Wednesday, January 16, 2013

เศรษฐกิจของประเทศปากีสถาน (Economy of Pakistan)

เศรษฐกิจของประเทศปากีสถาน (Economy of Pakistan)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat

ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: geography, ภูมิศาสตร์, economics, เศรษฐกิจ, politics, การเมือง, Pakistan, ปากีสถาน, Coup d'etat, รัฐประหาร, การทหาร, militarism, military

เศรษฐกิจของประเทศปากีสถาน
Economy of Pakistan

อันดับทางเศรษฐกิจ
Rank
27th (PPP)
47th (Nominal)
ค่าเงิน
Currency
Pakistani Rupee (PKR)
Rs.1 = 100 Paisas
ปีงบประมาณ
Fiscal year
July 1 – June 30
องค์กรการค้า
Trade organisations
ECOSAFTAASEANWIPO andWTO
สถิติ
Statistics
ขนาดของเศรษฐกิจ
GDP
$240 billion (nominal) (2012)[1]
$510 billion (PPP) (2011)
อัตราการเติบโต
GDP growth
3.7% (2012)[2]
รายได้ประชาชาติต่อหัว
GDP per capita
$1,378 (nominal; 2012) [3]
$2,800 (PPP; 2011)[4]
รายได้ประชาชาติ จำแนกตามกลุ่มเศรษฐกิจ
GDP by sector
การเกษตร (Agriculture: 21.2%, อุตสาหกรรม (Industry): 25.4%, บริการ (Services): 53.4% (2010 est.)
อัตราเงินเฟ้อ
Inflation (CPI)
16.17% (2009–2010)[5]
ประชากรมีรายได้ต่ำกว่าระดับความยากจน
Population
below poverty line
24% (2010)[6]
กำลังแรงงาน
Labour force
55.77 million (2010 est.)
แรงงานจำแนกตามกลุ่มเศรษฐกิจ
Labour force
by occupation
การเกษตร (Agriculture): 43%, อุตสาหกรรม (Industry): 20.3%, บริการ (Services): 36.6% (2005 est.)
อัตราการว่างงาน
Unemployment
6.2% (2011 est.)
อุตสาหกรรมหลัก
Main industries
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (Textiles and apparel), ผลิตภัณฑ์อาหาร (Food processing), ผลิตภัณฑ์ยา (Pharmaceuticals), การก่อสร้าง (Construction materials), ผลิตภัณฑ์กระดาษ (Paper products), ปุ๋ย (Fertilizer), กุ้ง (Shrimp)
อัตราความง่ายในการเข้าทำธุรกิจ
Ease of Doing Business Rank
107th (2013)[7]
ภายนอก
External
การส่งออก
Exports
$30.9 billion (2011 est.)[8][9]
สินค้าส่งออก
Export goods
สิ่งทอ (Textiles - garments, bed linen, cotton cloth, yarn), ข้าว (Rice, เครื่องหนัง (Leather goods, เครื่องกีฬา (Sports goods), เคมีภัณฑ์ (Chemicals, manufactures), พรม (Carpets and rugs)
คู่ค้าหลักในการส่งออก
Main export partners
สหรัฐอเมริกา (US) 15.8%, สหรัฐอาหรับอิมิเรต (UAE) 7.9%, จีน (China) 7.3%, สหราชอาณาจักร (UK) 4.3%, เยอรมนี (Germany) 4.2% (2010)
มูลค่าในการนำเข้า
Imports
$39.9 billion (2011 est.)
สินค้าในการนำเข้า
Import goods
ปิโตรเลียม (Petroleum), ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (Petroleum products), เครื่องจักร (Machinery), พลาสติก (Plastics), ยานพาหนะ (Transportation equipment), น้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร (Edible oils), กระดาษและกระดาษที่ใช้ทำกล่อง (Paper and paperboard), เหล็ก (Iron and steel), ใบชา (Tea)
ประเทศคู่ค้าในการนำเข้าสินค้า
Main import partners
จีน (China) 17.9%, ซาอุดิอาเรเบีย (Saudi Arabia) 10.7%, สหรัฐอาหรับอิมิเรต (UAE) 10.6%, คูเวต (Kuwait) 5.5%, สหรัฐอเมริกา (US) 4.9%, มาเลเซีย (Malaysia) 4.8% (2010)
การเงินภาครัฐ
Public finances
หนี้สาธารณะ
Public debt
60.1% of GDP (2011 est.)
รายได้การจัดเก็บ
Revenues
2.463 Trillion PKR ($26.7 billion) (2011 est.)
รายจ่ายภาครัฐ
Expenses
3.767 Trillion PKR ($39.9 billion)(2011 est.)
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
Credit rating
Standard & Poor's:[10]
B- (Domestic)
B- (Foreign)
B- (T&C Assessment)
Outlook: Stable[11]
Moody's:[11]
B3
Outlook: Stable
แหล่งข้อมูลจาก - Main data source: CIA World Fact Book - All values, unless otherwise stated, are in US dollars

เศรษฐกิจของประเทศปากีสถาน (Economy of Pakistan) มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่27 ของโลก (Nominal) และเป็นอันดับที่ 47 ของโลกคิดแบบตามอำนาจการซื้อ (Purchasing Power Parity - PPP)
เศรษฐกิจของประเทศเป็นแบบกึ่งอุตสาหกรรม (Semi-industrialized economy) ซึ่งประกอบด้วยอุตสาหกรรมสิ่งทอ (Textiles), เคมีภัณฑ์ (Chemicals), การผลิตอาหาร (Food processing),  การเกษตร (Agriculture) และอุตสาหกรรมอื่นๆ (Other industries)

เขตอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำอินดุส (Indus River) ซึ่งมีเขตเมืองใหญ่ของการาจี (Karachi) และปันจาบ (Punjab) และเขตอื่นๆที่พัฒนาน้อยกว่าของประเทศ เศรษฐกิจของประเทศในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจาก (Internal political disputes), การเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากร (Fast growing population), การที่ประเทศไม่มีแผนการเชิญชวนต่างชาติมาลงทุนที่ชัดเจน (Mixed levels of foreign investment), มีบรรยากาศความเสี่ยงในด้านการก่อการร้าย ทั้งจากพวกหัวรุนแรงทางศาสนา และอาชญากรรมทั่วไป และจากความขัดแย้งกับอินเดีย ประเทศใหญ่เพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในกรณีอนาคตของแคว้นแคชเมียร์

เพราะการติดอาวุธเพื่อการป้องกันตนเองจากประเทศที่ใหญ่กว่า มีอำนาจมากกว่า ทำให้ปากีสถานต้องมีการวิจัยและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมาเอง แต่อาวุธร้ายนี้ และการลงทุนไปกับกองทัพทั้งกองทัพบก เรือ หรืออากาศ ไม่ได้มีผลต่อการสร้างความกินดีอยู่ดีให้กับประชาชน แต่ตรงกันข้าม มันไปลดความสามารถด้านการผลิต ทำให้มีค่าใช้จ่ายด้านกองทัพเพิ่มมากขึ้น


ภาพ ขีปนาวุธยิงไกล เมื่อบวกกับหัวระเบิด ยิ่งสร้างความหวาดระแวงต่อกันกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินเดีย และนำไปสู่การยิ่งสร้างสมรรถนะด้านการรบ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อประเทศ


ภาพ กองกำลังของตาลีบัน (Pakistan Taliban) ได้รับการฝึกในบริเวณภาควาซิริสถานตอนใต้ (South Waziristan) ติดกับประเทศอัฟกานิสถาน

อัตราการแลกเปลี่ยนเงิน (Foreign exchange) หนุนอยู่ได้ด้วยการที่มีคนปากีสถานไปทำงานต่างประเทศ แล้วส่งเงินกลับ (Remittances) มาให้ครอบครัว แต่ก็ยังประสบปัญหาการขาดดุล (Current account deficit) อันเป็นผลจากช่องว่างทางเศรษฐกิจ เมื่อมีการนำสินค้าเข้าที่เติบโตมากกว่าการส่งสินค้าออก ที่ทำให้เงินสำรองภายในประเทศร่อยหรอลงไป ทำให้เศรษฐกิจอยู่ในระดับกลาง หรือต่ำเมื่อเทียบกับประเทศจีน หรืออินเดีย ซึ่งมีเสถียรภาพทางการเมืองมากกว่า

ข้อสังเกตอนาคตปากีสถาน


ภาพ เด็กหญิงในโรงเรียนเปิดใหม่ในชนบทของปากีสถาน กำลังรอรับชุดเครื่องแบบ และตำราเรียน การให้การศึกษาสำหรับเด็กหญิง นับเป็นผลกระทบต่อค่านิยมไม่ให้สตรีได้เรียนหนังสือ นับเป็นค่านิยมที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ

ปากีสถานมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นประเทศมีความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างงาน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนได้อย่างไม่ยาก หากสามารถตัดวงจรที่สร้างความชะงักงันในการพัฒนาประเทศ ทำให้ประเทศมีเวลาหยุดพักหายใจ ให้หายเหนื่อยจากความขัดแย้งนานาประการ ตัดลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ยกระดับการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ สร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ โดยให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย แต่ทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลา และทุกฝ่ายต้องมีความอดทน


ภาพ อุตสาหกรรมในปากีสถาน เพราะแรงงานที่มีจำนวนมาก และค่าแรงงานยังไม่สูง จึงยังมีอุตสาหกรรมสิ่งทอ และการผลิตเสื้อผ้าได้ต่อไปอีกนาน


ภาพ หากความขัดแย้งลดลงไป การรัฐบประหารไม่เป็นสิ่งจำเป็น งบประมาณการทหารก็ลดลงไป ทำให้สามารถนำมาใช้เพื่อการพัฒนาประเทศได้มากขึ้น

No comments:

Post a Comment