Wednesday, December 9, 2009

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น

ภาพที่ 1 Thomas Alva Edision
นักประดิษฐผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกัน

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
มูลนิธิก้าวไกลในเอเซีย
SpringBoard For Asia Foundation (SB4AF)
ห้อง 2 -106 (อาคาร 2 ชั้น 1) เลขที่ 2/1
ถ.พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์. 0-2354-8254-5
โทรสาร 0-2354-8316
Website: www.sb4af.org
E-mail: info@sb4af.org

Updated: Sunday, April 12, 2009
Cw022 สุภาษิต การทำงาน ความพยายาม

Honore de Balzac: ครูผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งได้กล่าวเป็นภาษาอังกฤษว่า “There is not great talent without great will power.” แปลเป็นไทยได้ว่า “ไม่มีพรสวรรค์ไดๆ ที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าความพยายาม” อัน คนเรานั้นหากมีพรสวรรค์ติดตัวมาแต่เกิด แต่ถ้าเขาไม่รู้จักแสวงหาและใช้ความพยายามแล้ว พรสวรรค์ของเขาก็จะไม่มีความหมายและไม่มีประโยชน์อะไร

คนเรามีพรสวรรค์อยู่กับตัวมากมาย แต่ไม่มีความพยายาม เป็นนักกีฬาก็ไม่หมั่นฝึกฝน ขีเกียจ พรสวรรค์นั้นๆ ก็ไม่สามารถแสดงออกมาให้เห็นได้

คน ที่ได้รับมรดกจากครอบครัว เกิดมารวย แม้มีความสามารถมากมาย แต่พอใจกับการกินบุญเก่า ไม่ได้ขวนขวายอะไรเพิ่มเติม ไม่ช้าสิ่งที่ได้รับมา ก็จะค่อยๆหมดไป หรือมีอยู่ แต่ก็ไม่มีความหมายอะไรมากนัก

โธมัส แอลว่า เอดิสัน (Thomas Edison) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ ได้กล่าวว่า “There's no substitute for hard work.” หรือแปลเป็นไทยได้ว่า ไม่มีอะไรจะมาทดแทนการทำงานหนักได้

เอดิสันไม่ได้เกิดมาอย่างคนเก่งกาจ ในตอนเด็ก ครูของเขา คือบาดหลวงชื่อ Engle เรียกเขาว่า "คนกลวง" (Addled) เพราะเขาเป็นคนใจลอย สติไม่อยู่กับการเรียน จนแม่ของเขาตัดสินใจนำเขาออกจากโรงเรียน หลังจากที่เรียนไปได้เพียง 3 เดือน โดยเธอต้องจัดการเรียนการสอนพิเศษให้เขาที่บ้าน ซึ่งต้องจัดว่าเป็น Home school แรกๆที่เรารู้จัก เมื่อโตขึ้นมาสักหน่อย เขามีอาการหูตึง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากไข้ Scarlet ใน ช่วงหนึ่งของชีวิต เขาเคยเล่าว่าได้ถูกพนักงานรถไฟตบที่บ้องหู เพราะห้องทดลองบนรถไฟที่เขาทำงานอยู่ได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้น การกระทบกระเทือนทำให้เขามีอาการหูตึงไปตลอดชีวิต

ภาพที่ 2 หลอดไฟ (Light Bulb)
ที่เขาประดิษฐขึ้นเป็นต้นแบบ

เอ ดิสันเป็นคนทำงานหนัก ทำด้วยใจรัก ใจจดจ่อในสิ่งที่ทำ และทำจนกระทั้งเสียชีวิต คนอเมริกันในยุคของเขา ที่เป็นนักบุกเบิกอีกหลายๆคน ก็มีลักษณะเช่นนั้น แต่ในยุคต่อๆมา คุณสมบัติของความพยายาม ทำอะไรอย่างบากบั่นก็เริ่มจะเลื่อนหายไปในสังคมที่กินดีอยู่ดี สังคมอเมริกันปัจจุบัน ได้สูญเสียคุณค่าการทำงานขยันหมั่นเพียร การทำงานหนัก ทำอย่างทุ่มเทลงไป คนรุ่นใหม่กินมากขึ้น ออกกำลังกายน้อยลง และเป็นโรคอ้วนมากขึ้น

คน ไทยในปัจจุบัน ก็มีลักษณะเช่นนั้น คือ หนักไม่เอา เบาไม่สู้มากขึ้นเป็นลำดับ งานหนักทำไม่ไหว ก็จะมีการนำแรงงานต่างชาติเขามาทำ ส่วนงานระดับสูง ยาก เราทำไม่เป็น ก็ซื้อจากต่างประเทศ คนชั้นกลางรุ่นใหม่กลายเป็นผู้บริโภค โดยทำงานให้กับสังคมลดลงเรื่อยๆ

สิ่ง ที่น่าเป็นห่วงสำหรับลูกหลานคนชั้นกลางทั่วไป ที่พ่อแม่มีความพร้อมที่จะให้กับลูกในทุกๆ ด้าน มีทรัพยากร มีความรักและเลี้ยงลูกอย่างทะนุถนอม และสำหรับเด็กและเยาวชนยุคใหม่ เขามีเครื่องไม้เครื่องมือในการเรียนรู้ได้มากมาย แต่ก็นั่นแหละ สิ่งเหล่านี้และทุกสิ่งที่พ่อแม่ได้จัดเตรียมและมีให้นั้นจะไม่เกิดประโยชน์ ได้มากนัก หากท้ายสุดเด็กๆ และเยาวชนยังติดยึดกับการเสพวัตถุนิยม การชื่นชมกับการอยู่อย่างสบาย

No comments:

Post a Comment