Keywords: Restaurant, food, fast food, franchise, ภัตตาคาร, ร้านอาหาร, อาหารจานด่วน, KFC, Kentucky Fried Chicken, ผู้พันแซนเดอร์, Colonel Sanders
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia
ภาพ Harland David Sanders เมื่อวัย 80 ปี ความสำเร็จเริ่มต้นเมื่อวัย 65 ปี
ผู้พันแซนเดอร์
Colonel Sanders |
|
เกิด
Born |
|
เสียชีวิต
Died |
|
สาเหตุของการเสียชีวิต
Cause of death |
|
เชื้อชาติ
Nationality |
|
การศึกษา
Education |
|
การอาชีพ
Occupation |
|
คณะกรรมการ
Board member of |
Kentucky Fried Chicken(founder)
|
ศาสนา
Religion |
|
Spouse
|
Josephine King (divorced)
Claudia Price |
บุตรธิดา
Children |
Harland David Sanders, Jr.
Margaret Sanders Mildred Sanders Ruggles |
พ่อแม่
Parents |
พ่อ - Wilbur David Sanders
แม่ - Margaret Ann Sanders (née Dunlevy) |
ผู้พัน ฮาร์แลนด์
เดวิด แซนเดอร์ส ("Colonel"
Harland David Sanders) เกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1890 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1980
เป็นนักการภัตตาคารชาวอเมริกัน (American restaurateur) ผู้ก่อตั้ง “ไก่ทอดเคนตั๊กกี้” หรือ Kentucky Fried Chicken (KFC)
อันเป็นเครือข่ายร้านอาหารจานด่วนที่มีชื่อเสียงของอเมริกัน
เป็นร้านที่มีเครือข่าย 17,000 แห่งทั่วโลก
นับเป็นเครือข่ายร้านอาหารที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจากแมคโดนัลด์
ผู้พันแซนเดอร์ส มีรูปแบบการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของเขาอย่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
เป็นผู้ทุ่มเทให้กับการบริการอาหารจานด่วน (Fast Food) ภาพของเขาติดอยู่ในทุกกล่องบรรจุอาหารจนทุกวันนี้
โดยรูปหน้าของเขา ยังเป็นสัญลักษณ์ของบริษัท KFC จนในปัจจุบัน
มีคนสงสัยว่า นายฮาร์แลนด์ เดวิด แซนเดอร์ส (Harland
David Sanders) ไม่ได้รับราชการทหารนานพอที่จะเป็นนายพัน
แล้วเขาถูกเรียกว่า “ผู้พันแซนเดอร์ส” (Colonel Sanders) ได้อย่างไร
Colonel
แปลได้ว่า พันเอก, ผู้พัน, นายพัน, หรือ พ.อ. Colonel เป็นตำแหน่งยศของกองทัพบกที่คนทั่วไปรับรู้กัน
คำตอบคือ
แซนเดอร์สได้รับตำแหน่ง “ผู้พันแซนเดอร์ส” จริง และเขามีสิทธิเรียกตัวเอง
หรือคนอื่นเรียกเขาว่า “ผู้พัน” (Colonel) ได้อย่างถูกต้องในรัฐเคนตั๊กกี้
Kentucky colonel เป็นตำแหน่งเกียรติยศสูงสุด (Title of honor) ที่
“จักรภพเคนตักกี้” (Commonwealth
of Kentucky)
ซึ่งเป็นชื่อรัฐเคนตั๊กกี้ในช่วงเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ผู้ว่าการรัฐ (Governor) และรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ (Secretary
of State)
มอบให้แก่บุคคลเพื่อแสดงความให้เกียรติที่ได้ประสบความสำเร็จ
และมีผลงานให้บริการชุมชน รัฐ หรือประเทศชาติ โดยผู้ว่าการรัฐ (Governor of
the Commonwealth of Kentucky) จะเป็นผู้ให้ตำแหน่ง
“ผู้พัน” โดยมอบจดหมายสิทธิบัตร (letters patent) ให้
นายแซนเดอร์สได้รับเกียรติตำแหน่ง
ผู้พันแห่งเคนตั๊กกี้ (Kentucky Colonel) ในปี ค.ศ. 1935 โดยผู้มอบให้คือผู้ว่าการรัฐ
รูบี้ แรฟฟูน (Governor Ruby Laffoon) ในฐานะผู้ทำประโยชน์แก่รัฐเคนตั๊กกี้ ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการร้านอาหารขนาด
140 ที่นั่งในโรงแรมสำหรับคนเดินทางแห่งหนึ่งในรัฐเคนตั๊กกี้
ซึ่งปัจจุบัน ได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ร้านกาแฟฮาร์แลนด์ แซนเดอร์ส (Harland
Sanders Café and Museum) ณ ที่นี้ เขาใช้เวลา 9 ปี
พัฒนาสูตรลับ (Secret recipe) ในการทำไก่ทอด
โดยสูตรการผลิตของเขาใช้หม้อทอดแบบใช้แรงดัน (Pressure fryer) ที่ทำให้ทอดไก่ได้เร็วกว่าทอดด้วยกระทะทอดธรรมดา
(Pan frying)
ไก่ทอดของเขาในยุคนั้นนอกจากจะมีสูตรการใช้สมุนไพรที่มีลักษณะเฉพาะ
เขาเน้นการทอดที่ไก่สุกทั่วทั้งชิ้น และเนื้อข้างในนุ่มและชุ่ม
ไม่แห้งหรือแข็งกระด้าง
ผู้พันแซนเดอร์สได้ก่อตั้งมูลนิธิ
ซึ่งในช่วงหลัง เขาได้ทำการกุศลและให้การสนับสนุนทุนการศึกษามากกว่าปีละ 1 ล้านเหรียญทุกปี
ชีวิตในช่วงเริ่มต้นและการอาชีพ
Early life and career
ภาพ ฮาร์แลนด์ แซนเดอร์ส (Harland Sanders) เมื่ออายุได้ 20 ปี
แซนเดอร์สเกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1890 ในครอบครัวยากจน
ในกระท่อมแห่งหนึ่งใกล้ถนนชนบทห่าง 3 ไมล์ไปทางตะวันออกของเมือง
Henryville, รัฐอินเดียน่า (Indiana) เขาเป็นบุตรคนโตของพี่น้อง 3 คน โดยมีน้องชายชื่อ David
และน้องสาวชื่อ Margaret Ann Sanders.
พ่อของเขามีอาชีพเป็นชาวนา
แต่ประสบอุบติเหตุหลังหัก และต้องเลิกอาชีพ และหันมาทำงานเป็นพ่อค้าเนื้อในเมือง Henryville
ในบ่ายวันหนึ่งในฤดูร้อนปี ค.ศ.1895 เขากลับมาบ้านพร้อมกับเป็นไข้
มานอนพัก แล้วก็เสียชีวิต แม่ของเขาต้องไปทำงานในโรงงานมะเขือเทศกระป๋อง
ปล่อยให้เขาต้องหุงหาอาหารเลี้ยงน้อง เขาต้องลาออกจากโรงเรียนตั้งแต่อายุได้ 12
ปี เมื่อแม่เขาแต่งงานใหม่ พ่อเลี้ยงของเขาทำร้ายเขาเป็นประจำ
ดังนั้นเขาจึงออกจากบ้านไปอาศัยอยู่กับลุมในเมืองอัลบานี (Albany)
เพื่อให้มีงานทำ เขาปลอมหลักฐานการเกิดเพื่อให้ได้เข้าไปทำงานเป็นทหารตั้งแต่อายุได้
15 ปี เขาได้รับเกณฑ์ทหารแล้วไปทำงานดูแลฬ่อที่ใช้ในกิจการทหารในคิวบา
เมื่อเขาถูกปลดประจำการ หลังจากนั้น 4 เดือน
เขาได้เดินทางไปยังเมือง Sheffield, รัฐ Alabama ที่ซึ่งเขาพักอยู่กับลุง น้องชายของเขา Clarence
ก็ไปพักอยู่ที่นั่น เพื่อหลีกหนีจากพ่อเลี้ยง ในช่วงวัยเด็ก แซนเดอร์สทำหลายงาน
เคยเป็นทั้งคนขับเรือกลไฟ พนักงานขายประกัน งานรถไฟ พนักงานดับเพลิง และเป็นชาวนา
ฮาร์แลนด์ แซนเดอร์ส แต่งงานกับโจเซฟีน คิง (Josephine
King) ในปี ค.ศ. 1908 และหวังจะเริ่มชีวิตครอบครัว
แต่เขาก็ถูกเจ้านายไล่ออกจากงานฐานกระด้างกระเดื่องที่เดินทางไปนอกคำสั่ง
ภรรยาของเขาเลิกเขียนจดหมายติดต่อเขา และเขามาพบภายหลังว่าเธอได้ทิ้งเขาแล้ว
และได้ยกเครื่องเฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับบ้านให้กับผู้คนต่างๆไป แล้วเธอก็หอบลูกกลับไปอยู่กับครอบครัวพ่อแม่
น้องชายของภรรยาเขียนจดหมายมาบอกแซนเดอร์สว่า “เธอไม่มีกิจอันใดที่จะแต่งงานกับคนไม่ดีอย่างคุณ
ที่ไม่มีงานทำ” แซนเดอร์สมีบุตรชายหนึ่งคนชื่อฮาร์แลนด์ (Harland, Jr) เช่นกัน ซึ่งได้เสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก แซนเดอร์สได้กลับมาคืนดีกับภรรยา และเขาก็มีบุตรสาวกับอีก
2 คน ชื่อ Margaret Sanders และ
Mildred Sanders Ruggles
ในปี ค.ศ. 1930
อันเป็นช่วงที่เศรษฐกิจทั้งประเทศตกต่ำ
แซนเดอร์สเปิดปั้มน้ำมันที่เมืองคอร์บิน ในรัฐเคนตั๊กกี้ (Corbin, Kentucky) ที่นี่เขาได้ทำไก่ทอดขาย
และมีอาหารจานอื่นๆ เช่น มีแฮมแบบพื้นบ้าน (country ham) และมีสเต๊ก (steaks) ไว้บริการ เขาทำเป็นภัตตาคารเล็กๆไว้บริการลูกค้า
และที่นี่ก็เป็นที่พักของเขาไปด้วย แต่ที่นี่เขาได้เริ่มมีกิติศัพท์ในฝีมือทำอาหารในระดับท้องถิ่น
ในที่สุดเขาได้ขยับขยายมาเปิดร้านอาหารในโรงแรมคนเดินทาง (Motel) ขนาดมีขนาด 140 ที่นั่ง
และที่นี่ที่เขาได้เริ่มประสบความสำเร็จในกิจการร้านอาหาร
ในปี ค.ศ. 1939
นักวิจารณ์อาหารดันแคนไฮนส์ (Duncan Hines) ได้เยี่ยมร้านอาหารของแซนเดอร์ส
แล้วประทับใจมาก โดยได้เขียนให้เกียรติร้านนี้ว่าเป็น “ร้านที่น่ามาท่องเที่ยวชิมอาหาร”
โดยข้อเขียนนี้ได้เผยแพร่ไปทั่วประเทศสหรัฐ
ในขณะที่ความสำเร็จของเขาขยายวงไปเรื่อยๆ แซนเดอร์สได้มีบทบาทด้านสังคมมากขึ้น
เขาได้เข้าร่วมสมาคมโรตารี่ (Rotary Club), สภาหอการค้า (Chamber of commerce), และสมาคม Freemasons
ในปี ค.ศ. 1947 เขาได้หย่าขาดจาก
โจเซฟิน ภรรยาคนแรก และในปี ค.ศ. 1949 เขาได้แต่งงานกับเลขานุการ
ชื่อ คลอเดีย (Claudia) และเขาได้รับตำแหน่ง
ผู้พันแห่งเคนตั๊กกี้อีกครั้ง จากเพื่อนของเขา คือ ผู้ว่าการรัฐ ลอเรนซ์
เวเธอร์บี้ (Governor Lawrence Wetherby)
สัญลักษณ์ KFC ในปัจจุบัน ที่มีภาพของคนแก่ท่าทางใจดี ผมขาว หนวดและเคราแพะขาว ในชุดเสื้อนอกขาว ผูกไทร์แบบเชือก ส่วน Kentucky Fried Chicken ได้ย่นย่อเป็น KFC เพื่อให้จำได้ง่ายขึ้น
ในราวปี ค.ศ. 1950 แซนเดอร์สได้พัฒนาบุคลิกของเขาให้เป็นสัญลักษณ์ของกิจการ
โดยเขาไว้เคราแพะ แล้วย้อมหนวดและเคราเป็นสีขาว และผูกไทร์แบบเป็นเส้น (String
tie) เขาไม่เคยปรากฏตัวต่อสาธารณะในรูปแบบการแต่งกายอื่นๆในช่วง 20
ปีหลังของชีวิตเขา โดยในช่วงฤดูหนาว เขาใส่ชุดผ้าขนสัตว์หนา
และในฤดูร้อน เขาใส่เสื้อผ้าทำจากฝ้าย แต่ทั้งหมดเป็นแบบเดียวและมีสีขาว
เขาย้อมหนวดและเคราเป็นสีขาว เข้ากับสีผมและเสื้อผ้า
และนั่นเป็นเอกลักษณ์ที่ทุกคนจำได้
แต่กระนั้นในวัย 65 ปี ในราวปี
ค.ศ. 1955 ร้านอาหารหลักของเขาก็ประสบปัญหาล้มเหลวอีกครั้ง เนื่องจากเกิดถนนสายระหว่างรัฐที่
75 (Interstate 75) ทำให้คนไม่เดินทางผ่านถนนท้องถิ่นเดิม
มาที่ร้านของเขา เมื่อเกิดวิกฤติ มีคนมากินอาหารน้อยลง เขาได้ใช้เงิน $105 จากเงินสวัสดิการเกษียณอายุ (Social
Security check) ใบแรก เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายการเดินทางไปเยี่ยมผู้ซื้อแฟรนไชส์ของเขา
และนี่อาจเป็นข้อดีที่ทำให้เขาหันมาทำกิจการแฟรนไชส์เครือข่ายร้านอาหารอย่างจริงจัง
แม้วัยของเขาจะเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว
ภาพ ร้านอาหารในเมืองคอร์บิน รัฐเคนตั๊กกี้ (The restaurant in Corbin, Kentucky) ที่ซึ่งผู้พันแซนเดอร์ได้พัฒนาไก่ทอดอันเลื่องชื่อของเจา
ภาพ อาหารจานด่วน ที่ประกอบด้วยไก่ทอด และมันฝรั่งทอด
การที่ธุรกิจหลักของเขาประสบปัญหา
กลับเป็นข้อดีที่ทำให้เขาทุ่มเทความตั้งใจไปที่ร้านที่เขาขายแฟรนไชส์ ร้านอาหารจานด่วนแฟรนไซส์ไก่ทอดเริ่มประสบความสำเร็จ
จนในช่วงสิบปีต่อมา แซนเดอร์สได้ข่ายกิจการบริษัท Kentucky Fried Chicken ให้กับเพื่อนของเขา
คือนายจอห์น วาย บราวน์ จูเนียร์ (John Y. Brown, Jr.) การตกลงนี้ไม่รวมกิจการในประเทศแคนาดา
ในปี ค.ศ. 1965 แซนเดอร์สได้ย้ายไปอยู่ Mississauga, Ontario ประเทศแคนาดา เพื่อดูแลกิจการแฟรนไชส์ของเขา และเขาก็ยังได้รับค่าปรากฏตัวในสหรัฐ และได้ค่าแฟรนไชส์ในแคนาดา
Thx for good inf.
ReplyDelete