สุภาษิตเยอรมัน – ระวังปีศาจในรายละเอียดนั้น
Keywords: Germany proverb, สุภาษิตเยอรมัน,
การบริหาร, laws, กฎหมาย, contract, สัญญา, MOU, ข้อตกลงร่วมกัน
ภาพ ของบางอย่าง มีคนอยากให้เราบริโภค โดยไม่ได้บอกรายละเอียดว่ามีอันตรายหรือข้อเสียอย่างไร แต่ด้วยคนที่หวังดีต่อเรานั้น ต้องช่วยกันมองทั้งข้อดีข้อเสีย ให้ตระหนักเสียก่อนที่จะตกลงทำอะไรไปบางอย่าง
มีสุภาษิตเยอรมันบทหนึ่งกล่าวว่า “Der
Teufel steckt im Detail.” ซึ่งใกล้เคียงกับคำในภาษาอังกฤษว่า
“The devil is in the details.” แปลเป็นไทยว่า “ปีศาจอยู่ในรายละเอียดนั้น”
คำสุภาษิตนี้เพื่อเตือนใจในผู้คน จะทำอะไร
มีสัญญาอะไรเป็นรายลักษณ์อักษร ให้ต้องมีการไตร่ตรองระมัดระวังก่อนที่จะลงนามในเอกสารสัญญานั้นๆ
ต้องถือเป็นข้อปฏิบัติว่า ให้ได้อ่านและทำความเข้าใจในรายละเอียดทุกแง่มุมก่อน
ในการทำธุรกิจการค้ากับใครก็ตาม มักจะต้องมีสัญญา เช่นการซื้อขายที่ดิน
การว่าจ้างรับเหมาก่อสร้าง การจ้างคน จ้างที่ปรึกษา สัญญาจะซื้อจะจ้าง เหล่านี้ล้วนต้องมีสัญญากำกับข้อตกลงที่ได้พูดคุยกันมาก่อน
การจะมีสัญญาที่เป็นข้อตกลงรวมกัน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Contract ในความหมายที่หลวมลงมาหน่อย แต่เจตนาที่จะใช้ครอบคลุมความร่วมมือที่กว้างขวาง
ในภาษาไทยเราเรียกว่า ข้อตกลงความร่วมมือ” หรือ Memorandum of
Understanding (MOU)
สัญญาเหล่านี้ ฝ่ายใดที่เป็นคนริเริ่มทำ
ก็จะเป็นฝ่ายได้กำหนดรายละเอียดอย่างที่ตนต้องการมาก่อน แต่บางที่ทำงานกับองค์การขนาดใหญ่
เช่นธนาคาร หน่วยราชการขนาดใหญ่ เขามีแบบฟอร์มสัญญาจ้าง หรือความร่วมมือของเขาอยู่แล้ว
แต่เมื่อมีสัญญาหรือข้อตกลงความร่วมมือออกมา ทางฝ่ายเราก็ควรมีคนรู้กฎหมาย ซึ่งบางที่เป็นคนที่มีความรู้ด้านกฎหมายจากในหน่วยงาน
เรียกว่า “นิติกร” แต่บางทีจำเป็นต้องจ้างคนมีความสามารถด้านการเงินและกฎหมายจากภายนอกมาช่วยดู
ก็ต้องทำ เพราะเราจะไม่รู้กฎหมายดีพอ ยิ่งเป็นการทำความร่วมมือกับองค์กรข้ามประเทศ
ก็ต้องยิ่งละเอียดดูในหลายๆแง่มุม
สัญญาที่ประชาชนทั่วไปมักเสียเปรียบอยู่ตลอดเวลา
เช่น สัญญาประกันภัย ประกันสุขภาพ มีรายละเอียดหลายๆหน้า
และเป็นแบบตัวอักษรเล็กๆที่บางที่เราจะไม่ได้มีเวลาอ่านก่อนลงนาม
เรื่องนี้ก็ต้องให้ระวัง ต้องขอเวลาศึกษาให้ละเอียดเสียก่อน ขอเวลาเขาสักระยะหนึ่ง
แล้วกลับไปอ่านในรายละเอียด อ่านไม่เข้าใจ ก็ต้องถามจากผู้รู้ เพราะสัญญาใดๆ สิ่งที่เราได้ลงนามไปแล้ว
โอกาสที่เราจะปฏิเสธไม่รับรู้ในสัญญานั้นๆ จะฟังไม่ขึ้น
เมื่อต้องเป็นความขึ้นโรงขึ้นศาล
No comments:
Post a Comment