Saturday, December 5, 2009

หนังสือที่ไม่ได้อ่าน ก็เป็นเพียงกองเศษกระดาษ

หนังสือที่ไม่ได้อ่าน ก็เป็นเพียงกองเศษกระดาษ

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
รวบรวมและเรียบเรียง

Cw022, Proverbs, สุภาษิตจีน

หนังสือที่ไม่ได้อ่าน ก็เป็นเพียงกองเศษกระดาษ
A book tightly shut is but a block of paper.

ถูกต้องแล้วครับ

หนังสือที่ไม่ได้มีคนเปิดอ่าน มันก็เป็นเพียงมัดกระดาษที่ไร้ค่า เหมือนนิสิต ป.เอก ที่ขยัน Xerox ชีท แต่ไม่มีเวลาอ่าน คล้ายสุภาษิตไทยที่ว่า ไก่ได้พลอย มีของมีค่า แต่มิใช้ประโยชน์

พญ.วณิชชา ภัทรประสิทธิ์
Dr.Wanicha Pataraprasit
โรงเรียนพิจิตรอินเตอร์ Phichitinter School
4/324 ถนนสระหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร 66000
4/324 Sraluang Rd. Muang Phichit 66000

Tel 0-5661-3707 Fax 0-5661-6175
E-mail : wpataraprasit@yahoo.com
เข้าร่วมเมื่อ: 02/11/2005, ตอบ: 67
ที่อยู่: 68/132 ม.4 ม. วิเศษสุขนคร ต.แสมดำ อ.บางขุนเทียน กทม. 10150

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ

หนังสือที่มีเป็นร้อยๆเล่มแต่ไม่รู้ว่าเขาเขียนว่าอะไร เพราะไม่เคยเปิดอ่านเลย จะมีประโยชน์อะไรเป็นแค่กองกระดาษที่ไร้ค่าแถมยังเปลืองสถานที่เก็บอีกต่าง หาก ต่อมาก็ถูกปลวกกินแทะ และหมดไป ไม่มีคุณค่าใดๆ แต่ถ้าได้อ่านหนังสือเพียงหนึ่งเล่ม ก็สามารถที่จะรู้ในสิ่งที่หนังสือนั้นกล่าวไว้ จะมากจะน้อยก็เป็นความรู้ที่เพิ่มขึ้นในตัวผู้อ่านเอง ดังนั้น การมีหนังสือ เอกสารท่วมหัวเก็บไว้ ใครมีอะไรก็ต้องมีด้วยโดยไม่อ่านจะมีประโยชน์อะไรในการนำไปใช้ ดังนั้นสุภาษิตนี้จึงสอนว่า ควรอ่านหนังสือทุกเล่มที่มี อ่านเอกสารทุกแผ่น หรือถ้ามีหนังสือเพียงเล่มเดียวก็จงอ่านเถอะ จะเป็นประโยชน์มหาศาล ดีกว่าทิ้งให้ปลวกอ่านแทนอีกนะจะบอกให้

นาวาโทหญิงสอาดจิต ชลวิทย์
CDR. SAADJIT CHOLAVITH
504/57 วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ ถ. ตากสิน อ. ธนบุรี กทม.
E-MAIL : scholavith@yahoo.com
นิสิตปริญญาเอก หลักสูตรครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ความเป็นประกอบ คุปรัตน์

วิทยานิพนธ์ การดูแลงานวิทยานิพนธ์ ทั้งเป็นประธานการสอบ การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ก็มาก การดูแลแต่ละครั้งมีการปรับปรุงแก้ไขกันหลายรอบ ส่วนใหญ่ต้องทำเป็นเอกสาร แล้วมีการแก้ไข ก็แก้ไขกันในระบบกระดาษ ดังนั้น งานแต่ละชิ้น วิทยานิพนธ์แต่ละเล่ม ก็ต้องใช้กระดาษกันไปมากมาย

การเป็นคนชอบซื้อ เดินตามร้านหนังสือ ก็มักจะต้องมีหนังสือที่ซื้อติดไม้ติดมือกลับมา แล้วบางทีก็ต้องยอมรับว่าไมได้อ่านทั้งหมดหรอก แม้ว่าจะจ่ายเงินซื้อมาเอง นี่ยังไม่รวมหนังสือที่เขามอบให้ในการไปประชุมเป็นกรรมการมูลนิธิต่างๆ ดังนั้น สิ่งที่ทำได้คือการรวบรวมแล้วหาที่ๆจะบริจาค ให้ไปอยู่ในสถานศึกษา ให้เขาได้อ่านกัน โอกาสที่คนจะอ่านจะมีมากกว่า และได้ประโยชน์กว่า

ส่วนตัวผมเองในระยะหลังนี้ พยายามไม่ซื้อหนังสือ หรือหนังสือพิมพ์เลย ฟังข่าวทีวีตอนเช้า แล้วก็เข้าค้นหาข่าวสาร หรือบทความที่ดีๆที่สามารถค้นได้ผ่านอินเตอร์เน็ต และในขณะเดียวกัน ผมก็จะเขียนบทความลงใน Website ที่สร้างขึ้น และยกให้เป็นสมบัติสาธารณะครับ ใครอยากนำไปใช้ ก็เพียงอ้างอิงให้ถูกต้อง หากมีอะไรจะแนะนำผม ก็บอกมาครับ เพื่อจะได้ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

ในระยะหลังนี้ ผมคิดจะรวบรวมข้อเขียนแล้วจัดทำเป็นหนังสือเหมือนกัน แต่ก็ได้แต่คิดครับ แต่ขณะที่คิดนั้น ก็เขียนงานไปเรื่อยๆ แต่อยากให้มีคนมาช่วยกันเขียนแบบผม เพื่อนๆที่เกษียณอายุแล้ว ทำอะไรที่ท้าทาย และสนุก เรียกว่าทำ Virtual Books คือไม่มีหนังสือออกมาจริงๆหรอก แต่มีผลงานออกมาในรูปของการเขียนในอีกแบบหนึ่ง เขียนอย่างวันนี้ เขียนเสร็จภายใน 1 นาทีก็นำเสนอเข้าไปในเครือข่ายเลย

1 comment:

  1. ผมคิดแล้วเป็นห่วงพวกคนทำหนังสือพิมพ์นะครับ เพราะตอนเช้าๆ คนก็เข้าไปบริโภคข่าวผ่านโทรทัศน์ เข้าใช้อินเตอร์เน็ต ก็ดูข่าวแบบผ่านๆ กับ Twitter หรือสื่อสั้นๆอื่นๆ แล้วก็เลือกไปอ่านหนังสือพิมพ์เท่าที่เขานำเสนอออนไลน์ในรูป Breaking News

    คนบริโภคข่าวกันมากด้วยวิธีการผ่านเครือข่ายอย่าง Internet และ Mobilephone ผมคิดว่า สื่อหนังสือพิมพ์ทั้งหลายจะต้องหาทางทำให้สื่อนั้นเป็นแบบ Multimedia นำเสนอได้หลายๆทาง ทั้งทางวิทยุ โทรท้ัศน์ โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ผ่านอินเตอร์เน็ต ฯลฯ หากอาศัยสื่อกระดาษอย่างหนังสือพิมพ์อย่างเดียว คงได้ล้มละลายกันไปตามๆกัน เหมือนที่ได้เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ

    ReplyDelete