Sunday, December 29, 2013

ภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจ (Distributed Leadership)


ภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจ (Distributed Leadership)

สุริยา เผือกพันธ์ แปลและเรียบเรียง

Keywords: ภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจ (Distributed Leadership), Empowering style, ภาวะผู้นำแบบวีระบุรุษ (Heroic),  การแบ่งปันภาวะผู้นำ (Shared of leadership), ความเป็นอิสระและความรับผิดชอบ (Accountability and autonomy), การกระจายภาวะผู้นำ
------------

Distributed leadership อาจแปลได้ว่า ภาวะผู้นำแบบกระจาย หรือภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจ มีนักวิชาการบางท่านใช้คำแปลว่า “การกระจายภาวะผู้นำ” ดังนั้นยังไม่มีความลงตัวด้านศัพท์ในภาษาไทย ส่วนภาษาอังกฤษ นอกจากคำว่า Distributed leadership แล้วยังมีคำว่า Empowering style, Shared leadership ซึ่งคำเหล่านี้ในภาษาไทยจึงยังเป็นคำที่ไม่ลงตัวเสียทีเดียวอีกเช่นกัน แต่เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ณ เวลานี้ คำว่า Distributed leadership ในภาษาไทย หากใช้คำว่า ภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจ แล้วกำหนดให้เป็นคำศัพท์เพื่อการวิจัยครั้งดี (Operational definition) หากพบคำที่นักวิชาการด้านภาวะผู้นำ การบริหาร การจัดการ แล้วค่อยกลับมาทำความตกลงกันในหมู่ผู้ศึกษาทั้งหลายอีกทีหนึ่ง ประกอบ คุปรัตน์ (30 ธันวาคม 2556)

ภูมิหลัง (Background)

ภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจ (Distributed Leadership) ได้กลายเป็นแนวคิดที่สำคัญ ผ่านการสอนและบรรยายของริชาร์ด เอลมอร์ (Richard Elmore) ศาสตราจารย์แห่งภาวะผู้นำทางการศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) ความหมายดั้งเดิมของภาวะผู้นำคือ การใช้วิสัยทัศน์ของคน ๆ เดียวที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม บอกทิศทาง สอนและสนับสนุนคนอื่น ๆ อย่างไรก็ตามในความหมายนี้ก็คือ เป็นภาวะผู้นำแบบวีระบุรุษ (Heroic) ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลังยุคสมัยดังกล่าว (Post-heroic) ได้เกิดภาวะผู้นำแบบกระจาย (Distributed Leadership) ที่เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น

 “ภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจ” คือ การแบ่งปันภาวะผู้นำ (Shared of leadership) ระหว่างคนสองคนหรือมากกว่าหนึ่งคน ลักษณะของภาวะผู้นำแบบนี้มีหลายลักษณะ เช่น ภาวะผู้นำแบบแบ่งปัน (Shared) กระจาย (Dispersed) การมีปฏิสัมพันธ์ (Relational) การเคลื่อนที่ (Roving) การเป็นกลุ่มก้อนร่วมกัน (Collective) การใช้กลุ่มเป็นศูนย์กลาง (Group-centered) การใช้คณะกรรมการเป็นฐาน (Broad-based) การมีส่วนร่วม (Participatory) ความยืดเหยุ่น (Fluid) ไม่ตายตัว การรวมเข้าด้วยกัน (Inclusive) ไม่ใช่การแบ่งแยกเป็นพวกเขาพวกเรา และการส่งเสริม (Supportive) โรงเรียนในปัจจุบันนี้ ผู้บริหารมีงานมากและได้เพิ่มมากขึ้นอย่างคงเส้นคงวา การแบ่งปันภาวะผู้นำ (Shared leadership) จึงได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวาง

ประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits)

ผู้บริหารไม่สามารถที่จะไปได้ในทุก ๆ ที่ในเวลาเดียวกัน พวกเขาจึงเริ่มใช้ภาวะผู้นำแบบนี้ บางโรงเรียนอำนาจของภาวะผู้นำได้กระจายระหว่างผู้อำนวยการสองคน ในขณะที่บางโรงเรียนอาจกระจายไปยังครูและผู้ปกครองนักเรียนด้วย โดยการสร้างกลุ่มที่ไม่มีผู้นำเป็นศูนย์กลาง ผลลัพธ์คือ งานที่มีอยู่มากมายหรือระบบของโรงเรียน ได้รับความสนใจและพัฒนาอย่างเต็มที่อย่างมีนัยสำคัญ

การกระจายภาวะผู้นำ ทำให้งานของผู้บริหารเหลืองเพียง 2 – 3 งานและเกิดผลกระทบที่แท้จริง ด้วยผลงานที่ดีขึ้น งาน 2 – 3 งานนี้ทำได้ดีมากกว่าที่จะดูแลงานทั้งหมดที่เกี่ยวกับการบริหารตามหน้าที่ (Administrative duties) และงานรับผิดชอบเกี่ยวกับครูและนักเรียน ในทางกลับกันผู้บริหารมีแนวโน้มที่จะทำงานได้สมบูรณ์แบบมากขึ้นและมีความรู้สึกดีที่พวกเขาได้ทำในสิ่งที่มีความแตกต่าง การแบ่งปันภาวะผู้นำ อาจช่วยลดจำนวนงานที่ผู้บริหารดูแลไม่ทั่วถึงลงไปได้อีกด้วย

ตัวอย่าง (Example)

บางโรงเรียน ความรับผิดชอบของภาวะผู้นำได้ถูกแบ่งปันระหว่างผู้อำนวยการสองคน คนหนึ่งเป็นผู้อำนวยการการสอน ขณะที่อีกคนหนึ่งเป็นผู้อำนวยการการบริหารทั่วไป ผลลัพธ์คือ พวกเขาได้เพิ่มประสิทธิภาพในงานของพวกเขา ครูและนักเรียนได้รับความเอาใจใส่เพิ่มมากขึ้น

ในแวดวงธุรกิจก็ได้เริ่มมีการใช้แนวคิดการแบ่งปันภาวะผู้นำแบบนี้เช่นกัน บ่อยครั้งจะพบว่าการบริหารโครงการได้ใช้การกระจายภาวะผู้นำข้ามกลุ่ม แต่ละกลุ่มได้แยกและมีความรับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไป ทำให้งานทุกงานของบริษัทประสบความสำเร็จ

ตามแนวคิดนี้เกือบทั้งหมด มีสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งปันภาวะผู้นำอยู่ 2 – 3 อย่าง กอรปด้วย ความเป็นอิสระและความรับผิดชอบ (Accountability and autonomy) อย่างไรก็ตามแม้จะกลับย้อนไปที่จุดเริ่มต้น จะพบว่า ทักษะที่จำเป็นสำหรับการแบ่งปันภาวะผู้นำคือ การประสานงานกับผู้ปฏิบัติงานที่จะทำให้เพิ่มความสามารถในการจัดการ ประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับคือ การที่ผู้บริหารสามารถลดปริมาณงานของพวกเขาลงและมีโอกาสได้เน้นและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น จะทำให้เป็นผู้นำสามารถดูแลนักเรียนและปฏิรูปโรงเรียนให้ได้รับการพัฒนาตามที่ต้องการ

อ้างอิงจาก http://www.e-lead.org/resources/resources.asp?ResourceID=12#links (December 8, 2013)

No comments:

Post a Comment