ตำนานรถยนต์โฟล์คสวาเกน หรือรถโฟล์คเต่า
Keywords: ยานยนต์, vehicle, automobile,
VW, Volkswagen, Design, การออกแบบ, Volkswagen
Type 1
ภาพ รถ VW รุ่นปี ค.ศ. 1949 หลังใช้เวลาพัฒนาต้นแบบ และใช้ทดสอบในสนามจริงในช่วงสงคราม รถในรุ่นหลังๆ มีรูปลักษณ์ที่เปลี่ยนไปบ้าง แต่โดยโครงสร้างยังเป็นในแนวเหมือนตัวเต่า หรือแมลงเต่าทอง
รถยนต์โฟล์คสวาเกน ผลิตโดยบริษัทโฟล์คสวาเกน (Volkswagen)
ของเยอรมัน หรือมีชื่อเรียกอย่างอื่น เช่น Beetle, Super
Beetle, หรือ Käfer หรือมีชื่อเล่นว่า
"เต่า" หรือ "เต่าทอง" (Bug) เริ่มผลิตด้วยระบบสายพานตั้งแต่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
1938–2003 รวมผลิตได้รวม 21,529,464 คน
จำนวน 15,444,858 คัน ผลิตในเยอรมัน อีก 3,350,000 คันผลิตในบราซิล นับเป็นรถยนต์ที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านการออกแบบ
และความยอมรับในตลาด ด้วยราคาที่ประหยัด ด้วยแรงงานของเยอรมันในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ที่ทั้งมีคุณภาพ ประณีต ทำให้รถมีราคาไม่สูง สามารถส่งไปขายได้ทั่วโลก
ในระดับที่ต้องเรียกว่ารถมหาชน
มีฐานการผลิตกระจายไปใน Wolfsburg,
Hanover, Emden, Ingolstadt, Osnabrück ประเทศเยอรมนี (Germany)และที่ Melbourne ในประเทศออสเตรเลีย (Australia)
Brussels ประเทศเบลเยี่ยม (Belgium) São Bernardo do Campo ในประเทศบราซิล (Brazil) ที่ Jakarta ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia), Dublin ประเทศไอร์แลนด์
(Ireland), Puebla, ประเทศเมกซิโก (Mexico), Auckland
ประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand), Lagos ประเทศนิวซีแลนด์
(Nigeria), Manila ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines),
Uitenhage ประเทศอัฟริกาใต้ (South Africa), Sarajevo ประเทศบอสเนีย และเฮอร์เซโกวีน่า (Bosnia and Herzegovina), ประเทศยูโกซลาเวีย (Yugoslavia), และ Valencia
ประเทศเวเนซูเอลา (Venezuela)
ในช่วงเริ่มต้น รถ VW นี้ใช้เครื่องขนาด
1.1 L แล้วในช่วงเวลาที่ถนนหนทางหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
จึงใช้เครื่องขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้มีพลังมากขึ้น ตามระยะเวลา จนถึงขนาด 1.6
L โดยใช้เครื่องแบบ 4 สูบ ใช้เกียร์ 4 ระดับ วางเครื่องส่วนหลัง ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยลมแทนที่จะเป็นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำเหมือนรถอื่นๆ
ตัวถังในแบบแมลงเต่าทอง มีลักษณะลู่ลม น้ำหนักตัวรถเบา ไม่มีระบบหม้อน้ำระบายความร้อน
ไม่มีความซับซ้อน โดยเฉพาะเมื่อใช้ในเขตหนาว
ไม่มีปัญหาน้ำแข็งตัวในหม้อน้ำและเครื่องยนต์
รถโฟล์คเต่านี้
จึงเป็นรถที่มีการผลิตอย่างต่อเนื่องยาวนานที่สุด ถึง 65 ปี
No comments:
Post a Comment