Monday, December 30, 2013

เรียนรู้การเสื่อมสลายของระบอบทักษิณจากอียิปต์


เรียนรู้การเสื่อมสลายของระบอบทักษิณจากอียิปต์

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com

Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, ประชาธิปไตย, Democracy, เผด็จการรัฐสภา, ระบอบทักษิณ, Taksinocracy, คณาธิปไตย, Oligarchy, ทักษิณ ชินวัตร, Thaksin Shinawatra, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, พรรคเพื่อไทย, คอรัปชั่น, Corruption, ปฏิรูปประเทศไทย, Thailand Reform, อียิปต์, Egypt, และฮอสนี มูบารัค, Muhammad Hosni El Sayed Mubarak, รัฐประหาร, Coup d' tat, ทหารกับการเมือง, Military,

อียิปต์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่คนมักเปรียบความขัดแย้งในประเทศไทยว่ามีความเหมือน

การเสื่อมสลายของระบอบทักษิณต้องศึกษาเปรียบเทียบกับยุคมูบารัค (Mubarak Regime) ครองอำนาจในอียิปต์ แต่มีความแตกต่างกันด้วยบุคลิกภาพผู้นำ ของทักษิณ ชินวัตรในประเทศไทย และฮอสนี มูบารัค (Muhammad Hosni El Sayed Mubarak) วัย 85 ปีของอียิปต์ ทักษิณเลือกหนีไปอยู่ต่างประเทศเมื่อต้องโทษข้อหาคอรัปชั่น แต่มูบารัคดื้อรั้นที่จะอยู่และยอมตายในประเทศของตน ไม่ว่าจะเป็นในคุก บ้านพัก หรือโรงพยาบาล

ในวันที่ 25 มกราคม 2011 หลังจากที่ครองอำนาจมานาน 30 ปี การประท้วงโดยประชาชนชาวอียิปต์ต่อรัฐบาลภายใต้มูบารัคก็รุนแรงยิ่งขึ้น และเรียกร้องให้มูบารัคลาออก แต่มูบารัคกล่าวปราศรัยว่า เขาจะไม่ลาออก และจะขอตายในแผ่นดินอียิปต์นี้ ฝ่ายต่อต้านมูบารัค อย่างโมฮัมเหม็ด เอลบาราเดย์ (leader Mohamed ElBaradei) แสดงความไม่เห็นด้วยกับมูบารัค และกล่าวว่ามันเป็นเพียงความพยายามของมูบารัคที่จะยังคงอยู่ในอำนาจเท่านั้น สื่อโทรทัศน์ถ่ายทอดการปราศรัยของมูบารัคในระยะต่อมาว่า เขาจะไม่ลงเลือกตั้งในสมัยต่อไปในเดือนกันยายน หรืออีก 7-8 เดือนต่อไป โดยประสงค์จะทำงานจนจบวาระ และสัญญาว่าจะปฏิรูปรัฐธรรมนูญ การยื้อเช่นนี้เรามักได้ยินกันคุ้นๆในประเทศไทย

ข้อเสนอเพื่อประนีประนอมนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของฝ่ายผู้ประท้วง และได้มีการเดินขบวนไปประท้วงที่ทำเนียบประธานาธิบดี ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ รองประธานาธิบดีโอมา สุไลมาน (Omar Sulaiman) ประกาศว่ามูบารัคได้ลาออกจากตำแหน่ง และอำนาจได้ถ่ายโอนสู่ฝ่ายกองทัพของอียิปต์ ซึ่งเป็นที่ขานรับยินดีจากประชาชนชาวอียิปต์โดยทั่วไป

ในประเทศไทย ระบอบทักษิณเข้าครอบงำระบบการเมือง ราชการ และเครือข่ายธุรกิจหลัก นานนับสิบปี แต่ไม่นานถึง 30 ปีดังอิทธิพลมูบารัคในประเทศอียิปต์ ประเทศไทยมีวัฒนธรรมอ่อนโยนกว่าอียิปต์ เผด็จการทหารในประเทศไทยเองก็ไม่เคยมีใครที่จะมีอำนาจต่อเนื่องได้ยาวนาน  สังคมมีหลายสถาบันที่ยังเป็นอิสระ และยังมีกลุ่มคนดังเช่นชนชั้นกลาง นักวิชาการ นักวิชาชีพ ที่ระบอบทักษิณไม่สามารถครอบงำได้ และที่ประเทศไทยจะไม่เหมือนอียิปต์ก็คือ การปล่อยให้สถาบันทหารมามีอำนาจ คนไทยคงไม่เห็นดีเห็นชอบกับการรัฐประหารแน่ และประเทศไทยต้องมีนวตกรรม (Innovation) ที่จะพาสังคมผ่านพ้นระบอบทักษิณอย่างสร้างสรรค์ และก่อเกิดความขัดแย้งให้น้อยในระดับที่สังคมรับได้ แต่เปลี่ยนแล้วเกิดผลดีอย่างถาวร แม้จะค่อยเป็นค่อยไป

ปี 2557 นี้ คือช่วงของการเปลี่ยนผ่านของประเทศไทยอย่างแท้จริง แต่ก็ต้องเรียนรู้ว่า สังคมไทยจะไม่ปล่อยให้เป็นความขัดแย้งแบ่งขั้วอย่างที่เกิดขึ้นในอียิปต์ เมื่อกลุ่มมุสลิมภราดรภาพซึ่งเป็นกลุ่มเน้นเครือข่ายศาสนา มีฐานเสียงในกลุ่มคนยากจน เข้าสรวมรับอำนาจต่อ และใช้เผด็จการทางรัฐสภาหวังครอบงำประเทศ กลายเป็นความร้าวฉานอย่างไม่มีที่สิ้นสุดในระยะต่อมา และการที่กลุ่มทหารเลือกวิธีการรัฐประหาร หวังเข้ามายุติความขัดแย้ง อียิปต์ดูจะยังไม่มีทางออกของสังคมประเทศโดยง่าย เพราะเมื่อทหารทำรัฐประหาร หวังใช้กำลังทัพเข้ายุติความรุนแรงที่เกิดขึ้น แต่ฝ่ายมอร์ซีอดีตประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง และได้รับการหนุนหลังโดยกลุ่มมุสลิมภราดรภาพ แม้ถูกจับกุม ก็ไม่ยอมสงบง่ายๆ

แต่สำหรับประเทศไทย เราคงจะต้องมีการเปลี่ยนผ่านของสังคมที่วางแผนมาอย่างรู้เท่าทัน และไม่ทำให้สังคมไทยถลำลึกไปในกับดักความขัดแย้ง ช่วงต่อไปนี้ คือช่วยเวลาแห่งการเรียนรู้


ภาพ จตุรัสทาเรียร์ Tahrir Square ยามที่มีการชุมนุมทางการเมืองอย่างยืดเยื้อ คล้ายกับถนนราชดำเนินในกรุงเทพฯ


ภาพ ทักษิณเลือกที่จะไม่อยู่ในเมืองไทย แต่สามารถชักใยอำนาจมายังพรรคพวก ผ่านตัวแทน คือ นายกรัฐมนตรีในเครือญาติ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และบรรดาสมาชิกพรรคเพื่อไทย


ภาพ ฮอสนี มูบารัค ครองอำนาจยาวนานกว่า 30 ปี


ภาพ ทหารในอียิปต์ยังมีอำนาจและอิทธิพล แม้ทำรัฐประหาร แต่สหรัฐอเมริกาก็ยังให้ความไว้วางใจ


ภาพ มูบารัค ขณะที่ต้องขึ้นศาล ต้องอยู่ในกรงขัง ตามมาตรฐานพิจารณาคดีของอียิปต์




No comments:

Post a Comment