กบฏเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1932 (June Rebellion)
ในกรุงปารีส ฝรั่งเศส
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the
free encyclopedia
Keywords: ประวัติศาสตร์, ฝรั่งเศส, การลุกฮือ, กบฏมิถุนายน, June Rebellion, uprising, Victor Hugo, Les Misérables 2012
ภาพยนตร์ Les Miserables ปี ค.ศ. 2012 มีฉากสงครามกลางเมือง ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1832
หากใครชมภาพยนตร์เรื่อง
Les Misérables ตามบทประพันธ์นิยายของ Victor Hugo จะพบว่ามีฉากที่เกี่ยวกับการต่อสู้ในการก่อการกบฎของนักศึกษาและชาวปารีสในเดือนมิถุนายน
ค.ศ. 1832
กบฏมิถุนายน หรือ “การลุกฮือในปารีสปี
ค.ศ. 1832” เป็นการลุกฮือต่อต้านสถาบันกษัตริย์ (Anti-monarchist insurrection) ของฝ่ายนิยมสาธารณรัฐในกรุงปารีส
ประเทศฝรั่งเศส นำโดยชุมนุมนักศึกษา และเป็นการต่อสู้ขั้นรุนแรงใช้อาวุธในช่วงสั้นๆของวันที่
5-6 ของเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1832 คนชมภาพยนตร์หรือละครเพลง
Les Misérables อาจสับสนในฉากสงครามกลางเมือง
อาจคิดว่าเป็นช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1789 แต่ไม่ใช่
มันเป็นฉากอันเกี่ยวกับกบฏนักศึกษา ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1832 หรือ 43 ปีให้หลัง
ฝ่ายกบฏผู้นิยมระบบสาธารณรัฐ (Republicans)
ได้พยายามลุกขึ้นต่อต้านในช่วงปี ค.ศ. 1830 เป็นการต่อต้านฝ่ายกษัตริย์ของหลุยส์
ฟิลิปเป (Louis-Philippe) หลังการเสียชีวิตของหัวหน้าฝ่ายสนับสนุนกษัตริย์ โดยประธานสภา
(President of the
Council), ชื่อ Casimir Pierre Périer
นักการเมืองและรัฐบุรุษผู้สวามิภักดิ์ต่อสถาบันกษัตริย์
ในวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1832 นับเป็นการลุกฮือและใช้ความรุนแรงครั้งสุดท้ายที่เกี่ยวกับการปฏิวัติเดือนกรกฎาคม
(July Revolution) และจบลงด้วยการต่อสู้โดยใช้อาวุธในวันที่ 5-6
มิถุนายน ค.ศ. 1932
กบฏเดือนมิถุนายน
June Rebellion |
|||||||
|
|||||||
ฝ่ายเข้าร่วมสงคราม
Belligerents |
|||||||
ผู้คุมกองทัพและผู้นำ
Commanders and leaders |
|||||||
ความแข็งแกร่ง
Strength |
|||||||
30,000 คน
|
3,000 คน
|
||||||
ความสูญเสีย
Casualties and losses |
|||||||
ตาย 73 คน, บาดเจ็บ 344 คน
|
ตาย 93 คน, บาดเจ็บ 291 คน
|
พรรคฝ่ายนิยมกษัตริย์ในยุคนั้นเรียกว่า
Orléanists เป็นพรรคฝ่ายขวา และขวากลาง (Right-wing/center-right) ที่เกิดขึ้นหลักการปฏิวัติฝรั่งเศส
(French
Revolution) ในปี ค.ศ. 1789 ซึ่งมีการสังหารราชวงศ์ของพระเจ้าหลุยส์ที่
16 และตามมาด้วยความรุนแรงและสับสนในสังคมฝรั่งเศส
จึงได้เกิดการฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์อีกครั้ง โดยเรียกว่า July Monarchy ของกษัตริย์ Louis Philippe
ซึ่งมองว่าเป็นการเปลี่ยนผ่าน โดยฝ่ายชนชั้นกลางและกลุ่มอนุรักษ์เข้ามามีอำนาจ
ยึดแนวคิดที่เรียกว่า “ลัทธิออลินส์” (Orleanist Doctrine) ในทางเศรษฐกิจและนโยบายการต่างประเทศ
ผู้นำของฝ่ายนี้รวมถึงนายกรัฐมนตรี François Guizot
ซึ่งกลุ่มนี้ต้องลี้ภัยทางการเมือง หลังนโปเลียนที่สาม (Emperor Napoleon III) ได้ครองอำนาจ
และกลุ่มต้องสลายลงเมื่อเกิดยุคสาธารณรัฐที่สามในปี ค.ศ. 1870
No comments:
Post a Comment