Sunday, August 19, 2012

สุภาษิตเยอรมัน - ต้นไม้แก่มักให้ผลที่หวานที่สุด


สุภาษิตเยอรมัน - ต้นไม้แก่มักให้ผลที่หวานที่สุด

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: Management, leadership, experiences, rocket technology, von Braun

สุภาษิตเยอรมันบทหนึ่งกล่าวว่า “The oldest trees often bear the sweetest fruit.” ซึ่งแปลเป็นไทยได้ความว่า “ต้นไม้แก่มักให้ผลที่หวานที่สุด

การมอบหมายให้งานแก่คนที่มีประสบการณ์ แม้จะช้าไปบ้าง ไม่ได้รวดเร็วทันใจ แต่จะได้ผลงานที่ดี
การสร้างทีมงานที่จะพัฒนางานใหม่ๆ แม้จะต้องอาศัยแรงผลักดันและความรู้ความสามารถใหม่ๆจากคนหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่ที่มีความคิดรวดเร็วที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง แต่จะเป็นประโยชน์มากขึ้น รอบคอบขึ้น หากให้มีผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีสายตากว้างไกล มาเป็นผู้ให้ข้อท้วงติง เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการมองงานอย่างรอบด้าน

ภาพ ฟอน บราวน์ (von Braun) นักวิทยาศาสตร์ด้านจรวดของเยอรมัน ซึ่งได้มาทำงานบุกเบิกจรวดและกิจการอวกาศให้อเมริกัน

ดูตัวอย่างการบุกเบิกงานด้านอวกาศของสหรัฐอเมริกา ฝ่ายสหรัฐเลือกใช้นักวิทยาศาสตร์ด้านจรวดจากเยอรมัน คือ ฟอน บราวน์ (Freiherr von Braun) ผู้เคยรับใช้เยอรมันภายใต้นาซีมาก่อน

ฟอน บราวน์ มีชื่อเต็มว่า Wernher Magnus Maximilian, Freiherr von Braun เกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1902 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1977 เขาเป็นชาวเยอรมันโดยกำเนิด เป็นนักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญเรื่องจรวด (Rocket scientist), เป็นวิศวกรยานอวกาศ (Aerospace engineer), เป็นสถาปนิกออกแบบด้านยานอวกาศ (Space architect) เขาเป็นผู้มีบทบาทในการพัฒนาวิทยาการด้านจรวดมาตั้งแต่สมัยเยอรมันภายใต้นาซี (Nazi Germany) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และเมื่อชนะสงคราม อเมริกันก็ได้นำเขาเข้ามาร่วมงานวิทยาศาสตร์ด้านจรวดต่อในสหรัฐอเมริกา

ในช่วงวัย 20-30 ปีต้นๆ ฟอน บราวน์เป็นคนสำคัญในโปรแกรมพัฒนาจรวดของเยอรมันแล้ว เขารับผิดชอบในการออกแบบจรวด V-2 ที่ใช้ในการรบในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ภายหลังสงคราม อเมริกันเล็งเห็นความสามารถของเขา จึงได้เลือกเขาและทีมงานให้เข้ามาทำงานในสหรัฐอเมริกา โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการลับ ชื่อ Operation Paperclip โดยกองทัพบกต้องการสร้างจรวดวิถีระยะกลาง (Intermediate range ballistic missile - IRBM) ซึ่งหวังจะใช้ประโยชน์ในสงครามยุคต่อไป ต่อมาเมื่อมีโครงการอวกาศของสหรัฐที่เรียกว่า NASA ฟอน บราวน์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโครงการการบินอวกาศที่มีชื่อเรียกในขณะนั้นว่า Marshall Space Flight Center โดยหน่วยงานมีหน้าที่ประดิษฐ์จรวดขับเคลื่อน Saturn V ทำหน้าที่เป็นตัว Superbooster มีพลังส่งยานอวกาศ Apollo spacecraft ไปยังดวงจันทร์


ภาพ วอลซ์ ดิสนีย์ (คนซ้าย) กำลังอยูีในการทำสารคดี แนะนำการเดินทางในอวกาศในอนาคต

ตามคำบอกเล่าจากภายใน NASA เขาคือนักวิทยาศาสตร์ด้านจรวดที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ด้วยความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของเขา ทำให้สหรัฐสามารถพัฒนา Saturn V เป็นตัวจรวดขับเคลื่อน นำยานอวกาศและมนุษย์อวกาศของอเมริกันไปยังดวงจันทร์ได้ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1969 ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้น อเมริกันมีวิทยาการด้านอวกาศที่ยังตามหลังสหภาพโซเวียตอยู่มาก ในปี ค.ศ. 1975 เขาได้รับเหรียญเชิดชูพิเศษ National Medal of Science จากรัฐบาลสหรัฐ

No comments:

Post a Comment