จอห์น แนช ชายผู้นี้คืออัจฉริยะ (Genius)
Keywords: อัตตชีวประวัติ, การบริหาร,
การจัดการ, ความเป็นผู้นำ, การอุดมศึกษา
ศึกษาและเรียบเรียงจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทั้งภาคไทยและอังกฤษ
ภาพจอห์น แนช (John Forbes Nash, Jr.) ถ่ายในปี ค.ศ. 2010
จอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์ (อังกฤษ: John Forbes
Nash, Jr.) เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1928 เป็นนักคณิตศาสตร์ (Mathematician) ชาวอเมริกัน มีความเชี่ยวชาญเรื่องทฤษฎีเกม (Game theory), เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์
(Differential
geometry) และสมการเชิงอนุพันธ์แบบแบ่งส่วน (Partial
differential equations)
ดำรงตำแหน่งนักวิจัยอาวุโสสาขาคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton
University) ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ (Nobel
Memorial Prize in Economic Sciences) ประจำปีพ.ศ. 2537 จากผลงานเรื่องทฤษฎีเกมร่วมกับ Reinhard Selten และ John Harsanyi
ชีวประวัติของแนชได้มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ที่โด่งดังในวงการฮอลลีวูด ชื่อ ผู้ชายหลายมิติ
ซึ่งมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า A Beautiful Mind.ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ได้ถึง 8 รายการ
เนื้อหาในภาพยนตร์จะเกี่ยวกับนักคณิตศาสตร์ผู้ปราชญ์เปรื่องคนหนึ่งที่มีชื่อเดียวกับเขา
และต้องต่อสู้กับโรคประสาทหลอน (Paranoid schizophrenia)เช่นเดียวกัน
วัยเด็กและการศึกษา
แนชเกิดและเติบโตขึ้นในรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย
(West Virginia) บิดาของเขาคือ จอห์น ฟอบส์ แนช
เป็นวิศวกรไฟฟ้าและมารดาของเขาคือ มากาเรต เวอร์จิเนีย มาร์ติน
เป็นครูสอนวิชาภาษาอังกฤษและภาษาละติน ต่อมา เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930 มารดาของเขาก็ได้ให้กำเนิดน้องสาว
คือ มาร์ธา แนช
เมื่อแนชอายุได้ 12 ปี
เขาก็เริ่มทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ภายในห้องนอนของเขา
แนชเป็นคนที่ค่อนข้างเก็บตัวเงียบและไม่อยากจะทำงานร่วมกับผู้อื่น
เขาชอบทำงานตัวคนเดียวมากกว่า เขาปฏิเสธการอยู่ห้องร่วมกับคนอื่น แนชปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมชั้นไม่ได้เพราะเพื่อนๆมักจะแกล้งเขาเสมอและเขามักจะนึกว่าตัวเองฉลาดกว่าคนอื่น
เขาเชื่อว่าการเต้นรำและการเล่นกีฬาเป็นสิ่งที่ทำให้เขาไม่มีสมาธิกับการทดลองและการเรียนของเขา
มาร์ธา น้องสาวของจอห์น
แนชดูเป็นคนปกติมากกว่าจอห์น และจอห์นก็ดูผิดปกติไปจากเด็กคนอื่นๆ มาร์ธาเล่าว่า
"จอห์นนี่เป็นคนที่ผิดปกติจากคนอื่น พ่อแม่ก็รู้ว่าเขาผิดปกติ
แต่พวกเขาก็รู้ว่าจอห์นนี่ฉลาด เขามักจะทำอะไรด้วยวิธีของตัวเอง
แม่บอกว่าการที่ฉันเป็นเพื่อนเล่นให้กับเขาคือสิ่งที่ฉันทำได้เพื่อเขา แต่ฉันก็ไม่ค่อยสนใจหรอกว่าพี่ชายฉันเป็นคนค่อนข้างแปลก"[1]
แนชเขียนไว้ในหนังสือชีวประวัติของเขาบอกว่า
หนังสือเรื่อง Men of Mathematics แต่งโดย E.T. Bell
(จริงๆ คือ เป็นเรียงความที่อยู่ใน Fermat) เป็นหนังสือที่ทำให้เขาหันมาสนใจด้านคณิตศาสตร์
แนชเข้าไปเรียนที่วิทยาลัยบลูฟิลด์ตั้งแต่ตอนที่ยังเรียนไฮสกูลอยู่
ต่อมาก็ได้ศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยที่สถาบันเทคโนโลยีคาร์เนกี
(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน) ในเมืองพิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย โดยได้รับทุนการศึกษาเวสติงเฮาส์ ตอนแรก แนชสนใจศึกษาวิชาวิศวกรรมเคมี
ต่อมาก็มาศึกษาด้านเคมี ก่อนจะหันมาเปลี่ยนเป็นคณิตศาสตร์ในที่สุด
เขาสำเร็จการศึกษาโดยได้รับทั้งปริญญาตรีและปริญญาโทในปี ค.ศ. 1948 ที่สถาบันคาร์เนกีนั่นเอง
หลังจากจบการศึกษาแล้ว
แนชทำงานในช่วงหน้าร้อนที่เมืองไวท์โอค รัฐแมริแลนด์ โดยเป็นทำวิจัยเกี่ยวกับทหารเรือภายใต้การควบคุมของนักคณิตศาสตร์ชื่อ Clifford
Truesdell
หลังจบการศึกษา
ภาพ John Nash เมื่อรับปริญญา
ในปี 1948
ช่วงที่แนชกำลังสมัครงานที่ภาควิชาคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปรินซ์ตันอยู่นั้น
ศาสตราจารย์ R.J. Duffin ที่ปรึกษาของแนชและอดีตศาสตราจารย์แห่งสถาบันเทคโนโลยีคาร์เนกีได้เขียนจดหมายแนะนำตัวให้กับแนชโดยมีใจความสั้นๆคือ
"เด็กหนุ่มนี้เป็นอัจฉริยะ แต่ว่ากลายเป็นมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ตอบรับการสมัครงานของแนชก่อน ซึ่งที่จริงแล้ว
ฮาร์วาร์ดเป็นเป้าหมายอันดับหนึ่งของเขาเพราะเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงมายาวนาน และมีคณะคณิตศาสตร์ที่โด่งดัง
แต่ Solomon Lefschetz หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปรินซ์ตันและจอห์น
เอส. เคเนดี แนะนำเขาว่าฮาร์วาร์ดคงจะไม่เห็นค่าของเขาเท่าที่มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน
จนในที่สุด แนชจึงได้ตัดสินใจย้ายจากไวท์โอคมาทำงานที่มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน
และทำงานอยู่ที่นั่นจนเกิดทฤษฎีดุลยภาพของเขา (ทฤษฎีดุลยภาพของแนช)
แนชได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตในปี 1950
จากวิทยานิพนธ์เรื่องทฤษฏีเกมแบบไม่มีความร่วมมือกัน โดยมี Albert W.
Tucker เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์นี้ส่วนหนึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับนิยามและคุณสมบัติของสิ่งที่ต่อมาเรียกว่า
"ดุลยภาพของแนช" (Nash equilibrium) ซึ่งเกี่ยวกับ 3 ประเด็นหลักดังนี้
"Equilibrium
Points in N-person Games", Proceedings of the National
Academy of Sciences 36 (1950), 48-49. [1]
นอกจากนั้น
แนชยังได้มีผลงานสำคัญๆเกี่ยวกับเรขาคณิตเชิงพีชคณิตอีกด้วย คือ:
"Real algebraic
manifolds", Annals of Mathematics 56 (1952),
405-421. [4] See
also Proc. Internat. Congr. Math. (AMS, 1952, pp 516-517)
ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาในสาขาของคณิตศาสตร์บริสุทธิ์
คือ Nash embedding theorem
ด้านชีวิตส่วนตัว
ภาพ John Nash เมื่อแต่งงานกับ Alicia Lopez-Harrison de Lardé
ในปี ค.ศ. 1951 แนชได้ทำงานที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสสาชูเสท
(Massachusetts
Institute of Technology) ในฐานะผู้บรรยายทางด้านคณิตศาสตร์
และที่นั่น เขาได้พบกับ Alicia Lopez-Harrison de Lardé
ผู้ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1933 de Lardé เป็นนักศึกษาด้านฟิสิกส์จากประเทศเอล ซัลวาดอร์ (El Salvador) ทั้งสองได้แต่งงานกันในเดือนกุมภาพันธ์
ค.ศ. 1957 และเพราะแนชได้ป่วยลงด้วยโรคประสาทหลอน (schizophrenia)
ทำให้เธอต้องส่งเขาเข้าโรงพยาบาลประสาทในปี ค.ศ. 1959 ทั้งสองมีบุตรด้วยกันชื่อ
John Charles Martin Nash ซึ่งในช่วงที่เกิดมาไม่มีชื่อเสีย 1
ปี เพราะ De Lardé เห็นว่าควรรอให้สามีบอกมาก่อนว่าเด็กควรจะมีชื่อว่าอะไร
ในปี ค.ศ. 1963 แนชและ De
Lardé ได้หย่าขาดกัน แต่เมื่อโรงพยาบาลได้ปล่อยแนชออกมานั้น
แนชก็ยังอาศัยอยู่บ้านของ De Lardé ทั้งสองได้กลับมาแต่งงานกันใหม่อีกครั้งหนึ่งในปี
ค.ศ. 2001
No comments:
Post a Comment