Sunday, December 20, 2009

รถยนต์ไฟฟ้าจากอินเดีย REVA L-ion

ภาพ รถยนต์ไฟฟ้าจากอินเดีย REVA L-ion

รถยนต์ไฟฟ้าจากอินเดีย REVA L-ion

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia

Keywords: เทคโนโลยี, สิ่งแวดล้อม, พลังงาน

รถรีว่า (REVA G-Wiz i in the UK market[1]) เป็นรถไฟฟ้า (Electric Car) จัดเป็นรถที่ออกแบบให้วิ่งในเมือง (City Cars) เป็นรถที่ผลิต โดยบริษัท REVA Electric Car Company (RECC) ในเมือง Bangalore ประเทศอินเดีย (India) ซึ่งได้เริ่มผลิตมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 จนปัจจุบัน จัดเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตออกขายจนปัจจุบันที่มากที่สุดในโลก

Reva G-Wiz จัดเป็นรถ (Class) ประเภทไฟฟ้า (Electric) เป็นขนาดที่เขาเรียกว่า รถขนาดจิ๋ว (microcar) มีลักษณะตัวถังแบบ (Body style(s) มี 3 ประตู แบบเปิดหลัง (hatchback) มีเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้าอยู่บริเวณด้านหลัง ขับเคลื่อนด้วยล้อหลัง (Rear engine, Rear wheel drive) ตัวถังมีความยาว 2.6 เมตร กว้าง 1.3 เมตร สูง 1.5 เมตร จัดว่ามีลำตัวสั้นมาก

ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2009 ได้มีการออกโมเดลใหม่ให้ชื่อว่า REVA L-ion ซึ่งก็เหมือนกับรถ REVAi ที่ได้ออกสู่ตลาดมาก่อนหน้านี้ แต่ได้เพิ่มการใช้แบตเตอรี่ใหม่ที่เป็น Lithium-ion ที่ให้พลังงานสูง และลดน้ำหนักรถลงเหลือ 565 กิโลกรัม ให้พลังเร่งที่เพิ่มขึ้น ลดเวลาอัดไฟฟ้าลงเหลือ 6 ชั่วโมง สามารถวิ่งได้ไกลขึ้นเป็น 120 กิโลเมตร ด้วยการอัดไฟเพียงครั้งเดียว แบตเตอรี่ใหม่นี้ ไม่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับว่าจะใช้ในสภาวะอากาศอย่างไร

สำหรับการชาร์ตไฟนั้น มีทั้งสายและอุปกรณ์ที่ติดไปกับตัวรถ ใช้ชาร์ตด้วยไฟฟ้าบ้านได้ แต่ถ้าใช้ไฟฟ้าที่จัดให้มีสถานี (charging station) ในระบบ 3-phase คือเหมือนไฟฟ้าโรงงานดังในบ้านเรา แล้วอัดไฟได้เกือบเต็มที่ร้อยละ 90 โดยใช้เวลาชาร์ตไฟเพียง 1 ชั่วโมง

รถรีว่ารุ่นใหม่นี้ มีราคาขายในประเทศอังกฤษที่ £15795 (L-Ion model) และได้รับส่วนลดด้านราคาเพราะจัดเป็นรถที่วิ่งด้วยไฟฟ้า รถรีว่ามีขายในประเทศต่างๆ เช่น Spain, Norway และในประเทศ Costa Rica ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 มีการขายในประเทศสหรัฐอเมริกาในราคา USD 13,000 หรือเป็นเงิน 455,000 บาท (USD 1 = 35 บาท)

ข้อได้เปรียบของรถ Reva นี้ คือมีราคาไม่แพง ขนาดไม่ใหญ่ ใช้วิ่งในเมืองบางแห่งที่มีข้อกำหนดให้สิทธิพิเศษ ดังในกรุงลอนดอน รถไฟฟ้านี้สามารถวิ่งเข้าออกในเขตควบคุมการจราจรโดยไม่ต้องเสียค่าผ่านเข้าออกเขตที่เขาเรียกว่า Congestion Control Zone (CCZ)

1 comment:

  1. ในเมืองใหญ่ของอังกฤษอย่างกรุงลอนดอน (London, UK) เขาแก้ปัญหาการจราจรติดขัด โดยการมีกฏหมายเรียกเก็บค่าผ่านเข้าออกเมือง โดยแต่ละครั้งที่ต้องเข้าเมืองจะต้องเสียค่าใช้จ่ายที่มีการคิดผ่านระบบอิเลคโทรนิกส์ ครั้งละอาจถึง 700 บาทไทย แต่ก็เปิดช่องให้รถจักรยานยนต์ หรือรถที่ไม่่ก่อให้เกิดมลพิษ เช่นรถไฟฟ้า (Electric Cars) สามารถเข้าออกได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายดังกล่าว

    ในประเทศเยอรมันนี้ เมืองขนาดใหญ่มีกระจายไปทั่วประเทศ แต่มีขนาดโดยเปรียบเทียบไม่ใหญ่นัก ทำให้ไม่มีปัญหาการจราจรติดขัดมาก และประกอบกับเขามีระบบขนส่งมวลชน รถไฟฟ้าใต้ดิน รถราง (Trams) แต่กระนั้น เขาก็ส่งเสริมรถไฟฟ้า เพื่อการขนส่งสินค้าไปบริการลูกค้าในเมือง โดยใช้บริการรถไฟฟ้าขนาดเล็กๆ ที่ราคาไม่แพง อย่าง Reva นี้

    ReplyDelete