Saturday, December 26, 2009

หากเรากล้าที่จะสู้ กล้าที่จะล้มเหลว เราจะชนะ

Dare to fail and you will win - Pracob Cooparat
หากเรากล้าที่จะสู้ กล้าที่จะล้มเหลว เราจะชนะ

ภาพ อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน
พระราชวังเดิม ฝั่งธนบุรี

ภาพ อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน
พระราชวังเดิม ฝั่งธนบุรี

ภาพ อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน
จังหวัดตาก

ท่านทั้งหลาย

ในช่วงวันต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 ผมได้มีโอกาสไปเที่ยวเชียงใหม่ แบบ 3 วัน 2 คืน และผมได้กลับมาเขียนเรื่องแบบเป็น 4 ตอนเป็นภาษาอังกฤษ ลงใน Website ของเราเอง ชื่อ "EQI English in Thailand" - h
ttp://eqi-eng.blogspot.com เรื่อง เป็นแบบมีภาพประกอบ ผมขอเชิญชวนท่านไปร่วมอ่าน และให้ความเห็นต่างๆ เพิ่มเติม เป็นการฝึกภาษาอังกฤษไปในตัว

ในระหว่างทางที่ผมเดินทางกับคณะไปเชียงใหม่นี้ ได้มีโอกาสแวะทำความเคารพสถานศักดิ์สิทธิ อนุสรพระเจ้าตากสิน จังหวัตตาก ทำให้ย้อนไปคิดถึงว่า หากจะทำศึกให้ชนะ แล้วเพียงอยู่ร่วมกันในเมืองที่ท้ายสุด กรุงก็ต้องแตก และตกเป็นเมืองขึ้น หรือถูกฆ่าให้ตายโดยทหารพม่า ทางออกประการหนึ่งคือ "แหกด่าน" ฝ่าวงล้อมแล้วไปตั้งกองกำลังเพื่อกลับมารบใหม่ รบแบบปกติสู้ไม่ได้ ก็สู้ในแบบสงครามกองโจร รบเร็ว ใช้กองทัพคนเดินเท้าช้าไป ก็ใช้กองกำลังรบทหารม้า รบในที่โล่งสู้ไม่ได้ ก็รบในป่าเขา เลือกรบในที่ๆได้เปรียบ รบกลางวันสู้ไม่ได้ ก็รบตอนกลางคืน สะสมชัยชนะไปเรื่อยๆ และเมื่อรวบรวมพลได้มากพอแล้ว ค่อยกลับมาฟื้นฟูประเทศใหม่อีกครั้งหนึ่ง

พระเจ้าตากท่านคิดถูก ที่ต้องแหวกวงล้อมออกไปทำในสิ่งที่คนอื่นๆไม่สามารถกระทำได้ และนั้นเป็นเหตุผลที่ทำให้ท่านได้กลับมากอบกู้บ้านเมืองได้อีกครั้งหนึ่ง

ในชีวิตของเรา ในแวดวงการศึกษาของเรา หากเราจะคิดในแบบเดิม ทำกันมาอย่างไร ก็จะทำก้นต่อไปอย่างนั้น เราคงต้องกรุงแตกกันทั้งมวลอีกครั้ง (ในทางการศึกษา) ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีบางคนแหวกวงล้อมออกไปทำการที่ต้องคิดใหม่ และทำหลายๆอย่างกันใหม่ โดยไม่ต้องไปยึดมาตรฐานหรือกรอบการทำแบบเดิม ทำให้ดี ทำอย่างที่พร้อมจะผลักดันไปสู่ความสำเร็จ แล้วคนอื่นๆเขาจะค่อยๆตามเราไปเอง

ผมขอให้กำล้งใจแก่คนที่กล้าที่จะแหวกวงล้อม กล้าที่จะไปทำในสิ่งที่คนทั่วไปยังมองไม่เห็น ได้ฝันในสิ่งที่คนธรรมดายังไม่กล้าฝัน ทำอะไรแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ แต่มันมีคุณูปการแก่คนส่วนรวม อาจะพลาดบ้าง ผิดบ้างก็ไม่เป็นไร ขอให้เราได้เรียนรู้ และสู้อย่างไม่ยอมแพ้

ในวาระดิถืขึ้นปีใหม่ปี พ.ศ. 2553 นี้ ขอให้ทุกท่านมีกำลังใจ ทำงาน ฟันฝ่า หากได้ล้มลงไปบ้าง ก็ขอให้ลุกขึ้นมาเดินต่อ อย่าท้อแท้ เหนื่อยบ้าง ก็พัก แต่แล้วขอให้กลับมาสู้กันใหม่ คิดวิธีใหม่ ใช้พลังใหม่ ที่จะทำให้ชีวิตและงานที่ท่านรับผิดชอบได้ประสบความสำเร็จ

สวัสดีปีใหม่ 2553 สำหรับท่านและครอบครัว

ประกอบ คุปรัตน์ (Pracob Cooparat)
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard4Asia Foundation (SB4AF)
Tel: +66 2 3548254, +66 2 3548255, Fax: +66 2 3548255
Email: pracob@sb4af.org
Website: www.sb4af.org
Blog: http://pracob.blogspot.com
http://eqi-eng.blogspot.com
Skype: pracobc


ภาพ อนุสรณสถาน พระเจ้าตากสิน
อำเภอเมือง จังหวัดตาก

ภาพ อนุสรณสถาน พระเจ้าตากสิน
อำเภอเมือง จังหวัดตาก


ภาพ อนุสรณสถาน พระเจ้าตากสิน
อำเภอเมือง จังหวัดตาก

ภาพ อนุสรณสถาน พระเจ้าตากสิน
อำเภอเมือง จังหวัดตาก

รูปหล่อพระเจ้าตากสิน
อนุสรณ์สถาน จังหวัดตาก

ภาพ คนนำดาบมาถวายเป็นเครื่องสักการะ
อันสะท้อนชีวิตการทำงานของพระยาตาก
จนสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ธนบุรี
ล้วนเป็นชีวิตการทำงานที่ต้องต่อสู้

ภาพ ประชาชนไปสักการะ ขอพร จะเป็นอะไรก็ตาม
ขอให้ได้มีโอกาสกลับไปอ่านและศึกษาชีวิตของท่าน
พระยาตาก จนกระทั่งได้สถาปนาเป็นพระเจ้าตาสิน

ภาพ ศาลเจ้า ไม่ใหญ่นัก แต่บริเวณกว้างขวาง
คนที่ต้องทำงานสู้ชีวิต ทำงานที่ยาก ต้องไปเริ่มที่นี่

ภาพ ม้า คือสัญญลักษณ์ของพระยาตาก และพระเจ้าตาก
การต่อสู้ที่ต้องกระทำเร็ว รบเร็ว หนีเร็ว และชนะเร็ว

ภาพ ม้าศึก

ภาพ ม้าศึก

Friday, December 25, 2009

อาณานิคมนักโทษ (Penal colony)

ภาพ โบราณสถาน คุกอาณานิคมที่
Port Arthur, Tasmania, Australia

อาณานิคมนักโทษ (
Penal colony)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail:
pracob@sb4af.org

จาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: สังคม, การพัฒนา

ภาพ การอพยพย้ายนักโทษ จาก Saint Martin De Re
ไปยัง
Penal Colony ที่ Cayenne ใน Guyana

อาณานิคมนักโทษ หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Penal Colony เป็นการจัดตั้งชุมชน (settlement) (exile prisoners) เป็นการแยกนักโทษออกจากประชากรส่วนใหญ่ ไปตั้งยังที่ๆห่างไกล เป็นอันมากที่เป็นเกาะที่ห่างไกล ยากที่จะหลบหนี บางทีคำนี้หมายถึงสถานที่ซึ่งนักโทษ จะได้รับการควบคุมดูแลโดยผู้คุม (Wardens, หรือ Governors) ซึ่งมีอำนาจเหนือพวกเขา บริเวณที่เขาไปอยู่และถูกควบคุมนั้นใหญ่โต และกว้างขวางกว่า ฟาร์มในคุก (Prison Farm) ในทางปฏิบัติอาณานิคมนักโทษนั้น จะเป็นเหมือนชุมชนทาส (Slave communities)

แดนอาณานิคมนักโทษนี้ เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในยุคอาณานิคม ที่คนส่วนหนึ่งที่ต้องโทษทางการเมือง ทางความเชื่อศาสนาที่แตกต่างกัน แล้วเขาเลือกที่จะไปใช้ชีวิตในต่างแดน อีกส่วนหนึ่งคือทวีปออสเตรเลีย ก็เคยเป็นแดนอาณานิคมนักโทษของประเทศอังกฤษ

ภาพ โบราณสถาน คุกที่ Port Arthur,
Tasmania, ประเทศออสเตรเลีย (Australia)
จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่ง

คุกที่ Port Arthur, Tasmania, ประเทศออสเตรเลีย (Australia) จะใช้ในการควบคุมนักโทษฉกรรจ์ชาวอังกฤษและไอริช และพวกที่มาอยู่ในออสเตรเลียแล้ว ยังมาก่อคดีอีก นักโทษที่ก่อการกบฏหรือจลาจลในคุกอื่นๆของออสเตรเลีย ก็จะถูกย้ายมารวมอยู่ที่นี้ จัดเป็นแดนควบคุมความปลอดภัยสูงสุดของระบบทัณฑสถานของอังกฤษ

ภาพ คุกอาณานิคม Port Arthur, Tasmania, Australia
มองจากภายในที่เขาสงวนไว้เป็นที่ท่องเที่ยวประวัติศาสตร์

ภาพ การใช้แรงงานนักโทษในไร่ ของนักโทษ
Port Arthur, Tasmania, Australia
ปี ค.ศ. 1926

ภาพ นักโทษที่ถูกส่งไปอยู่ไซบีเรีย
(Siberia, Russia) อ้นเป็นแดนที่น่าสะพรึงกลัว

ภาพ ไซบีเรีย (Siberia, Russia) ในปัจจุบันที่เป็น
เขตเฟื่องฟูด้วยปิโตรเลียมและถ่านหิน

นิคมนักโทษแตกต่างจาก แดนสัญญาแรงงาน (Indentured servant) คนงานรับใช้ที่ถูกจ้างหรือซื้อมาด้วยสัญญา ทำงานตามสัญญา โดยได้รับค่าใช้จ่ายด้านการเดินทาง อาหาร เสื้อผ้า ที่พัก และความจำเป็นอื่นๆ ซึ่งต่างจากทาส (Slaves) คนงานสัญญาจ้างดังกล่าวจะทำงานตามกำหนดในสัญญา และคนทำงานหวังว่า เมื่อทำงานจนหมดในข้อตกลงแล้ว เขาจะได้รับอิสระที่จะไปใช้ชีวิต หรือเริ่มต้นชีวิตของเขาเอง

แต่ในบางครั้งเมื่อไปอยู่ในดินแดนที่ห่างไกล ยากที่กฎหมายบ้านเมืองทีศิวิไลยจะควบคุมถึง คนทำงานในลักษณะดังกล่าว ก็ถูกกักกันให้ทำงานที่นอกเหนือหรือเกินไปกว่าสัญญา ส่วนหนึ่งเพราะแรงงานนั้น คือการอพยพ หรือนำพาไปอยู่ในบริเวณห่างไกลที่กฎหมายไม่สามารถเอื้อมไปถึง ดังที่สังคมไทยไม่นานมานี้ ก็ยังมีการใช้แรงงานที่ไปเกณฑ์คนมาทำงานในไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด หรือถางป่า ที่ต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก และเพราะแรงงานเหล่านี้ที่ไปรับมาจากต่างจังหวัด ไม่รู้จักภูมิประเทศ ต้องอยู่ในแดนที่เป็นป่าเขา จึงห่างไกลจากที่บ้านเมืองหรือกฎหมายจะเข้าไปดูแล คนงานจึงถูกกักกัน และใช้แรงงานจนเกินเลยไปจากในสัญญา แต่ไม่สามารถบิดพลิ้ว หรือหลีกเลี่ยงได้

ในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย หรือไซบีเรียในประเทศรัสเซียนั้นในบางบริเวณเคยเป็นแดนเนรเทศคน เมื่อแรกๆ ดินแดนเหล่านี้คนที่จะถูกส่งไปกักกันจุดูน่ากลัวมา แต่เมื่อมีคนไปอยู่กันมากๆ นักโทษที่พ้นโทษแล้ว ก็ใช้ชีวิตในดินแดนใหม่กันมีความสุขในชีวิตและอัตตภาพ ที่ว่าเคยเป็นที่ๆไม่มีใครอยากไปก็กลายเป็นชุมชนที่มีคนคึกคัก มีความอุดมสมบูรณ์ คนที่ไปในช่วงหลังๆ จึงไม่ใช่เป็นนักโทษ แต่เป็นแดนที่คนอยากไปใช้ชีวิตที่เริ่มต้นใหม่

Thursday, December 24, 2009

การขนส่งทางเลือก: เรามีทางออกทางเลือกอย่างไร

การขนส่งทางเลือก เรามีทางออกทางเลือกอย่างไร (Alternative Transportation Movement)

ประกอบ คุปรัตน์ Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
แปลและเรียบเรียง
Updated: Friday, December 25, 2009
Keywords: cw071, การขนส่ง การเดินทาง From Wikipedia, the free encyclopedia.

ความนำ


การขนส่งทางเลือก หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Alternative Transportation Movement เป็นการดำเนินอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านหนึ่งที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาหาทางเลือกในการการเดินทางและการขนส่ง ซึ่งในปัจจุบันมีทางเลือกกระแสหลักคือการใช้ยานพาหนะรถยนต์ส่วนตัว (Private Automobiles) และยานพาหนะที่เป็นส่วนตัว มักจะเดินทางไปเพียงคนๆเดียว (single occupant vehicles - SOVs) ดังปรากฏในประเทศที่เจริญแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา และยุโรป ซึ่งในทุกวันคนทำงานแต่ละคนจะใช้รถยนต์ขับไปทำงานในเมืองต่างๆ แบบต่างคนต่างขับทำให้สิ้นเปลืองพลังงานและค่าใช้จ่าย โดยไม่มีประสิทธิภาพในด้านการเดินทางและการขนส่ง

บทความนี้เป็นส่วนนำสู่บทเรียนด้านพลังงานศึกษา (Energy Education) และการขนส่งและเดินทางทางเลือก สำหรับให้เยาวชนและประชาชนคนไทยได้ศึกษา ขณะเดียวกัน เพื่อเป็นการเชื้อเชิญนักวิชาการในด้านต่างๆ เพื่อมาร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐานสำหรับเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้เข้าใจในปัญหาที่ประเทศไทยและสังคมโลกกำลังเผชิญอยู่ และให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับนโยบายภาครัฐ ตลอดจนใช้ชีวิตอย่างมีทางเลือกในการเดินทาง และการทำงานที่ต้องใช้ยานพาหนะต่างๆ ในการดำเนินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เหตุผล


ทำไมจึงต้องให้ความสำคัญสำหรับการศึกษาด้านการขนส่งและการเดินทางแบบทางเลือก เหตุผลมีดังต่อไปนี้

1. ปัญหาการเร่งใช้พลังงานเชื้อเพลิง ที่เพิ่มขึ้น ประเทศไทยมีแนวโน้มการใช้พลังงานในแนวทางเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศจีน และประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย เมื่อเศรษฐกิจเติบโตมาก ก็มีการใช้พลังงานในการหุงต้มและประกอบอาหารมากขึ้น มีการขนส่งมากขึ้น การใช้เครื่องปรับอากาศกันมากขึ้นดังในกรณีประเทศในเขตร้อนอย่างไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหลาย และมีแนวโน้มการใช้พลังงานอย่างไม่มีแผนงานที่ดีทั้งในระดับประเทศและในแต่ละชุมชน

2. การก้าวสู่วัฒนธรรมการใช้รถยนต์ การใช้รถยนต์ในแบบที่เป็นอยู่ในประเทศเจริญแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า Automotive Culture ทำให้คนต้องใช้ชีวิตด้วยการต้องเดินทางด้วยรถส่วนตัวเกือบจะตลอดเวลา ตั้งแต่ไปทำงาน ไปจ่ายของ ไปเที่ยว และการเดินทางเป็นอันมากนั้นใช้รถคันใหญ่กับคนเพียงน้อยนิด อย่างที่เรียกว่า SOVs หรือ Single Occupant Vehicles ยิ่งทำให้การใช้พลังเชื้อเพลิงเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพที่สุด อย่างที่เขาเรียกว่าขนรถ ไม่ใช่ขนคน ในการนี้การจัดการด้านที่อยู่อาศัย ดังกรณีบ้านจัดสรรเป็นอันมาก มีลักษณะรูปแบบที่ต้องไปควบคู่กับการต้องมีรถส่วนตัวไว้ใช้งาน

3. ปัญหาด้านโลกร้อน (Global Warming) ถึงแม้เราจะสามารถผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่สร้างทดแทนได้ เช่นการใช้ Biodiesel หรือการใช้ Gasohol อันนำผลิตผลการเกษตรมาแปลงเป็นพลังงานเชื้อเพลิงได้บ้าง แต่นั่นก็ยังไม่ได้แก้ปัญหาใหญ่ของโลก คือปัญหาโลกร้อนด้วยการใช้พลังงานที่มีฐานจาก Carbon ดังเช่น Petroleum, แก๊สธรรมชาติ ถ่านหิน ฯลฯ โลกร้อนขึ้นทุกวัน และเป็นแนวโน้มที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ในช่วงสั้นๆนี้

4. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ การพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ยิ่งพึ่งพามากก็ทำให้เศรษฐกิจของชาติอ่อนแอลง เพราะราคาเชื้อเพลิงมีแต่จะสูงยิ่งขึ้น ปัญหาด้านพลังงานที่มีส่วนในทุกธุรกิจอย่างน้อยในระดับ 1-2 เปอร์เซ็นต์ ทำให้การแข่งขันด้านการอุตสาหกรรมและอื่น ได้รับผลกระทบไปด้วย รวมถึงด้านการเกษตร ซึ่งในปัจจุบัน ต้องใช้พลังงานทั้งในด้านการพรวนดิน ไถที่ดิน การสูบน้ำเพื่อชลประทาน เป็นต้น

ทางเลือก


การขนส่งจัดเป็นส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุดส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะการใช้รถยนต์ส่วนตัว

รถยนต์หนึ่งคัน เฉลี่ยเดินทางประมาณ 35,000 กิโลเมตรต่อปี และใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยที่ 12-14 กิโลเมตรต่อลิตร และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลิตรละ 25-30 บาท คิดเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิงปีละ 70000 บาทต่อคัน การใช้รถ Pickup ขนาด 1 ตันที่ใช้เครื่องน้ำมันดีเซลที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในชนบท แต่ก็ยังเป็นการใช้ระบบขนส่งที่ยังไม่ประหยัดหากไม่ได้มีการวางแผนการเดินทางที่เหมาะสม
การใช้การขนส่งทางเลือกที่มีอยู่มากมายนั้น จะช่วยทำให้การเดินทางแบบที่เป็นอยู่ในประเทศไทยลดลง หากมีการวางแผน และออกแบบระบบที่ดี ทำให้การใช้พลังงานเพื่อการเดินทางที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทางเลือกในการเดินทางในประเทศไทย เมื่อมองภาพรวมของทั้งประเทศ มีมากมายดังต่อไปนี้

ภาพ รถโดยสารใหม่ ที่ใช้ระบบพลังงานปกติ
ร่วมกับระบบไฟฟ้า (Hybrid bus) เพิ่มประสิทธิภาพ
การใช้น้ำมันและลดการปล่อยมลพิษในเมือง

1. การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่มีอยู่แล้ว เช่นรถประจำทางให้ดียิ่งขึ้น (Mass Transportation) ซึ่งในที่นี้จะพบว่าในต่างจังหวัดมีเป็นอันมากที่ไม่มีระบบรถประจำทาง ยังคงใช้รถสองแถวดัดแปลงจากรถบรรทุกเล็ก (Pickup Trucks) หรือดังในประเทศฟิลิปปินส์ยังใช้รถโดยสารขนาดเล็กดัดแปลงจากรถจี๊ปดัดแปลงที่เรียกว่า Jeepney การจะนำระบบขนส่งมวลชนไปใช้ในชุมชนระดับเมืองของต่างจังหวัดเป็นอันมาก เกี่ยวกับผลประโยชน์และการเมืองท้องถิ่นที่ต้องมีความลงตัวในแนวทาง และเอื้อประโยชน์ที่ยุติธรรมให้กับหลายๆฝ่าย

2. ระบบการเดินทางด้วยเครื่องบิน (Airplanes) ซึ่งในปัจจุบันได้มีค่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงใกล้กับรถโดยสาร หากเป็นการเดินทางระยะไกล แต่มีการใช้เวลาที่สั้นกว่า และปัจจุบันเครื่องบินต่างๆ ได้มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการใช้น้ำมันที่ประหยัดกว่าเมื่อ 50 ปีที่แล้วอย่างมาก สำหรับประเทศไทย การเดินทางด้วยเครื่องบินจะมีค่าใช้จ่ายไม่แตกต่างจากการใช้รถยนต์ส่วนตัว แต่ไม่ต้องเครียดในการเดินทาง และใช้เวลาที่น้อยกว่า เหมาะแก่การเดินทางไปทำธุรกิจในเส้นทางที่มีความยาวกว่า 500 กิโลเมตรขึ้นไป แต่การเดินทางด้วยเครื่องบินยังมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารถโดยสารอยู่มาก แม้จะประหยัดเวลาในการเดินทางไปได้มาก

3. การพัฒนาและใช้ระบบรถไฟ (Trains, Hi Speed Trains) รถไฟในประเทศไทยได้เริ่มมาแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อการต้องพัฒนาประเทศให้ทันสมัย แต่ในระยะหลัง กิจการรถไฟได้หยุดการพัฒนาและมีลักษณะถดถอย เป็นกิจการรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนมาตลอด ในประเทศที่พัฒนาแล้วดังในยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศขนาดใหญ่อย่างจีนและอินเดีย กิจการรถไฟยังเป็นความจำเป็นและเขาต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การเดินทางเป็นไปได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว แต่สำหรับในประเทศไทยความเร็วในการเดินทางโดยรถไฟยังไม่พัฒนาขึ้นเลยในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมา จึงถูกทดแทนด้วยรถโดยสารที่สะดวกกว่า แต่ต้องมีค่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อคนสูงกว่า มีปัญหาความสึกหรอ เช่นยางรถ และอื่นๆ มากกว่า
ภาพ รถไฟความเร้วสูง TGV ของประเทศฝรั่งเศส
ปัจจุบันเป็นเจ้าของความเร็วสูงสุดในโลก

4. รถไฟความเร็วสูง (Hi Speed Trains) ได้กลายเป็นทางเลือกเพื่อการเดินทางที่แข่งขันกับเครื่องบิน มีความเร็วสำหรับการเดินทางภายใน 500 กิโลเมตรที่ไม่ช้ากว่าเครื่องบิน สามารถวิ่งเข้ารับผู้โดยสารได้จนถึงเขตเมืองชั้นใน เหมาะสำหรับการเชื่อมเมืองขนาดใหญ่ 2 เมืองหรือมากกว่า และเป็นการเสริมกับการเดินทางด้วยรถบนทางถนน และเครื่องบินที่มีขอบจำกัด แต่การจัดทำให้มีรถไฟความเร็วสูงนั้น ส่วนใหญ่ต้องใช้รางรถไฟที่มีลักษณะเฉพาะ ในประเทศไทยเป็นทางในแบบเดิมมีความกว้างเพียง 1.00 เมตร มีลักษณะคด มีทางโค้งมาก นอกจากนี้คือความเป็นชุมชนเมืองที่มีการกระจายตัวเองสูง เมืองขนาดใหญ่กำลังเริ่มจะมีการขยายตัว เช่น ในฝั่งตะวันออก มี ชลบุรี พัทยา ทางสู่สายเหนือมีนครสวรรค์ พิษณุโลก สายตะวันออกเฉียงเหนือมี นครราชสีมา

ในปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นไป ประเทศไทยอาจต้องคิดแบบร่วมกับประเทศที่มีทรัพยากรมากกว่า อย่างประเทศจีน ที่เขาก็อยากมีเส้นทางการคมนาคมร่วมจากจีนตอนใต้ผ่านลาว ไทย ไปจนฝั่งทะเลตะวันออกของไทย และตรงไปทางใต้ จนไปจบกับมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ระบบทางรถไฟของไทยจะต้องคิดถึงมาตรฐานรางใหม่ที่มีขนาดกว้างขึ้นจากที่มีอยู่ 1.00 เมตร เป็น 1.50 เมตร และมีเส้นทางที่ต้องตรงขึ้น และอำนวยความปลอดภัยไม่วิ่งปะปนมีรถใช้ถนนวิ่งตัดผ่าน ซึ่งโครงการในลักษณะดังกล่าว จำเป็นต้องมีการคิดที่อาศัยพลังร่วมแบบข้ามชาติ และต้องมีความอดทนที่จะต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง และโปร่งใสสำหรับทุกฝ่าย
ภาพ สถานีรถไฟฟ้า BTS หรือที่เรียกว่า Sky Trains
สามารถลดการใช้รถยนต์ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯได้
โดยต้องมีการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าราง ให้มียาวกว่า
300 กิโลเมตร และเชื่อมโยงเป็นเครือขาย
ทั้ง เหนือดิน บนดิน และใ้ต้ดิน

5. การพัฒนาระบบรถไฟฟ้า บนฟ้า บนดิน และใต้ดิน (Mass Transits) จัดเป็นระบบการขนส่งที่มีประโยชน์ต่อเมืองขนาดใหญ่ดังกรุงเทพมหานคร มีการประมาณการกันว่าจะต้องมีเครือข่ายทางประมาณอย่างน้อย 300 กิโลเมตร ปัจจุบันดำเนินการไปได้เพียงร้อยละ 10-15 ซึ่งนโยบายของรัฐบาลชัดเจนแล้ว และเห็นความสำคัญ แต่ทำอย่างไรจึงจะหาวิธีการสนับสนุนค่าใช้จ่าย ใครจะเป็นผู้จ่าย เพราะเป็นกิจการที่ไม่กำไร แต่หากการนำเงินงบประมาณของแผ่นดินที่จัดเก็บมาจากทั้งประเทศมาสนับสนุน ก็จะไม่เป็นการยุติธรรม

6. ระบบรถประจำทาง (Buses) ในบางประเทศมีการพัฒนาไปใช้พลังงานทางเลือกดังเช่น ไฟฟ้า เป็นการลดมลพิษในเมืองใหญ่ หรือการใช้ระบบยานลูกประสมไฟฟ้ากับพลังเชื้อเพลิง (Hybrids) สำหรับในประเทศไทยนั้น การวางแผนที่จะมีรถโดยสารแบบใช้ไฟฟ้านั้นมีความเป็นไปได้ แต่ต้องได้รับความร่วมมือจากฝ่ายบริหารเมือง (City Management) ต้องมีการติดตั้งระบบสายส่งไฟฟ้าเพื่อการเดินรถ

7. การใช้ระบบรถโดยสารขนาดเล็ก (Minibuses) เพื่อการขนส่งผู้โดยสารในหมู่บ้านเพื่อทดแทนการต้องใช้รถส่วนตัว มีบางที่ๆ รถโดยสารขนาดใหญ่เข้าไปเดินไม่ได้ จะปรับขยายทางก็ทำไม่ได้ง่ายนัก หากไม่มีการปรับปรุง ประชาชนคนอาศัยก็จะต้องหาทางมีรถส่วนตัวเพิ่มมากขึ้น หากมีระบบรถโดยสารขนาดเล็กทดแทน ก็จะช่วยลดความจำเป็นในการใช้รถส่วนตัว หรือใช้รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง

8. รถตุ๊กๆ ยังมีประโยชน์ (Tuk Tuk) ในประเทศไทยมีการขนส่งขนาดเล็กที่รถสามล้อสามารถมีประสิทธิภาพในการขนส่งในที่แคบได้ดีกว่า เช่นตามตรอกซอย ซึ่งยังไม่สามารถปรับปรุงขยายถนนได้มากนัก แต่ทางเลือกเพื่อใช้พลังงานไฟฟ้ากับรถสามล้อประเภทตุ๊กๆ เป็นไปได้ หากมีการวางแผนและระบบเครือข่ายเติมกระแสไฟฟ้า (Electric Grids)

9. ปรับปรุงระบบรถแท๊กซี่ (Taxicab) รถแท๊กซี่เป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางในเมือง ในปัจจุบันใช้แก๊สหุงต้ม ซึ่งเป็นสินค้าราคาสนับสนุน คือเป็นราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด มีรถยนต์บ้านมากขึ้นที่หันมาใช้แก๊สดังกล่าว และแก๊สทุกชนิดนั้นเป็นสิ่งที่เมื่อหมดแล้วไม่สามารถหาทดแทนได้ นอกจากนี้คือในต่างจังหวัดยังไม่มีบริการรถแท็กซี่อย่างในกรุงเทพฯหรือปริมณฑล แม้แต่เมืองท่องเที่ยวอย่างพัทยา หรือเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่ นครราชสีมา เหล่านี้กิจการรถแท๊กซี่ยังไม่ได้รับการพัฒนา
สำหรับเขตจังหวัดในชนบทที่เขาไม่ได้รับประโยชน์จากการขนส่งในเมืองหลวง หรือเมืองใหญ่ หากมีการพัฒนาระบบแท็กซี่เพื่อใช้ในการเดินทางภายในตัวเมือง ก็จะทำให้คนทำธุรกิจไม่ต้องขับรถส่วนตัวไปเป็นระยะทางไกล เช่น เมื่อเดินทางไปสู่จังหวัดหนึ่ง ก็ไปใช้บริการรถแท็กซี่รับจ้างของ ณ จังหวัดนั้นๆ หากเป็นการเดินทางไปในบริเวณในเมือง หรือการเดินทางช่วงสั้น

10. การใช้รถจักรยาน (Bicycling) และการพัฒนาเส้นทางรถจักรยาน ในต่างประเทศที่พัฒนาแล้วจะใช้การเดินทางโดยรถจักรยานประเภทใช้แรงมนุษย์เพื่อการเดินทางระยะสั้นเพื่อไปทำงานหรือไปจับจ่ายใกล้บ้าน เป็นการส่งเสริมการออกกำลังกาย ในประเทศจีนสมัยหนึ่งจะมีคนใช้รถจักรยานกันมาก แต่เมื่อเจริญขึ้นก็หันมาใช้รถยนต์ ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา มีความพยายามที่จะจัดให้มี Bike Route เพื่อการกันไว้สำหรับรถจักรยาน และต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งของการวางผังเมืองขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ซึ่งจะมีผลดีทั้งต่อสิ่งแวดล้อม การลดการใช้พลังงาน และต่อสุขภาพของประชาชน

11. การใช้ระบบรถยนต์แบบร่วมกัน (Carpooling) ในประเทศไทย การใช้รถตู้ขนาดนั่งได้ 11-12 คน จัดเป็นรถไมโครบัส นับเป็น Carpool ในแบบหนึ่งที่ได้ผลดี ดีกว่านำรถบ้านออกมาขับ หากขับกันคนละคัน ก็จะประหยัดไปได้สัก 10-11 คัน และรถดังกล่าวสามารถเวียนวิ่งได้หลายครั้งต่อวัน ตัวอย่างที่เห็นใช้กันมากที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และบางชุมชนศูนย์การค้าในกรุงเทพมหานคร เป็นการเพิ่มทางเลือก สำหรับการเดินทางระยะกลางระหว่างกรุงเทพฯและจังหวัดชานเมือง

12. การใช้ระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสารแบบเครือข่ายช่วยในการทำงานแบบอิเลคโทรนิกส์ (Telecommuting)จัดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่กำลังเข้ามามีบทบาทต่อประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นการลดความจำเป็นในการเดินทางต่อวัน ในต่างประเทศ มีคนทำงานสำนักงานจำนวนมากที่เลือกทำงานในแบบยืดหยุ่นที่ทำให้สามารถทำงานทีบ้านได้ เช่นงานด้านการตลาด การบริการลูกค้าที่อาศัยการสื่อสารผ่านโทรศัพท์ โทรสาร การใช้อินเตอร์เน็ตในการติดต่อทั้งด้วยข้อความและการใช้เสียง และในปัจจุบันคือสื่อย่างเห็นภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย

13. การเดิน และการพัฒนาทางเท้าเพื่อการเดิน (Walking) ในบางเขตของเมืองใหญ่ ในต่างประเทศได้เปลี่ยนจากทางรถวิ่ง แต่มีการจราจรติดขัดให้กลายเป็นทางเดิน ในภาษาอังกฤษมีคำเรียกว่า esplanade หรือ promenade เป็นทางที่ยกระดับเป็นทางเดิน ทางเดินเหล่านี้สามารถทำได้ทั้งในบริเวณชายทะเล ทางริมแม่น้ำ หรือบนสันเขื่อน

ในเมืองขนาดใหญ่ที่ต้องการกันรถไม่ให้เข้ามาพลุกพล่าน เป็นเขตท่องเที่ยว เขตลดมลพิษ เขาจะกันรถออกไปแล้วปรับเป็นทางเดินแทน แล้วขณะเดียวกันจัดหาระบบขนส่งมวลชน เช่นรถโดยสารขนาดใหญ่หรือเล็กมารับและส่งคนบริเวณรอบนอกอีกทีหนึ่ง ในบรรดาเขตชั้นในของกรุงเทพฯที่เป็นศูนย์การธุรกิจอาจต้องจัดระบบการเดินทางใหม่ในลักษณะดังกล่าว

รถยนต์ทางเลือก

เมื่อจำเป็นต้องใช้รถยนต์ เช่นรถส่วนตัว หรืออื่นๆ โดยไม่มีทางเลือก ก็ต้องมีวิธีการเลือกใช้รถยนต์อย่างเหมาะสม และใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมด้วย รถยนต์ในโลก เฉพาะในสหรัฐอเมริกา มีประชากรประมาณ 300 ล้านคน มีรถยนต์ส่วนบุคคล 132.4 ล้านคัน เป็นรถกระบะ (Light trucks และรวม Minivans, SUVs, Pickup Trucks) 75.4 ล้านคัน รวมแล้วมียานพาหนะดังกล่าว 207.8 ล้านคัน ยังไม่รวมรถมอเตอร์ไซค์อีก 4.2 ล้านคัน

ประเทศไทยก็กำลังดำเนินไปในทิศทางนี้ ดังในกรุงจะมีการใช้รถยนต์นั่งที่เพิ่มขึ้น และในต่างจังหวัดจะใช้หนักไปทางรถกระบะและรถบรรทุกดัดแปลง รถอเนกประสงค์ เหล่านี้มากขึ้น แต่กระนั้นหากวิเคราะห์ให้ดี ก็จะมีทางเลือกในการใช้ยานพาหนะอย่างฉลาดได้อีก

การใช้รถยนต์ทีใช้พลังงานทางเลือก (Alternative Cars/vehicles) กล่าวคือ เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ยานพาหนะส่วนตัว ก็ยังมีทางเลือกในการใช้ประเภทยานพาหนะที่ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้อีกมาก เช่น

1. รถยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม (Eco Cars) คำว่า Eco Car มีความหมายได้ทั้งรถยนต์ประหยัด คือราคาไม่สูง มีขนาดเล็ก มีที่นั่งสำหรับ 2 คนเป็นหลัก เพราะโดยทั่วไป การใช้ประโยชน์ก็จะเพื่อการเดินทางของคน 2-3 คนเป็นหลัก และในอีกด้านหนึ่งคือมีค่าการใช้พลังงานที่ต่ำ เช่นวิ่งได้ 75 ไมล์ ต่อ 1 แกลลอน (1 Imperial Gallon = 4.546 ลิตร) หรือเทียบได้เท่ากับ 26 กิโลเมตรต่อลิตร เป็นต้น

2. การใช้รถที่เป็นพลังงานไฟฟ้า (Electric cars) รถยนต์บางส่วนสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลักได้ หากพลังงานไฟฟ้านั้นมีค่าใช้จ่ายต่ำ และมีเครือข่าย (Electricity Grid) เป็นเครือข่ายเติมกระแสไฟได้อย่างสะดวก ทั้งนี้หมายความว่าในสังคมนั้นมีวิธีการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ด้วยพลังที่ไม่ใช้น้ำมันเป็นหลัก เช่น พลังลม พลังจากโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ พลังจากเขื่อน เป็นต้น

ภาพ รถไฟฟ้าลูกประสมแบบเสีนบปลั๊ก (PHEV) ฺํ
BYD ผลิตโดยจีนออกสู่ตลาดในปี ค.ศ. 2011
ราคาประมาณ 750,000 บาท
ตามราคาประเมินในสหรัฐอเมริกา

3. รถลูกประสมระหว่างไฟฟ้าและพลังเชื้อเพลิง (Hybrid cars) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยยังจัดเป็นรถยนต์ประเภทฟุ่มเฟือย มีราคาแพง และไม่ได้ผลิตในประเทศ ระในลักษณะดังกล่าวสามารถประหยัดพลังงานน้ำมันได้กว่าร้อยละ 50 หรือเท่ากับเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำมันได้เป็น 2 เท่า

การใช้รถไฟฟ้าลูกประสมกำลังจะก้าวสู่อีกยุคหนึ่ง คือเป็นแบบเสียบใช้ไฟฟ้าบ้านร่วมด้วย ทำให้สามารถวิ่งได้เพิ่มอีกวันละ 60 กิโลเมตรที่วิ่งด้วยไฟฟ้าบ้าน เขาเรียกรถดังกล่าวว่า PHEVs ซึ่งมาจากคำว่า Plug-in Hybrid Electric Vehicles การใช้ระบบรถเสียบปลั๊กเพิ่มขึ้นนี้จะเป็นทางเลือกที่ดียิ่งขึ้นเมื่อระบบไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศไทยหันไปใช้พลังงานทางเลือกที่ไม่ต้องพึ่งการเผาไหม้สิ่งที่เป็นคาร์บอนด์ (Carbon) ทั้งหลาย เช่น นำมันเชื้อเพลิง แก๊สธรรมชาติ หรือถ่านหิน (2009-2010)

หากเป็นไปในลักษณะดังกล่าว การใช้น้ำม้นเพื่อยานพาหนะ จะลดลงเหลือประมาณร้อยละ 25 ของรถยนต์ที่ใข้ในปัจจุบัน

4. การใช้น้ำมันไบโอดีเซล (Biodiesel) ซึ่งสามารถใช้ผลิตผลทางการเกษตรมาพัฒนาเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งในปัจจุบัน เครื่องยนต์ใช้น้ำมันดีเซลได้พัฒนาไปอย่างมาก ในยุโรปมีการใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กมีประสิทธิภาพการใช้น้ำมันดีขึ้นกว่าเดิม และลดปัญหาการเผาไหม้ไม่หมดได้มาก เครื่องยนต์ไม่สั่นมาก และมีพลังเร่งที่เพิ่มขึ้นกว่าเทคโนโลยีเครื่องดีเซลเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา

ในปี ค.ศ. 2010 ควรได้มีการศึกษาว่าจะมีวิธีการพัฒนาน้ำมันไบโอดีเซลที่มีราคาประหยัดอย่างไรบ้าง เข่นการพัฒนาจากสาหร่าย (Algae) น้ำมันใช้ทอดอาหารที่เหลือทิ้ง น้ำมันที่ดักได้จากน้ำทิ้ง หรือพืชอื่นๆที่สามารถให้น้ำมันได้ในประสิทธิภาพการผลิตที่สูง

ภาพ รถยนต์ใช้ Gasohol หรือใช้ Alcohol
ผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงปกติร้อยละ 20
ภาพ มาตรฐานใหม่ใช้ Alcohol ร้อยละ 85
และน้ำมันเชื้อเพลิงปกติร้อยละ 15

5. รถยนต์ใช้ Fuel Cells ซึ่งมีกาวิจัยกันอย่างมากในสหรัฐ ซึ่งเป็นพลังไฟฟ้าไปทำปฏิกิริยาทางเคมีทำให้แยกน้ำออกเป็นออกซิเจนและไฮโดรเจน การใช้พลังงานจากก๊าสไฮโดรเจน ซึ่งเมื่อเกิดการเผาผลาญแล้วจะคืนสภาพเป็นน้ำ ไม่ก่อให้มีมลภาวะ และไม่ไปเพิ่มปัญหาสภาวะโลกร้อน

ในปี ค.ศ. 2010 เป้นต้นไป ควรติดตามแนวคิด Hydrogen Generator เป็นระบบที่มีเครื่องผลิตก๊าสไฮโดรเจนจากน้ำธรรมดานั้นเอง ติดตั้งไปกับรถยนต์ และส่งก๊าสเข้าไปใช้ร่วมกับน้ำมันเชื้อเพลิงเผาไหม้ปกติ มีการอ้างถึงว่าสามารถประหยัดพลังงานไปได้อีกถึงร้อยละ 57 http://pracob.blogspot.com/2009/12/hydrogen-generators.html

ความส่งท้าย


การขนส่งทางเลือกนี้ หากเราได้ศึกษาและมีความรู้พื้นฐาน และเข้าใจทางเลือกต่างๆ จะเป็นประโยชน์ เพราะในประเทศประชาธิปไตยนั้น การตัดสินใจในนโยบายภาครัฐต่างๆ นั้นต้องอาศัยความเข้าใจของประชาชน มีหลายสิ่งหลายอย่างในประเทศไทยที่เรายังไม่ได้คิดและเตรียมการอนาคตของชาติด้านพลังงาน การคมนาคม การขนส่งและการสื่อสาร

Wednesday, December 23, 2009

สหราชอาณาจักรตัดงบประมาณมหาวิทยาลัย 21890 ล้านบาท

สหราชอาณาจักรตัดงบประมาณมหาวิทยาลัย 21890 ล้านบาท

ประกอบ คุปรัตน์
แปลและเรียบเรียงจาก
“University funding cut by £398m” โดย Gary Eason ผู้สื่อข่าวด้านการศึกษาของ BBC (Education correspondent, BBC News)

ในประเทศสหราชอาณาจักร เศรษฐกิจโดยรวมตกต่ำ และซบเซาในระยะที่ยาวนานกว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรป และในโลกประสบ คนตกงานจำนวนมากที่ยังหางานใหม่ไม่ได้ ต้องได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล เป็นเงินทดแทนด้านสวัสดิการแรงงาน แต่นั่นไม่ช่วยเศรษฐกิจของประเทศ

แต่สำหรับคนต่างชาติ ข้อดีของการไปศึกษาต่อในประเทศสหราชอาณาจักประการหนึ่ง คือ ค่าของเงินที่ลดลง ค่าใช้จ่ายในการศึกษาโดยรวมลดลง รวมถึงค่าเล่าเรียน แต่ผลที่ติดตามมาคือ ระหว่างที่เรียนอยู่นั้น โอกาสในการหางานทำที่ดี เพื่อช่วยลดค่าใข้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนก็จะมีลดลงตามไปด้วย ยกเว้นในงานระดับล่าง งานที่คนอังกฤษเองไม่สนใจที่จะทำ ซึ่งก็คงพอจะมีอยู่บ้าง

พรรคฝ่ายค้าน คือ พวก Tories ซึ่งมีโอกาสที่จะได้เป็นรัฐบาลในสมัยต่อๆไป ได้เสนอให้มหาวิทยาลัยต้องมีที่เรียนที่เพิ่มขึ้นอีก 10,00 ที่นั่งโดยไม่ทำให้ต้องลดคุณภาพการศึกษา และในขณะเดียวกัน ไม่ได้รับเงินสนับสนุนเพิ่มขึ้น และตามการแจ้งของรัฐบาลพรรคแรงงานในปัจจุบัน จะต้องลดค่าใช้จ่ายโดยรวมลงไปอีก โดยงบประมาณอุดมศึกษาจะถูกตัดไปอีก ตัดงบประมาณไปอีก 398 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 21890 ล้านบาท

จากการเรียนในมหาวิทยาลัยที่ใช้เวลาเรียนในระดับปริญญาตรีรวม 3 ปี มีความพยายามที่จะลดค่าใช้จ่าย โดยร่นเวลาให้เหลือ 2 ปี หรือ 2 ปีครึ่ง ทั้งนี้โดยมีการขยายเวลาเรียนโดยเพิ่มการให้เรียนเพิ่มเติมในภาคฤดูร้อน และเรียนหน่วยกิตเพิ่มขึ้นในระหว่างเรียนภาคการศึกษาปกติ

ที่มหาวิทยาลัย Staffordshire เป็นตัวอย่าง มีนักศึกษาจำนวน 200 คนจากจำนวนผู้เรียนที่มีทั้งสิ้น 17000 คนที่ได้เลือกเรียนในหลักสูตรแบบ 2 ปี สายการเรียนที่เป็นการทดลองเรียนนี้ มีในสาย การบัญชีและการเงิน (accounting and finance), ธุรกิจ (business management), ภาษาอังกฤษ (English), ภูมิศาสตร์ (geography) และกฎหมาย (law)

คนที่เรียนในระบบสองปีนั้นไม่ได้เรียนแบบลดคุณภาพ เพราะเขาต้องเรียนจำนวนหน่วยกิตเหมือนพวกที่เรียน 3 ปี แต่เรียนในภาคฤดูร้อนเพิ่มขึ้น

การเรียนในเวลาที่ลดลง รัฐบาลก็จ่ายเงินสนับสนุนในรูปเงินช่วยเปล่า (Grants) และ จ่ายเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาลดลง สำหรับเงินกู้ (Loans) นั้นผู้เรียนต้องกลับมาจ่ายคืนในช่วงเวลาหลายๆปี

แต่การที่ผลักด้นให้ต้องลดเวลาเรียนลงนี้ ทำให้มหาวิทยาลัยต้องปรับหลักสูตรใหม่ เพื่อให้สอดรับกับเวลาเรียนที่ลดลงเหลือ 2 ปี หรือ 2 ปีครึ่ง

อีกด้านหนึ่งที่ต้องมีการปรับโครงสร้างองค์การ ระบบสาธารณูปโภค ต้องมีการขยายเวลาทำงานขึ้น การให้การสนับสนุนด้านที่พัก หอพัก ห้องสมุด และระบบคอมพิวเตอร์และบริการข้อมูลต่างๆที่ต้องเพิ่มขึ้น แม้จะไม่ใช่เป็นการเพิ่มในทั้งหมด

สำหรับการเปลี่ยนแปลงในทิศทางนี้ทำให้เกิดความเครียดและความไม่เห็นด้วยในหมู่ผู้สอน สำหรับครูอาจารย์ที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องมีทางเลือกที่จะเกษียณตัวเอง แต่ถ้าจะอยู่ทำงานต่อ ก็ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงนี้

หลักสูตรที่เรียนในแบบลดเวลาเรียนนี้ จะมีผลต่อหลักสูตรพื้นฐาน และหลักสูตรเร่งรัด (Fast-track degrees) ซึ่งจะมีลักษณะดึงดูดสำหรับเยาวชนที่ต้องการการศึกษาทางด้านที่จะไปช่วยในการประกอบอาชีพได้เร็วๆ

ปรากฏการณ์หนึ่งที่น่าสนใจ และเป็นการสวนทางกันกับการบริโภคทั่วไป คือ เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ กลับมีคนกลับสนใจมาเรียนในระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น ในขณะที่เมื่อก่อนเยาวชนส่วนหนึ่งจะเข้าสู่ตลาดแรงงานก่อนเลย เมื่อมีตำแหน่งงานที่ดีพอรองรับ และค่อยมาเรียนในระหว่างทำงาน แต่เมื่อตลาดงานไม่มีตำแหน่ง เพราะคนว่างงานในตลาดก็มีอยู่มากแล้ว เยาวชนจึงหันไปคั่นเวลาดัวยการศึกษาต่อ แต่มหาวิทยาลัยก็จะไม่มีงบประมาณที่จะจ่ายสำหรับสนับสนุนการศึกษาได้ มหาวิทยาลัยที่อยากขยายการรับนักศึกษามากขึ้น ก็จะไม่มีงบประมาณเพิ่มที่จะรับผู้เรียนเพิ่ม ยกเว้นกับผู้เรียนที่สามารถจ่ายค่าใช้จ่ายได้เองโดยตรง ซึ่งก็จะเป็นนักศึกษาต่างชาติ (International Students) หรือนักศึกษาจากนอกประเทศสหราชอาณาจักร หรือไม่ มหาวิทยาลัยก็ต้องคิดวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานภายในของมหาวิทยาลัย และหลายฝ่ายภายในมองว่าเป็นการลงโทษมหาวิทยาลัยที่ประสบความสำเร็จและเป็นที่ดึงดูดโดยทางอ้อมนี้ เหมือนภาษาไทยที่มีสุภาษิตว่า วัวดีบ่าแตก คือยิ่งทำดี ยิ่งเหนื่อยมาก

ศัพท์อันเกี่ยวกับทางเดินเท้าข้างถนน (Sidewalk)

ศัพท์อันเกี่ยวกับทางเดินเท้าข้างถนน (Sidewalk)

ภาพ ย่านคนจีน (Chinatown) เป็นเมืองเก่า
เมืองซานฟรานซิสโก (San Francisco)
รัฐแคลิฟอร์เนีย (California)
ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA)
ทางคนเดินที่คับแคบ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia และอื่นๆ

ความนำ

ใน สมัยผมเป็นเด็กๆ เราเรียกทางเดินเท้าริมถนน หรือข้างถนนว่า “ฟุตปาต” ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษว่า Footpath ซึ่งในภาษาอังกฤษโดยทั่วโลกมีการใช้ที่แตกต่างกัน แต่อาจเข้าใจร่วมกันได้ หรือใช้ร่วมกันได้ ซึ่งโดยรวมๆ ก็หมายความถึงทางเดินริมถนน เมื่อเราสร้างถนนขึ้นมา แสดงว่าจะมีรถหรือยานพาหนะต่างๆมาใช้วิ่งกันอย่างขวักไขว่ และขณะเดียวกัน ก็จะมีคนเดินทางโดยใช้ทางเดินนี้ไปด้วย จึงต้องมีการจัดแบ่งทางกัน โดยให้คนใช้เดิน (Pedestrians) ด้านข้าง หรือริมถนน แต่คำที่ใช้ในภาษาอังกฤษนี้มีต่างกันในแต่ละประเทศ

การใช้คำที่แตกต่างกันนี้ อันที่จริงอาจใช้และยังเข้าใจร่วมกันได้ ได้แก่

ประเทศ สหราชอาณาจักร (UK) ใช้คำว่า pavement มีการใช้คำว่า pavement ในประเทศสหราชอาณาจักร (British English), ประเทศอัฟริกาใต้ (South African English) ประเทศสหรัฐอเมริกาในส่วนวัฒนธรรมคนส่วนน้อยดังที่เมืองฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia dialect) ประเทศไทยเองก็มีการใช้คำดังกล่าวแบบทับศัพท์ เช่นกัน

ประเทศในอเมริกาเหนือ อันได้แก่ แคนาดา และสหรัฐอเมริกา (CA, US) ใช้คำว่า sidewalk หรือทางเดินด้านข้างถนน
ประเทศ ออสเตรเลีย (AU) ไอร์แลนด์ (IE) อินเดีย (IN) ใช้คำว่า footpath และประเทศไทยเองสมัยหนึ่งก็ได้ใช้คำนี้ ซึ่งเรียกทับศัพท์ว่า ฟุตปาต

คำ ว่า footpath นี้ ใช้ในประเทศออสเตรเลียส่วนที่พูดภาษาอังกฤษ (Australian English, ในไอริชในส่วนที่พูดภาษาอังกฤษ (Irish English), ในประเทศอินเดีย (Indian English), ประเทศปากีสถาน (Pakistani English) และประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand English)

มีการใช้คำว่า platform ในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะที่พูดกันโดยชาวอินเดีย (Indian English) ความจริงมีการใช้คำนี้ในความหมายอื่นๆอีกมาก ซึ่งอาจทำให้เข้าใจแตกต่างกันไปเลย ดังคำที่ใช้กันในวงการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทั้งหลาย

คนทำหน้าที่ ทำถนนเอง (Engineering term) มีการใช้คำว่า footway ซึ่งเป็นทาง (path) สำหรับคนเดินถนน (pedestrians) ซึ่งมีสร้างกันข้างถนน (alongside a road) ซึ้งอาจจะเป็นทางที่ปูด้วยอิฐ คอนกรีตบลอค หรือราดด้วยคอนกรีต หรือยางมะตอย หรือ Asphalt ซึ่งอาจมีการสร้างบนลานหญ้ากว้างที่ต้องการแยกทางเดินออกจากสนามหญ้าในสวน สาธารณะ หรือสนามหญ้าขนาดใหญ่ทั้งหลาย เพราะแม้ไม่สร้างทางเท้าให้คนเดิน คนก็จะยังฝ่าฝืนเดินข้ามสนามอยู่ดี

A sidewalk may accommodate moderate changes in grade. However, "walkway" is a more complete term for support of walking, and includes stairs, ramps, paseos (passageways) and related off-street tools that provide for a developed pathway.

การสร้างเดินทางข้างถนน หรือริมถนนนั้น บางทีจะมีการสร้างเฉพาะทางโค้ง หรือบริเวณที่เป็นความเสี่ยงมากกว่าที่อื่นๆ ส่วนบริเวณทางเรียบ ก็จะยังไม่สร้างก็มี

Sometimes, there is an area called a parkway or tree lawn in between the sidewalk and the street. For a photo showing a parkway, see image "Sidewalk in Oak Park, Illinois" in the gallery below.

การสร้างทางข้างถนน
Construction of sidewalks


วัสดุ ในการใช้สร้าง อาจมีได้หลากหลายแล้วแต่ความเหมาะสม ซึ่งนักออกแบบและวิศวกร และเจ้าของโครงการจะเป็นฝ่ายพิจารณา ซึ่งก็ต้องให้มีทั้งดูสวยงาม (Forms) การทำหน้าที่ได้ดี (Function)

ทางเดินทำด้วยไม้
Wooden Boardwalks

ทางเดินที่ทำด้วยไม้ เรียกว่า sidewalks of wood ทางเดินที่ปูด้วยกระดาน เรียกว่า boardwalks คำว่า Boardwalks นี้ ยังไม่พบความหมายที่แปลแล้วยอมรับกันในภาษาไทย

ทางเดินจากฝั่งไปสู่ชายหาด ขนาดไม่กว้างนัก มีราวกันลื่นไว้ให้จับ ยกระดับ เพื่อไม่ให้รบกวนธรรมชาติ บางแห่งยกให้สูงเพื่อหลบเลี่ยงให้สัตว์อย่างนกเพนควิน (Penquins) ได้เดินขึ้นฝั่ง รอดด้านใต้ไปยังที่พักได้ โดยไม่รู้สึกได้รับการรบกวน

ทางเดินในวนอุทธยาน (Widelife) ในเขตชื้น ทำทางเดินด้วยไม้ที่แคบ ไม่ต้องการให้ไปรบกวนสิ่งแวดล้อม แต่ขณะเดียวกัน ทำทางเดินเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้มาเยี่ยมชม บางจุดมีความชื้นที่อาจลื่นเป็นอันตรายได้ จึงมีการปูด้วยตะข่ายหรืออื่นๆ

ทางเดินที่กว้างพอประมาณ ขนาด 1.50-2.00 เมตร คนหรือรถเข็นสามารสวนทางกันได้ เป็นทางเดินเข้าไปในป่า

ทางเดินจากฝั่งไปสู่ริมหาด ซึ่งปกติ อาจมี Sand dune ตามธรรมชาติที่ไม่ไปรบกวนการก่อตัว และสำหรับคนต้องการเล่นน้ำชายฝั่ง ที่ทำให้ไม่มีทรายติดเท้า ระหว่างเดินไปบนสะพานยามขึ้นจากทะเล จะทำให้ทรายค่อยๆหลุดจากเท้า หรือรองเท้าไปจนเกือบเหมด

U.S. Navy personnel building a concrete sidewalk

ผลจากการสร้างทางเท้า Effects of sidewalks

ใน รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา สำนักทางหลวงของรัฐได้ตีพิมพ์งานวิจัยในปี ค.ศ. 2005 พบว่าการสร้างทางเท้าข้างถนนนี้ มีมีส่วนลดปัญหาอุบัติเหตุเฉพาะบริเวณนั้นๆ เฉลี่ยร้อยละ 74 การสร้างถนน แล้วในเขตที่ต้องมีคนใช้เพื่อการสัญจร โดยที่เราไม่ได้ทำทางเท้าให้เห็นแยกชัดเจนแล้ว จะเกิดปัญหาอุบัติเหตุสำหรับคนเดินทางที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยอุบัติเหตุอาจเกิดจากหลายสิ่งด้วยกัน เช่นจากรถและยานพาหนะขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ความกว้างของถนนมากกว่ารถทั่วไป เช่น รถบรรทุก รถโดยสารขนาดใหญ่ หรืออาจจากรถขนาดเล็ก รถหรือยานพาหนะที่ต้องวิ่งช้า และวิ่งเรียบข้างถนน แม้แต่รถสามล้อเครื่อง รถจักรยานยนต์ หรือรถจักรยานที่ถูกผลักให้ต้องวิ่งชิดข้างทาง

การ สร้างทางข้างถนน ต้องคิดถึงในทางปฏิบัติว่า ทำแล้วเกิดประโยชน์ใช้งานได้จริงหรือไม่ ไม่ใช่เพียงแต่สักว่าสร้างให้มี แต่ในทางปฏิบัติแล้วใช้ไม่ได้

ทางทำด้วยอิฐ (Bricks)

ทางเดินปูด้วยอิฐแดง (Red Bricks)

ทางทำด้วยหิน (Stones)

ทางเดิน (Sidwalk) ที่ปูด้วยหิน

ทางเดิน (Sidwalk) ที่ปูด้วยหิน

การสร้างทางเดินเท้า (Sidwalk) ทำได้ด้วยวัสดุและวิธีการได้หลายวิธี ดังเช่น

- หินเคล้ายาง (tarmac)

- ลาดยางมะตอย (asphalt)

- การปูด้วยอิฐ (brick) ดังในกรณีที่ใช้ในยุโรป (particularly in Europe),

- การปูด้วยหิน (stone), Stone slabs called หรือหินปูพื้น (flagstones)

- แผ่นหิน หรือแผ่นซีเมนต์ (slab or (increasingly)

- การปูด้วยยาง (rubber)

ขนาดของทางคนเดิน


ทางคนเดินควรมีความกว้างสักเท่าใด เป็นเรื่องที่ตอบได้ยาก หากมันมีการทำกันมานานแล้ว สิทธิในที่ดินได้มีการกำหนดมอบไปแล้ว จะไปเรียกคืนเพื่อทำเป็นทางคนเดินนั้นเป็นเรื่องยาก แต่หากเมืองใดที่จะต้องสร้างและพัฒนาใหม่ ควรมีมาตรฐานทางคนเดินเอาไว้ กำหนดมาตรฐานความกว้าง ระดับความเรียบความชัน

การต้องคิดเผื่่อคนที่ต้องใช้รถเข็น เช่น รถเข็นเด็กนั่ง รถสำหรับคนพิการ หรือคนชรา สำหรับผู้เขียนแล้ว ขนาดกว้าง 2 เมตรเป็นอย่างน้อยน่าจะเป็นสิ่งที่ดี หรือหากแคบกว่านั้น ก็ควรไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร และให้มีช่วงที่รถเข็นด้วยกันจะต้องมีสวนทางกัน แล้วหลีกทางกันได้

ภาำำพ ขนาดทางไม่กว้างนัก มีเสาสัญญาณ หรือเสาไฟมาบังเป็นบางส่วน แต่ก็มีทางที่จะหลีกกันได้

คอนกรีต (Concrete)


ทางเดินแบบเทคอนกรีต แต่กันแบ่งเป็นบลอค (Blocks) และมีมีวัสดุยืดหยุ่น เช่นยางมะตอย ยาง หรือไม้เนื้ออ่อนขั้น เพื่อให้ความยืดหยุ่นเมื่่ออากาศเปลียนแปลง ร้อนหรือหนาว จะได้ไม่ทำให้ผิวแตกร้าว

ทางเดิน (sidewalk) ที่ทำด้วยคอนกรีตเทเป็นช่วงๆ และจัดแบ่งเป็นบลอค เพื่อป้องกันการขยายหรือหดตัว ยามอากาศร้อนหรือหนาว

ทางเดินที่ดีต้องมีการออกแบบให้ดี ไม่ใช่ว่าสักแต่ว่าสร้างให้เสร็จ ทางเดินในภาพมีเสาถนนยกระดับขนาดใหญ่ขวาง ทางเดินที่ออกแบบดี ควรมีทางเลี่ยงให้คนเดินหลีกไปทางด้านซ้าย ไ่ม่ใช่ให้เดินไปชนเสาตอหม้อคอนกรีตขนาดใหญ่ ภาพนี้คนถ่ายเขาได้มาจาก ณ ที่หนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย (Chiangmai, Thailand)

การทำทางคนเดินด้วยคอนกรีต และเว้นที่ว่างสำหรับต้นไม้ใหญ่ที่ได้ปลูกเป็นแนว ต้นไม้ให้ร่มเงาสำหรับคนเดิน สามารถใช้หญ้าปูในบริเวณดินเปลือย เพื่อคลุมดิน และให้ความงดงามแก่ภูมิทัศน์ได้

ภาพในประเทศไทยเราเองนี้แหละ ไม่ต้องบอกว่าเป็นที่ใด ทางคนเดินนั้นทำไว้แล้ว แต่ก็ต้องมีการทรุดโทรมลง แล้วจะต้องมีคนมาคอยดูแลรักษา (Maintenance) ซึ่งก็จะได้แก่เมือง (City, Town) หรือหมู่บ้าน (Village) หรือชุมชนนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดๆ

การดูแลรักษาทางคนเดินในเขตเมืองหนาวเป็นเรื่องใหญ่ หากเป็นบริเวณถนน จะมีเทศบาล (Municipality) ที่มีคนและรถทำความสะอาดมาจัดการ แต่บริเวณทางคนเดิน (Sidewalk) นั้น เขาก็ต้องมีระบบที่จะต้องมีคนมาจัดการ กวาดเก็บใบไม้ ตัดหญ้าที่งอกงามเกินเลย หรือยามหน้าหนาว มีหิมะตก มีน้ำแข็งเกาะแข็งตัว ทำให้คนเดินลื่นหกล้ม เป็นอันตราย จึงมีกฏหมายให้บ้านเรือนที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ต้องทำหน้าที่เก็บกวาด ดูแลความปลอดภัย และหากปล่อยปละ ก็จะมีความผิดตามกฏหมายได้

ดังภาพต้องเรียกว่า Footpath เหมาะกว่าคำว่า Sidewalk หรือทางเดินริมถนน เพราะในภาพจะไม่เห็นว่าเป็นถนน เป็นทางสำหรับคนเดินเป็นหลัก แต่ก็เป็นทางเดินสำหรับสาธารณะ (Public footpath)

ทางเดินแคบๆนี้ ถือเป็นทางสาธารณะ (Public footpath) ต้องมีคนรับผิดชอบดูแล แล้วแต่กฏระเบียบของเมือง

ทางเดิน (Footpath)ในสวน มีขนาดกว้างเพียงพอ มีต้นไม้ร่มรื่น อยู่ในบริเวณเมือง

ทางเดิน (Footpath)ในสวนสาธารณะ ที่ีในทุกเมืองต้องมีการเตรียมไว้สำหรัยให้คนได้ออกกำลังกาย โดยเฉพาะคนในเมืองที่มีขนาดคนกว่า 10,000 คนขึ้นไป ต้องคิดเตรียมการเรื่องพื้นที่สีเขียวเอาไว้ให้เพียงพอ

ทางเดิน (Footpath)ในสวน
ทางเดิน (Footpath) ทำด้วยการวางก้อนหิน เป็นบริเวณทางบนเนินเขา มีน้ำกัดกล่อน เสียหายได้ง่าย ต้องมีการคอยดูแล (Maintenance)

ทางเดินริมคูหรือคลอง (Footpath) ที่ทำคู่ืขนานไปกับคูหรือคลอง

บริเวณโกดัง ทางเดินขนาดกว้าง ก็สะดวกในการขนสินค้าขึ้นและลงจากรถบันทุก คนทำงานก็สะดวกขึ้นในการขนส่งสินค้า

ทางเดินที่ทำด้วยคอนกรีตบลอค (Concrete blocks) ที่เล่นสีสันที่ตัดกัน และสอดรับไปกับกำแพงด้านข้าง เป็นไปตามการออกแบบของสถาปนิก

ทางเดินที่ทำด้วยคอนกรีตบลอครูปตัวหนอน ที่เมื่อพื้นดินทรุด ก็รื้อมาปรับประดับแล้ววางใหม่ได้ และจะสังเกตุได้ว่าในต่างประเทศ เขาจะทำให้ระดับเรียบเสมอกับสนาม เพื่อใช้รถตัดหญ้ามาตัดได้ ลดค่าการดูแลลงไป

ทางเดินบริเวณสะพานข้าม ต้องดูแลบ่อยๆ เพราะบริเวณลอยต่อระหว่างสะพานกับพื้นเรียบของถนนนั้น มีการทรุดตัวไม่เท่ากัน จะทำให้คนสัญจรที่ต้องใช้รถเข็น ไม่ว่าจะเป็นรถเข็นเด็ หรือ รถนั่งสำหรับคนพิการ หรือคนชรา จะลำบากในการสัญจร



ทางเท้าในประเทศออสเตรเลีย

สิ่งที่ประเทศออสเตรเลียมีที่เราควรได้ศึกษา คือเรื่องของการวางผังเมือง เขาจัดให้มีระบบรถราง (Tramps) ซึ่งจะมีการวิ่งตรงรางส่วนกลางของถนน วิ่งแบบสวนสองทางคู่

รถรางในเมืองเมลเบอร์น ประเทศออสเตรเลีย (Melbourne, Australia)

ถนนในตรอก มีขนาดแคบ เขาจะทำทางเท้าแบบต่ำ ขอบเลียดมน เพื่อให้รถสามารถชับเข้าจอดไ้ด้อย่างใกล้ชิด ทำให้เปิดทางอีกด้านสำหรับรถอื่นๆจะวิ่งได้มากขึ้น

รถยนต์วิ่งด้านข้าง 2 ลู่ ส่วนกลางถนนมีอีก 2 ราง ทางเดินเท้าส่วนหนึ่งก็ไปอยู่ตรงกลางถนน สำหรับคนจะขึ้นและลงรถรางด้วย

สำหรับในเมืองขนาดกลางและเล็ก ทางเท้าก็จะมีลักษณะเดียวกัน คือขอบไม่สูง รถปีนขึ้นไปทำกิจกรรมบางอย่างได้ ส่วนทางเดินเท้า เขาจะเตรียมพื้นที่ไว้ให้มีได้กว้างทีเดียว

ทางเดินเท้าที่บางที่ บางช่วงต้องเปิดทางให้รถเข้าไปจอดได้สะดวก

ทางเท้าในประเทศอังกฤษ

ภาพที่จะแสดงต่อไปนี้ ถ่ายจากกรุงลอนดอน (London, UK)

ริ่มถนนในประเทศอังกฤษ ดังกรุงลอนดอน ไม่มีชายคาไว้กันแดดหรือกันฝน เขามีวัฒนธรรมการใส่เสื้อฝน หรือถือร่มติดมือ เพราะฝนอาจจะตกเมื่อใดก็ได้

ขอบทางของเชาก็คล้ายๆกัน คือไม่ยกสูง รถหรือยานพาหนะสามารถปีนขึ้นไป หรือปาดเข้าจอดได้อย่างชิดขอบ โดยไม่ต้องกลัวไปครูดกับขอบทางอย่างในบ้านเรา

ชายคามีเฉพาที่ป้ายจอดรถประจำทาง (Bus stop)

ตู้ขายของมีได้เป็นจุดๆ โดยต้องมีใบอนุญาต ไม่ใช่ใครจะไปกางขายของได้ตามใจชอบ

ถนนจะเปียกตลอดเวลา ทางเดินของคนเดินถนน จะปลอดภัยหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขอบของถนนว่าจะสูงเพียงใด แต่ขึ้นอยู่กับแต่ละฝ่ายต้องรู้ว่าควรจะปฏิบัติตนอย่างไร แต่ที่เหมือนกัน คือ

- ไม่มีสายไฟระโยงระยางในอากาศ เขาเก็บสายไฟลงใต้ดินหมด
- ชายขอบถนนไม่ยกสูง ไม่มีการถมดิน ถมถนน ยกระดับกันบ่อยๆดังในกรุงเทพฯ
- ใช้รถเมล์หรือรถประจำทาง (Bus system) ไม่ส่งเสริมให้มีรถยนต์วิ่งได้อย่างเสรี เขามีเขตที่เรียกว่า Congestion Control Zone (CCZ) จำกัดรถที่จะวิ่งในใจกลางเมือง ต้องจ่ายค่าเข้าเมือง ยกเว้นเป็นรถยนต์ไฟฟ้า รถจักรยาน หรือจักรยานยนต์ที่ประหยัดน้ำมัน


ทางเท้าในประเทศไทย

ทางเดินเท้า บางแห่งมีขนาดกว้าง ดูมีความสวยงาม แต่ก็จะกลายเป็นลานขายของหาบเร่ ของแบกลางดินไปเสียอีก

ในประเทศไทยเป็นประเืืทศกำลังพัฒนา แต่ขณะเดียวกัน เราตัองการเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ประทับใจ เราจะทำอย่างไรจึงจะสามารถจัดระบบที่ยุติธรรมและมีทางเลือกทางพัฒนาสำหรับคนยากจน คนต้องปากกัดตีนถีบ และอีกส่วนหนึ่งคือการจัดระเบียบสังคมที่เคารพสิทธิของคนอื่นๆ รวมถึงคนที่ต้องใช้ทางเดินเท้า

ในเขตกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร (Bangkok) มีประชากรอย่างเป็นทางการ 6.5 ล้านคน มีทั้งคนมีฐานะ และคนยากจน มีคนที่ต้องใช้ถนน และคนที่ต้องใช้ทางเดินเท้า

ทางเดินเท้าหน้าสถานฑูตอินโดนีเซีย (Indonesia Embassy) บริเวณใกล้กับพันธ์ทิพย์พลาซ่า ถนนเพชรบุรี กรุงเทพฯ (Bangkok, Thailand)

ทางเดินที่มีการสร้างร่มเงาบังแดดบังฝน และมีระบบนำทางสำหรับคนพิการทางสายตา (For the blind)

ทางเดินที่ไม่กว้างนัก แล้วยังมีหาบเร่แผงลอย ที่กีดขวางทางเดิน นอกเหนือไปจากทางเดินขึ้นลงรถไฟฟ้า BTS ที่เข้ามาขวางทางเสียอีกครึ่งหนึ่ง

เหลือช่องทางคนเดินเพียงลู่เดียว

เมื่อมีการปล่อยให้มีหาบเร่แผงลอยใช้พื้นที่ริมถนนกันเป็นเวลานาน จนกลายเป็นสร้างเพิงให้อย่างเป็นถาวร

ภาพที่พบได้ย่านประตูน้ำ ถนนราชปรารภ

ภาพ สายไฟเป็นขดๆที่มัดพาดผ่าน หาบเร่แผงลอยตั้งชิดกับถนน ย่านพันธ์ทิพย์พลาซ่า กรุงเทพมหานคร

ทางเท้าในจังหวัดสุรินทร์

ในเมืองสุรินทร์ (Muang Surin, Surin City) มีประชกรตามที่แจ้งประมาณ 40,000-60,000 คน โดยภาพรวมๆ จัดว่าได้มีการออกแบบผังเมืองที่ดีมาแต่โบราณ แต่กระนั้น เมืองก็ได้เติ บโตกว่าที่ได้เคยวางแผนไว้ และคาดว่าเมืองจะมีโอกาสขยายไปเป็นมีผู้พักอาศัยได้กว่า 100,000 คน แล้วผังเมืองก็จะต้องสะท้อนการให้ความเอาใจใส่ในคุณภาพชีวิตของคน

ทางเท้า ที่จะเรียกว่า Sidewalk, footpath หรืออื่นๆ ล้วนมีความสำคัญที่ฝ่ายบริหารเมืองจะต้องทำความเข้าใจ ผมขอถือโอกาสนี้เรียนรู้ไปพร้อมกับมองสภาพปัญหาและโอกาสในการพัฒนาเมือง การออกแบบเมืองใหม่ เพื่อพัฒนาให้ตอบสนองต่อการพัฒนาบ้านเมืองที่จะมีต่ีอไป

ปัญหาที่จะได้นำเสนอนี้ เป็นไปเพื่อให้ได้มีการเรียนรู้ และทำความเข้าใจ เพื่อการพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมต่อไป ไม่ได้เป็นเจตนาจะกล่าวโทษใครเป็นการเฉพาะ

ทางเดินเท้่าหน้าร้านค้า ที่มีขนาดกว้างพอควร และมีการดูแลให้เรียบร้อย นับเป็นสิ่งที่ดี และการมีขายคาเพื่อกันแดดกันฝน นับเป็นสิ่งที่ดีอีกเช่นกัน เพราะเมืองไทยมีอากาศร้อน และฝนตกบ่อย

แต่ทางเดินเท้าที่กว้างนั้น มักจะไปไม่ได้สุด เพราะจะมีการวางสิ่งของ ทำให้คนเดินเท้า ต้องออกไปใช้ถนนด้านนอกเป็นทางเลี่ยง
การปลูกต้นไม้หน้าบ้านเป็นสิ่งที่ดี แต่หากเป็นการขวางทางเดิน ก็จะไม่ดี ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข

ทางเท้าที่แคบ


ทางเดินเท้า (Sidewalk) มีการจัดทำให้เรียบร้อย นับว่าดูเป็นระเบียบ แต่จะสังเกตุได้ว่า ทางเดินเท้ายกระดับขึ้นไปสู่สัก 20 เซนติเมตร ตั้งชัน ทำให้รถไม่สามารถจอดชิดได้ ซึ่งต้องลองไปดูภาพทางเดินเท้าในต่างประเทศที่เขามีแบบแผนที่ดี ขอบทางเดินเท้าของเขาจะต่ำกว่าของประเทศไทย

ในภาพจะเห็นว่าทางเดินแคบ แล้วยังมีเสาไฟฟ้าไปปักอยู่บนผิวถนน ซึ่งเป็นอันตรายต่อรถที่ขับ หรือจะจอดได้

ฝาท่อที่รุกเ้ข้ามาในทางเดิน ทำให้ทางเท้าเหลือแคบเพียง 30 เซนติเมตร ลองคิดดูว่า หากเขาต้องเข็นรถเด็ทารก (Baby Cart) หรือรถนั่งคนป่วยหรือคนชรา จะเข็นบนทางเืท้าได้อย่างไร

ทางเดินเท้าต้องถูกเบียดด้วยการปลูกต้นไม้ เหลือที่ทางคนเดินในช่วงดังกล่าวเพียงไม่ถึง 30 เซนติเมตร

ทางเดินเท้าต้องถูกเบียดด้วยการปลูกต้นไม้ เหลือที่ทางคนเดินในช่วงดังกล่าวเพียงไม่ถึง 30 เซนติเมตร


ในบางช่วง เป็นทางรถขนาดแคบ ซึ่งเข้าใจได้ เพราะมีรถวิ่งไม่มาก ในกรณีเช่นนี้ต้องให้เป็นทางรถวิ่งทางเดียว (One way street) หรือต้องหาทางให้มีสัญญาณ หรือมาตรการไม่ให้รถสวนทางกัน และเกิดอุบัติเหตุได้

เมื่อขอบของทางเดิน (Sidewalk) ยกระดับขึ้นสูงและเป็นมุมชัน 90 องศา เมื่อจะมีรถขึ้นหรือลง ก็ต้องมีทางขึ้นเหล็กรองรับ ทำให้มีความยุ่งยากเมื่อต้องนำรถขึ้นหรือลง

การเทปูนสำหรับให้รถมอเตอร์ไซค์ขึ้นเป็นแบบเฉพาะกิจ แต่อาจเป็นอันตรายสำหรับรถที่วิ่งบนถนนแบบชิดขอบ และไม่รู้ว่ามีการโบกปูนเพื่อยกระดับ

ทางเืท้าในประเทศสหรัฐอเมริกา

ลองย้อนกลับมาดูในเมืองทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกา ความจริงเมืองแต่ละเมืองของเขามีการออกระเบียบและแบบแผนที่อาจไม่เหมือนกัน และในรัฐ (State) แต่ละรัฐก็ไม่เหมือนกัน สถาปนิกของเขาในแต่ละเมืองต้องมีการไปสอบผ่านในประกอบอาชีพกันในแต่ละรัฐ ซึ้งมีความแตกต่างกันไปบ้าง ไม่ใช่จะไปประกอบอาชีพได้อย่างอัตโนมัติ

ทางเท้า (Sidewalk) ของเขา ในเมืองเล็กหริอเมืองใหญ่ล้วนมีลักษณะคล้ายกัน คือ ทำให้กว้างพอ ขอบของทางเดินนั้น ก็จะไม่ยกให้สูงกว่าถนนมาก เพราะเขาจะอำนวยความสะดวกให้รถสามารถเข้าจอดข้างทางได้อย่างชิดและสะดวก รถของทางการ ก็สามารถจะทำงานได้อย่างเก็บกวาด หรือจะขับขึ้นไปเพื่อทำงานได้อย่างสะดวกขึ้น

ในเมืองนี้ ทางเดินก็จะมีลักษณะคล้ายๆกัน คือทำให้มีขนาดกว้างพอ และขอบทางเลียดต่ำ ยกระดับไม่สูงขึ้นเพียงเล็กน้อย