนี้
ส่วนแรก ว่า ในปี 2557 นี้
จะเป็นปีที่ระบอบทักษิณจะเป็นอย่างไร (1) คงอำนาจไว้ได้เหมือนเดิมหรือเพิ่มขึ้น
(2) ระบอบทักษิณเสื่อมถอยลงแต่ยังคงอยู่ (3) ระบอบทักษิณล่มสลาย และให้ตอบ
ส่วนที่สอง ต่อจากส่วนแรก ด้วยว่าเพราะเหตุใด?
เป็นการให้ตอบเสรี และแจ้งผู้ตอบว่าให้ตอบได้โดยอิสระ
ไม่นำข้อมูลเปิดเผยให้กระทบต่อตัวบุคคล ขณะที่เขาตอบ มีการประมวลเป็นระยะ
เพื่อให้ชัดว่าเขาตอบโดยรวมมีลักษณะดังนี้ ใช่ไหม?
ส่วนผู้ที่ผมถาม โดยใช้โทรศัพท์นี้
เป็นคนที่เขาและผมรู้จักกันมาก่อนแล้ว เขาจึงให้สัมภาษณ์ได้โดยง่าย
ผมลองสัมภาษณ์คนรู้จักในฐานข้อมูลโทรศัพท์นับพันคน
ได้สัมภาษณ์รวม 8 คน ซึ่งทุกท่านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
คำตอบ
คนแรก เป็นชาย
คนวัยเดียวกับผม เคยเป็นข้าราชการทหารระดับสูง
เป็นระดับเข้าร่วมในการประท้วงที่ถนนราชดำเนินอยู่เป็นประจำ –
ระบอบทักษิณอยู่ไม่ได้ เพราะความเกลียดชัง เพราะคนเกลียดเขาและพรรคพวก
คนที่เคยชอบก็กลายเป็นเกลียดและเกลียดมากขึ้น ตัวแปรที่จะเร่งความเสื่อม
คือพรรคพวกของเขาเองที่ใช้ความรุนแรง
คนที่เกลียดก็เพราะเขาไม่ชอบการคดโกงที่เพิ่มขึ้น เล่นพรรคเล่นพวกในระบบราชการ ไม่เว้นแม้ทหารหรือตำรวจ
คนที่สอง เป็นชาย
คนวัยเพิ่งเกษียณ เคยเป็นผู้บริการโรงเรียนรัฐบาลในจังหวัดภาคอีสาน
สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ –
ระบอบทักษิณอยู่ไม่ได้
แต่เพราะมีกลไกหยั่งรากลึก ความเสื่อมของระบอบทักษิณจะคืบเข้ามาแบบใช้เวลา เป็นแบบปรับตัว
อ่อนกำลังลง แต่ยังไม่หมดไปโดยสิ้นเชิง แต่มองเห็นแนวโน้มที่จะเปลี่ยนอย่างเร็ว
ก็ต้องด้วยมีกำลังทหาร (ไม่ได้ระบุว่าด้วยการรัฐประหาร หรือการกดดันหรือไม่)
แต่ให้เหตุผลว่าโดยทั่วโลกไม่เห็นมีที่ไหนเปลี่ยนโดยไม่ใช้กำลัง
การเปลี่ยนโดยสันติและปราศจากอาวุธกระทำได้ยาก และต้องใช้เวลา
จึงต้องมีพลังการเปลี่ยนจากส่วนอื่นๆด้วย
คนที่สาม เป็นชาย
อาจารย์มหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดในปัจจุบัน ในเขตฐานนิยมทักษิณแต่เดิม
เคยทำงานในระบบการศึกษาภายใต้กระทรวงศึกษาธิการมาก่อน –
ระบอบทักษิณอยู่ไม่ได้ เพราะถ้าคงอยู่ต่อไป
ประเทศไทยก็ต้องล่มสลาย เพราะการหยั่งรากลึกดังที่เห็นในระบบการศึกษา
มีการซื้อตำแหน่ง เปิดทางเอาพรรคพวกเข้าไปทำงาน ทำลายระบอบคุณธรรม ระบบการศึกษาเองก็ได้รับผลกระทบทางลบ
แต่ทางจะปรับเปลี่ยนได้นั้น ต้องมี "ฮีโร่" เข้ามาจัดการ
ยังเชื่อในเรื่องความเป็นผู้นำ (ยังไม่ได้ถามลึกไปกว่า
แล้วฮีโร่ หรือวีรบุรุษนี้เป็นใคร มาจากไหน)
คนที่สี่
เป็นหญิง อาจารย์มหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด ในเขตฐานนิยมทักษิณแต่เดิม วัย 30
กว่า เคยมีประสบการณ์ทำงานด้านการวิจัยกับเอกชนมาก่อน –
ระบอบทักษิณอยู่ไม่ได้ เพราะคนรู้จักทักษิณและระบอบทักษิณมากขึ้น
ที่เคยหลงชอบเขาก็เริ่มตาสว่าง แล้วเปลี่ยนเป็นต่อต้านทักษิณ คนที่ทำธุรกิจคบค้าได้ประโยชน์จากระบอบนี้ในส่วนภูมิภาค
ก็เริ่มไหวตัว และถอนตัวออกเป็นลำดับ
คนที่ห้า
เป็นชาย ยังรับราชการ ทำงานบริหารระบบการศึกษา ในเขตฐานนิยมทักษิณแต่เดิม
ระบอบทักษิณจะเสื่อมลง แต่ยังคงไม่หายไป
ทั้งนี้ในทัศนะของคนระดับรากหญ้า กับระดับนายทุนที่ทำงานร่วมกัน
ยังได้ประโยชน์จากระบอบทักษิณ ดังกรณีโครงการรับจำนำข้าว ชาวนาได้ 40% นายทุนพ่อค้าได้ 60% ส่วนที่เป็นเรื่องทุจริตและความไม่โปร่งใส
ชาวบ้านไม่ค่อยได้รับรู้ เขามองว่าระบอบทักษิณก็ยังมีส่วนดีอยู่มาก สำหรับเขาแต่ละคน
ตอบลึก – ทักษิณวางเครือข่ายไว้อย่างแน่นหนา
ดังโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมจานสีดำ มีการแจกกัน
และชาวบ้านก็รับข่าวสารผ่านช่องที่เป็นพวกสนับสนุนทักษิณกันมาก ประชาชนมีการแบ่งออกเป็นสองขั้ว
ได้รับข้อมูลจากฝ่ายของตน ดังเช่น เงินรับจำนำข้าวไม่ถึงชาวบ้าน
ชาวบ้านก็รับข้อมลว่า เพราะพวกสุเทพ (กปปส.) และกลุ่มต่อต้านทำให้ไม่สามารถเอาเงินออกมาจ่ายคืนให้กับชาวบ้านได้
คนที่หก –
นักธุรกิจชาย ในวัย 60-70 ปี ทำงานธุรกิจที่ต้องเกี่ยวข้องกับวงการราชการ
เคยทำงานกับบริษัทต่างประเทศ รู้ระบบราชการและระบอบทักษิณในแนวลึกดี
ระบอบทักษิณเสื่อมลง และเสื่อมลงไปเรื่อยๆ
สังเกตว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ปัญหาการทุจริตในวงราชการก็มีอย่างชัดแจ้ง มีคนออกมาแฉ
แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับจากประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่ยังเฉยอยู่ แต่ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา (ตุลาคม-ธันวาคม 2556) คนตื่นตัวออกมาต่อต้านมากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นล้านๆคน
แสดงว่าคนจะไม่อยู่เฉยอีกต่อไปแล้ว ในปี 2557 ระบอบทักษิณจะเสื่อมไปเรื่อยๆ
แต่ไม่รู้ว่าจะหมดอิทธิพลไปในเมื่อใด อาจเป็นเวลา 2-3 ปี
เพราะยังมีรากหยั่งลึกไปในสังคมไทย
ตอบลึก – เหตุความเสื่อมของระบอบทักษิณ
เพราะความหลงตนเอง ย่ามใจ ทำอย่างไม่เกรงใจใคร จุดเปลี่ยนที่สำคัญคือการที่ทักษิณและพรรคพวกผลักดัน
“พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแบบสุดซอย” ที่กลายเป็นจุดพลิกผัน
มีคนออกมาร่วมขบวนต่อต้านเป็นล้านๆคน
สำหรับการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แม้จะมีการเลือกตั้งได้
แต่ก็เป็นเพียงการซื้อเวลาได้สักระยะหนึ่ง แต่ในที่สุด
ระบอบทักษิณก็จะหลุดจากอำนาจไป สำหรับตัวที่จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ
คือระบบราชการ โดยเฉพาะราชการทหาร ส่วนตำรวจนั้นเขาอยู่กับระบบผลประโยชน์อยู่แล้ว
ใครเป็นใหญ่ก็จะต้องเกี่ยวข้องกับตำรวจ
ส่วนทหารยังมีระเบียบวินัย
และฟังผู้บังคับบัญชา แต่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงจะแสดงบทบาทลอยตัว
ในช่วงที่ยังไม่ชัดเจน แต่เมื่อชัดเจนแล้วว่าฝ่ายใดจะชนะ ทหารจะเป็นตัว Tipping
point เมื่อสถานการณ์ชัดแจ้ง เขาจึงจะเลือกแสดงบทบาท
และเลือกข้างที่จะชนะ ซึ่งก็เป็นอย่างที่เขาบอก เขาเลือกข้างประเทศไทย หรือข้างประชาชนผู้ต้องการเปลี่ยนแปลง
โค่นล้มระบอบทักษิณ
คนที่เจ็ด –
นักธุรกิจชาย
ผู้เคยทำงานเป็นพนักงานระดับสูงของบริษัทต่างประเทศและเป็นเจ้าของกิจการเอง
ภูมิลำเนากรุงเทพฯ เกษียณอายุการทำงานแล้ว
ระบบทักษิณจะเสื่อมลง แต่ปี 2557 จะเป็นปีที่ต้องมี “การต่อสู้กันอย่างหนัก” ทักษิณจะไม่ยอมแพ้ไปง่ายๆ เพราะ
(1) ทักษิณต้องการเงิน 46,000 ล้านบาทคืน ซึ่งเมื่อรวมดอกเบี้ยก็จะมากกว่านี้
(2) การยิ่งอยู่นานและอยู่ห่างไกล ก็มีแต่คนหลอกใช้เงิน
เปลืองเงินไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ผลงาน และทักษิณเองก็ไม่รู้ข้อเท็จจริงในเมืองไทย
และ (3) การพ่ายแพ้ของระบอบทักษิณหมายถึงการต้องเสียกิจการธุรกิจของเขา
ที่หากไม่มีการเมืองปกป้อง ก็จะทำธุรกิจได้ลำบาก และอาจต้องมีความเสียหายในธุรกิจนั้นๆอย่างหนักไปด้วย
ตอบลึก - แต่โดยรวมในที่สุดระบอบทักษิณก็จะอยู่ไม่ได้
เพราะประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่จะรับรู้ข้อเสียของระบอบทักษิณ แต่ระยะเวลาเสื่อมถอย
อาจใช้เวลานานเป็น 2-3 ปี โดยเมื่อรับรู้ว่าแรงต้านจะมีมากขึ้นจนทักษิณต้านไม่ไหว
ในที่สุดเมื่อรู้ว่าแพ้แน่แล้ว ทักษิณเป็นนักธุรกิจที่รู้จักเจรจาต่อรอง
เพื่อยังรักษาส่วนที่พอจะยังคงมีอยู่ มิฉะนั้นก็จะเสียหายหนัก จนไม่มีอะไรเหลือ
แรงผลักดันที่จะทำให้เปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
ไม่ใช่ระบบราชการ ไม่ใช่ทหารที่จะกระทำรัฐประหาร
เพราะทหารระดับสูงก็จะไม่เข้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จนกว่าจะรู้ว่าฝ่ายใดจะชนะชัดเจน
ซึ่งก็เป็นประชาชนนี้แหละที่จะเป็นแรงเปลี่ยน แต่กำลังที่จะเปลี่ยนสำคัญในหมู่ประชาชน
จะมาจากคนจนถึงในระดับล่าง ซึ่งจะมีจำนวนมากขึ้นที่เมื่อรู้ความจริง
ก็จะเลือกไม่ยืนข้างหลังสนับสนุนระบอบทักษิณอีกต่อไป
คนที่แปด – ชาย
วัยเกษียณแล้ว อดีตนักบริหาร ทำงานองค์กรธุรกิจมหาชนขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันพักอาศัยในบริเวณกรุงเทพและปริมณฑล
ในปี 2557 ระบอบทักษิณจะเสื่อมถอยลง
แต่จะยังไม่หมดไป ความซับซ้อนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ยาก และอ่อนไหว
เพราะวิเคราะห์อย่างคร่าวๆ คนไทยมี 3 ระดับ คนระดับสูง มักไม่แสดงออกทางการเมืองอย่างเปิดเผย
และความนึกคิดของเขาไม่สำคัญเท่าการดูแลธุรกิจของเขาให้อยู่รอดและเจริญเติบโต คนระดับกลาง
คนชั้นกลาง นักธุรกิจระดับกลาง SMEs คนกลุ่มนี้ไม่ได้อยู่กับระบอบทักษิณอยู่แล้ว
แต่ที่สำคัญ คือคนระดับรากหญ้า ความสำคัญอยู่ที่คนระดับรากหญ้ามักขาดการรับรู้ข่าวสาร
ข้อมูลที่จะไปถึงคนกลุ่มนี้ซึ่งอยู่ในชนบท จะมีการบิดเบือนไปได้ง่าย ซึ่งคนกลุ่มที่สาม
ซึ่งเป็นจำนวนคนกลุ่มใหญ่ จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลง
ตอบลึก – การจะเปลี่ยนแปลงนี้ ต้องมียุทธศาสตร์ที่จะเข้าถึงคนระดับล่าง
ต้องมีคนระดับทีมงานหลัก หรือ Core Team ที่จะเข้าถึง “แกนของกลุ่มรากหญ้า”
ซึ่งคนระดับนี้อาจเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ระบบสาธารณสุขพื้นบ้าน พระ
แม้แต่รวมไปถึงหมอผี รวมๆ คือคนที่มีชาวบ้านศรัทธา
เชื่อถือ และเชื่อฟัง
คนระดับ Core Teams ของกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลงนี้
จะต้องเป็นคนที่รู้วิธีการสื่อสารไปยังแกนกลางของคนในระดับชุมชนรากหญ้านี้ เขาต้องรู้สภาพผู้รับฟังข่าวสาร
รู้วัฒนธรรมว่าอะไรที่เขามีคุณค่าอย่างไร เข้าใจแรงจูงใจของคนรากหญ้า และมีทักษะในการสื่อสาร
No comments:
Post a Comment