ภาพ ย่านคนจีน (Chinatown) เป็นเมืองเก่า
เมืองซานฟรานซิสโก (San Francisco)
รัฐแคลิฟอร์เนีย (California)
ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA)
ทางคนเดินที่คับแคบ
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia และอื่นๆ
ความนำ
ใน สมัยผมเป็นเด็กๆ เราเรียกทางเดินเท้าริมถนน หรือข้างถนนว่า “ฟุตปาต” ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษว่า Footpath ซึ่งในภาษาอังกฤษโดยทั่วโลกมีการใช้ที่แตกต่างกัน แต่อาจเข้าใจร่วมกันได้ หรือใช้ร่วมกันได้ ซึ่งโดยรวมๆ ก็หมายความถึงทางเดินริมถนน เมื่อเราสร้างถนนขึ้นมา แสดงว่าจะมีรถหรือยานพาหนะต่างๆมาใช้วิ่งกันอย่างขวักไขว่ และขณะเดียวกัน ก็จะมีคนเดินทางโดยใช้ทางเดินนี้ไปด้วย จึงต้องมีการจัดแบ่งทางกัน โดยให้คนใช้เดิน (Pedestrians) ด้านข้าง หรือริมถนน แต่คำที่ใช้ในภาษาอังกฤษนี้มีต่างกันในแต่ละประเทศ
การใช้คำที่แตกต่างกันนี้ อันที่จริงอาจใช้และยังเข้าใจร่วมกันได้ ได้แก่
ประเทศ สหราชอาณาจักร (UK) ใช้คำว่า pavement มีการใช้คำว่า pavement ในประเทศสหราชอาณาจักร (British English), ประเทศอัฟริกาใต้ (South African English) ประเทศสหรัฐอเมริกาในส่วนวัฒนธรรมคนส่วนน้อยดังที่เมืองฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia dialect) ประเทศไทยเองก็มีการใช้คำดังกล่าวแบบทับศัพท์ เช่นกัน
ประเทศในอเมริกาเหนือ อันได้แก่ แคนาดา และสหรัฐอเมริกา (CA, US) ใช้คำว่า sidewalk หรือทางเดินด้านข้างถนน
ประเทศ ออสเตรเลีย (AU) ไอร์แลนด์ (IE) อินเดีย (IN) ใช้คำว่า footpath และประเทศไทยเองสมัยหนึ่งก็ได้ใช้คำนี้ ซึ่งเรียกทับศัพท์ว่า ฟุตปาต
คำ ว่า footpath นี้ ใช้ในประเทศออสเตรเลียส่วนที่พูดภาษาอังกฤษ (Australian English, ในไอริชในส่วนที่พูดภาษาอังกฤษ (Irish English), ในประเทศอินเดีย (Indian English), ประเทศปากีสถาน (Pakistani English) และประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand English)
มีการใช้คำว่า platform ในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะที่พูดกันโดยชาวอินเดีย (Indian English) ความจริงมีการใช้คำนี้ในความหมายอื่นๆอีกมาก ซึ่งอาจทำให้เข้าใจแตกต่างกันไปเลย ดังคำที่ใช้กันในวงการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทั้งหลาย
คนทำหน้าที่ ทำถนนเอง (Engineering term) มีการใช้คำว่า footway ซึ่งเป็นทาง (path) สำหรับคนเดินถนน (pedestrians) ซึ่งมีสร้างกันข้างถนน (alongside a road) ซึ้งอาจจะเป็นทางที่ปูด้วยอิฐ คอนกรีตบลอค หรือราดด้วยคอนกรีต หรือยางมะตอย หรือ Asphalt ซึ่งอาจมีการสร้างบนลานหญ้ากว้างที่ต้องการแยกทางเดินออกจากสนามหญ้าในสวน สาธารณะ หรือสนามหญ้าขนาดใหญ่ทั้งหลาย เพราะแม้ไม่สร้างทางเท้าให้คนเดิน คนก็จะยังฝ่าฝืนเดินข้ามสนามอยู่ดี
A sidewalk may accommodate moderate changes in grade. However, "walkway" is a more complete term for support of walking, and includes stairs, ramps, paseos (passageways) and related off-street tools that provide for a developed pathway.
การสร้างเดินทางข้างถนน หรือริมถนนนั้น บางทีจะมีการสร้างเฉพาะทางโค้ง หรือบริเวณที่เป็นความเสี่ยงมากกว่าที่อื่นๆ ส่วนบริเวณทางเรียบ ก็จะยังไม่สร้างก็มี
Sometimes, there is an area called a parkway or tree lawn in between the sidewalk and the street. For a photo showing a parkway, see image "Sidewalk in Oak Park, Illinois" in the gallery below.
การสร้างทางข้างถนน
Construction of sidewalks
วัสดุ ในการใช้สร้าง อาจมีได้หลากหลายแล้วแต่ความเหมาะสม ซึ่งนักออกแบบและวิศวกร และเจ้าของโครงการจะเป็นฝ่ายพิจารณา ซึ่งก็ต้องให้มีทั้งดูสวยงาม (Forms) การทำหน้าที่ได้ดี (Function)
ทางเดินทำด้วยไม้
Wooden Boardwalks
ทางเดินที่ทำด้วยไม้ เรียกว่า sidewalks of wood ทางเดินที่ปูด้วยกระดาน เรียกว่า boardwalks คำว่า Boardwalks นี้ ยังไม่พบความหมายที่แปลแล้วยอมรับกันในภาษาไทย
ทางเดินจากฝั่งไปสู่ชายหาด ขนาดไม่กว้างนัก มีราวกันลื่นไว้ให้จับ ยกระดับ เพื่อไม่ให้รบกวนธรรมชาติ บางแห่งยกให้สูงเพื่อหลบเลี่ยงให้สัตว์อย่างนกเพนควิน (Penquins) ได้เดินขึ้นฝั่ง รอดด้านใต้ไปยังที่พักได้ โดยไม่รู้สึกได้รับการรบกวน
ทางเดินในวนอุทธยาน (Widelife) ในเขตชื้น ทำทางเดินด้วยไม้ที่แคบ ไม่ต้องการให้ไปรบกวนสิ่งแวดล้อม แต่ขณะเดียวกัน ทำทางเดินเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้มาเยี่ยมชม บางจุดมีความชื้นที่อาจลื่นเป็นอันตรายได้ จึงมีการปูด้วยตะข่ายหรืออื่นๆ
ทางเดินที่กว้างพอประมาณ ขนาด 1.50-2.00 เมตร คนหรือรถเข็นสามารสวนทางกันได้ เป็นทางเดินเข้าไปในป่า
ทางเดินจากฝั่งไปสู่ริมหาด ซึ่งปกติ อาจมี Sand dune ตามธรรมชาติที่ไม่ไปรบกวนการก่อตัว และสำหรับคนต้องการเล่นน้ำชายฝั่ง ที่ทำให้ไม่มีทรายติดเท้า ระหว่างเดินไปบนสะพานยามขึ้นจากทะเล จะทำให้ทรายค่อยๆหลุดจากเท้า หรือรองเท้าไปจนเกือบเหมด
U.S. Navy personnel building a concrete sidewalk
ผลจากการสร้างทางเท้า Effects of sidewalks
ใน รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา สำนักทางหลวงของรัฐได้ตีพิมพ์งานวิจัยในปี ค.ศ. 2005 พบว่าการสร้างทางเท้าข้างถนนนี้ มีมีส่วนลดปัญหาอุบัติเหตุเฉพาะบริเวณนั้นๆ เฉลี่ยร้อยละ 74 การสร้างถนน แล้วในเขตที่ต้องมีคนใช้เพื่อการสัญจร โดยที่เราไม่ได้ทำทางเท้าให้เห็นแยกชัดเจนแล้ว จะเกิดปัญหาอุบัติเหตุสำหรับคนเดินทางที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยอุบัติเหตุอาจเกิดจากหลายสิ่งด้วยกัน เช่นจากรถและยานพาหนะขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ความกว้างของถนนมากกว่ารถทั่วไป เช่น รถบรรทุก รถโดยสารขนาดใหญ่ หรืออาจจากรถขนาดเล็ก รถหรือยานพาหนะที่ต้องวิ่งช้า และวิ่งเรียบข้างถนน แม้แต่รถสามล้อเครื่อง รถจักรยานยนต์ หรือรถจักรยานที่ถูกผลักให้ต้องวิ่งชิดข้างทาง
การ สร้างทางข้างถนน ต้องคิดถึงในทางปฏิบัติว่า ทำแล้วเกิดประโยชน์ใช้งานได้จริงหรือไม่ ไม่ใช่เพียงแต่สักว่าสร้างให้มี แต่ในทางปฏิบัติแล้วใช้ไม่ได้
ทางทำด้วยอิฐ (Bricks)
ทางทำด้วยหิน (Stones)
การสร้างทางเดินเท้า (Sidwalk) ทำได้ด้วยวัสดุและวิธีการได้หลายวิธี ดังเช่น
- หินเคล้ายาง (tarmac)
- ลาดยางมะตอย (asphalt)
- การปูด้วยอิฐ (brick) ดังในกรณีที่ใช้ในยุโรป (particularly in Europe),
- การปูด้วยหิน (stone), Stone slabs called หรือหินปูพื้น (flagstones)
- แผ่นหิน หรือแผ่นซีเมนต์ (slab or (increasingly)
- การปูด้วยยาง (rubber)
ขนาดของทางคนเดิน
ทางคนเดินควรมีความกว้างสักเท่าใด เป็นเรื่องที่ตอบได้ยาก หากมันมีการทำกันมานานแล้ว สิทธิในที่ดินได้มีการกำหนดมอบไปแล้ว จะไปเรียกคืนเพื่อทำเป็นทางคนเดินนั้นเป็นเรื่องยาก แต่หากเมืองใดที่จะต้องสร้างและพัฒนาใหม่ ควรมีมาตรฐานทางคนเดินเอาไว้ กำหนดมาตรฐานความกว้าง ระดับความเรียบความชัน
การต้องคิดเผื่่อคนที่ต้องใช้รถเข็น เช่น รถเข็นเด็กนั่ง รถสำหรับคนพิการ หรือคนชรา สำหรับผู้เขียนแล้ว ขนาดกว้าง 2 เมตรเป็นอย่างน้อยน่าจะเป็นสิ่งที่ดี หรือหากแคบกว่านั้น ก็ควรไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร และให้มีช่วงที่รถเข็นด้วยกันจะต้องมีสวนทางกัน แล้วหลีกทางกันได้
ภาำำพ ขนาดทางไม่กว้างนัก มีเสาสัญญาณ หรือเสาไฟมาบังเป็นบางส่วน แต่ก็มีทางที่จะหลีกกันได้
คอนกรีต (Concrete)
ทางเดินแบบเทคอนกรีต แต่กันแบ่งเป็นบลอค (Blocks) และมีมีวัสดุยืดหยุ่น เช่นยางมะตอย ยาง หรือไม้เนื้ออ่อนขั้น เพื่อให้ความยืดหยุ่นเมื่่ออากาศเปลียนแปลง ร้อนหรือหนาว จะได้ไม่ทำให้ผิวแตกร้าว
ทางเดิน (sidewalk) ที่ทำด้วยคอนกรีตเทเป็นช่วงๆ และจัดแบ่งเป็นบลอค เพื่อป้องกันการขยายหรือหดตัว ยามอากาศร้อนหรือหนาว
ทางเดินที่ดีต้องมีการออกแบบให้ดี ไม่ใช่ว่าสักแต่ว่าสร้างให้เสร็จ ทางเดินในภาพมีเสาถนนยกระดับขนาดใหญ่ขวาง ทางเดินที่ออกแบบดี ควรมีทางเลี่ยงให้คนเดินหลีกไปทางด้านซ้าย ไ่ม่ใช่ให้เดินไปชนเสาตอหม้อคอนกรีตขนาดใหญ่ ภาพนี้คนถ่ายเขาได้มาจาก ณ ที่หนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย (Chiangmai, Thailand)
การทำทางคนเดินด้วยคอนกรีต และเว้นที่ว่างสำหรับต้นไม้ใหญ่ที่ได้ปลูกเป็นแนว ต้นไม้ให้ร่มเงาสำหรับคนเดิน สามารถใช้หญ้าปูในบริเวณดินเปลือย เพื่อคลุมดิน และให้ความงดงามแก่ภูมิทัศน์ได้
ภาพในประเทศไทยเราเองนี้แหละ ไม่ต้องบอกว่าเป็นที่ใด ทางคนเดินนั้นทำไว้แล้ว แต่ก็ต้องมีการทรุดโทรมลง แล้วจะต้องมีคนมาคอยดูแลรักษา (Maintenance) ซึ่งก็จะได้แก่เมือง (City, Town) หรือหมู่บ้าน (Village) หรือชุมชนนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดๆ
การดูแลรักษาทางคนเดินในเขตเมืองหนาวเป็นเรื่องใหญ่ หากเป็นบริเวณถนน จะมีเทศบาล (Municipality) ที่มีคนและรถทำความสะอาดมาจัดการ แต่บริเวณทางคนเดิน (Sidewalk) นั้น เขาก็ต้องมีระบบที่จะต้องมีคนมาจัดการ กวาดเก็บใบไม้ ตัดหญ้าที่งอกงามเกินเลย หรือยามหน้าหนาว มีหิมะตก มีน้ำแข็งเกาะแข็งตัว ทำให้คนเดินลื่นหกล้ม เป็นอันตราย จึงมีกฏหมายให้บ้านเรือนที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ต้องทำหน้าที่เก็บกวาด ดูแลความปลอดภัย และหากปล่อยปละ ก็จะมีความผิดตามกฏหมายได้
ดังภาพต้องเรียกว่า Footpath เหมาะกว่าคำว่า Sidewalk หรือทางเดินริมถนน เพราะในภาพจะไม่เห็นว่าเป็นถนน เป็นทางสำหรับคนเดินเป็นหลัก แต่ก็เป็นทางเดินสำหรับสาธารณะ (Public footpath)
ทางเดินแคบๆนี้ ถือเป็นทางสาธารณะ (Public footpath) ต้องมีคนรับผิดชอบดูแล แล้วแต่กฏระเบียบของเมือง
ทางเดิน (Footpath)ในสวน มีขนาดกว้างเพียงพอ มีต้นไม้ร่มรื่น อยู่ในบริเวณเมือง
ทางเดิน (Footpath)ในสวนสาธารณะ ที่ีในทุกเมืองต้องมีการเตรียมไว้สำหรัยให้คนได้ออกกำลังกาย โดยเฉพาะคนในเมืองที่มีขนาดคนกว่า 10,000 คนขึ้นไป ต้องคิดเตรียมการเรื่องพื้นที่สีเขียวเอาไว้ให้เพียงพอ
ทางเดิน (Footpath)ในสวน
ทางเดิน (Footpath) ทำด้วยการวางก้อนหิน เป็นบริเวณทางบนเนินเขา มีน้ำกัดกล่อน เสียหายได้ง่าย ต้องมีการคอยดูแล (Maintenance)
ทางเดินริมคูหรือคลอง (Footpath) ที่ทำคู่ืขนานไปกับคูหรือคลอง
บริเวณโกดัง ทางเดินขนาดกว้าง ก็สะดวกในการขนสินค้าขึ้นและลงจากรถบันทุก คนทำงานก็สะดวกขึ้นในการขนส่งสินค้า
ทางเดินที่ทำด้วยคอนกรีตบลอค (Concrete blocks) ที่เล่นสีสันที่ตัดกัน และสอดรับไปกับกำแพงด้านข้าง เป็นไปตามการออกแบบของสถาปนิก
ทางเดินที่ทำด้วยคอนกรีตบลอครูปตัวหนอน ที่เมื่อพื้นดินทรุด ก็รื้อมาปรับประดับแล้ววางใหม่ได้ และจะสังเกตุได้ว่าในต่างประเทศ เขาจะทำให้ระดับเรียบเสมอกับสนาม เพื่อใช้รถตัดหญ้ามาตัดได้ ลดค่าการดูแลลงไป
ทางเดินบริเวณสะพานข้าม ต้องดูแลบ่อยๆ เพราะบริเวณลอยต่อระหว่างสะพานกับพื้นเรียบของถนนนั้น มีการทรุดตัวไม่เท่ากัน จะทำให้คนสัญจรที่ต้องใช้รถเข็น ไม่ว่าจะเป็นรถเข็นเด็ หรือ รถนั่งสำหรับคนพิการ หรือคนชรา จะลำบากในการสัญจร
ทางเท้าในประเทศออสเตรเลีย
สิ่งที่ประเทศออสเตรเลียมีที่เราควรได้ศึกษา คือเรื่องของการวางผังเมือง เขาจัดให้มีระบบรถราง (Tramps) ซึ่งจะมีการวิ่งตรงรางส่วนกลางของถนน วิ่งแบบสวนสองทางคู่
รถรางในเมืองเมลเบอร์น ประเทศออสเตรเลีย (Melbourne, Australia)
ถนนในตรอก มีขนาดแคบ เขาจะทำทางเท้าแบบต่ำ ขอบเลียดมน เพื่อให้รถสามารถชับเข้าจอดไ้ด้อย่างใกล้ชิด ทำให้เปิดทางอีกด้านสำหรับรถอื่นๆจะวิ่งได้มากขึ้น
รถยนต์วิ่งด้านข้าง 2 ลู่ ส่วนกลางถนนมีอีก 2 ราง ทางเดินเท้าส่วนหนึ่งก็ไปอยู่ตรงกลางถนน สำหรับคนจะขึ้นและลงรถรางด้วย
สำหรับในเมืองขนาดกลางและเล็ก ทางเท้าก็จะมีลักษณะเดียวกัน คือขอบไม่สูง รถปีนขึ้นไปทำกิจกรรมบางอย่างได้ ส่วนทางเดินเท้า เขาจะเตรียมพื้นที่ไว้ให้มีได้กว้างทีเดียว
ทางเดินเท้าที่บางที่ บางช่วงต้องเปิดทางให้รถเข้าไปจอดได้สะดวก
ทางเท้าในประเทศอังกฤษ
ภาพที่จะแสดงต่อไปนี้ ถ่ายจากกรุงลอนดอน (London, UK)
ริ่มถนนในประเทศอังกฤษ ดังกรุงลอนดอน ไม่มีชายคาไว้กันแดดหรือกันฝน เขามีวัฒนธรรมการใส่เสื้อฝน หรือถือร่มติดมือ เพราะฝนอาจจะตกเมื่อใดก็ได้
ขอบทางของเชาก็คล้ายๆกัน คือไม่ยกสูง รถหรือยานพาหนะสามารถปีนขึ้นไป หรือปาดเข้าจอดได้อย่างชิดขอบ โดยไม่ต้องกลัวไปครูดกับขอบทางอย่างในบ้านเรา
ชายคามีเฉพาที่ป้ายจอดรถประจำทาง (Bus stop)
ตู้ขายของมีได้เป็นจุดๆ โดยต้องมีใบอนุญาต ไม่ใช่ใครจะไปกางขายของได้ตามใจชอบ
ถนนจะเปียกตลอดเวลา ทางเดินของคนเดินถนน จะปลอดภัยหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขอบของถนนว่าจะสูงเพียงใด แต่ขึ้นอยู่กับแต่ละฝ่ายต้องรู้ว่าควรจะปฏิบัติตนอย่างไร แต่ที่เหมือนกัน คือ
- ไม่มีสายไฟระโยงระยางในอากาศ เขาเก็บสายไฟลงใต้ดินหมด
- ชายขอบถนนไม่ยกสูง ไม่มีการถมดิน ถมถนน ยกระดับกันบ่อยๆดังในกรุงเทพฯ
- ใช้รถเมล์หรือรถประจำทาง (Bus system) ไม่ส่งเสริมให้มีรถยนต์วิ่งได้อย่างเสรี เขามีเขตที่เรียกว่า Congestion Control Zone (CCZ) จำกัดรถที่จะวิ่งในใจกลางเมือง ต้องจ่ายค่าเข้าเมือง ยกเว้นเป็นรถยนต์ไฟฟ้า รถจักรยาน หรือจักรยานยนต์ที่ประหยัดน้ำมัน
ทางเท้าในประเทศไทย
ทางเดินเท้า บางแห่งมีขนาดกว้าง ดูมีความสวยงาม แต่ก็จะกลายเป็นลานขายของหาบเร่ ของแบกลางดินไปเสียอีก
ในประเทศไทยเป็นประเืืทศกำลังพัฒนา แต่ขณะเดียวกัน เราตัองการเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ประทับใจ เราจะทำอย่างไรจึงจะสามารถจัดระบบที่ยุติธรรมและมีทางเลือกทางพัฒนาสำหรับคนยากจน คนต้องปากกัดตีนถีบ และอีกส่วนหนึ่งคือการจัดระเบียบสังคมที่เคารพสิทธิของคนอื่นๆ รวมถึงคนที่ต้องใช้ทางเดินเท้า
ในเขตกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร (Bangkok) มีประชากรอย่างเป็นทางการ 6.5 ล้านคน มีทั้งคนมีฐานะ และคนยากจน มีคนที่ต้องใช้ถนน และคนที่ต้องใช้ทางเดินเท้า
ทางเดินเท้าหน้าสถานฑูตอินโดนีเซีย (Indonesia Embassy) บริเวณใกล้กับพันธ์ทิพย์พลาซ่า ถนนเพชรบุรี กรุงเทพฯ (Bangkok, Thailand)
ทางเดินที่มีการสร้างร่มเงาบังแดดบังฝน และมีระบบนำทางสำหรับคนพิการทางสายตา (For the blind)
ทางเดินที่ไม่กว้างนัก แล้วยังมีหาบเร่แผงลอย ที่กีดขวางทางเดิน นอกเหนือไปจากทางเดินขึ้นลงรถไฟฟ้า BTS ที่เข้ามาขวางทางเสียอีกครึ่งหนึ่ง
เหลือช่องทางคนเดินเพียงลู่เดียว
เมื่อมีการปล่อยให้มีหาบเร่แผงลอยใช้พื้นที่ริมถนนกันเป็นเวลานาน จนกลายเป็นสร้างเพิงให้อย่างเป็นถาวร
ภาพที่พบได้ย่านประตูน้ำ ถนนราชปรารภ
ภาพ สายไฟเป็นขดๆที่มัดพาดผ่าน หาบเร่แผงลอยตั้งชิดกับถนน ย่านพันธ์ทิพย์พลาซ่า กรุงเทพมหานคร
ทางเท้าในจังหวัดสุรินทร์
ในเมืองสุรินทร์ (Muang Surin, Surin City) มีประชกรตามที่แจ้งประมาณ 40,000-60,000 คน โดยภาพรวมๆ จัดว่าได้มีการออกแบบผังเมืองที่ดีมาแต่โบราณ แต่กระนั้น เมืองก็ได้เติ บโตกว่าที่ได้เคยวางแผนไว้ และคาดว่าเมืองจะมีโอกาสขยายไปเป็นมีผู้พักอาศัยได้กว่า 100,000 คน แล้วผังเมืองก็จะต้องสะท้อนการให้ความเอาใจใส่ในคุณภาพชีวิตของคน
ทางเท้า ที่จะเรียกว่า Sidewalk, footpath หรืออื่นๆ ล้วนมีความสำคัญที่ฝ่ายบริหารเมืองจะต้องทำความเข้าใจ ผมขอถือโอกาสนี้เรียนรู้ไปพร้อมกับมองสภาพปัญหาและโอกาสในการพัฒนาเมือง การออกแบบเมืองใหม่ เพื่อพัฒนาให้ตอบสนองต่อการพัฒนาบ้านเมืองที่จะมีต่ีอไป
ปัญหาที่จะได้นำเสนอนี้ เป็นไปเพื่อให้ได้มีการเรียนรู้ และทำความเข้าใจ เพื่อการพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมต่อไป ไม่ได้เป็นเจตนาจะกล่าวโทษใครเป็นการเฉพาะ
ทางเดินเท้่าหน้าร้านค้า ที่มีขนาดกว้างพอควร และมีการดูแลให้เรียบร้อย นับเป็นสิ่งที่ดี และการมีขายคาเพื่อกันแดดกันฝน นับเป็นสิ่งที่ดีอีกเช่นกัน เพราะเมืองไทยมีอากาศร้อน และฝนตกบ่อย
แต่ทางเดินเท้าที่กว้างนั้น มักจะไปไม่ได้สุด เพราะจะมีการวางสิ่งของ ทำให้คนเดินเท้า ต้องออกไปใช้ถนนด้านนอกเป็นทางเลี่ยง
การปลูกต้นไม้หน้าบ้านเป็นสิ่งที่ดี แต่หากเป็นการขวางทางเดิน ก็จะไม่ดี ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข
ทางเท้าที่แคบ
ทางเดินเท้า (Sidewalk) มีการจัดทำให้เรียบร้อย นับว่าดูเป็นระเบียบ แต่จะสังเกตุได้ว่า ทางเดินเท้ายกระดับขึ้นไปสู่สัก 20 เซนติเมตร ตั้งชัน ทำให้รถไม่สามารถจอดชิดได้ ซึ่งต้องลองไปดูภาพทางเดินเท้าในต่างประเทศที่เขามีแบบแผนที่ดี ขอบทางเดินเท้าของเขาจะต่ำกว่าของประเทศไทย
ในภาพจะเห็นว่าทางเดินแคบ แล้วยังมีเสาไฟฟ้าไปปักอยู่บนผิวถนน ซึ่งเป็นอันตรายต่อรถที่ขับ หรือจะจอดได้
ฝาท่อที่รุกเ้ข้ามาในทางเดิน ทำให้ทางเท้าเหลือแคบเพียง 30 เซนติเมตร ลองคิดดูว่า หากเขาต้องเข็นรถเด็ทารก (Baby Cart) หรือรถนั่งคนป่วยหรือคนชรา จะเข็นบนทางเืท้าได้อย่างไร
ทางเดินเท้าต้องถูกเบียดด้วยการปลูกต้นไม้ เหลือที่ทางคนเดินในช่วงดังกล่าวเพียงไม่ถึง 30 เซนติเมตร
ทางเดินเท้าต้องถูกเบียดด้วยการปลูกต้นไม้ เหลือที่ทางคนเดินในช่วงดังกล่าวเพียงไม่ถึง 30 เซนติเมตร
ในบางช่วง เป็นทางรถขนาดแคบ ซึ่งเข้าใจได้ เพราะมีรถวิ่งไม่มาก ในกรณีเช่นนี้ต้องให้เป็นทางรถวิ่งทางเดียว (One way street) หรือต้องหาทางให้มีสัญญาณ หรือมาตรการไม่ให้รถสวนทางกัน และเกิดอุบัติเหตุได้
เมื่อขอบของทางเดิน (Sidewalk) ยกระดับขึ้นสูงและเป็นมุมชัน 90 องศา เมื่อจะมีรถขึ้นหรือลง ก็ต้องมีทางขึ้นเหล็กรองรับ ทำให้มีความยุ่งยากเมื่อต้องนำรถขึ้นหรือลง
การเทปูนสำหรับให้รถมอเตอร์ไซค์ขึ้นเป็นแบบเฉพาะกิจ แต่อาจเป็นอันตรายสำหรับรถที่วิ่งบนถนนแบบชิดขอบ และไม่รู้ว่ามีการโบกปูนเพื่อยกระดับ
ทางเืท้าในประเทศสหรัฐอเมริกา
ลองย้อนกลับมาดูในเมืองทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกา ความจริงเมืองแต่ละเมืองของเขามีการออกระเบียบและแบบแผนที่อาจไม่เหมือนกัน และในรัฐ (State) แต่ละรัฐก็ไม่เหมือนกัน สถาปนิกของเขาในแต่ละเมืองต้องมีการไปสอบผ่านในประกอบอาชีพกันในแต่ละรัฐ ซึ้งมีความแตกต่างกันไปบ้าง ไม่ใช่จะไปประกอบอาชีพได้อย่างอัตโนมัติ
ทางเท้า (Sidewalk) ของเขา ในเมืองเล็กหริอเมืองใหญ่ล้วนมีลักษณะคล้ายกัน คือ ทำให้กว้างพอ ขอบของทางเดินนั้น ก็จะไม่ยกให้สูงกว่าถนนมาก เพราะเขาจะอำนวยความสะดวกให้รถสามารถเข้าจอดข้างทางได้อย่างชิดและสะดวก รถของทางการ ก็สามารถจะทำงานได้อย่างเก็บกวาด หรือจะขับขึ้นไปเพื่อทำงานได้อย่างสะดวกขึ้น
ในเมืองนี้ ทางเดินก็จะมีลักษณะคล้ายๆกัน คือทำให้มีขนาดกว้างพอ และขอบทางเลียดต่ำ ยกระดับไม่สูงขึ้นเพียงเล็กน้อย
ดีครับผมชอบ
ReplyDeleteมีข้อมูลเกี่ยวกับทางเดินเท้าในเขตเมืองเก่าไหมครับ
ถ้ามีกรุณาตืดต่อกลับด้วย หรือส่งข้อมูลให้ด้วย
polo_sp128@hotmail.com
ขอคุณร่วงหน้าครับ