จาก "บทที่ 10 การสร้างอนาคต"
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
Pracob Cooparat
E-mail: pracob.cooparat@gmail.com
ณัฐนิภา คุปรัตน์
Nattanipha Cooparat
Keywords: cw059, ความเป็นผู้นำ, leadership, การจัดการ, management ลิงตัวที่ร้อย
บทนำ
1. คิดแบบแล้วแต่เขา
2.ความมั่งคั่งอันนำมาซึ่งความอัปยศ ความสำเร็จอันนำมาซึ่งความล้มเหลว
3. การลดความคาดหวังลง
4. การไม่รู้จักให้อภัย (The missing forgiveness)
ประการแรก การริเริ่มสร้างสรรค์เป็นความเสี่ยง
ประการที่สอง การริเริ่มสร้างสรรค์ (innovation) ต่างจากการปฏิรูปและการปฏิวัติ ตรงที่การริเริ่มสร้างสรรค์จะเน้นที่การสร้างสิ่งใหม่ แต่ไม่ได้ปฏิเสธระบบเก่า
ประการที่สาม การริเริ่มสร้างสรรค์ จะหลีกเลี่ยงการขัดแย้งในเชิงอุดมการณ์ หรืออุดมคติ ซึ่งจะทำให้เกิดการแยกขั้ว และเป็นผลในการเปลี่ยนแปลงนั้นต้อง หยุดชงักลง
ประการทีสี่ การริเริ่มสร้างสรรค์มีลักษณะพลภาพสูง เป็นแนวทางที่เปิดกว้างเพื่อการ เปลี่ยนแปลง
1. การเปลี่ยนแปลงจะทำได้เร็วและขยายผลอย่างรวดเร็ว เมื่ออยู่ในยามวิกฤติ
2. การจะทำให้การเปลี่ยนแปลงได้เกิดผลโดยเร็วก็คือเพิ่มกระแสความไม่พอใจใน ระบบเก่า
3. การจะเปลี่ยนแปลงได้นั้น เป็นผลจากการสร้างภาพที่สวยงามของระบบใหม่ แนวความคิดใหม่
4. การเพิ่มกระแสของการอภิปราย พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ และรวมไปถึงการเสนอแนวทางในการดำเนินการ
5. การสร้างระดับของความน่าเชื่อถือของการนำเสนอ ถ้าผู้ฟังเชื่อในผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ด้วยบุคลิกภาพ ด้วยผลงานของเขาที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงก็จะเป็น ไปโดยง่าย
6. การเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปได้เร็วก็ด้วยการลดเงื่อนไขอุปสรรค ประเพณี วัฒนธรรมให้เหลือน้อยที่สุด
7. การเร่งสร้างกลุ่มสนับสนุนให้ได้มากเสียก่อนให้ได้มีคนเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงมากพอ
1. การต้องรู้จักสงวนรักษา การต้องรู้จักตัดทอนเพื่อต่อให้ยืด การต้องรู้จักจังหวะ รู้จักหยุดเพื่อให้ได้เดินต่อ
2. การริเริ่มที่ต้องหวังผล ทำสิ่งเล็กที่ประสบผลสำเร็จ ดีกว่าทำอย่างกระจัดกระจาย แต่ไม่มีโอกาสสำเร็จ (focusing)
3. การกระจายความสำเร็จคือการต้องรู้จักกระจายคน กระจายงาน และกระจายโอกาสทำงานไปสู่ความสำเร็จ
4. การสร้างทีมงานที่เหมาะสม หลากหลายแต่พึ่งพาซึ่งกันแลกัน
5. การริเริ่มนั้นเริ่มมาจากการต้องปล่อยให้มีคนที่คิดริเริ่มและลงมือทำงานได้อย่างอิสระ
6. ความสำเร็จอาจต้องมีวิกฤติที่ต้องมีคนเสียสละรับผิดชอบ โดยไม่ส่งต่อความ ทุกข์ยากและปัญหาต่อไปโดยปราศจากคนดูแล
7. ความสำเร็จเกิดจากการส่งต่องานและความคิด ไม่ใช่คิดคนเดียว ทำคนเดียว
8. การสร้างผู้นำยุคใหม่สำหรับความสำเร็จ จะต้องคำนึงถึงการเตรียมคนที่มีความพร้อมสำหรับสภาวะที่อาจจะสับสน ยุ่งยาก เนิ่นนาน แต่เขาก็มีวุฒิภาวะ หนักแน่น ทนแดดทนฝนจนท้ายสุดนำไปสู่ความสำเร็จได้
9. การสร้างทีมงาน มิได้หมายความว่าขนคนดีๆมาอยู่รวมกันมากๆ แล้วจะได้ผลดี บางครั้งการแยกกันอยู่เพื่อร่วมกันทำงานอาจจะได้ผลดีกว่าอยู่ร่วมกันทำงานแบบ ทะเลาะกัน แตกแยกกัน
10. การทำงานใหญ่ต้องรู้จักเลือกใช้คน คนที่มีความเหมาะสมกับงาน มีศักยภาพสำหรับอนาคต มิใช่เพียงดูสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับปัจจบัน
Pracob Cooparat
มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย
Updated: วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553
การประเมินความสำเร็จของผู้นำนั้นเราประเมินเขาตรงไหน บางคนประเมินผู้บริหารตรงความราบรื่น สามารถทำให้คนทำงานได้อย่างไม่ขัดแย้งกัน สามารถทำสิ่งที่ ทำมาอย่างดีแล้วให้เป็นไปได้ด้วยดีต่อไป แต่ความ สำเร็จของการเป็นผู้นำนั้น คือสามารถแสวงหาโอกาสในการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สิ่งที่ดีกว่าด้วย ความที่เป็นคน ไม่หยุดนิ่ง การมีสายตายาวไกล และ การสามารถนำพาสังคมไปสู่สิ่งที่ดีกว่าได้อย่างจริงจัง
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดอันเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ มีประวัติเริ่มเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อปีค.ศ.1636 หรือก่อน การประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ก็ไม่มีอธิการบดี กี่คนนักที่ได้รับเกียรติในฐานะเป็นนักการ อุดมศึกษาที่ดีเด่น จนกระทั่งได้มีอธิการบดอย่าง Charles Eliot
ในประวัติการทำงานของท่านนั้นจัดเป็นคนที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความสงบมากนัก ในยุคสมัยของท่าน เพราะได้ เป็นคนที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดมากมาย แต่ท้ายสุดแล้วสิ่งที่ท่านได้นำเสนอจัดได้ว่าเป็นความคิดริเริ่ม ใหม่ สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และที่สำคัญที่สุดคือการที่ท่านมีเวลาในการดำรงตำแหน่งนานพอที่จะ ทำให้ความคิดริเริ่มของท่านนำไปสู่ความสำเร็จที่ทำให้เกิดผลยั่งยืนเห็นได้ทั้งภายในสถาบันของท่านเอง และผลกระทบต่อวงการอุดมศึกษาของสหรัฐในระยะต่อมาดุจดังไฟลามทุ่ง
การเป็นผู้นำนั้นเราวัดกันด้วยความสามารถในการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นผลมา จากการที่ได้เกิดวิกฤติการณ์แล้วได้มีผู้มาแก้ไข หรือเป็นเพราะได้เสนอการเปลี่ยนแปลงในสถาบัน ที่เต็มไปด้วย ความราบรื่น แต่ไม่มีโอกาสเห็นการเดินในทิศทางใหม่ ตราบจนได้มีผู้นำคนใหม่ที่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง แท้จริง
ประเภทของการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงนั้นมีการจำแนกได้เป็นหลายประเภท (types of change) ซึ่ง Lyle E. Schaller ได้นำเสนอ ในหนังสือของเขาชื่อ The Change Agent: The Strategy of Innovative Leadership ได้เสนอเหตุผลในการที่ต้อง มีการปรับเปลี่ยนเอาไว้ 4 ประการ คือ
1. การทำให้ทันสมัย (modernization) ขอยกตัวอย่างจากสังคมไทยเพื่อทำความเข้าใจดังนี้ เช่น การที่รัชกาลที่ 5 ทรงพัฒนาประเทศ โดยทรงนำความรู้และ วิทยาการด้านต่างๆจากนะวันตกมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น ทางด้านคมนาคม การสื่อสาร การทหาร การแพทย์และ สาธารณสุข การศึกษา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ เข้าแทนที่ระบบงานพิมพ์ดีดที่มีอยู่เดิม การเปลี่ยนหลักสูตรของโรงเรียนให้มีการเรียนภาษาต่างประเทศ เพื่อตอบ สนองต่อสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีทางโพลีเมอร์สามารถทำให้พลาสติกเข้าทดแทนชิ้นส่วนโลหะที่เคยใช้เดิม หรือผลิตได้ด้วยต้นทุนที่สูงกว่า เช่นพลาสติกแทนขวดแก้ว หรือภาชนะบรรจะภัณฑ์ทั้งหลาย เป็นต้น
2. การปรับเปลี่ยน (transformation) เช่น การปรับเปลี่ยนระบบการเงินจากยึดกับระบบเงินดอลลาร์สหรัฐ ให้กลายเป็นระบบลอยตัวตามกระแสการแลกเปลี่ยนของโลก การเปลี่ยนระบบมาตรฐานการชั่งตวงและวัดแบบ อังกฤษไปใช้ระบบเมตริค การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้อาจเป็นการเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับระบบอื่น เช่น การที่มีเครื่อง อะหลั่ยรถหรือผลิตภัณฑ์มีอยู่หลากหลาย จึงมีรวมกันเปลี่ยนไปใช้ระบบอะหลั่ยทดแทนกันได้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ สดวกและประหยัดขึ้นในการซ่อมบำรุงผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ในราคาต่ำลง หรือการปรับเปลี่ยน เส้นทางการเดินรถต่างๆ เป็นต้น
ในการเปลี่ยนแปลงทั้งสองรูปแบบแรกนี้ คือเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยก็ดี หรือการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ใดก็ดี อาจเป็นผลมาจากการมองเห็นการณ์ไกลของผู้นำบางคน โดยที่คนส่วนใหญ่ ยังมองไม่เห็น หรือเป็นความจำเป็นของระบบที่จะไม่เปลี่ยนแปลงไม่ได้อีกต่อไป อาจเป็นการปรับเปลี่ยนจากสิ่งที่แม้ ไม่เปลี่ยนแปลง ระบบก็ยังดำรงอยู่ได้ เพียงแต่อาจไม่ดีพอ แต่มีการเปลี่ยนแปลงอีกแบบหนึ่ง คือการได้ประสบปัญหา แล้ว และจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง คือ
3. การปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด (survival adaptation) เป็นความเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็น และเพื่อ ความอยู่รอด เช่น คนอ้วนน้ำหนักเกินอันเป็นผลให้ประสบปัญหาจากโรคหัวใจ และเบาหวาน ต้องไปหาแพทย์ และแพทย์ได้สั่งให้ ลดน้ำหนัก 30 กิโลกรัมภายในหนึ่งปี ีเป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่จะรอความพร้อมใดๆอีก ต่อไปไม่ได้ เพราะมันเป็นความจำเป็นรีบด่วน คือถ้าไม่ทำ ก็จะต้องได้รับผลกระทบอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างแน่นอน โดยทั่วๆไปแล้ว ระบบมีชีวิตตามธรรมชาตินั้นจะมีกลไกอัตโนมัติในการปรับตัว เช่น สัตว์ที่ต้องอาศัยอยู่ในทะเลทราย หรือในที่แห้งแล้งและขาดน้ำดังอูฐ ก็จะมีอวัยวะที่ทำหน้าที่เก็บน้ำสำรองเอาไว้ในตัวมาก หมีที่ต้องอาศัยอยู่ในเขต หนาว ยามฤดูหนาวมาถึงก็ต้องมีสภาพการจำศีล ต้องมีไขมันสะสมเอาไว้พอจากฤดูกาลที่อาหารการกินสมบูรณ์ เพื่อเมื่อขาดแคลนอาหาร ก็จะใช้ชีวิตอย่างสิ้นเปลืองพลังงานน้อยที่สุด โดยต้องนอนยาวนาน ปล่อยให้หัวใจเต้นช้า เป็นต้น
แต่ในระบบสังคมที่ใหญ่ขึ้นเช่นในองค์การขนาดใหญ่ รัฐบาล หรือประเทศนั้น การปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เป็นไปได้อย่างเชื่องช้า และถ้ารอให้วิกฤติการณ์มาถึงก่อนนั้นอาจจะไม่ทันการณ์ ในระยะหลังนักศึกษาทางสังคม ศาสตร์ประยุกต์หลายสายจึงได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงแบบมีการเตรียมการณ์ (Planned change) มากขึ้น
จาก Thomas R. Bennett ได้เสนอการจำแนกประเภทของการเปลี่ยนแปลงเอาไว้ (จาก The Change Agent หน้า 34-35 ) ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเปลี่ยนที่ตรงไหน ทางเลือกมีอยู่อย่างน้อย 4 วิธีการเป็น ระดับดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง (structure) ดังเช่นบริษัท IBM เนื่องจากประสบปัญหาทางการดำเนินการ ธุรกิจ ประสบการขาดทุนอย่างรุนแรง จึงต้องมีการปรับโครงสร้างใหม่ เพื่อให้มีลักษณะที่ปราดเปรียว (lean and mean) ลดค่าใช้จ่าย ทำให้สามารถผลิตสินค้าแข่งกับตลาดโลกได้
2. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (technology) เนื่องจากเทคโนโลยีในยุคใหม่จะมีศักยภาพเพิ่มขึ้นเป็น ลำดับจนทำให้ระบบเดิมที่เคยใช้อยู่ต้องกลายเป็นสิ่งล้าสมัยไปโดยปริยาย เช่น เมื่อมีโทรทัศน์สีเกิดขึ้นและเทคโนโลยี ได้เผยแพร่ออกไป ทำให้ระบบอุตสหกรรมสามารถผลิตได้ในราคาถูกลง จนในที่สุดได้ทดแทนโทรทัศน์ขาวดำที่มีมา แต่เดิม หรือในอีกตัวอย่างหนึ่ง คือการที่คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆได้ออกสู่ตลาดด้วยความสามารถที่สูงยิ่งขึ้นกว่าระบบ ก่อนหน้านั้น แต่ในราคาที่ไม่แพงขึ้น จึงกลายเป็นมาทดแทนของเก่าโดยปริยาย
3. การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม (behavior) นับเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคล กลุ่ม หรือองค์การ แต่เน้นที่ระดับปฏิบัติการของแต่ละคน ซึ่งนับเป็นระดับที่สำคัญ เช่น การเลิกสูบบุหรี่ การเปลี่ยนนิสัยการบริโภค วิธีการทำงาน เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ นับว่ามีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทาง ความเชื่อพื้นฐาน ของคน หรือค่านิยมของเขา หรืออาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของสังคม หรือองค์การทำให้ เขาต้อง ปฏิบัติเช่นนั้น เช่น เขาเลิกสูบบุหรี่ เพราะมีกฏในองค์การนั้นห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ หรือเขาเปลี่ยนนิสัย การ บริโภคต้องเตรียมอาหารแบบใช้เวลายาวนาน มาเป็นการหันไปซื้ออาหารปรุงสำเร็จแล้วทำให้สุกอย่างรวดเร็ว ด้วย เตาไมโครเวฟ เป็นต้น
4. การเปลี่ยนแปลงทางสมมติฐานและค่านิยม (assumptions and values) นับเป็นความเปลี่ยนแปลง ที่ได้มีการซึมลึกเข้าไปอยู่ส่วนในของตัวบุคคลแล้ว มันอาจเป็นผลมาจากกลุ่ม การได้รับการอบรมสั่งสอน หรือเกิด จากการได้สัมผัสข้อเท็จจริงบางประการ แต่อย่างไรก็ตาม การมีความเชื่อพื้นฐานที่เปลี่ยนไปนั้นอาจ ไม่ทำให้ พฤติกรรม ของเขา่เปลี่ยนแปลงไป เช่นคนบางคนเบื่อหน่ายในอาชีพสอนหนังสือแล้ว แต่โดยพฤติกรรมเขาก็ยังต้อง สอนอยู่ ทุกวัน คนบางคนเริ่มเบื่อหรือไม่รู้สึกสนุกกับอาชีพใดๆ แต่ก็ยังต้องทำอาชีพนั้นอยู่ เพราะเขายังไม่มีทางเลือก ในการดำรงชีพได้ด้วยวิธีอื่น
ในอีกวิธีการหนึ่งที่จะมองการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถเริ่มได้ในหลายรูปแบบ เราจะเริ่มที่ตรงไหน กล่าวคือ
1. การเปลี่ยนแปลงโดยการเปลี่ยนตัวผู้มีอำนาจ นับว่าได้ผลเร็ว เมื่อเห็นว่าผู้มีอำนาจกระทำการในสิ่งที่ตนไม่พอใจไม่เห็นด้วย ก็ต้องหาทางเปลี่ยนตัวผู้มีอำนาจนั้น บางทีด้วยความเข้าใจว่าระบบนั้นดีอยู่แล้ว แต่เพราะเชื่อว่า คนที่อยู่ในตำแหน่งต่างหากที่ไม่ดี นักการเมืองไทยหลายคนเชื่อว่าระบบราชการไทยนั้นเป็นปัญหาเพราะข้าราชการระดับสูงนั้นไม่สนองนโยบายทางการเมือง ซึ่งก็มักจะหาทางแก้โดยการปลด โยกย้าย หรือปรับเปลี่ยนสลับตำแหน่ง ถ้าเขาเชื่อว่าถ้าควบคุมคนในระดับสูงได้แล้ว ทุกอย่างก็สามารถแก้ไขไปได้ แต่โดยข้อเท็จจริงนั้น ระบบราชการนั้นอาจมีความใหญ่โต และรากเง่าของปัญหาอาจฝังลึกเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการโยกย้ายคนในระดับสูง ดังนั้นจึงพบว่าเมื่อมีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายคนแล้ว แต่ผู้เข้าสู่ตำแหน่งใหม่ก็ยังไม่สามารถทำตามนโยบายได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝ่ายการเมืองบางคนก็เสนอที่จะให้มีอำนาจในการโยกย้ายข้าราชการในระดับรองลงมาได้ตามลำดับ ซึ่งบางทีอาจไม่ใช่การแก้ไขได้ แต่อาจกลายเป็นการเข้าไปสร้างปัญหาที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงกฏหมาย ระเบียบ หรือกฏเกณฑ์ในสังคมนั้นๆ เช่นการแก้ไขกฏหมาย การให้มีรัฐธรรมนูญ โดยเชื่อว่าถ้ามีรัฐธรรมนูญ และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็จะได้เข้าไปช่วยวางกฏเกณฑ์เพื่อแก้ปัญหาของประเทศได้มากขึ้น ในการบริหารองค์การนั้น ก็มีความเชื่อกันว่าเมื่อมีปัญหา ระบบองค์การก็สามารถออกกฏเกณฑ์ หรือระเบียบเพื่อให้สมาชิกปฏิบัติเป็นการแก้ปัญหาได้ แต่กระนั้นก็ยังพบว่าประชาธิปไตยก็ไม่ก้าวหน้า ยังมีการซื้อเสียงได้ มีรัฐธรรมนูญแล้วคนก็ยังฉีกทิ้งได้เป็นระยะ ในระบบองค์การพอมีคนทำผิดขึ้นมาสักรายจากจำนวนคนเป็นพันๆคน ก็ออกกฏขึ้นมาเพื่อห้ามไม่ให้เกิดพฤติกรรมเช่นนั้นขึ้นอีก แต่ในองค์การที่มีปัญหา ก็มักจะมีคนไปเลี่ยงทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องขึ้นในประเด็นอื่นๆอีก เช่น ห้ามสูบบุหรี่ในที่ทำงาน ก็เลยหลบงานเป็นระยะไปสูบในห้องสุขา ในโรงเรียนเพื่อให้สอดคล้องกับการศึกษายุคใหม่ ครูใหญ่จึงห้ามครูลงโทษด้วยการเฆี่ยนตีนักเรียน ครูบางคนเลยเลี่ยงบาลี อาศัยการหยิกที่ท้อง ต่อยท้อง หรือการทำโทษทางจิตใจทดแทน เช่นไม่ยอมพูดด้วย หรือแสดงความไม่สนใจต่อนักเรียนคนที่ต้องการลงโทษ ซึ่งในที่สุดผลที่ปรากฏออกมาอาจเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม ซึ่งก็แสดงว่าการออกกฏเกณฑ์นั้นอาจแก้ปัญหาได้ แต่ก็ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องหรือเหมาะสมเสมอไป
3. การเปลี่ยนแปลงโดยสร้างให้เป็นวัฒนธรรมขึ้น ในสหรัฐอเมริกา เมื่อเปรียบเทียบกับไทย เขามีพัฒนาการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยมากว่า 200 ปี เขาไม่เพียงพัฒนาไปในทางรูปแบบ แต่ได้มีการพัฒนาไปในด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิตด้วย ประชาธิปไตยของเขาเกิดจากการต้องต่อสู้ มิใช่ได้มาแบบง่ายๆแบบฟ้าประทาน ประธานาธิบดีของเขาตั้งแต่คนแรกก็ได้สร้างประเพณีการไม่อยู่ในตำแหน่งนานกว่า 2 สมัย ระบบการปกครองท้องถิ่น ตั้งแต่ในระดับของแต่ละรัฐ และชุมชนเองก็ได้เป็นเช่นนี้มานับแต่การเริ่มสร้างอาณานิคม ดังนั้น ถ้าจะทำความเข้าใจในรากฐานประชาธิปไตยของสหรัฐนั้น ก็คงจะต้องไปดูวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่เขาได้สร้างสมกันมานับเป็นร้อยๆปี
การเปลี่ยนแปลงที่จะทำได้อย่างสมบูรณ์ที่สุดคือ การที่องค์การหรือสังคมนั้นๆมีการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกันในทั้งสามเรื่อง คือได้ หนึ่ง เปลี่ยนแปลงทั้งตัวผู้บริหาร หรือผู้นำที่จะสอดคล้องกับแนวทาง สอง การได้มีกฏหมายรองรับ และสาม คือการได้เปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ซึ่งสัมผัสกับตัวคนแต่ละคน และเป็นการเปลี่ยนแปลงถึงในระดับฐานราก ซึ่งถ้าสามารถกระทำได้ทั้งสามประการ และทำอย่างเป็นเหตุเป็นผลสอดคล้องกันแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นก็มีโอกาสประสบความสำเร็จมากและมีผลสืบยืนนาน
แต่ในการเปลี่ยนแปลงใดๆนั้นจะไม่มีโอกาสที่ทั้งสามสิ่งจะบังเกิดได้อย่างสอดคล้องกันมากนัก นอกจาก ว่าจะต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า หรือมีความสุกงอมในสถานการณ์รองรับ ถ้าเช่นนั้น เราจะพบว่าการ เปลี่ยนแปลง ที่จะประสบความสำเร็จนั้นอาจเริ่มมาจากอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน เช่นจากสภาพแวดล้อมที่ เปลี่ยน แปลงไป ประชาชน หรือคนในสังคมนั้นๆได้มีการปรับเปลี่ยนไปล่วงหน้าแล้ว จึงได้มีการปรับเปลี่ยนใน ตัวผู้นำ และการแก้ไข กฏระเบียบ ในสังคมรองรับ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ จำเป็นต้องอาศัยความเป็น ผู้นำที่มีสาย ตายาวไกล และวางแผนเตรียม การณ์รองรับไว้ได้ ในทัศนะผู้เขียนอยากให้ความ สนใจไปที่การ เปลี่ยนแปลง ทางผู้นำ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความถึงผู้นำ ในระบบปกติ แต่เป็นผู้นำที่อาจอยู่นอกระบบ ที่เขาสามารถ นำพาสังคม ไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ ทำให้มีการกำหนด ระเบียบของสังคมได้ และสามารถสร้าง วัฒนธรรมใหม่ให้เกิดขึ้นได้
ประเภทของการเปลี่ยนแปลง จำแนกโดยแหล่ง หรือแรงจูงใจได้เป็น 2 ลักษณะ้ดังต่อไปนี้
1. เกิดจากแรงจูงใจภายใน (internally motivated decision) และ
2. เกิดจากแรงจูงใจภายนอก (externally motivated decision)
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากแรงจูงใจภายนอก เช่น การได้รับเงินทอง สินจ้าง เกียรติยศชื่อเสียง ความยอมรับ เหล่านี้จัดเป็นแรงจูงใจที่เกิดจากภายนอก แต่การเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดจากสิ่งที่มาจากภายใน ของตัวคนนั้น กล่าวคือ แม้เขาไม่ได้รับเงินทอง ไม่ได้รับความปลอดภัยหรือ ความมั่นคงในชีวิตการงาน หรือชื่อเสียง เกียรติคุณ แต่เขาก็ยังต้องการทำในสิ่งนั้น อาจจะด้วยความชอบ หรือเห็นคุณค่าในสิ่งนั้น การเปลี่ยนแปลงที่จะมี คุณค่านั้นจะสำคัญมากคือการได้คนทำงานที่มีแรงจูงใจในระดับสูง คือคนที่มีแรงจูงใจจากภายในของเขา เพราะ งานหลายอย่างนั้นมีความสำคัญต่อสังคมมาก แต่สำหรับตัวผู้นำการเปลี่ยนแปลงแล้ว มันอาจหมายถึงการต้อง สูญเสียหลายอย่างในชีวิต
(Lyle E. Schaller The Change Agent: The strategy of Innovative Leadership. Nashville: Abingdon Press, 1972. pp.33-)
เมื่ออยู่ท่ามกลางสถานการณ์ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ระบบสังคมหรือมนุษย์มีพฤติกรรมที่แสดงออก ต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้ คือ
1. การอยู่เฉยๆโดยไม่เปลี่ยนแปลง ไม่รับรู้เหมือนหมีหรือกบจำศีล อาศัยความสามารถในการอดทน การอยู่แบบอดและออม มีสภาพเหมือนครึ่งหลับครึ่งตื่น แล้วก็สามารถอยู่ในสถานการณ์ใหม่ได้ ในทางธุรกิจก็สามารถทำได้ แม้ในสังคมใหญ่จะมีแนวโน้มการก้าวสู่ความเป็นชุมชนอุตสาหกรรม แต่คนที่ยังอยากทำการเกษตรเหมือนเดิม ก็ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้ ใครๆอยากไปแต่งตัวแบบตะวันตก แต่คนบางคนใส่ผ้าถุง นุ่งโจงกระเบน หรือใส่เสื้อม่อฮ่อมก็อยู่ได้ ใครอยากฟังเพลงแบบตะวันตก แต่คนฟังเพลงไทยสมัยเก่า หรือเพลงไทยเดิมก็อยู่ได้
2. การตอบโต้โดยการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (reactionary) การยิ่งยึดมั่นในกลุ่มของตนโดยไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นก็เป็นไปได้ การตอบโต้การเปลี่ยนแปลงด้วยการต่อต้านออกมาทั้งโดยซึ่งหน้า และโดยลับหลังนั้น มีปรากฏให้เห็นในทุกประวัติของการเปลี่ยนแปลง ในประเทศจีนคอมมิวนิสต์เมื่อจะเปลี่ยนระบบการปกครองและเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความเป็นสังคมนิยมได้ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ก็ต้องผจญกับการต่อต้าน และตามล้างอย่างรุนแรง ในประเทศไทยได้มีการปรับเปลี่ยนประเทศไปสู่ความทันสมัย ก็ได้รับการต่อต้านจากผู้มีความคิดอนุรักษนิยมหลากหลายกลุ่ม การรุกจากห้างสรรพสินค้าที่มีเครือข่ายระดับประเทศและระดับนานาชาติไปสู่ภูมิภาคนั้น ก็ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากพ่อค้านักธุรกิจท้องถิ่นอย่างมากเช่นกัน เหล่านี้เป็นตัวอย่างรูปธรรมที่มีให้เห็น
3. การเปลี่ยนแปลงแบบช้าๆ เปลี่ยนแบบไม่ค่อยอยากจะเปลี่ยน (slow-down) เป็นการปรับเปลี่ยนเหมือนกัน แต่ทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนให้น้อยที่สุด ในระบบราชการสามารถกระทำได้โดย "ดองเรื่อง" ถ้าส่งเรื่องผ่านมาก็เก็บเข้าลิ้นชัก หรือไม่ก็ตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษา ถ้าเป็นไปได้ ก็ไม่ระบุวันเสร็จ การแต่งตั้งคณะกรรมการก็ให้มีขนาดใหญ่ กรรมการจัดวันประชุมให้น้อยวัน แต่ประชุมแต่ละครั้งก็สร้างเรื่องให้ถกเถียงกันในประเด็นเล็กๆน้อยๆ ปล่อยให้เรื่องยืดเยื้อยาวนาน ตัวอย่างเหล่านี้เห็นได้จากบรรดนักรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง แล้วก็ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญ การพิจารณาปฏิรูประบบราชการในหน่วยงานต่างๆที่อาจทำให้ข้าราชการเสียประโยชน์ ถ้ามีการส่งเรื่องเข้าไปสู่ระบบราชการให้พิจารณา ก็จะได้รับการตอบสนองแบบชะลอเรื่อง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมดาที่พบเห็นกันอยู่ ด้วยเหตุนี้ บางคนจึงเรียกว่าพฤติกรรมนี้ว่า ไม่ใช่เป็นการปฏิรูป แต่เป็นการเปลี่ยน "แบบปฏิโลม" คือ ผู้นำ หรือผู้มีอำนาจในระบบไม่ยอมเปลี่ยนแปลงจริงจัง แต่จะแสดงออกมากลบเกลื่อนด้วยการให้ความหวัง ปลอบโยน แต่แล้วก็ไม่เปลี่ยนแปลง
4. การเปลี่ยนแบบปรับตัวตาม (adaptation) การปรับเปลี่ยนโดยไม่ยึดติด ไม่รีรอ แต่ก็ถือเป็นการปรับตาม เหมือน โป็ะท่าเรือลอยน้ำที่เป็นการแปรตาม ถ้าน้ำขึ้น โป๊ะก็ลอยตัวตาม แต่ถ้าน้ำลง ก็จะลดระดับลงตาม ในทางสังคม ระบบเศรษฐกิจในยุคใหม่ถูกกำหนดให้ต้องเป็นการแข่งขันในตลาดเสรีระดับโลก ข้อตกลงทางการค้า เรื่อง GATT (General Agreement on Trades and Tariff) นโยบายทางการเงินการคลังในยุคใหม่ ทำให้ประเทศไทยต้องอาศัยมาตรการปรับเปลี่ยนนี้อย่างไม่มีทางเลือกมากนัก เช่น การไม่สามารถสร้างกำแพงภาษีปกป้องสินค้าที่ผลิตได้ภายในประเทศมากนัก เพราะถ้าปกป้องมาก สินค้าที่เราสงออกก็จะได้รับการกีดกันทางการค้าเช่นเดียวกัน ซึ่งก็จะไม่เป็นผลดีต่อใคร
5. การปรับเปลี่ยนแบบเตรียมการล่วงหน้า (proactive change) นับเป็นการปรับเปลี่ยนอย่างมีการเตรียมการณ์ เหมือนกับการมองเห็นอนาคตให้ได้ล่วงหน้าสักระยะหนึ่ง เพื่อให้มีเวลาในการปรับเปลี่ยนสำหรับอนาคต ต่อไป เหมือนการขับรถยนต์ที่เราสามารถมองเห็นทางไป ไกลล่วงหน้าเป็นร้อยเมตร เมื่อเห็นอุบัติเหตุหรือ สัญญาณเตือน เกิด ขึ้นข้างหน้า ก็สามารถเบาเครื่องยนต์ เพื่อเตรียมพร้อมจะหยุดรถ หรือหลบหลีกได้ล่วงหน้า
แต่ระบบสังคมไม่ว่าจะเป็นระดับประเทศ ชุมชน องค์การ หรือครอบครัวนั้นอยู่ในสถานะที่ต่างกัน และ ไม่สามารถขับเคลื่อน หรือปรับเปลี่ยนได้เหมือนอย่างรถยนต์ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อการตัดสินใจได้ทันที ระบบ สังคมมีรูปแบบตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนกัน และขึ้นอยู่กับตัวแปรที่แตกต่างกัน ในสังคมนั้นมักมีคน ที่เป็นอนุรักษนิยม กับคนต้องการเปลี่ยนแปลงร่วมอยู่ด้วย มีทั้งคนสูงวัย กับคนรุ่นหนุ่มสาว คนที่มีสถานะมั่นคงแล้ว กับคนที่ไม่มีอะไรจะสูญเสีย คนที่ฟิตและเตรียมพร้อมกับคนที่ชะล่าใจไม่ได้เตรียมพร้อม เหล่านี้ทำให้การเปลี่ยน แปลงในสังคมเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน ซึ่งเป็นความท้าทายต่อบทบาทผู้นำในยุคใหม่อย่างมาก
อุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลง
ในการเปลี่ยนแปลงในระบบสังคมใดๆ มีอุปสรรคต่างๆมากมายที่ทำให้คนไม่อยากคิดที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว แต่ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากวิธีการคิดของคนเรานั้นเองที่ท้ายสุดทำให้ไม่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ ในฐานะที่ท่านเองอาจเกี่ยวข้องกับการบริหาร หรือเป็นผู้นำเอง หรือได้เห็นพฤติกรรมของผู้นำอื่นๆ ท่านสังเกตสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงอย่างมากหรือไม่
(Chareles Handy The Age of Unreason. London: Arrow Books, 1990 หน้า 56)
คิดแบบแล้วแต่เขา หรือที่ฝรั่งเรียกว่า The they syndrome นั้นหมายถึงการคิดที่ ท้ายสุดไม่ได้มองตนเองใน ฐานะเป็นแหล่งของการเปลี่ยนแปลง แต่อาจจะวิพากษ์ระบบได้ วิเคราะห์ได้ดี เสนอรูปแบบก็ได้ แต่ท้ายสุดไม่ได้มอง บทบาทการเปลี่ยนแปลงนั้นมาอยู่ที่ตัวเรา ตัวอย่างนั้นมีอยู่มากมาย เช่น
อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงอะไร เพราะต้องรอแต่เขา หรือมหาวิทยาลัย แม้ปัญหาต่างๆที่ตนเองเผชิญอยู่จะใกล้ตัวก็ตาม
ข้าราชการคิดแบบ "แล้วแต่เขา" นโยบายจะเอาอย่างไร "ผมเป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามนโยบาย"
ในระบบสังคมขนาดใหญ่ที่มีกฏเกณฑ์ต่างๆมากมายจนกระทั่งท้ายสุด คนไม่กล้าคิดอะไร เพราะจะไปติด เงื่อนไขต่างๆที่ผูกมัดตนเอง คนที่อยู่ท่ามกลาง "ผู้ใหญ่" ที่ทำอะไรจะมีระบบอาวุโส หรือสายการบังคับบัญชามา เป็นตัวกำกับ แต่ขณะเดียวกันก็ให้รางวัล คือความมั่นคงและก้าวหน้าให้แก่คนที่ปฏิบัติไปตามวิถีของสังคมนั้นๆ อย่างมาก เป็นต้น
ศ. ดร. เกษม สุวรรณกุล อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รัฐมนตรีทบวงหลายสมัย และรองนายกรัฐมนตรีในสมัยอานันท์ปันยารชุน ได้เคยกล่าวเตือนชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในหลายวาระถึงปัญหาของ มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จมาก่อนคนอื่น สิ่งที่จะตามมาคือความชะล่าใจ โดยคิดว่าได้ ทำดีที่สุดแล้ว เป็นเลิศแล้ว ซึ่งจะต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นๆที่เกิดขึ้นทีหลัง เขาสามารถเรียนรู้บทเรียนจาก มหาวิทยาลัยเก่าแก่ได้ อะไรที่ดีเขาสามารถนำไปใช้ได้ อะไรที่เป็นปัญหาเขาก็นำไปปรับปรุงได้
Candy ได้ให้ทัศนะไว้ว่า ความมั่งคั่งและความอัปยศนั้น เป็นของที่คู่กัน (Futility/humility) เหตุเพราะคนที่ร่ำรวยแล้ว ประสบความสำเร็จมามากแล้วในที่สุดก็ไม่กล้าคิดที่จะเปลี่ยนแปลง ความร่ำรวยนำไปสู่ความไม่ขวนขวาย และในที่สุดก็นำไปสู่ความตกอับ แต่ความขาดแคลน ความต่ำต้อยที่คนรู้สึกอยู่ตลอดเวลานั้น จะเป็นแรงจูงใจให้เขาอยากที่จะไปสู่จุดที่เขาปรารถนาได้ แม้ไม่ในชั่วอายุของเขา ก็อาจส่งต่อไปยังลูกหลาน หรืออนุชนรุ่นหลัง
องค์การ หรือกลุ่มคนที่ประสบความสำเร็จแล้วเป็นเวลานานมักจะมองไม่เห็นปัญหาของตนเอง ส่วนคนที่มาใหม่แม้เห็นปัญหา แต่ก็ไม่กล้าเสนอความคิดเห็น เกรงใจคนเก่า เพราะถ้าคนเก่า หรือเจ้านายถามว่า "คุณรู้ได้อย่างไรว่าจะประสบความสำเร็จ ของเก่าเขาทำมาดีแล้วเชื่อถือได้อยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้บริษัทครอบครัวที่ประสบความสำเร็จมามากในอดีตก็ไม่กล้าเปลี่ยนแปลง ไม่กล้าขยายหรือปรับ เปลี่ยนนโยบายของบริษัท เพราะเท่าที่เป็นอยู่นั้นบุคคลในครอบครัวก็สามารถกินดีอยู่ดี แต่ถ้าจะขยายกิจการ ต้องเอากิจการเข้าสู่ตลาดหลักทรพัย์ ต้องให้คนอื่นเข้ามาตรวจสอบบริษัทของตนเอง ต้องถูกซักถามในกิจการ ต้องนำเสนอตัวเองต่อประชาชนมากขึ้น มันไม่เหมือนเป็นเศรษฐีแบบรวยเงียบๆ มีเวลา และทุกอย่างเป็นของตนเอง
คนที่ไม่เชื่อมั่นในตนเองจะกลัวความสำเร็จ เพราะความสำเร็จจะนำมาซึ่งภาระอันหนักยิ่งขึ้น แต่ความล้มเหลวง่ายที่จะจัดการได้มากกว่า ดังเช่นกรณีของการสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัย เด็กที่เป็นนักเรียนดีนั้น เขาจะกลัว การสอบแล้วเข้าไม่ได้ ถ้าเขาจะสอบเขารู้สึกว่าต้องได้ หรือมิฉะนั้นก็ไม่ไปสอบ แต่เด็กที่ประวัติการเรียนไม่ดีนัก จะเลือกอะไรก็ได้ ถ้าแพ้อีกครั้งหนึ่งก็ไม่เห็นเสียหายอะไร เพราะก็เคยไม่สมหวังมามากแล้ว เช่นเดียวกับการเล่นหวย คนที่เขาทำมาหากินจนร่ำรวยจะไม่ชอบเล่นหวย เพราะเขารู้สึกว่าเขาไม่มีทางได้ เจ้ามือจะกินหมด แต่สำหรับคนที่ ยากจนนั้นคิดว่า ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไรเพราะเขาคุ้นกับความยากจนอยู่แล้ว แต่ถ้าได้ก็จะได้รวยเสียที
การเรียนรู้เกิดจากความเชื่อมั่นในตนเอง และคนเรายิ่งประสบความสำเร็จมาก หรือไม่เคยเผชิญกับสัจจธรรมของโลกที่ "ความไม่แน่นอน แท้จริงคือความแน่นอน" แล้วไซร้ จะไม่ตระหนักในความไม่แน่นอน หรือปัญหาที่จะเกิดขึ้น และบางทีเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ก็ไม่สามารถต่อสู้กับปัญหานั้นๆได้อย่างเข้มแข็ง หรือมีสติ
(The theft of purposes) การที่คนเรายังมีความเห็นแก่ตน รักตนอย่างเพียงพอเหมาะพอสมนั้นทำให้ต้องมีเป้าหมายในชีวิตและการทำงาน (goals) เป้าหมายนี้จะเป็นการดึงพลังงานออกจาก "กงล้อแห่งการเรียนรู้" (Wheel) ทำให้เกิดความพยายามในการเรียนรู้ได้มากขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่ง คือการลดเป้าหมายให้ต่ำ ทดแทนด้วยตัวอื่น หรือที่แย่ที่สุดคือไม่คิดที่จะมีเป้าหมายเลย เราเลยขาดแรงจูงใจในการที่จะเรียนรู้ และเพื่อการเปลี่ยนแปลง เหมือนอุทาหรณ์ที่กล่าวกันว่า "ขึ้นต้นก็วางแผนจะสร้างเรือรบ เหลาไม้ไปก็ลดลงกลายเป็นเรือจ้าง ท้ายสุดลงท้ายด้วยได้ ไม้จิ้มฟัน" เปรียบเหมือนการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงนั้น แรกๆก็คิดการใหญ่ แต่พอทำไปทำมา เมื่อประสบอุปสรรคมากเข้า ก็เริ่มลดความคาดหวังลง และจนท้ายสุดก็ไม่เหลืออะไร
ในสังคมไทยนั้น คนมักจะมีข้อแก้ตัวที่จะลดความคาดหวังอยู่แล้วด้วยค่านิยมบางประการ เช่น ความเชื่อในเรื่องความโลภ ความทะเยอทะยาน ความอยากมีอำนาจ เหล่านี้ดูจะมีความหมายไปในทางลบได้มาก แต่ถ้าคำว่าให้รู้จักพอ ประหยัด กินเจียมอยู่เจียม ไม่โลภ ไม่ทะเยอทะยาน เหล่านี้ก็เป็นความหมายในทางที่ดีอยู่แล้ว ความเชื่อเช่นนี้ทำให้คนไม่สนใจที่จะคาดหวังอะไรไว้สูง
การบริหารไม่ใช่ความพยายามจับผิด คอยจดข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น คนจะเกร็งกันหมด
การบริหารงานในองค์การทั่วไปนั้นเป็นอันมากยังมีวัฒนธรรมของการ "จับผิด" โดยมีสมมุติฐานเอาไว้ว่า คนเรานั้น ถ้าปล่อยมากก็จะมีความเหลิงหรือหลงระเริง พฤติกรรมชอบจับผิดจะมีลักษณะดังต่อไปนี้ เช่น
· การดูว่าเขามาทำงานสายกี่ครั้ง ไม่ได้ลากี่ครั้ง ตั้งแต่มาทำงานได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างไรบ้าง
· คนงานทำความสะอาด ปูที่นอนโรงแรมก็จะถูกแม่บ้านตรวจสอบกันด้วยมาตรฐานของการทำงานชนิดไม่ให้มีที่ติ
· คนทำงานธนาคาร ก็จะต้องทำการเงินให้ถูกต้องแบบร้อยเปอร์เซนต์ ไม่ว่าจะเป็นบริการถอนหรือฝ่ากเงิน การให้บริการสินเชื่อแก่ลูกค้า การตามหนี้ ถ้าทำผิดก็จะมีการบันทึกไว้
· คนทำงานโรงงานทอผ้าก็ถูกคาดหวังให้ต้องไม่พลาดที่จะทำให้เส้นด้ายไปพันกัน หรือปล่อยให้ขาดจนเกิดอาการรวนขึ้น ต้องทิ้งผ้าไปทั้งมัด ถ้าทำผิดน้อยก็ถูกตักเตือน ถ้าผิดมากและบ่อยครั้งก็จะถูกตัดเงินเดือน พักงาน หรือให้ออกจากงาน
วิธีการทำงานแบบนี้ทำให้คนเกิดความเครียด คนที่จะคิดฆ่าตัวตายนั้น หลายคนไม่ใช่เป็นโรคจิต แต่เขาอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถปลดปล่อยได้ วิธีการเช่นนี้ในสังคมอเมริกันจึงกลายเป็นข้อที่ทำให้คนเกลียดชังองค์การ บางทีถูกให้ออกจากงาน ก็เลยเกิดกรณีโศกอนาถกรรม เช่นคนที่ผิดหวังจากงานและองค์การหาอาวุธสงครามมาจัดการกับคนที่ตนไม่พอใจ บางทีฆ่าหัวหน้างาน และเพื่อนร่วมงาน แต่บางทีกราดทำลายไม่เลือกหน้า หรือรวมไปถึงความเกลียดชังสังคม ใช้การทำร้ายคนอย่างไม่เลือกหน้าเป็นการระบายความบ้าคลั่งของตนออกมา
วิธีการทำงานแบบตรวจหาความผิดพลาดของคนนั้น แท้จริงได้มีผู้เสนอให้ใช้วิธีการสร้างจิตสำนึกในการ สร้างคุณภาพในงาน (TQM ซึ่งได้มีการนำเสนอไปแล้ว) สร้างนิสัยของการทำงานอย่างมีคุณภาพให้เกิดในตัวของเขาเอง ให้กลายเป็นความสุขใจที่จะทำงานอย่างมีคุณภาพ มากกว่าทำงานที่มีคุณภาพเพราะมีคนคอยจี้ใช้ หรือคอย ตรวจสอบแต่เพียงอย่างเดียว ทำให้สามารถอยู่กับเพื่อนร่วมงานได้อย่างเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ช่วยกันมากว่าจะพยายามเลื่อยขาเก้าอี้กัน ปีนป่ายไปโดยเหยียบบ่าเหยียบไหล่คนอื่นเพียงเพื่อให้ตนเองได้บรรลุสิ่งที่ต้องการ
คนที่จะคิดสร้างสรรงานใหม่ จะไม่กล้าทำถ้าเขาเกร็งและกลัวความล้มเหลว และถูกซัดทอด จนกว่าเขาจะตระหนักได้ว่า สิ่งที่เขาต้องการทำนั้นแม้มีความผิดพลาดเกิดขึ้น แต่ทุกคนจะเข้าใจ และยอมให้อภัย
คุณสมบัติของผู้นำประการหนึ่งคือ การต้องมีความสามารถที่จะให้อภัยแก่คน การถือว่าความผิดพลาดเป็นการเรียนรู้ งานบางประเภทนั้นชัดเจนมากว่ามันจะต้องมีความผิดพลาดเกิดขึ้นมากมาย กว่าที่เราจะประสบความสำเร็จในกิจการนั้นๆ แต่งานเหล่านี้ แม้พลาด 10 ครั้งย่อยๆ แต่ให้ได้สำเร็จเพียงครั้งเดียวก็ให้ผลตอบแทนที่คุ้มเกิน ค่างานเหล่านี้ได้แก่ การวิจัย การสำรวจขุดเจาะน้ำมั้นในทะเล การคิดประดิษฐสิ่งใหม่ เสนอสินค้าใหม่เป็นต้น เพราะงานเหล่านี้เขาไม่นับความล้มเหลว แต่เขาจะนับเอาที่ความสำเร็จที่สำคัญเป็นหลัก
อย่าด่วนปฏิเสธความคิดใหม่ แม้ความคิดใหม่เหล่านั้นเราอาจไม่มองเห็นความสำคัญของมันในขณะนั้น การเรียนในระดับสูงของมหาวิทยาลัยมีข้อได้เปรียบในการสร้างคนมากกว่าองค์กรทั่วไปตรงที่ไม่ปฏิเสธความคิดใหม่ การเขียนงานวิทยานิพนธ์นั้น ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงนั้น เขาจะกระตุ้นในต้องเป็นความคิดใหม่ เรื่องใหม่ ส่วนจะประสบความสำเร็จในการค้นคว้าหรือไม่นั้นเป็นที่เข้าใจกันว่า เพียงร้อยละ 10-15 เท่านั้นที่เป็นการค้นพบ หรือนำเสนอในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญควรค่าแก่การติดตามศึกษา แต่องค์การทั่วไปนั้นมักจะไม่ให้โอกาสในเรื่องนี้มากนัก
อย่าไประบุว่ามันเป็นไปไม่ได้ ข้อนี้นักธุรกิจรุ่นใหม่มักจะได้เปรียบกว่าบรรดาอาจารย์มหาวิท-ยาลัย ตรงที่นักวิชาการเป็นอันมากชอบวิจัยเพื่อพิศูจน์ว่าสิ่งที่เราได้เคยเชื่อ หรือได้เคยรับรู้เอาไว้นั้น "แท้ที่จริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น" เรียกว่าพยายามจะบอกว่า impossible แต่สำหรับนักธุรกิจหัวก้าวหน้านั้น เขาจะไม่ตอบว่า "มันเป็นไปไม่ได้" เขาเปิดช่องทางความคิดเอาไว้ และแสวงหาโอกาสจากช่องทางนั้นๆได้เสมอ
อย่ารีบพูดก่อนที่จะทำความเข้าใจ หรือรับฟังความคิดเห็นของคน คนที่เป็นผู้ใหญ่หรือเป็นผู้นำคน พูดไปแล้วถอนคำพูดได้ยาก เหมือนกับที่เขากล่าวว่า "ก่อนพูด เราเป็นนายของคำพูดนั้น แต่เมื่อพูดแล้ว คำพูดนั้นจะเป็นนายเรา" ผู้นำไม่จำเป็นต้องพูดมากที่สุด แต่การพูดแต่ละครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพูดที่ต้องผ่านสื่อหลายอย่างทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่ายอยู่แล้ว การพูดจึงต้องชัดเจนว่าต้องการพูดเพื่อสื่ออะไร ต้องการให้เกิดอะไรขึ้น บางครั้งจึงเป็นการง่ายกว่าถ้าเราจะเป็นคนฟังให้มากๆ อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ท่านเคยยกตัวอย่างเป็นขำขันว่า พระพรหมหน้าโรงแรมเอราวัณที่คนรู้จักไปทั่วโลกนั้น เพราะท่านเป็นคนฟัง ใครมาขออะไรก็รับฟัง ที่เป็นเช่นนี้ เพราะคน เราไม่ได้มีโอกาสได้พูดได้ขออย่างที่หวัง พ่อแม่ก็ไม่ค่อยฟังลูก เจ้านายก็ไม่ค่อยฟังลูกน้อง ผู้ปกครองก็มักไม่ฟังประชาชน หรือสดับจากสื่อมวลชน ผู้นำและหัวหน้างานที่ดีนั้นจึงน่าจะต้องให้เวลาและความอดทนอย่างมากต่อการ ได้รับฟังคนให้มากๆ และอย่าเพิ่มไปตำหนิความคิด หรือข้อความเห็นของเขา
อย่ารีบไปตัดสินผิดถูกกับคน การรีบตัดสินนั้นแสดงว่าเราได้ใช้เกณฑ์ในการประเมินอย่างไม่ซับซ้อน และบางครั้งจะเป็นตัวอุปสรรคในการพิจารณาคนบางคนที่มีคุณสมบัติพิเศษ คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คนที่มีศักดิ์ศรี คนที่คิดอะไรอย่างลึกซึ้ง แม้จะไม่ได้พูดหรือแสดงออกมาให้เห็นได้ในเวลาอันสั้น ยิ่งเรารีบประเมินเร็วเท่าไร เราก็ขาดโอกาสในการพิจารณาคนอย่างลึกซึ้งมากเท่านั้น
ลองสังเกตการฝึกอบรมนักแนะแนว สูตรคือการรับฟัง การพยักหน้าแสดงการรับรู้ การไม่เข้าไปตัดสินผิด ถูก หรือให้คุณให้โทษ สำหรับนักบริหาร หรือผู้นำก็ตาม ต้องตระหนักว่าควรมีเวลาในการรับฟังให้และได้เห็นให้มาก แต่พูดให้น้อย และเวลาที่จะพูดออกไป หรือตัดสินผิดถูกกับคนนั้นมีให้น้อยลง และต้องเลือกที่จะตัดสินในเรื่องใหญ่ๆ แต่ต้องสามารถหาคนดีมีฝีมือมาช่วยตัดสินใจแทนได้ในงานที่เป็นภาคปฏิบัติ หรือเป็นรายละเอียด ซึ่งเกือบจะเป็นสูตรเลยว่า ถ้าเป็นคนใหญ่โต มีความรับผิดชอบมากๆ ก็ควรสนใจในสิ่งที่เป็นเรื่องใหญ่ๆ ส่วนเรื่องรายละเอียดนั้น ถ้าได้เลือกคนดีมีความสามารถมาช่วยงานแล้ว เขาก็จะสามารถช่วยเราตัดสินใจในเรื่องรายละเอียดได้ โดยเราก็ให้เกียรติ ในการทำงานแก่เขา ซึ่งเขาอาจทำผิดพลาดเล็กๆน้อยๆบ้าง แต่ต้องให้โอกาสในการที่เขาจะได้เรียนรู้
และเมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็จะเป็นคนที่รู้จักให้อภัยคน ทำให้คนผ่อนคลายในการทำงาน กล้าที่จะคิดริเริ่มงานใหม่ๆ ซึ่งในระยะยาวเราก็จะได้คนที่ช่วยในการทำงาน ที่มีความสามารถและร่วมรับผิดชอบกับเราได้
การริเริ่มสร้างสรรค์
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นับเป็นขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เป็นเหมือนการขับรถที่ได้มีโอกาสมองไปข้างหน้าได้ไกล ดังได้กล่าวแล้ว ก็คือ คนจะไม่กล้าเปลี่ยนแปลง ถ้าเขาไม่เห็นว่าเขาเปลี่ยนแปลงไปแล้วจะได้อะไร การคิดริเริ่มสร้างสรรค์นั้นทำให้คนได้เห็นภาพอนาคตมากขึ้น และเขาก็จะได้มีทางเลือกมากขึ้น
การริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (innovation) มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ที่เป็นข้อควรตระหนัก กล่าวคือ
มักจะมีคนกล่าวว่า อะไรที่ว่าใหม่ๆนั้นมักจะใช้การไม่ได้
คำดังกล่าวนี้ไม่ใช่คำกล่าวของคนที่ชอบยอมแพ้ หรือไม่สู้ แต่เป็นคำกล่าวของคนที่เป็นนักริเริ่มสร้างสรรค์ เพราะการ จะคิดอะไรใหม่ขึ้นมานั้นมักจะเต็มไปด้วยความเสี่ยง คนกว่าที่จะทำงานอะไรสำเร็จนั้น เขาได้ผ่าน อุปสรรคมามากมายแล้วเป็นส่วนใหญ่
Peter Drucker ได้จำแนกความเสี่ยง 3 ประการอันเกิดจากการริเริ่มสร้างสรรค์ กล่าวคือ
1. มันทำให้สิ่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นกลายเป็นความล้าสมัยไป ระบบโทรเลขทำให้ระบบส่งสารด่วนด้วยม้าเร็ว (pony express) รับช่วงส่งจดหมายต่อๆกันไปนั้นหมดความหมาย แต่ต่อมาระบบส่งสารแบบโทรเลขก็ถูกระบบโทรศัพท์ที่สามารถพูดติดต่อกันด้วยเสียงโดยตรงและเป็นการแลกเปลี่ยนแบบสองทางเข้ามาแทนที่ ระบบโทรทัศน์ที่สามารถรับภาพเคลื่อนไหวได้ สามารถนำข่าวสารและความสำราญมาสู่ในห้องนั่งเล่นและห้องนอนได้นั้น ก็ทำให้ ระบบโรงภาพยนต์ขนาดใหญ่ๆทั้งหลายแทบล้มละลาย และระบบการให้บริการเสนอขายสินค้าแบบห้างสรรพสินค้าที่เกิดขึ้นก็ทำให้ร้านขายของชำส่วนหนึ่งต้องเปลี่ยนไป การเกิดพัฒนาการทางอุตสาหกรรมในสังคมไทย ก็ทำให้คนในภาคการเกษตรต้องอพยพเข้าเมืองหางานทำ และกลายเป็นความล่มสลายของชุมชนชนบทไป เป็นต้น
2. มันจะล้มเหลว ในการจะเปลี่ยนแปลงอะไรนั้น ไม่มีอะไรที่จะสำเร็จได้โดยง่าย คนที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงใดๆนั้น ล้วนแต่เคยผ่านประสบการณ์ของความล้มเหลวมาบ้างแล้ว
3. มันจะประสบความสำเร็จ แต่ความสำเร็จนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆตามมา เช่นการประสบความสำเร็จในการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดระบบข้อมูลยุคใหม่ ก็จะเกิดปัญหาการมีคนในส่วนเกินซึ่งเขาถูกคอมพิวเตอร์ทำงานทดแทนไป การมีระบบเรียงพิมพ์ยุคใหม่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็จะเกิดปัญหาช่างเรียงพิมพ์ในแบบเก่าหมดงานไป การที่เราค้นพบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ วิธีการผลิตใหม่ๆขึ้นมา ท้ายที่สุดมันก็จะทำให้สินค้านั้น หรือบริการแบบนั้นติดตลาด มีมากขึ้นๆจนกระทั่งกลายเป็นของไม่มีราคา เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่หลังจากสินค้าออกตลาดมาได้สักระยะหนึ่งนั้น ราคาสินค้าก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว แล้วบริษัทคอมพิวเตอร์ก็ต้องรีบแสวงหาทางสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
และด้วยเหตุเหล่านี้ทำให้องค์การ หรือหน่วยงานต่างๆมักจะปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง ถ้าองค์การมีลักษณะเป็นระบบราชการมากเท่าใด การเปลี่ยนแปลงก็จะเป็นไปได้ยากเท่านั้น
นักริเริ่มสร้างสรรค์ไม่ใช่เป็นศัตรูของความเก่า หรือต่อต้านความคิดเก่า แต่เขาเป็นผู้เสนอสิ่งใหม่ การนำ เสนอสิ่งใหม่นั้นเขาไม่ถูกจำกัดด้วยความคิดเดิม หรือต้องไปปฏิเสธความคิดเดิม แท้จริงความคิดเดิมเป็น ส่วนหนึ่ง ในการรับรู้ของเขา แต่เขาจะมุ่งไปสู่การเปิดความคิดให้กว้าง และเป็นการรับสิ่งใหม่ๆเข้ามา แต่ถ้าเป็นนักปฏิวัตินั้น เขาจะล้มเลิกความเชื่อหรือของเก่า และนำเสนอสิ่งใหม่
คนโดยทั่วไป และแม้แต่นักวางแผนก็ยังมักคิดไปในอนาคต โดยดูจากแนวทางในอดีตเป็นที่ตั้ง เช่น นักการ ทหารมักจะใช้อาวุธของสงครามครั้งก่อนในการวางแผนสงครามครั้งต่อไป นักเศรษฐศาสตร์มักใช้ Trend Analysis หรือใช้อดีตในการทำนายอนาคต เพราะนั่นคือสิ่งที่เขาคุ้นเคย ซึ่งในสภาพเช่นนี้ การยึดติดกับอดีตจะไม่ได้ผล เช่น จะเห็นได้ว่า การรบในยุคใหม่ดังในสงครามอ่าวเปอร์เซีย ปีพ.ศ. 2534 นั้น อาวุธที่ใช้ในสงครามได้เปลี่ยนโฉมไปอย่างมาก จากสงครามก่อนหน้านั้น การวิเคราะห์เศรษฐกิจในยุคเปิดตลาดการค้าเสรีสำหรับ ค.ศ. 2000 นั้น จะไม่เหมือนกับการเน้นการค้าเพื่อส่งออก แต่ลดดุลย์การค้า โดยการมีมาตรการสกัดสินค้านำเข้าอย่างที่เป็นมาในสองทศวรรษที่ผ่านมา เพราะถ้าประเทศใดต้องการระบบการค้าเสรีเพื่อจะได้มีตลาดรองรับสินค้าได้กว้างขึ้น ก็ต้องยอมรับเงื่อนไขเช่นเดียวกัน คือประเทศตนนั้นก็ต้องเปิดตลาดสำหรับที่อื่นด้วย
นักคิดริเริ่มสร้างสรรค์มักไม่ใช่นักคิดเชิงอุดมคติ แต่จะอาศัยความที่มีบรรยากาศเปิดกว้างทางความคิด ที่จะเสนอทางเลือกที่เป็นรูปธรรม เสนอทางเลือกแบบเล็กๆ ที่ถ้าเป็นความสำเร็จ หรือล้มเหลวในส่วนนั้นในที่สุดจึง จะนำไปสรุปเป็นบทเรียน และอาจกลายเป็นแนวคิดหรือหลักปรัชญาของเขา หรือสังคมต่อไป
นักคิดริเริ่มสร้างสรรค์นั้นบางครั้งอาจอยู่ท่ามกลางบรรยากาศสองขั้ว พวกอนุรักษนิยมไม่พอใจเขา ที่ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิต พวกที่ต้องการปฏิวัติ หรือต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนราก ถอนโคนก็จะไม่พอใจเขาที่นำเสนอการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป และการเปลี่ยนแปลงชนิดที่ไม่รื้อระบบ ความคิดเก่าๆทิ้ง
แนวทางนักปฏิวัติ หรือนักอุดมคติจะหลีกเลี่ยงการให้ตนเอง หรือกลุ่มได้ไปสัมผัสกับประสบการณ์อื่นๆ หรือได้เห็นในทางเลือกอื่นๆ เช่นนักคิดคอมมิวนิสต์นั้น เมื่อเขาต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมแล้ว เขาจะสร้างสภาพ แวดล้อมใหม่ที่ทำให้คนปลอดจากระบบอื่นที่เขาคิดว่าเป็นพิษเป็นภัยต่วิถีชีวิตของคน แต่นักคิดริเริ่มสร้างสรรค์จะไม่เสนอในแนวทางปิดกั้นโอกาสในการรับรู้ หรือทางเลือกของคน แต่จะเป็นฝ่ายทำให้แนวทางเลือกนั้นเปิดกว้างขึ้น เพื่อให้คนได้มีโอกาสเลือกยึดถือ หรือนำไปปฏิบัติ
แนวทางที่สอดคล้องกับสังคมยุคใหม่ที่มีความเป็น "โลกาภิวัตน์" สูง การปิดกั้นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร หรือทางเลือกของคนนั้นเป็นไปได้ยากอยู่แล้ว
ในโลกสังคมนิยมเคยใช้วิธีการปิดกั้น และการฝึกคนให้สามารถอยู่ได้อย่างเคยชิน เป็นการปฏิบัติกัน จนเคยชิน และจนไม่มีการตั้งคำถาม แต่ในที่สุดก็เป็นการยากที่จะให้คนในสังคมของตนได้รับรู้ข่าวสารจากโลก ภายนอก เพราะในที่สุดเมื่อถูกปิดกั้นมากๆ ก็ยิ่งทำให้คนอยากรู้มาก และยิ่งเมื่อรับรู้แล้วก็จะพบว่าสิ่งที่ได้มีการ ปิดกั้นเอาไว้นั้น แท้จริงแล้วไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด ในที่สุดคนก็จะไม่เชื่อในระบบเดิมที่ถูกกำกับอีกต่อไป
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นับเป็นความจำเป็น นักคิดและนักปฏิบัติแนวริเริ่มสร้างสรรค์นับเป็นทรัพยากร มนุษย์ที่ต้องได้รับการพัฒนาให้เกิดขึ้นให้มากพอ เพราะสังคมไทยนั้นเป็นสังคมเปิด คนต้องการทางเลือกให้มาก และคนที่ได้คิดริเริ่มสิ่งใดไปนั้น เท่ากับเป็นการเปิดทางให้กับส่วนอื่นๆได้เดินตาม มิฉะนั้นคนก็ไม่กล้าเดินไปข้างหน้า
จังหวะของการเปลี่ยนแปลง
จังหวะของการเปลี่ยนแปลง (pace of change) มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงมาก การเปลี่ยนแปลงเร็วไป หรือเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีขั้นตอน ก็นำไปสู่ความล้มเหลว เพราะคนเขารับการเปลี่ยน แปลงนั้นๆไม่ทัน แต่ถ้าเปลี่ยนช้าเกินไป ก็จะกลายเป็นความโกลาหล เกิดความกระวนกระวาย เพราะยังไม่มีการ เตรียมทางเลือกใหม่ ไม่มีประสบการณ์สำหรับคนที่จะบริหารงานได้อย่างมีขั้นตอน สำหรับผู้นำนั้นการเปลี่ยนแปลง จะเป็นไปได้อย่างรวดเร็วหรือช้านั้นจะมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
เมื่อระบบสังคมนั้นอยู่ในสภาพวิกฤตนั้น จังหวะในการเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว ภายในชั่วระยะ เวลาอันสั้น เช่น
การเปลี่ยนรถแทกซี่แบบต้องมีการตกลงราคาต่อรอง ซึ่งนับเป็นความอึดอัดของผู้ใช้บริการมานาน ไปสู่การใช้แทกซี่มิเตอรที่เปิดการให้บริการแบบเสรีนั้น นับแต่มีการแก้ไขกฏหมาย เพื่อเปิดให้มีแทกซี่ได้โดยเสรี ปรากฏว่า ภายในเวลา 2-3 เดือน มีคนสั่งซื้อรถใหม่เพื่อบริการ เป็นแทกซี่มิเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร กว่า 20,000 คัน ทำให้มีรถใช้อย่างเพียงพอ และรถแทกซี่รุ่นเก่าหมดความหมายไปในเวลา ช่วงสั้น
การเปลี่ยนแปลงในช่วงสั้น แต่ไม่ประสบความสำเร็จในช่วงเวลาเดียวกันคือ การปฏิรูประบบตุลาการ และ การปรับระบบมหาวิทยาลัยในแบบราชการไปสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยอิสระ ในช่วงของรํฐบาลอานันท์ ปันยารชุน ในปี พ.ศ. 2534 ซึ่งในที่สุดก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ ที่เป็นเช่นนี้เพราะคนทั่วไปยังไม่มองเห็นความวิกฤต ของปัญหา เพราะปัญหาของมหาวิทยาลัยและศาลนั้นมีความซับซ้อน และแท้ที่จริงแล้วคนโดยทั่วไปก็ไม่มีโอกาส ไปใช้บริการกันมากนัก และคนส่วนใหญ่ก็ไม่เคยไปต่างประเทศที่เขามีการจัดบริการการศึกษาที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ใน ประเทศไทย
ความไม่พอใจในระบบเก่ายิ่งมีมากเท่าไร ความที่คนอยากหาสิ่งใหมและ็ทำให้เขาเห็นคุณค่าของระบบ ใหม่เท่านั้น ยกตัวอย่างการปฏิวัติโดยประชาชนนั้นเป็นผลมาจากการที่ประชาชนถูกปลุกจิตสำนึก และกระตุ้นให้ เกิดความเกลียดชังในระบบการปกครองแบบเดิม ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติล้มระบบกษัตริย์ในประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 การสถาปนาระบบสหรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1776 หรือการลุกฮือขึ้น เรียกร้องรัฐธรรมนูญ และการโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการในยุคจอมพลถนอม จอมพลประภาส และพันเอกณรงค์ โดยนิสิตนักศึกษา ปีพ.ศ. 2516 ล้วนต้องมีการสร้างหรือขยายภาพลักษณ์ของระบบเก่าที่เต็มไปด้วยความโหดร้าย ความไม่ยุติธรรม การขัดกับหลัก มนุษยธรรม เป็นต้น
การเติบโตและขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์เริ่มตั้งแต่คาร์ล มากซ์ (Karl Marx) การเกิดสหภาพโซเวียต รัสเซีย การขยายตัวของประเทศคอมมิวนิสต์ในกลุ่มยุโรปตะวันออก การเกิดสาธารณรัฐประชาชนจีน จวบจน กระทั่งการล้ม สลายในช่วงเริ่มเสื่อมสลายใน 1980 เป็นต้นมานั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบคอมมิวนิสต์นั้นมีสูตร สำเร็จที่สามารถทำให้เห็นภาพของระบบใหม่ที่สวยงาม มีจุดขาย เช่นความเสมอภาค การปลดปล่อยชาวนา และกรรมการ ซึ่งก็เป็นคนที่ถูก เอาเปรียบในสังคมอย่างมากอยู่แล้ว
การเสนอขายคอนโดมีเนียมนั้น เขาประสบความสำเร็จด้วยการเสนอจุดขาย การสร้างภาพที่สวยงาม ของการอยู่อาศัยในยุคใหม่ ในที่ใหม่ เมื่อคนที่ไม่พอใจในสถานภาพเดิมมาแล้ว และเห็นสิ่งใหม่ที่เขาคิดว่าดีกว่า และเป็นทางเลือกที่ชัดเจน เขาก็จะเลือก การเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้เกิดผลอย่างจริงจังนั้น ส่วนหนึ่งจึงต้องอาศัย วิธีการตลาด นั่นคือผู้บริหาร หรือผู้นำนั้นจะต้องสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับสิ่งใหม่ได้อย่างเห็นเป็นภาพที่ชัดเจน
การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องอาศัยการสื่อสาร และต้องเป็นการสื่อสารแบบสองทาง คือผู้ได้รับข้อมูลสามารถ ซักถามเพิ่มเติมได้ ที่สำคัญคือการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเชื่อ หรือทัศนคติของคนที่มีต่อกัน และการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกันนั้น จึงทำให้ได้มีโอกาสรับความคิดเห็นใหม่ๆได้ ลองดูตัวอย่างใน การเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะดีหรือไม่ดีนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
การเสนอขายสินค้าประเภทขายตรง เช่น เครื่องใช้สมัยใหม่ เครื่องสำอางค์ สินค้าคอมพิวเตอร์ เหล่านี้เขาจะใช้การจัดประชุมนักวิชาการ การระดมกลุ่มแม่บ้าน หรือผู้บริโภค ได้สาธิตให้ดู ได้ตอบข้อซักถาม ได้ทดลองใช้ ได้ฝึกปฏิบัติ
การตื่นตัวพัฒนาคณาจารย์ในช่วงปีพ.ศ. 2516 อันเป็นผลพลอยของการเรียกร้องของนักศึกษา นำไปสู่การจัดสัมมนาในต่างจังหวัด ในบรรยากาศอันเหมาะสม ได้แลกเปลี่ยนทัศนะกันมากว่า การมารอรับคำสั่ง
การสร้างความยอมรับในสิ่งใหม่ที่ต้องการทำความเข้าใจ หรือการเสนอขายในบรรยากาศที่มีเวลาให้ ความ สนใจมากขึ้นนับเป็นกลยุทธในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ในบางกรณีสามารถดำเนินการแบบเจาะจุดได้ เพราะ สามารถมุ่งไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้
เป็นเรื่องที่คิดกันยากทีเดียวว่าถ้าปราศจากคนอย่างมหาตมะ คานธี การต่อสู้เพื่ออิสรภาพของประเทศ อินเดียจะเป็นเช่นไร การต่อสู้ที่ไม่ใช้อาวุธแต่สามารถเอาชนะต่ออังกฤษซึ่งมีความพร้อมด้วยอาวุธสมัยใหม่กว่า ในทุก ประการ บุคลิกภาพและแนวคิดอหิงสาของท่าน เป็นสัญญลักษณ์ และความแข็งแกร่งในการต่อสู้
การที่ลี ไอเอคอคค่าสามารถกอบกู้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ขนาดยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ เช่นไครสเลอร์ได้นั้น ถ้าปราศจากบุคลิกภาพความเป็นผู้นำกล้าได้กล้าเสีย และสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ นั้น คงจะเป็นเรื่องที่ยังนึกภาพไม่ออก เพราะแท้จริงแล้วบริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ หรือในโลกก็สามารถล้มเหลว จนสู่ความวิบัติได้ เช่นสายการบินแพนแอมอันลือชื่อของสหรัฐ (Pan Amercan Airlines) ก็ได้มีให้เห็นอยู่
อุปสรรคของการเปลี่ยนแปลงอย่างมากประการหนึ่งคือ การยึดเอาขนบธรรมเนียมในอดีตเป็นตัวกำกับ การ เปลี่ยนแปลง เช่น
- ระบบราชการติดขัดด้วยการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งบริหารจากภายใน การต้องยึดถือระบบอาวุโส
- เรากระจายอำนาจไปสู่ส่วนท้องถิ่นไม่ได้ เพราะประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว เรามีการปกครองส่วนภูมิภาค อยู่แล้ว รัฐธรรมนูญไม่เปิดโอกาสให้ทำเช่นนั้น
- เขาทำอย่างที่ทำมาเป็นร้อยปี ก็ดีอยู่แล้ว ทำไมจะต้องไปเปลี่ยนแปลง"
- การคิด หรือพูดว่า "เราไม่เคยทำเช่นนี้มาก่อน" "เราไม่เคยมีธรรมเนียมปฏิบัติ"
- การแต่งตั้งคนสู่ตำแหน่งโดย ระบบอาวุโส ระบบผู้ใหญ่ต้องมาก่อนเด็ก
ถ้าคุณจะเปลี่ยนตรงนี้ คุณก็ต้องไปแก้เงื่อนไขตั้งแต่ ก. จนถึง ง. ก่อนจึงจะทำได้ เพราะขั้นตอนมันเป็นเช่นนั้น"
ครั้งหนึ่ง เมื่ออธิการบดี Eliot ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เข้าไปประชุมในคณะแพทยศาสตร์ เขาได้ใช้ เวลาพูดคุยถึงแนวคิดการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยแก่คณาจารย์ เมื่อเสร็จแล้วมีอาจารย์แพทย์ท่านหนึ่ง ถามว่า "ในคณะแพทย์แห่งนี้เราได้จัดการเรียนการสอนเช่นนี้ โดยไม่มีอธิการบดีที่ไหนเข้ามายุ่งเกี่ยว และท่านคิดว่าเป็นใคร จึงได้มาเสนอเพื่อการเปลี่ยนแปลงในที่นี้" อธิการบดี Eliot ฟังเพียงครู่เดียวก็ตอบไปอย่างสั้นๆว่า "คำตอบคือว่า เพราะผมคืออธิการบดีของมหาวิทยาลัยแห่งนี้" ซึ่งก็ชัดเจนว่าถ้าไม่ใช่คนอย่างท่านอธิการบดีคนนี้ฮาร์วาร์ด ก็อาจ กลายเป็นเพียงมหาวิทยาลัยท้องถิ่นแห่งหนึ่งของยุคสมัย แต่ถ้าอธิการบดี Eliot เป็นคนที่ยึดติดกับธรรมเนียม หรือวิธีการคิดการทำแบบเก่า ก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้
ถ้ากลุ่มไม่เห็นด้วยจะกลายเป็นกลุ่มใหญ่ได้ก่อน การต่อต้านต่อการเปลี่ยนแปลงก็จะยิ่งมาก และยิ่งรุนแรง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในระยะต่อมา ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างกลุ่มสนับสนุนขึ้นมาให้มีพลังเสียก่อน กลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง กับการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย 5 กลุ่มด้วยกัน คือ (1) กลุ่มสนับสนุนอย่างจริงจัง (2) กลุ่มเห็นด้วย แต่เฝ้าดู ไม่ลงมือลงแรง (3) กลุ่มเฉยๆ ยังไม่เข้าใจดีพอ ยังมีผลได้ผลเสียอะไร (4) กลุ่มไม่พอใจ แต่ก็ยังไม่ต่อต้านอะไร ออกมา และท้ายสุด (5) กลุ่มคัดค้านอย่างจริงจัง ซึ่งเขาอาจแสดงความไม่พอใจออกมาด้วย วิธีการต่างๆทั้งที่เปิด เผยและไม่เปิดเผย
การเปลี่ยนแปลงจะประสบผลสำเร็จได้นั้นจะต้องมีการสร้างกลุ่มสนับสนุนอย่างจริงจังให้มาก และเป็น เหมือนพลัง ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง การชักจูงกลุ่มคนที่เห็นด้วย แต่ยังไม่เข้ามาเกี่ยวข้องให้ได้เข้ามา มีบทบาท การดึงคนกลุ่มใหญ่ที่ยังไม่เข้าใจ หรือยังไม่เห็นผลดีให้ได้เห็นผลดีและเข้ามาร่วม หรือไม่ให้ถูกชักจูงไปเป็น พวกต่อต้าน สำหรับกลุ่มไม่พอใจ แต่ยังไม่ต่อต้านอะไรออกมานั้น ก็ต้องแสดงให้เห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะส่ง ผลดีต่อเขาอย่างไร หรือในอีกด้านหนึ่งคือจะมีผลเสียต่อเขาน้อยมากอย่างไร
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงใดๆนั้น จะไม่ให้มีคนต่อต้านเลยนั้นคงจะเป็นไปได้ยาก ทางที่ดีประการ หนึ่ง คือการสร้างกลุ่มคนที่จะเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลงให้ได้มากพอ เพราะการเปลี่ยนแปลงใดๆนั้นจะสำเร็จ ไม่ได้ถ้าหากเป็นการคิดและทำกันในหมู่คนแคบๆ การเปลี่ยนแปลงใดๆนั้น แต่จะต้องมีคนเป็นจำนวนมากที่จะ ร่วม ความคิดนั้นๆให้มากพอเสียก่อน ส่วนคนกลุ่มอื่นๆนั้นถ้ายังไม่เข้าใจ อย่างน้อยก็อย่าให้เป็นอุปสรรค หรือต่อ ต้านการเปลี่ยนแปลง
(Schaller, 1972 หน้า 63-65)
การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงนั้นจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของคนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจจะเป็นคนที่เกี่ยวข้อง ในระดับวงแคบ หรือในวงกว้างก็ตามที สำหรับคนที่เกี่ยวข้องนั้น เขามีพฤติกรรมแสดงออกได้หลายรูปแบบ ซึ่งที่ สำคัญมี้ 4 รูปแบบ คือ
1. เป็นกลาง หรือเฉยๆ (neutral) จะทำอย่างไรก็ช่าง ไม่เกี่ยวข้องเฉยๆ ในกรณีนี้มักจะได้แก่การ เปลี่ยนแปลงที่ไม่มีผลกระทบต่อเขาโดยตรง เขาไม่ต้องมามีบทบาทรับผิดชอบ ไม่ได้ประโยชน์ หรือเสียประโยชน์
2. ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง (negative) ตอบโต้ต่อการเปลี่ยนแปลงในทางลบ ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง นั้นๆ โดยมีมาตรการตอบโต้ที่แตกต่างกันออกไป มักจะได้แก่ปรากฏการณ์ที่การเปลี่ยนแปลงนั้นๆไป ขัดกับ ผลประโยชน์ของเขาโดยตรง หรือไม่ก็ขัดกับค่านิยม ฝืนทัศนคติของเขา
3. การยอมรับการเปลี่ยนแปลง (affirmative) เป็นลักษณะที่พร้อมจะให้ความร่วมมือกับการเปลี่ยนแปลง นั้นๆ มักจะได้แก่การเปลี่ยนแปลงที่เขาเข้าใจในความจำเป็น ชัดเจนในกระบวนการ เขาเห็นประโยชน์ หรือคุณค่า ของการเปลี่ยนแปลงนั้น
4. การเฉื่อย หรืออู้งาน (counter-productive) เป็นอาการของการไม่ปฏิเสธอย่างตรงๆ แต่การไม่ยอมรับ นั้นปรากฏออกมาด้วยอาการไม่เอาใจใส่ เช่นในกรณีการโยกย้ายข้าราชการผู้ใหญ่ที่อาจ สร้างความไม่พอใจ แก่ข้าราชการในหน่วยงานนั้นๆ แต่ด้วยระเบียบราชการก็ไม่สามารถแสดงอาการไม่เห็น ด้วยอะไรได้ แต่การตอบ สนองอย้างจขริงจังทำให้เป็นผลงานที่ดีออกมาก็ไม่มี จึงกลายเป็นเหมือนขาดขวัญ หรือกำลังใจ ทำงานอย่างไม่มี ประสิทธิภาพ
อำนาจเพื่อการเปลี่ยนแปลง
อำนาจในที่นี้ (power) คือสิ่งที่ขับเคลื่อนขบวนการ องค์การ หรือกลุ่มคนให้ทำงานไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นๆ หรือยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้
เหมือนรถยนต์ที่ต้องมีน้ำมันเชื้อเพลิง เกิดการจุดระเบิดในเครื่องยนต์ และเมื่อเชื่อมต่อแหล่งพลังนั้น ส่งไปตาม แกนเพลาของรถ ก็ทำให้รถสามารถเคลื่อนไปได้ตามต้องการ
องค์การก็เหมือนกับรถยนต์ ต้องการพลังในการขับเคลื่อน
นโปเลียนกล่าว "กองทัพเดินด้วยท้อง" อำนาจในที่นี้คือ การส่งกำลังบำรุง เพราะแม้ทหารจะถูกฝึกมาให้ มีวินัยและความกล้าหาญอย่างไรก็ตาม แต่ถ้าขาดการส่งกำลังบำรุงที่ดี นักรบต้องทนหิว ก็ไม่สามารถเป็นนักรบ ได้ดี ไม่มีขวัญกำลังใจในการรบ
Max Weber กล่าวว่า อำนาจอันชอบ (legitimate authority) ที่จะใช้ในองค์การนั้นมี 3 ประการคือ
อำนาจที่ตั้งอยู่บนเหตุและผล (ู่rational grounds)
อำนาจอันเกิดจากปรเพณี (traditional grounds)
อำนาจอันเกิดจากบารมีของผู้นำ (charismatic grounds)
อำนาจทั้งสามประการเป็นอำนาจอันชอบธรรมที่มีใช้กันอยู่ในสังคม นับว่า Max Weber เป็นนักสังคมวิทยาในระยะแรกๆที่ได้มีการวิเคราะห์เรื่องอำนาจในสังคมยุคใหม่อย่างเป็นระบบ
เครื่องมือแห่งอำนาจ
จาก Principle-Centered Power โดย Covey (1989) การเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องมีพลัง อันเป็นตัวพลังเพื่อผลักดันเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ ถ้าองค์การเหมือนรถที่พร้อมจะขับเคลื่อน พลังหรืออำนาจในที่นี้ จะคล้ายกับน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเมื่อมีการใช้อย่างถูกวิธีแล้ว ก็จะนำมาซึ่งพลังอันสำคัญในการขับเคลื่อนงาน และเปลี่ยนแปลงองค์การ หรือระบบสังคม และพลังเหล่านี้มิได้หมายความถึงการต้องใช้อำนาจการบังคับ หรืออำนาจอย่างเป็นทางการที่ได้เสมอไป Covey ได้เสนอ ต้นกำเนิดพลัง 10 ประการ ที่เราอาจไม่ได้คาดคิด
1. การโน้มน้าวจิตใจ (Persuasion) ไม่ใช่ด้วยการอาศัยอำนาจในการขู่บังคับ หรืออาศัยอำนาจตามหน้าที่ หรือกฏหมาย
2. ความอดทน (Patience) สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนั้นมักจะมีการต่อต้าน จึงต้องอาศัจความอดทนเป็นอย่างมาก และตามใจตนเอง หรือดำเนินการอย่างใจร้อนไม่ได้
3. ความสุภาพอ่อนโยน (Gentleness) ยิ่งในสังคมไทยด้วยแล้ว ความสุภาพอ่อนโยน การเข้าหาผู้ใหญ่อย่างนอบน้อมย่อมเป็นเสน่ห์ และบารมีแก่ตนเอง
4. ความสามารถที่จะยอมรับการสั่งสอน (Teachableness) คนเราจะพอใจอย่างมากถ้าเขารู้สึกว่าเขา สามารถให้คำแนะนำได้ และสิ่งที่เขาเสนอแนะนั้นมีคุณค่า
5. การให้การยอมรับผู้อื่น (Acceptance) ซึ่งในทางตอบสนอง เขาอื่นก็จะมีแนวโน้มในการให้การยอมรับคืนสนองด้วย
6. การมีเมตตา มีความปรารถนาดี ต่อคนอื่น (Kindness) การทำตนเองให้ปรากฏได้ชัดว่า เรามิได้เป็นคนมีความอาฆาตแค้น ไม่มีอะไรผูกใจเจ็บเป็นการส่วนตัว ทุกอย่างได้ทำไปตามหน้าที่
7. ความเปิดใจ (Openness) ไม่ติดยึดที่จะปกป้องตนเอง พร้อมที่จะรับข้อมูลใหม่ๆ ความเปิดใจในที่นี้หมายถึงการเปิดใจจริงๆ เพราะบางทีเราเปิดหูที่จะรับฟัง แต่ก็ไม่ได้รับฟัง บางทีเปิดตาที่จะเห็น แต่ก็จะเลือกจำอย่างที่อยากจะจำ แต่เปิดใจนั้นเป็นความสำคัญที่เราจะได้ใช้การรับข้อมูลทั้งมวลเพื่อเป็นประ-โยชน์ ในการดำเนินการ
8. การเผชิญหน้าอย่างฉันท์มิตร และเข้าอกเข้าใจ (Compassionate confrontation) เมื่อเราพูดถึงการเผชิญหน้าในภาษาไทยนั้น เรามักจะมองว่าเป็นการใช้อารมณ์เข้าประทะกัน แต่มีการเผชิญหน้าอีกแบบหนึ่งที่มนุษย์จะได้ประโยชน์จากการได้รับฟังข้อมูลและปัญหาแก่กัน
9. ความเสมอต้นเสมอปลาย (Consistency) เคยประพฤตปฏิบัติดีต่อใคร ก็เป็นเช่นนั้นไม่เปลี่ยนแปลง
10. ความเป็นคนมีศักดิ์ศรี (Integrity) ทำอะไรอย่างสามารถยืดอกภูมิใจกับการกระทำของตนเองได้
(Stephen R. Covey Principle-Centered Leadership. London: Simon & Schuster, 1991)
ข้อคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลง
การเรียนรู้และข้อสรุปบางประการจากประสบการณ์ ควาเปลี่ยนแปลงนั้น ต้องถามว่าเปลี่ยนไปเพื่ออะไร
เปลี่ยนเพราะประสบวิกฤติการณ์ ไม่เปลี่ยนไม่ได้ เพราะไปไม่รอดแล้ว ปัญหามันหนักหนา ทุกคนรับรู้และอยากปรับเปลี่ยนอยู่แล้ว
เปลี่ยนแปลงเพราะต้องการอนาคตที่ดี แม้ในปัจจุบันก็ดีอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนแล้วในอนาคตจะประสบวิกฤติการณ์ที่จะแก้ไม่ทันถ้าไม่ได้เตรียมการล่วงหน้าเพียงพอ นับเป็นการเปลี่ยนเพื่อโอกาส
เปลี่ยนแปลงเพราะมันเป็นค่านิยม การเป็นผู้นำต้องมีอะไรเป็นของตนเอง ต้องมีอนุสาวรีย์ที่บอกได้อย่างภูมิใจว่า ฉันเป็นคนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ผู้นำแต่ละคนจะสามารถให้คำตอบแก่ตนเองได้ว่าท่านต้องการอะไร scales ของการเปลี่ยนแปลง ต้องการให้เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับไหน
- การเปลี่ยนในรายละเอียดปลีกย่อย ระเบียบวิธีปฏิบัติ
- การเปลี่ยนในระดับแนวคิด ปรัชญา หรือความเชื่อ
- การเปลี่ยนผู้นำ ผู้รับผิดชอบ
การเปลี่ยนในระดับวัฒนธรรม ซึ่งไม่ได้มีการเขียน หรือปรากฏให้เห็นได้
Bennis ได้เสนอหลักท้ายสุดของผู้นำที่จะอยู่ในบทของผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยได้เสนอหลัก 10 ประการเอาๆไว้ และผู้เขียนได้นำมาเรียบเรียงใหม่เพื่อความเข้าใจตามวัฒนธรรมในกรอบแบบไทยดังต่อไปนี้
1. ผู้นำคือคนที่จัดการเกี่ยวกับฝัน (Leaders manage the dream) การได้รับเลือก หรือต้องอยู่ในสภาวะนำนั้น สิ่งที่ตามมาด้วยคือการนำองค์การ หรือระบบสังคมนั้นๆสู่อนาคต ไม่ใช่การหวลกลับไปหาอดีต ซึ่งไม่มีวันกลับคืนมา และไม่มีทางที่จะเพียงอยู่เพื่อปัจจุบัน ผู้นำจึงต้องมีสายตายาวไกล
Max De Pree กล่าวในหนังสือขอเขาชื่อ Leadership Is an Art ว่า สิ่งที่ผู้นำจะต้องทำก่อนอื่นคือการต้องตระหนักในสถานการณ์ปัจจุบันให้ได้ ต้องเข้าใจในปัญหาที่มีอยู่ และต้องชื่นชมในสิ่งดีๆที่ผ่านมาแล้ว เสร็จแล้วก็กล่าวขอบคุณสำหรับสิ่งเหล่านั้น เพราะแต่นั้นไป เป็นเรื่องที่ต้องคิดขึ้นมาใหม่แล้ว ผู้นำ คือผู้รับใช้ให้ความคิดที่ดีๆได้กลายเป็นจริง ผู้นำคือศิลปินที่สามารถทำให้ความฝันได้กลายเป็นจริง
2. ผู้นำคือผู้ที่ไม่กลัวที่จะทำผิด (Leaders embrace error) เพราะคนที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลยนั้น เพราะเขายัง ไม่ได้ทำอะไร ต้องไม่ใช่คนที่กลัวว่าตนเองจะทำผิด และต้องเป็นคนที่คอยแต่จะจับผิดในลูกน้อง หรือผู้ตามของตน แต่เคล็ดลับของการทำให้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นไม่กลายเป็นวิกฤติขององค์การ แต่กลายเป็นการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เป็นบทเรียนที่มีค่า คุ้มเกินสิ่งที่ได้สูญเสียไป
3. ผู้นำคือผู้ที่กระตุ้นให้เกิดการพูดสะท้อนกลับ (Leaders encourage reflective backtalk) มีคนกล่าวว่า เขา ไม่รู้ว่าเขาได้พูดอะไร จนกว่าจะมีคนถามกลับ ผู้นำเป็นคนที่ไม่รู้สึกอึดอัดที่มีคนย้อนถาม หรือไม่เข้าใจ หรือไม่เห็นด้วยในสิ่งที่เขาพูด
4. ผู้นำกระตุ้นให้เกิดการโต้แย้ง (Leaders encourage dissent) ผู้เขียนชอบข้อเขียนของอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดของอาจารย์สุลักษณ์นั้นมักจะยั่วให้คนแย้งตลอด เพราะจะเป็นการเสนอในแง่มุม ที่คนทั่วไปยังไม่เห็นด้วย ไม่เข้าใจ บางอย่างเป็นคำถามเชิงปรัชญามากกว่าคำถามเพื่อหาคำตอบในเชิงสภาพความเป็นจริง แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ล้วนเป็นข้อความแห่งการไม่เห็นด้วย หรือ "ยั่วให้แย้ง" ทั้งสิ้น
5. ผู้นำคือคนที่ยึดมั่นในความดี (Leaders possess the nobel factor) ไม่ว่าจะเป็นผู้นำในองค์การใด ในที่นี้จึงไม่รวมถึงหัวหน้าโจรหรืออันธพาล บุคลิกภาพของผู้นำเกิดจากความดีของเขา ความจริงใจ ความเสียสละ และความปรารถนาดีต่อส่วนรวม สิ่งเหล่านี้จะเป็นคุณค่าสำคัญที่จะส่งเสริมให้คนทำงานที่ต้องรับผิดชอบสูงขึ้น และทำให้เขามีพลังมากกว่าระบบรางวัล เช่นเงินทอง หรือค่าตอบแทนตามปกติขององค์การ เขาจะเป็นผู้นำอย่างที่เรียกว่า transformational leader หรือผู้นำที่ทรงพลังในการเปลี่ยนแปลง
6. ผู้นำคือผู้ที่เข้าใจความหมายของการทำงานอย่างหลงไหล และคลั่งไคล้ในผลของงาน (Leaders understand the Pygmalion effect in management) ถ้าเราเป็นศิลปินก็คงต้องร้องเพลงอย่างมีความสุขและมีอารมย์ในเพลงนั้น หรือภูมิใจผลงานศิลปะนั้นๆ ถ้าเป็นครูก็ต้องรักในศิษย์ ปราถนาในสิ่งดีๆแก่ศิษย์ และเช่นกัน การเป็นผู้นำที่ต้องเปลี่ยนแปลงนั้น ผู้นำก็ต้องหหลงไหลอยากเห็นในสิ่งใหม่ๆที่หวังจะให้เกิดขึ้น
7. ผู้นำเหมือน center half หรือผู้นำในกองกลางในฟุตบอล ต้องรู้จัก "จ่ายบอล" การต้องรู้ว่าขณะนี้ลูกบอลอยู่ที่ไหนนั้น ใครมีตาก็พอมองเห็น แต่การต้องรู้ว่าจะจ่ายบอลต่อไปอย่างไร นั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้ฝีมือมากกว่า (Leaders have the Gretzky Factor) ดังที่ Bennis ได้อธิบายว่า Gretzky อันเป็นนักฮอกกี้ที่มีชื่อเสียง เขาบอกว่าการมองทางเกมส์ให้ออก จ่ายลูกให้ดี รู้ว่าบอลจะมาทางใด ควรส่งต่อไปทางไหน และควรจะตามเกมอย่างไร นั้นเป็นเรื่องสำคัญ
8. ผู้นำจะต้องมีเห็นการณ์ไกล (Leaders see the long view) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ ทรงวางแผนสร้างถนนหลายแห่งที่มีขนาดใหญ่อย่างราชดำเนินทั้งนอกและใน ในขณะนั้นคงไม่มีใครนึกออกว่าทำไมถนนบางสายจึงต้องมีขนาดใหญ่ขนาดนั้น แต่บัดนี้ คนทั่วไปคงตระหนักว่า ความคิดที่ก้าวไกลในขณะนั้นคงต้อง อาศัยความคิดความอ่านและความหยั่งรู้ในอนาคตพอสมควร
9. ผู้นำเข้าใจผลความเสี่ยงจากการลงทุน (Leaders understand stakeholder sysmmetry) เมื่อกล้าได้ ก็มี การต้องเสียเกิดขึ้น และผู้นำก็คือผู้ที่ต้องรับผลพลอยจากสิ่งเหล่านี้ ในช่วงปีพ.ศ. 2534 ได้มีความพยายามในหลายมหาวิทยาลัยหลายแห่งได้พยายามปรับระบบการบริหารมหาวิทยาลัยไปสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยอิสระ ซึ่งนับเป็น ความคิดที่ก้าวหน้า แต่ก็อย่างที่ทราบ เมื่อมีการเสนอเพื่อเปลี่ยนแปลงนั้น หลายมหาวิทยาลัยไม่มีความพร้อม สำหรับสิ่งเหล่านี้ อาจารย์ภายในสถาบันเองที่แท้จริงก็ไม่มั่นใจในการเปลี่ยนแปลง จึงได้มีกระแสต่อต้านเกิดขึ้น ซึ่งท้ายที่สุด ผลพลอยก็คืออธิการบดีที่เสนอเพื่อเปลี่ยนแปลงนั้น ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์และประชาคมที่จะให้เปลี่ยนแปลง
10. ผู้นำมีกุศโลบายที่จะสร้างเพื่อนร่วมงานและหุ้นส่วน (Leaders create strategic alliances and partnerships) ไม่มีใครที่จะทำอะไรให้สำเร็จได้ด้วยตัวคนเดียว ผู้นำคือคนที่สามารถทำให้ความคิดใหม่ๆมีคนสนับสนุน มีคนมาร่วมทุนในการเปลี่ยนแปลงด้วย
(Bennis, 1991 หน้า 191-202)
บทสรุปส่งท้าย
จากทฤษฏีสู่การปฏิบัติ จากสิ่งที่เป็นนามธรรมสู่ความเป็นรูปธรรม และการต้องไปลงมือทำจริง และสำหรับสิ่งที่จะเสริมเพื่อความเข้าใจในท้ายสุด ผู้เขียนขอเสนอสิ่งที่เป็นประสบการณ์ชีวิต ซึ่เกิดจากหลากหลายประสบการณ์ จากธรรมชาติ จากการกีฬา จากวงการธุรกิจ และจากชีวิตเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับท่านผู้อ่าน
ธรรมชาตินั้นมีการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวของมันเองอยู่ตลอดเวลา และเป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าเราจะใช้ ความสังเกตุและนำข้อสังเกตุนั้นมาวิเคราะห์และเรียนรู้ก็จะเกิดประโยชน์ ในการกีฬาก็เหมือนกันมันเป็นเกมส์ จำลองชีวิต มีความเสี่ยง มีจุดมุ่งหมายที่นำไปสู่การได้รับชัยชนะ ซึ่งในชีวิตจริงชัยชนะหรือความสำเร็จนั้นอาจจะเป็นจุดประสงค์อะไรก็ตาม
ในวงการธุรกิจก็เช่นกัน คนที่ทำงานอยู่ในภาคราชการ หรือภาคการศึกษาที่ได้ไปพร่ำสอนคนอื่นๆมากๆนั้นที่จริงแล้วเราควรได้เรียนรู้จากเขามากทีเดียว นักธุรกิจและวงการธุรกิจมีอะไรหลายอย่างที่คนในภาค ราชการ สามารถแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้มาก
ต่อไปนี้คือบางส่วนที่ได้สังเกตุและสรุปเป็นบทเรียนส่งท้ายออกมา
หากใครได้มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวในยุโรป ซึ่งบริเวณส่วนใหญ่จะเป็นเขตค่อนข้างหนาว ต้นไม้จะต้องมีการเปลี่ยนฤดูเพื่อย่างเข้าสู่หน้าหนาว ท่านจะเห็นต้นไม้ในยุโรปฤดูหนาวที่แปลกออกไป เห็นแต่กิ่งที่ถูกตัดให้สั้น ไม่มีใบไม้เหลือให้เห็น ไม่มีกิ่งที่อ่อนแอ เพราะเขาจะยอมตัดส่วนเล็กๆที่ไม่จำเป็นออกเสียบ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นไม้ต้องสูญเสียน้ำ และอาจทำให้เกิดโรคได้ แต่เขาจะเก็บส่วนที่แข็งแกร่งเอาไว้สำหรับการเติบโตได้อย่างเต็มที่เมื่อฤดูใบไม้ผลิย่างเข้ามา
เปรียบไปก็เหมือนการทำงานเพื่อการเปลี่ยนแปลงนั้น จำเป็นต้องให้มีความพร้อม ต้องยอมตัดส่วนที่ไม่จำเป็น อ่อนแอ หรือส่วนที่จะเป็นปัญหาเพื่อสงวนส่วนใหญ่ที่มีคุณค่าเอาไว้ สำหรับองค์การนั้น เมื่อยังไม่พร้อมที่จะเริ่มงานใหม่ ก็ควรเก็บรักษากำลังคน กำลังทรัพย์ในส่วนที่จำเป็นเอาไว้ ให้เมื่อเวลาพร้อมแล้วค่อยเริ่ม เหมือนต้นไม้เมื่อย่างเข้าฤดูใบไม้ผลิแล้ว จึงค่อยปล่อยให้ทุกอย่างเบิกบานออกมา
เมื่อท่านต้องการปลูกต้นไม้ในทะเลทรายนั้น ท่านทำอย่างไร ท่านคงไม่ขึ้นเครื่องบินแล้วโปรยพันธุ์พืชเหล่านั้นลงมาอย่างไม่หวังผล เพราะมันจะไม่ได้ผลอะไรเลย พืชพันธุ์เหล่านั้นจะขาดน้ำ และไม่มีอะไรจะหลงเหลือให้เติบโตได้ การจะปลูกต้นไม้ไม่ว่าจะเป็นในทะเลทรายหรือที่อื่นใดก็ตาม จะต้องมองความสอดคล้องเหมาะสม ต้องเลือกพันธุ์ไม้ให้เหมาะที่จะทนความแห้งแล้งได้ดี และแม้กระนั้นก็ต้องมีการเตรียมเพาะปลูกในบริเวณที่จะสามารถหาน้ำมาสร้างความชุ่มชื้นได้ แม้เป็นที่เล็กๆใกล้กับแหล่งน้ำ ต้องมีวิธีการสงวนน้ำในแบบที่ละเหยได้น้อยที่สุด เก็บรักษาความชื้นไว้ให้กับต้นไม้มากที่สุด ดังนี้ต้นไม้นั้นจึงจะมีโอกาสเติบโต และออกดอกออกผลได้ในภายหลัง ทำอย่างนี้คือการทำอะไรต้องหวังผล ต้องมีการมุ่งเน้นอย่างเป็นระบบ และอย่าปล่อยให้กระจัดกระจายออกไป ซึ่งในที่สุดอาจไม่ได้อะไรเลย
ตัวอย่างเช่น การสร้างอาจารย์รุ่นใหม่ในสถาบันเก่าแก่ที่มีประทัสถานทางสังคมเดิมที่ไม่สามารถยอมรับของใหม่ ไม่สามารถที่จะเป็นพื้นฐานหล่อเลี้ยงของเกิดใหม่ การรับอาจารย์ใหม่เข้าไป แม้มีความคิดใหม่ๆก็จริง แต่เขาไม่มีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถ ทำอะไรก็มีแต่ติดขัด ท้ายที่สุด เขาก็ต้องเหี่ยวเฉา การจ้างอาจารย์ที่ดีมีคุณภาพเพื่อเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย แต่ไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือให้เขาได้ริเริ่มงานอย่างเพียงพอ จะทำงานก็เต็มไปด้วยอุปสรรคจาระเบียบราชการ จะทำงานริเริ่มสร้างสรรค์แต่ละครั้งก็จะถูกการต้องปล่อยให้เป็นไปตามประทัสฐานของกลุ่ม อย่างนี้จะหวังผลเลิศจากอาจารย์คนนี้คงยาก
การริเริ่มใดๆที่จะทำให้ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องรู้จักกล้าทุ่มเท วางแผนอย่างครบวงจร ทำให้ดีที่สุด และหวังผลในความสำเร็จมากกว่าจะเป็นการปล่อยการลงทุนลงแรงแบบกระจัดกระจายในสิ่งที่ไม่อาจหวังผลได้ และกลายเป็นความสูญเปล่าในที่สุด
ลองสังเกตวิธีการปลูกกล้วย ซึ่งถ้าต้องการจะให้ได้ผลนั้น “ารปลูกกล้วยต้องหมั่นแยกหน่อ”
การปลูกกล้วยนั้น ถ้าเราปล่อยให้กล้วยขยายหน่อแตกกอออกไป แต่ก็ไม่แยกหน่อออกไปปลูกที่อื่น ปล่อยให้สุมรวมกันเป็นกอขนาดใหญ่ กล้วยกอนั้นก็จะไม่ให้ผลที่ดี แม้มีผลบ้างก็เป็นไปอย่างลีบเล็กไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าจะให้กล้วยงามและได้ผลดีนั้นก็ต้องรื้อกอ แยกหน่อใหม่ที่สมบูรณ์ไปปลูกในบริเวณอื่นที่มีการเตรียมดินดี มีการให้น้ำและความชุ่มชื้นที่พอเพียง กล้วยที่ได้ปุ๋ยได้น้ำนั้นก็จะได้ผลเต็มที่ มีลูกดกและผลกล้วยอวบงาม เปรียบดังในการทำงานนั้นคือ การต้องรู้จัก กระจายอำนาจไปให้คนดีที่กำลังจะโตขึ้นมา ให้เขาได้ทำงานในที่ๆมีโอกาสแสดงฝีมือเต็มที่ การบริหารงานในยุคใหม่นั้น คือการต้องหาคนดีมีฝีมือที่มีความสามารถ และปล่อยให้เขาทำงานในระบบมีมีอิสระที่สุด จะมีการควบุมดูแลเขาก็ไม่ควรไปเน้นในรายละเอียดและวิธีการทำงาน แต่ควรเน้นไปที่การให้เขาได้แสดงฝีมือพิศูจน์ผลของงานโดยรวมให้มาก โดยให้คนในส่วนกลางนั้นมีจำนวนน้อยจะมีหน้าที่ในการสรรหา และพัฒนาคนดีเพื่อเอาไว้ใช้ในระบบนั้น และไม่พยายามเข้าไปตัดสินใจในรายละเอียด
สิ่งเหล่านี้จะสอดคล้องกับคำกล่าวของนักธุรกิจจีนที่เขาพูดว่า "เตี่ยไม่ตาย เสี่ยไม่โต” ซึ่งจะสังเกตได้จากนักธุรกิจจีนที่ถ้าคนรุ่นพ่อไม่ยอมปล่อยความรับผิดชอบให้คนรุ่นลูกได้เรียนรู้อะไรแล้ว คนรุ่นหลังนั้นๆก็ไม่ได้มีโอกาสเรียนรู้ แม้เมื่อวันหนึ่งได้รับสมบัติตกทอดมา ก็ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประสบการณ์ในภาคธุรกิจอีกลักษณะหนึ่งคือ การที่คนรุ่นอาวุสโสทำงานประสบความสำเร็จมามากจนขาดความเชื่อว่าคนรุ่นต่อไปจะสามารถทำได้ดีเท่าหรือดีกว่าตน หรือบางทีเป็นเพียงความกลัวสูญเสียอำนาจ จึงไม่มีการเตรียมคนรุ่นใหม่ที่จะเข้ารับผิดชอบแทน ถ้าระบบงานใดองค์การใดปล่อยให้บรรยากาศเป็นลักษณะหวงงาน หวงความรู้ไม่มีการพัฒนาคนแล้ว ในที่สุดองค์การนั้นๆก็จะประสบปัญหางานไม่พัฒนา ไม่สามารถดำรงอยู่ในแวดวงธุรกิจที่แข่งขันกันอย่างสูงได้
การฝึกอบรมทางการบริหารที่สำคัญที่สุดนั้นคือการได้ลงมือทำในธุรกิจนั้นเองจริงๆ ไม่มีอะไรที่จะมาทดแทนประสบการณ์นั้นโดยตรงได้ เพียงแต่การให้เขาได้เริ่มทำงานในระดับที่เล็กไปหาใหญ่ แล้วปล่อยให้ประสบการณ์ทั้งในส่วนที่ดีและไม่ดี ความสำเร็จและความล้มเหลวได้เป็นบทเรียนได้พัฒนาคนควบคู่ไปด้วย มิฉะนั้น องค์การก็จะไม่โต ขยายงานไม่ได้ เหมือนกล้วยที่ไม่รู้จักแยกหน่อ หรือเหมือน "เตี่ย" ที่ไม่ปล่อยให้ลูกได้เข้ามารับผิดชอบ "ลูกๆ" ก็ไม่โต ครั้นสักวันเตี่ยต้องจากไป หรือไม่สามารถทำงานต่อไปได้แล้ว ท้ายสุดก็ไม่มีใครหรือลูกๆคนไหนรับงานได้
ผู้เขียนมีประสบการณ์การทำฟาร์มปลา และพบข้อคิดที่น่าสนใจประการหนึ่ง คือปรากฏการณ์จาก “ารเลี้ยงปลานิลพันธุ์เดียวในบ่อ (lack of bio-diversity)”
ปรากฏการณ์ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลามักจะประสบกันมากก็คือ การเลี้ยงปลาที่สามารถแพร่พันธ์ปลาได้ รวดเร็วอย่างปลานิลเพียงพันธุ์เดียวในบ่อปลาแล้ว เมื่อปลาเติบโตมาได้สัก 4-5 เดีอนแล้ว มันจะหยุดเติบโตและเริ่มแพร่พันธุ์ ซึ่งก็จะยิ่งทำให้มีปลาจำนวนมากในบ่อปลา ปลาจะเริ่มแน่นบ่อ ต้องแย่งชิงอาหารกัน และทำให้ไม่มีโอกาสเติบโต
การแก้ปัญหาทำอย่างไร
1. เขาจะจับปลาบางส่วนออกจากบ่อไปไว้ที่อื่น ขาย หรือส่งตลาดในราคาถูกเลย
2. การเลี้ยงปลานิลที่ทำหมันแล้ว นันคือจะไม่มีการแพร่พันธุ์ หรือ
3. การเลี้ยงปลาหลากพันธุ์ ให้เกิดความสมดุลย์ในบ่อปลา ปลาบางส่วนจะกินอาหารในระดับผิวหน้าน้ำ อย่างเช่นปลาตะเพียน บางส่วนจะกินอาหารในระดับผิวดิน อย่างเช่นปลาซ่ง หรือที่ชาวบ้านเขาเรียกว่าปลาหัวโต และรวมถึงปลากินเนื้อ เช่นปลาช่อน ปลากระพงขาวจะมีไว้เพื่อกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่นลูกปลาลูกกุ้ง ซึ่งก็เป็นประโยชน์ เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดลูกปลานิลเพิ่มขึ้นมาอีก และส่วนปลาที่มีขนาดโตเกินกว่าปลากินเนื้อจะกินได้แล้วก็ จะสามารถเติบโตไปได้อย่างเต็มที่ เกษตรกรก็จะได้ปลาที่มีขนาดใหญ่ และสมบูรณ์สำหรับการส่งขายตลาด วิธีการเลี้ยงปลาเช่นนี้เน้นหลักการปล่อยให้เกิดความหลากหลายไปตามธรรมชาติ
ข้อสรุปสำหรับการจัดการคือ
1. การไม่ใช้คนประเภทเดียวกันอยู่รวมกันมากเกินไป เหมือนปลานิลแน่นบ่อ ตัวอย่าง การมีอาจารย์นักวิชาการที่เก่งๆเหมือนกันในภาคเดียวกันมากๆในมหาวิทยาลัยนั้นไม่เป็นผลดี เพราะก็มีงานให้ทำเพียงเท่าเดิม อาจารย์ก็จะต้องแย่งชิงโอกาสที่จะทำงานคล้ายๆกันนั้น กลายเป็นขัดแย้งต่อกัน
2. การสร้างความสมดุลย์ในทีมงาน บางอย่างบางประสบการณ์นั้น ความหลากหลาย (diversity) เป็นความได้เปรียบ มีการพึ่งพากันได้ นักวิชาการเมื่ออยู่ในหน่วยงานเดียวกัน ในภาคเดียวกันบางทีก็ไม่เห็นคุณค่าของกันและกัน มีการขัดแย้งแย่งชิงโอกาสกัน แต่ถ้ามีการย้ายไปยังที่อื่นๆ ได้ทำงานร่วมกับนักวิชาการอื่นๆ ทำงานกับภาคราชการ หรือธุรกิจ และร่วมกับคนที่หลากหลายอาชีพขึ้น ปะปนกันไป มี "Bio-Diversity" ถ้าเขาได้มีโอกาสทำงานช่วยทีมงานในส่วนที่เขามีความสามารถ และเป็นประโยชน์แก่ทีมงานที่เหมาะสมแล้ว กลับจะได้ผลดีกว่า ระบบงานในส่วนนั้นก็ได้ใช้ประโยชน์จากนักวิชาการนั้นได้อย่างเต็มที่ สามารถทำให้ทีมงาน หรือองค์การนั้นๆได้บรรลุในวัตถุประสงค์ที่เหมาะสม กลายเป็นคนที่มีคุณค่า
เปรียบดังคำสอนที่มาจากพงศาวดารจีน สามก๊ก ที่สอนว่า "อย่าเป็นโจโฉแตกทัพเรือ (strategic changes)" ครั้งหนึ่งเมื่อครั้งเมืองจีนมีการแตกออกเป็นสามก๊ก ต้องรบราฆ่าฟันกันนั้น แม่ทัพโจโฉ จัดเป็นนักกุศโลบายทางการรบที่เก่งกาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรบภาคพื้นดิน แต่ไม่มีประสบการณ์ในการรบทางน้ำ ทหารของโจโฉก็ไม่มีประสบการณ์ในการรบโดยใช้เรือเป็นพาหนะ การเคลื่อนกำลังทางทัพเรือของโจโฉจึงเป็นไปอย่างไม่รู้จริงและไมมีความมั่นใจ ดังนั้นจึงถูกใส้ศึกหลอกให้ใช้ยุทธวิธี นำเรือจำนวนนับร้อยๆลำมารวมกัน โยงและตรึงเป็นผืนแผ่นเรือลอยน้ำ โดยถูกหลอกให้เชื่อว่าจะทำให้เกิดความปลอดภัย นอกจากนั้นยังถูกกลอุบายหลอกให้นำฟางหญ้า มาสุมรวมกันหวังเป็นตัวดักรับลูกธนูที่ข้าศึกจะยิงกราดมาจากฟากฝั่งสองข้าง โจโฉก็เชื่อตามนั้น และดำเนินการตาม โดยนำเรือมาผูกรวมกัน แล้วสุมฟางหญ้าแห้งเป็นที่ป้องกันธนูและเป็นการดักเก็บลูกธนูจากข้าศึก แต่การณ์กลับตรงกันข้าม เพราะข้าศึกยิงธนูที่ชุบน้ำมันติดไฟท่วมเข้ามา เมื่อเรือมีเชื้อไฟอยู่แล้ว ไฟก็ลุกไหม้อย่างรวดเร็ว และลามไปทั่วกองทัพเรืออย่างรวดเร็วเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ ทำให้กองทัพต้องสูญเสียอย่างมากในการรบครานั้น โจโฉเองก็ต้องหนีตายจนแทบจะเอาตัวไม่รอด
เปรียบกับการบริหารงาน ถ้าจะต้องการเปลี่ยนแปลงใดๆ จงอย่าพยายามเอาอะไรมาผูกรวมกันเป็นะบบใหญ่ อย่านำระบบมาผูกกันด้วยกฏระเบียบที่ตายตัวโยงทั้งระบบเข้าด้วยกัน เพราะได้ก่อให้เกิดผลเสียให้เห็นมามากแล้ว ไม่ว่าจะเป็นระบบราชการ บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่พยายามจะทำทุกอย่างเองอย่างครบวงจร บางบริษัทหวังว่าความใหญ่คือความได้เปรียบเพราะมีการเงิน มีธนาคารหนุนหลังอย่างแน่นแฟ้น แม้จะไม่มีความถนัด ท้ายสุดก็ต้องประสบปัญหาความอืดอาดล่าช้า ความไม่สอดคล้องในการจัดการตามระเบียบแบบแผนกับการต้องทำงานในแต่ละสถานที่ซึ่งมีความแตกต่างกัน ท้ายสุดก็ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะปรับปรุงแก้ไขอะไรก็จะมีผลกระทบกันไปหมด ทำให้ทำงานได้อย่างยากลำบาก
คือพยายามจะเปลี่ยนแปลงระบบทั้งหมดไปพร้อมๆกัน โดยที่ระบบอันใหญ่มากนั้นจะไม่มีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง ถ้าจะเปลี่ยนได้ ก็มักจะเป็นส่วนเล็กๆน้อยๆในระบบใหญ่ หรือไม่ก็เป็นการเปลี่ยนเพราะปัญหามันสุกงอมในขั้นวิกฤติแล้ว หรือเลวที่สุดแล้วจนชิน แน่ใจได้ว่าไม่มีอะไรจะเลวไปกว่านี้อีกแล้ว
ผู้เขียนลองสังเกตปรากฏการณ์การเสนอกฏหมายของประเทศฝรั่งเศสที่มีการบริหารราชการแบบรวมศูนย์ เมื่อมีความพยายามแก้ปัญหา ก็เสนอเป็นกฏหมายออกมา และเมื่อตกลงแก้กฏหมายแล้วก้จะทำการแก้ไขปรับการปฏิบัติไปทั่วประเทศ บางอย่างทำได้ แต่มีเป็นอันมากที่แม้เป็นการปรับมาตรการเพียงเล็กน้อย แต่ความที่ต้องกระทบไปทั้งประเทศ จึงได้รับการต่อต้านอย่างมาก หลายครั้งที่ทำไม่สำเร็จ ต้องกลับไปเหมือนเดิม ตรงกันข้ามกับในประเทศสหรัฐอเมรกาที่เป็นประเทศที่ใหญ่โตกว่า แต่การเปลี่ยนแปลงนั้น เขาจะปล่อยให้เป็นไปตามแต่ะละท้องถิ่น หรือแต่ละรัฐ ระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกาก็มักจะปรับเปลี่ยนไปตามความจำเป็น หรือความต้องการของสังคม เราจึงไม่ค่อยพบการเปลี่ยนแปลงแบบจากส่วนกลางมากนักในประเทศนี้ แต่มักจะเห็นการเปลี่ยนแปลงจากจุดเล็กๆ แล้วก็ขยายใหญ่ออกไป
ลองดูอีกปรากฏการณ์หนึ่ง คือ
"ลิงตัวที่ร้อย"
เมื่อเราจะเปลี่ยนแปลงนั้นบางครั้งเราไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ใครจะเป็นคนเริ่ม เพราะระบบมันใหญ่เหลือเกิน กิจการนั้นๆจะทำคนเดียวก็ไม่ได้ที่จะเปลี่ยนไปทั้งระบบก็เป็นไปได้ยาก ลองดูปรากฏการณ์ของสัตว์ คือลิงในส่วนสาธารณะแห่งหนึ่ง (ฟังจากคุณหมอประเวศ วะสีเล่า)
ลิงตัวหนึ่งในสวนสาธารณะที่กินมันโดยล้างทรายและของสกปรกออก ลิงตัวนั้นริเริ่มทำไปก่อนโดยไม่สนใจกับลิงตัวอื่นที่กินมัน หรืออาหารที่เขาโยนมาให้โดยไม่ล้างน้ำ ลิงตัวนั้นทำแล้วได้ผลดี ทำแล้วไม่ต้องกินสิ่งปลอมเปื้อนเขาไปด้วย และจึงทำไปจนเป็นนิสัย ลิงตัวอื่นก็ได้แต่ดูเป็นตัวอย่าง แต่เมื่อเห็นว่าน่าสนใจก็ลองทำตามบ้าง ตอนเริ่มก็เป็นทีละตัวสองตัว และเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นเปลี่ยนวัฒนธรรมการบริโภคอาหารในแวดวงลิงนั้น
การเปลี่ยนแปลงถ้าหวังจะให้เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบขนานใหญ่ และกระทำพร้อมกันทั้งหมดนั้นจะเป็นไปได้ยาก การเปลี่ยนแปลงเป็นอันมากเริ่มจากคนหรือกลุ่มคนเล็กๆที่ได้ลองทำไปก่อน ได้เรียนรู้บทเรียนจากสิ่งเหล่านั้น แล้วคนอื่นๆจะได้มีโอกาสเห็นเป็นตัวอย่าง มีบทเรียนที่จะได้เรียนรู้ และท้ายที่สุด จึงกล้าทำเอง ทำจนเกิดความมั่นใจ ที่จะเปลี่ยนตาม และขยายวงไปตามเท่าที่มีความจำเป็นและเกิดประโยชน์
แต่จะทำอย่างไรจะทำให้ระบบสังคมนั้นมี "ลิงตัวที่ร้อย" ที่กล้าทำในสิ่งใหม่ๆที่จะเป็นสาระประโยชน์ต่อส่วนรวมได้ เรื่องเหล่านี้นี่แหละที่เราต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ถ้าสังใดยอมรับในการเป็นผู้นำในส่วนย่อยได้มาก ก็จะมีตัวอย่างปรากฏการณ์ริเริ่มสร้างสรรค์ได้มาก แต่ถ้าพยายามบังคับให้ทุกคนเข้ากรอบมากเท่าใด ก็จะสูญเสียความคิดสร้างสรรค์ไปมากเท่านั้น
“ไปไหนไม่ได้ ให้ตายกับลูก (risking & sacrifice)”
ในกิจกรรมการเล่นรักบี้ มีบางจุดบางเหตุการณ์ที่จำเป็นต้องมีบางคนที่ยอมเจ็บ ต้องเข้าไปรับผิดชอบ ปัด ความรับผิดชอบไปให้กับใครไม่ได้ เหมือนกำลังถือลูกบอลในขณะที่วิกฤติ บางทีต้องยอมเสียสละตนเอง เพื่อส่วนใหญ่ให้อยู่ได้ อาจนับเป็นการยอมเสียบางส่วน เพื่อรักษาบางส่วนทีสำคัญเอาไว้ ยอมเสียสละเพื่อหลีกการ และต่อสังคมส่วนใหญ่เอาไว้ ถ้าไม่มีใครเสียสละ ในที่สุดก็จะไม่เกิด breakthrough ดังนั้นการเสียสละของคนบางคนในบางสถานการณ์จึงช่วยให้งานของกลุ่มประสบความสำเร็จ ในเกมรักบี้จะมีการลุยไปข้างหน้า ยอมตายกับลูก เพื่อให้ กลุ่มได้ทำการทำ root scrum เพื่อแย่งชิงลูกกลับคืนมา และรุกต่อไป มีกำลังของคนรุ่นใหม่เข้าเสริมตลอด
ในบางกรณี การทำงานบางอย่างจะไม่สำเร็จด้วยช่วงวาระของคนๆเดียว แต่กว่าจะสำเร็จส่งผลให้เห็นก็จะเป็นคนในรุ่นต่อๆไป แต่คนที่ริเริ่มเอาไว้นั้นอาจจะต้องได้รับเคราะห์กรรมอย่างมาก แต่ถ้าไม่หนักแน่นพอก็จะล้มเลิกเสียก่อนที่จะทำให้คนในรุ่นต่อมาได้สานต่อ ดูตัวอย่างจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสหภาพโซเวียตจากระบบ Totalitarianism และเผด็จการทางชนชั้นด้วยกรรมกรและชาวนา ไสู่ระบบที่มีเสรีภาพมากขึ้นนั้นต้องผ่านยุคสมัยจาก คนอย่างอังเดร ซาคารอฟ ที่เป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนต้องถูกริดรอนสิทธิและการคุกคามต่างๆนาๆ คนอย่างกอร์บาร์ชอฟ ที่จุดประกายการเปลี่ยนแปลงที่ท้ายสุดนำมาซึ่งการสูญเสียอำนาจของตน แต่เมื่อผ่านยุคสมัยเยลซิน ก็มิใช่ว่าจะทำให้เกิดระบบใหม่ที่สำเร็จได้ในเร็ววัน อาจจะต้องอาศัยการสืบทอดอีกหลายยุคสมัย
ในสภาวะที่ตนเองกลายเป็นเป้าของการโจมตีเพราะต้องเข้าไปทำงานนั้น ยอมเสียสละตนเอง แยกตนออก จากความคิดแนวอุดมการณ์นั้น แล้วส่งต่อความคิดให้คนอื่นต่อไป ความสำเร็จอาจจะไปอยู่ที่คนอื่น แต่งานนั้นก็ สำเร็จ
มิคาฮิล กอร์บาชอพ ทำหน้าที่ปฏิรูประบบการปกครองประเทศรัสเซียไปสู่ความเป็นประชาธิไตยมากขึ้น แต่นั่นก็เป็นผลที่เขาต้องสูญเสียอำนาจไป และเปิดทางให้กับเยลซิน อย่างไม่มีทางเลือก
เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์เป็นนายกรัฐมนตรีที่เป็นทางผ่านให้กับพลเอกเปรม ตินสูลานนท์
รัชกาลที่ 4 ได้ทรงเริ่มปูทางการปรับประเทศให้ทันสมัย ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าจะได้มีโอกาส ดำเนินนโยบายนำประเทศไปสู่ความทันสมัย
อีกส่วนหนึ่งของกโลบายการเปลี่ยนแปลงคือ
"ดึงคนให้แทค เพื่อดึงคู่ต่อสู้ให้มุ่งสู่ตน แล้วส่งลูกต่อ (draw the opponents then pass the ball)"
ในเกมส์รักบี้ จะหวงลูกพาวิ่งคนเดียวไปวางทรัยไม่ได้ แต่วิธีที่ทำได้คือการรุกไปข้างหน้า ดึงคนให้มาจับตัว แล้วปล่อยให้คนอื่นว่างแล้วส่งลูกต่อให้กับคนอื่นที่อยู่ในจุดที่ว่างกว่าเพื่อเข้าไปวางทรัย
ในเกมส์ฟุตบอล ทำตนเป็นดาราพาลูกเลี้ยงเดี่ยวเข้าไปทำประตูนั้น จะทำไม่ได้บ่อย ยิ่งใครเป็นดาราก็จะยิ่งถูกจับตัวจนแทบขยับไม่ได้ แต่ผู้เล่นที่ถูกจับตัวมากๆนั้นสามารถทำได้คือการดึงฝ่ายตรงกันข้ามให้เสียคนจำนวนมากมากับตน แต่คนที่จะนำลูกเข้าไปทำประตูนั้นคือคนอื่น
การทำแบบนี้ไม่ว่าในเกมส์กีฬาหรือในชีวิตการทำงานนั้นต้องอาศัยการเสียสละ และการไม่เห็นแก่ตัวอย่างมาก (selflessness) และไม่เกิดขึ้นง่ายๆเสมอไป ต้องเป็นความพยายามทำงานเป็นทีม อย่าทำเป็นดารา ได้ชือได้ประโยชน์เฉพาะตน แต่กลุ่มกลับไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในส่วนที่ว่า การใช้นโยบาย win/win หรือ การทำให้ทุกคนทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ความยากลำบากจะอยู่ตรงที่ว่า ในบางครั้งมันอาจจะต้องมีคนบางคนเสียสละก่อนเพื่อให้เป็นแนวทาง และคนๆนั้นก็คือผู้นำนั่นเอง
"การปลูกป่านั้นเขาทำกันได้สองลักษณะ คือ จะเลือกใช้"กล้า" หรือจะใช้ "เง่า"
การเปลี่ยนแปลงคือการสร้างคนที่มีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เราไม่รู้ว่าในอนาคต อะไรคือประเด็นในการเปลี่ยนแปลง อะไรคือโอกาสใหม่ๆในขณะนั้น คนที่จะรู้ได้ดีกว่าคือคนในอนาคตนั้นเอง
ใช้กล้าที่เพาะในช่วงเวลาสั้นๆ อาจจะทำแบบตัดกิ่งต่อตา จากเมล็ดพันธุ์ เพาะให้ได้จำนวนมากๆ แล้วก็นำไปปลูกต่อในป่า ถ้าผ่านไปหนึ่งฤดูฝน ไม้นั้นก็มีโอกาสรอดสูง แต่มีเป็นอันมากที่สภาพพื้นที่ไม่เอื้ออำนวย ไม้ที่เพาะลงไปนั้นแทบจะไม่เหลือเลย แม้แต่ต้นเดียว ที่เป็นเช่นนี้เพราะไม้ที่ลงไปใหม่นั้นไม่สามารถทานทนต่อสภาพแวดล้อมในป่าได้จริง บ้างก็ตายเพราะขาดน้ำเนื่องจากฝนทิ้งช่วง บ้างก็วัชชพืชแทรกแซงรบกวน หรืออื่นๆอีก
แต่ในอีกลักษณะหนึ่งคือ การลงทุนปลูกด้วยเง้า เขาเริ่มจากการใช้ไม้ที่เพาะจากเมล็ด ใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปีให้เติบโต และที่สำคัญให้แกร่ง เสร็จแล้วตัดส่วนใบหรือส่วนลำต้นออก มีการเก็บไว้ในรูป"เง่าราก" แล้วเก็บรักษาไว้ แม้ฝังทรายเอาไว้ นานก็ยังมีชีวิตอยู่ได้ และยามเมื่อฝนมา มีการเตรียมดินและพื่นที่เอาไว้เพียงพอแล้ว ก็จะนำไปปลูก เมื่อนำรากเง้าไปปลูกนั้น พันธุ์ไม้นี้ก็จะมีความทนความแห้งแล้งได้มากกว่า เติบโตได้เร็วจนวัชชพืชอื่นๆไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป มี โอกาสอยู่รอดเป็นไม่ใหญ่ได้มากกว่า แต่ก็แน่นนอนว่าต้นทุนก็จะต้องสูงกว่า
เปรียบเหมือนกับการสร้างผู้นำที่ดีนั้น เราอาจต้องสร้างผู้นำแบบรากเง่าที่คงทนเหล่านี้ เพราะในบางสภาวะ เขาต้องไปอยู่ในสภาวะที่ต้องมี endurance มากๆ ถ้าไม้แกร่งจริงๆก็อยู่ไม่ได้
“นาคให้น้ำหลายตัว ฝนจะแล้ง (team work)”
การมีคนเก่งมากๆหลายคนในแบบเดียวกัน อยู่ทำงานในที่เดียวกัน บางทีอาจกลายเป็นฝันร้าย เพราะหาทางออกไม่ได้ มัวแต่เถียงกัน เกี่ยงกัน เกรงใจกัน หรือบางทีก็แย่งกันทำงาน แต่ก็ทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เพราะไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้ วางรูปแบบที่จะให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆไม่ได้
ทีมเศรษฐกิจรัฐบาลชวน หลีกภัยมีหลายคนมากมายจากหลายพรรค แต่ท้ายสุดขาดคนตัดสินใจ
- “ดรีมทีมนั้น ต้องสร้าง ไม่ใช่หา”
- “การใช้คนที่มีฝีมือดีอันดับสอง (hiring the second best man) “
ในการสร้างทีมงานในการเปลี่ยนแปลงนั้น มีคำถามในการสร้างทีมงานที่ต้องทำความเข้าใจหลายประการ เช่น
- ความแตกต่างระหว่างคนเก่งที่สุด กับคนที่มีเหมาะสมที่สุด
- ความแตกต่างระหว่างคนเก่งและคนดี
- ความแตกต่างระหว่างศักยภาพ กับผลงานในปัจจุบัน
การสร้างทีมงานที๋ดีก็เช่นเดียวกัน ไม่ใช้การเลือกคนที่ดีที่สุด มีความสามารถที่สุดเท่าที่จะหาได้แล้วมา รวมกันทำงานแล้วจะได้สิ่งที่ดี แล้วจะได้ผลงานที่ดีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ในการสร้างทีมกีฬาที่ดีนั้นเขาจะเฟ้นหานักกีฬาหน้าใหม่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาต่อไป สามารถนำสิ่งที่ตนเองมีศักยภาพ แล้วมาประสานกันเพื่อให้เกิดทีมงานที่ดี
คนที่เก่งอันดับหนึ่งนั้นเขาอาจไม่เลือกมา ถ้าเขากำลังประสบความสำเร็จและงานไปได้ด้วยดี แต่ถ้าบริษัท นั้นให้มา อาจแสดงว่าเขาคนนั้นอาจหมดคุณค่าแล้ว บางทีเขาเป็นอันดับหนึ่ง เพราะเขามีอาวุโสกว่า และอยู่ใน สถานะที่มีโอกาส แต่ถ้าเขาเป็นคนที่เก่งในลำดับรองลงมา แต่ถ้าเขาเป็นคนที่มีศักยภาพ เมื่อได้โอกาสแล้วเขานำพัฒนาร่วมกับทีมงาน และในบรรยากาศการทำงานที่ส่งเสริมแล้ว เขาอาจให้คุณค่าแก่องค์กรได้มากกว่า
คนที่ว่าเก่งอันดับหนึ่งหรืออันดับสองนั้นแท้ที่จริงอาจพิศูจน์กันยาก เพราะมันเป็นเรื่องของโอกาสและความเหมาะสม คนที่อยู่ในที่หนึ่งที่เขายังไม่มีโอกาสที่ดีอาจแสดงความสามารถได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าได้โอกาสที่ดีในสภาพแวดล้อมอีกแบบหนึ่ง เขาก็จะสามารถก้าวหน้าริเริ่มงานใหม่ไปได้ด้วยดี
No comments:
Post a Comment