สุภาษิตอาหรับ - ระวังจมูกอูฐที่ยื่นเข้ามาในเต็นท์
The Camel's Head in the Tent
ภาพ เครื่องบินไร้คนขับที่สามารถยิงจรวดนำวิถีได้
(Predator drone firing missile)
ภาพ เครื่องบินไร้คนขับ (Boeing X-45 killer drone) ที่สามารถใช้ในการทิ้งระเบิดนำวิถีได้
แต่ก็ยังต้องอยู่ในวิสัยการบินจำกัด
มีสุภาษิตชาวอาหรับบทหนึ่งบอกว่า “ให้ระวังจมูกอูฐที่ยื่นเข้ามาในเต็นท์”
หรือบางที่จะมีเขียนว่า “หัวอูฐในเต็นท์”
ทั้งนี้ด้วยประสบการณ์ที่ว่า
เมื่อจมูกอันเป็นส่วนเล็กๆของอูฐที่ยื่นเข้ามาในเต็นท์ แล้วเจ้าของไม่ว่าอะไร
อูฐก็จะเริ่มเอาหัวเข้ามา แล้วในท้ายสุด ก็จะเอาทั้งตัวเข้ามาอยู่ในเต็นท์ คำสุภาษิตนี้เพื่อเตือนว่า
อะไรที่เป็นสิ่งไม่ควร แต่หากเราไม่ดูแล ปล่อยให้มันเกิดขึ้นด้วยความไม่ใส่ใจ
ไม่บังคับใช้อย่างจริงจัง ในที่สุดสิ่งที่ไม่อยากให้เกิด ก็จะเกิดขึ้น และขยายวงจนยากเกินกว่าที่จะย้อนกลับไปแก้ไข
ยกตัวอย่าง
ครั้งหนึ่งอเมริกาเป็นประเทศมหาอำนาจหลักของโลกเสรี ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
หลังปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา หลายประเทศในยุโรปต้องทยอยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคอมมิวนิสต์โซเวียตรัสเซีย
และในเอเซียประเทศจีนที่มีประชากรมหาศาลที่สุดในโลกได้กลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของเหมา
เจอตุง อเมริกาจึงหวาดหวั่นต่อการรุกคืบของคอมมิวนิสต์ที่จะมีไปทั่วโลก ทั้งตะวันตกและตะวันออก
ครั้นเมื่อเกิดสงครามในเวียดนาม
ครั้งแรกที่ดูประเทศจะเพรี่ยงพร้ำให้กับคอมมิวนิสต์เวียดนามภายใต้การนำของโฮจิมิน
อเมริกาได้ตัดสินใจส่งที่ปรึกษาด้านการทหารมายังเวียดนาม มาฝึกอาวุธ
แต่ยังไม่ใช่เป็นหน่วยรบที่เข้ามาปะทะโดยตรง
แต่ปรากฏว่าสถานการณ์กลับเลวร้ายยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
อเมริกาจึงต้องส่งกองทหารเข้าสู่สมรภูมิรบกับเวียดกงฝ่ายคอมมิวนิสต์โดยตรง
และส่งกำลังทหารเพิ่มมากขึ้นจนถึงระดับสูงสุด 300,000 นาย
ปัญหาที่ตามมาคือ การส่งทหารมาแล้ว และสถานการณ์ไม่ดีขึ้น จะถอนทหารออกไป
ก็เสียความรับผิดชอบ และไม่ต่างอะไรจากการแพ้สงคราม แต่ครั้นจะขยายแนวรบออกไปอีก
ก็จะมีปัญหาด้านการยอมรับจากคนในประเทศและประชาคมโลก และที่สำคัญก็คือทำให้เศรษฐกิจประเทศที่ต้องใช้ทรัพยากรไปกับสงครามที่ไม่มีอะไรที่เป็นประโยชน์เกิดขึ้น
มีแต่สูญเสีย ทำให้อยู่ในสภาพกลืนไม่เข้า คายไม่ออก
ย้อนกลับมาในประเทศไทยปัจจุบัน
หลังอเมริกาได้ถอนออกจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไม่ใยดีเป็นเวลายาวนาน เขาเริ่มกลับมาคิดใหม่ว่า
อเมริกาไม่ควรเสียโอกาสทางเศรษฐกิจในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นจีนหรือเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
จุดแรกที่อเมริกาต้องการ คือการมีฐานทัพ หรือไม่ก็ระดับฐานปฏิบัติการพลเรือน
ในประเทศไทยก็มีสนามบินอู่ตะเภา และที่ประเทศฟิลิปปินส์ ก็มีฐานทัพอากาศ Clark
เมื่อเริ่มต้นก็บอกว่าจะเป็นการใช้เพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ การศึกษาและพัฒนาระบบการป้องกันสาธารณภัย
และเป็นไปเพื่อสันติ แต่ต่อไป
ใครจะรู้ว่ามันจะกลายเป็นรื้อฟื้นความเป็นฐานทัพอากาศของอเมริกันใหม่หรือไม่
และไทยจะได้หรือเสียอะไรบ้าง โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับประเทศจีน
ทางที่ดี ไทยควรมีความร่วมมือกับสหรัฐแบบเฉพาะกิจและเป็นครั้งคราว
เมื่อเห็นควรในโครงการใดก็ให้คำอนุญาต และอนุญาตแบบมีระยะเวลา เมื่อหมดภารกิจในช่วงสั้นๆแล้ว
ก็ให้ถอนกิจกรรมออกไป ที่สำคัญฝ่ายไทยเองต้องระวังโอกาสที่จะใช้ฐานปฏิบัติการเพื่อการสืบราชการลับ
และการมีฐานปฏิบัติการในแบบที่สามารถใช้ประโยชน์ในการทำสงครามด้วยยานบินที่ไร้คนขับ
หรือ Drone War นั้น
เพียงได้ยินว่าอเมริกันมามีฐานปฏิบัติการในไทย ประเทศอย่างจีน และอินเดีย
ก็สะดุ้งแล้ว แล้วไทยเราจะยืนอยู่ตรงไหน
แล้วไทยจะต้องยอมตัวเองให้เป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของมิตรประเทศเพื่อนบ้านไปเพื่ออะไร?
No comments:
Post a Comment