สุภาษิตเยอรมัน - อย่ามองเห็นต้นไม้ โดยไม่เห็นป่า
Keywords: การเมือง, การปกครอง, Holistic
view, vision, วิสัยทัศน์, health, medicine, สุขภาพ, การแพทย์
มีสุภาษิตเยอรมันบทหนึ่งกล่าวว่า “Den Wald
vor lauter Bäumen nicht sehen.” ซึ่งใกล้เคียงกับสุภาษิตในภาษาอังกฤษว่า
“To not see the forest for the trees.” แปลเป็นไทยได้ความว่า
“อย่ามองเห็นต้นไม้ โดยไม่เห็นป่า”
ในภาษาไทยในวงการบริหาร จะมีคำคมหนึ่งว่า “จงเป็นนก
อย่าเป็นหนอน” กล่าวคือ คนบางคนเป็นคนละเอียดในการพินิจพิเคราะห์
แต่เป็นประเภทสนใจในรายละเอียด แต่กลับมองไม่เห็นส่วนที่เป็นหลักการใหญ่
หรือสาระสำคัญ ทำให้เป็นคนที่
ยกตัวอย่าง ในวงการแพทย์ แพทย์แต่ละคนจะเป็นพวกที่รักษาคนเจ็บป่วยปลายทาง
และรักษาเป็นคนๆไป แต่มีบางโรคที่รักษาเท่าไร ก็กลับมีคนไข้มาหามากยิ่งขึ้น
เพราะเป็นการรักษาตามอาการ และรักษาที่ปลายเหตุ ดังคนเป็นโรคอ้วน รักษาแบบตามอาการ
ก็ใช้ยาไปลดความอ้วน หายานานาประการที่ทำให้คนลดการบริโภคอาหาร เพิ่มการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย
คนอ้วนนั้นก็จะลดน้ำหนักได้จริงสัก 5-10 กิโลกรัม แต่แล้วก็จะกลับยิ่งหิว
แล้วเมื่อเลิกใช้ยาก็กลับมาบริโภคใหม่ หนักยิ่งกว่าเดิม ส่วนยาลดความอ้วนนั้น
หลายตัวเป็นพวกไปควบคุมกดระบบประสาท บางชนิดมีลักษณะกระตุ้นการใช้พลังงาน
เหมือนเป็นพวกยาบ้า กินแล้วรู้สึกระปี้กระเปร่าเป็นช่วงหนึ่ง แล้วก็ทำให้เป็นโรคติดยา
เกิดอาการประสาทหลอน เป็นปัญหาหนักหนาไปยิ่งกว่าเดิม
ความจริงโรคอ้วน (Obesity) เป็นโรคที่หากมองภาพใหญ่
มีผลมาจากสภาพสังคมและวัฒนธรรมของชีวิตผู้คนที่เปลี่ยนไป คนใช้ชีวิตในแบบดั่งเดิม
เช่นชาวนา กรรมการแบกหาม จะไม่มีคนเป็นโรคอ้วนมากนัก
ในสังคมยุคใหม่ ดังในอเมริกาและยุโรปหลายประเทศ คนรุ่นใหม่กินอาหารที่สมบูรณ์มากขึ้น
กินผักและอาหารเยื่อใยน้อยลง ออกกำลังกายน้อยลง งานที่เคยใช้คนทำ
กลายเป็นมีหุ่นยนต์เข้ามาแทนที่ในระบบโรงงาน งานโรงงานและการเกษตรลดลง
กลายเป็นงานบริการ (Service Sector) นั่งทำงานในสำนักงาน
ในแต่ละโรงเรียน ครูอาจารย์ใส่ใจต่อเรื่องของสุขภาพน้อยลง ไม่ได้จริงจังในวิชาพลศึกษา
ลูกเสือ เนตรนารี โภชนศึกษา กิจกรรมค่ายพักแรม
ขาดความใส่ใจในมาตรการควบคุมดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องน้ำหนักตัวของเด็กๆ
และเมื่อมองภาพใหญ่ (Holistic view) หากเราเห็นต้นเหตุของปัญหาในระดับสังคมใหญ่ เรื่องโภชนาการ เราก็ไปส่งเสริมาตรการผลิตและประกอบอาหารสุขภาพ
หากมีปัญหาการออกกำลังกาย เราก็ไปส่งเสริมมาตรการที่ทำให้คนได้ออกกำลังกายโดยไม่รู้ตัว
คนทำงานสำนักงาน ก็ให้ได้เดินวันไปทำงานและระหว่างทำงานบ้าง สักวันละ 2-3 กิโลเมตร ซึ่งทำได้ โดยการออกแบบเมืองใหม่ สร้างทางเดินในเมือง (Promenade)
เสริมทางรถจักรยาน (Bike Routes) สวนสาธารณะ (Parks)
ในโรงเรียนก็จริงจังในกิจกรรมพลศึกษาที่ออกกำลังกาย
การมีมาตรฐานความสามารถด้านร่างกาย ใครมีปัญหาบกพร่อง ก็มีการพลศึกษาแบบปรับแก้ (Remedial
Education)
ในด้านสุขภาพ หากเราเน้นที่มาตรการรักษา (Curative
Measure) โดยไม่เน้นมาตรการป้องกัน (Preventive Measure) และส่งเสริมสุขภาพ เราจะต้องใช้เงินทองมากมายที่ไม่เป็นประโยชน์ สหรัฐอเมริกามีประชากรในกลุ่มอ้วนเกินถึงร้อยละ
30 ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน
มีความเสี่ยงต่อโรคอื่นๆที่ตามมา เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต ฯลฯ
โรคเหล่านี้ล้วนมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ทำให้คนเข้าๆออกๆโรงพยาบาล
นำความยากลำบากมาสู่ชีวิตและครอบครัว โดยไม่จำเป็น
สุขภาพอนามัยของประชากรเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง
แต่ในสังคมโลกเรา มีหลายอย่างที่มีลักษณะของการมองป่าแล้วเห็นเพียงต้นไม่เป็นต้นๆ
โดยไม่สามารถเชื่อมโยงสู่สภาพความเป็นจริงในสังคมนั้นๆได้ การแก้ปัญหา หรือการแสวงหาโอกาสใหม่ๆจึงไม่เกิด
เพราะการมองไม่เห็นภาพรวม ไม่มีวิสัยทัศน์ (Vision)
No comments:
Post a Comment