ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง (Reform
Before Election) – อุทัย พิมพ์ใจชน
Keywords: การเมือง, politics, การปกครอง, governance, ประชาธิปไตย,
Democracy, เผด็จการรัฐสภา, ระบอบทักษิณ,
Taksinocracy, คณาธิปไตย, Oligarchy, ทักษิณ
ชินวัตร, Thaksin Shinawatra, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, พรรคเพื่อไทย, คอรัปชั่น, Corruption, ปฏิรูปประเทศไทย, Thailand Reform, Suthep Thaugsuban (สุเทพ
เทือกสุบรรณ), อุทัย พิมพ์ใจชน,
ความนำ
ภาพ นายอุทัย พิมพ์ใจชน
ข้อความที่โพสต์ลงใน Facebook ของ Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ) เมื่อวันที่ 29
ธันวาคม 2556 ปรากฏว่ามีคนเข้ามากด Like
แล้ว 46,967 คน คือข้อความไม่ยาว
เขียนโดยนายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร
อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
เด็กๆและเยาวชน แม้สนใจการเมืองในช่วงหลังบ้าง
แต่อาจไม่ทราบประวัติความเป็นมาของนายอุทัย พิมพ์ใจชน ซึ่งเป็นคนในวัย 75 ปี รุ่นเดียวกันกับนายชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อุทัย
พิมพ์ใจชน ครั้งหนึ่งในช่วง 14 ตุลาคม 2516 ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองวีรบุรุษประชาธิปไตย เพราะกล้ายอมติดคุก
เพื่อคัดค้านรัฐบาลเผด็จการทหาร ผมจึงได้นำประวัติของอุทัย
พิมพ์ใจชนอย่างย่อที่มาจาก Wikipedia มานำเสนอ
เพราะมันจะมีส่วนในการให้น้ำหนักในสิ่งที่เขาพูดหรือเขียน – ประกอบ คุปรัตน์ (31
ธันวาคม 2556)
--------------
“ผมเห็นว่าต้องมีการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
ไม่ใช่ผมเห็นด้วยกับ กปปส.แต่เป็นความคิดเห็นส่วนตัว วันนี้เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับว่าบ้านเมืองมีปัญหาต้องปฏิรูป ทำไมไม่หันหน้ามาร่วมมือกัน เลือกตั้งไปก็เสียเปล่า
มีการต่อต้านเวลาไปหาเสียง เมื่อเลือกตั้งไปไม่ได้ จะดึงดันไปทำไม
ตอนนี้การเมืองมี 2 พวก คือ ราษฎรที่มีตัวตน เป็นของจริง
กับผู้บริหาร พวกนี้เป็นสิ่งสมมุติ แต่กลับมีการติดยึดในสิ่งสมมุติ ตำแหน่งนายกฯ
ก็เป็นสิ่งสมมุติ อย่าไปยึดติด ออกแล้วสงบก็ออกไปเถอะ
คนที่จะแก้ไขปัญหาได้คือนายกฯเท่านั้นว่าจะให้บ้านเมืองเกิดกลียุคหรือไม่
ถ้ารักษาตำแหน่งไว้กลียุคแน่ ต้องดูพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นตัวอย่าง
ตำแหน่งกษัตริย์ท่านยังสละได้”
อุทัย พิมพ์ใจชน
อดีตประธานสถาผู้แทนราษฎร์
อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
อดีตประธานสถาผู้แทนราษฎร์
อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
ประวัติบุคคล
นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎรอดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 8
สมัย
นายอุทัย พิมพ์ใจชน เกิดวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2481 ที่จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันอายุ 75
ปี เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ สำเร็จการศึกษา
นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิต
สำนักการอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
อุทัย พิมพ์ใจชน
เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกเมื่อ พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ จากการชักชวนของนายธรรมนูญ เทียนเงิน สมาชิกพรรค
จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จอมพลถนอม กิตติขจรและจอมพลประภาส จารุเสถียร ยึดอำนาจตัวเอง นายอุทัย พิมพ์ใจชน พร้อมด้วย ส.ส. อีก 2 คน คือนายอนันต์ ภักดิ์ประไพ และนายบุญเกิด หิรัญคำ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญาให้ดำเนินคดีต่อคณะปฏิวัติในข้อหากบฏ ถือเป็นท้าทายอำนาจของผู้มีอำนาจอย่างตรงไปตรงมา แต่แล้วศาลได้ตีความ
และทำให้ทั้งสามคนตกเป็นจำเลย และถูกจำคุก โดยเฉพาะส่วนนายอุทัยจำคุกเป็นเวลา 10
ปี ซึ่งต่อมาในยุครัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ทั้งหมดก็ได้รับการปลดปล่อย
ในปี พ.ศ. 2522 เมื่อ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ได้พ้นวาระและประกาศวางมือการเมือง นายอุทัยได้ลงแข่งขันเป็นหัวหน้าพรรคคนต่อไป
กับ นายชวน หลีกภัย เพื่อนสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์รุ่นเดียวกับ
และ พ.อ.(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ท่ามกลางการจับตามองของหลายฝ่าย
โดยนายอุทัยได้รับการสนับสนุนจาก นายธรรมนูญ เทียนเงิน อดีตเลขาธิการพรรค
ด้วยความเป็นคนชลบุรีด้วยกัน ปรากฏว่า ที่ประชุมพรรคได้เลือก พ.อ.(พิเศษ) ถนัด
คอมันตร์ เป็นหัวหน้าพรรคคนต่อไป หลังจากนั้นไม่นาน นายอุทัยก็ได้ลาออกไปตั้งพรรคการเมืองของตัวเองคือพรรคก้าวหน้า และต่อมาได้ตั้งพรรคอีกพรรคหนึ่ง
คือ พรรคเอกภาพ
นายอุทัย ได้ตกเป็นข่าวฮือฮาในปี พ.ศ. 2537
ขณะดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อถูกติวเตอร์คนหนึ่ง ปาถุงอุจจาระ ใส่ขณะแถลงข่าว
หลังเหตุการณ์ครั้งนั้น นายอุทัย ไม่ได้ดำเนินคดี หรือตอบโต้ใด ๆ กับผู้ก่อเหตุ
ซึ่งส่งผลดีกับภาพลักษณ์ของนายอุทัย ในฐานะเป็นผู้มีอาวุโส
ที่ไม่ใช้อำนาจกับผู้ด้อยอำนาจกว่า
ในปี พ.ศ. 2544 เมื่อพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้ง นายอุทัยก็ได้ย้ายตัวเองเข้าสังกัด พรรคไทยรักไทย ได้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาในการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ท้องสนามหลวง นายอุทัยได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย ต่อมาในการเลือกตั้งวุฒิสภาชิกเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 นายอุทัยก็ได้ลงรับสมัครในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง โดยได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่ 12 ได้คะแนน 25,407 คะแนน
ก่อนการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ
ปี 50 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม
พ.ศ. 2550 นายอุทัยเป็นบุคคลหนึ่ง ที่แสดงความเห็นอย่างชัดแจ้ง
ไม่เห็นด้วยกับการรับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ปัจจุบัน
นายอุทัยได้ยุติบทบาททางการเมืองโดยสิ้นเชิงแล้ว
โดยไปทำสวนเกษตรกรรมที่จังหวัดชลบุรี บ้านเกิด
No comments:
Post a Comment