Thursday, December 3, 2009

มารู้จักวลาดิเมียร์ ปูติน (Vladimir Vladimirovich Putin)

ภาพที่ 1 วลาดิเมียร์ ปูติน
(Vladimir Vladimirovich Putin)
ในชุดพลเรือนปกติ
ภาพที่ 2 วลาดิเมียร์ ปูติน
(Vladimir Vladimirovich Putin)
ในหมวกแบบรัสเซีย

มารู้จักวลาดิเมียร์ ปูติน
(Vladimir Vladimirovich Putin)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Keywords: ความเป็นผู้นำ, การเมือง, การปกครอง, รัสเซีย

ในช่วงหลังสหภาพโซเวียตรัสเซียล่มสลายในปึ ค.ศ. 1989 เกิดประเทศเล็กๆน้อยๆมากมายในยุโรปตะวันออก ส่วนประเทศรัสเซียเอง แม้จะประสบความสำเร็จที่เลิกระบบสหภาพรัสเซียภายใต้คอมมิวนิสต์ได้ แต่ก็อยู่ในสถานะความไม่แน่นอนทางการเมือง อยากจะออกจากระบบคอมมิวนิสต์ แต่ไม่รู้ว่าจะก้าวสู่ความเป็นประชาธิปไตย และทุนนิยมในโลกเสรีอย่างไร ประเทศอยู่ในสภาพล่มสลายในทุกด้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และรวมถึงวัฒนธรรมด้วย มีผู้นำหลายคนได้ผลัดเปลี่ยนเข้าสู่อำนาจ ตั้งแต่ กอร์บาชอฟ, บอริส เยลซิน, แต่ก็ไม่ได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้พบหนทางใหม่ที่เป็นคำตอบ จนกระทั่งมีประธานาธิบดีคนใหม่ที่ชื่อ วลาดิเมียร์ ปูติน

วลาดิเมียร์ วลาดิมิโรวิช ปูติน เขียนในภาษาอังกฤษว่า Vladimir Vladimirovich Putin ในภาษารัสเซีย (Russian) เขียนว่า Владимир Владимирович Путин (help·info), IPA [vlɐˈdʲimʲɪr vlɐˈdʲimʲɪrəvʲɪtɕ ˈputʲɪn]; เขาเกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1952 เป็นประธานาธิบดี (President of Russia) คนที่สองของระบบรัสเซียใหม่ที่หลุดออกจากระบบคอมมิวนิสต์ในสหภาพรัสเซีย

เขาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศรัสเซีย (Prime Minister of Russia) ในปัจจุบัน และเป็นนายกรัฐมนตรีของสหรัฐรัสเซีย (United Russia) เป้นประธานของคณะกรรมการรัฐมนตรี (Chairman of the Council of Ministers) แห่งสหภาพรัสเซียและเบลารูซ (Union of Russia and Belarus) ในอดีต เขาได้เข้าสู่ตำแหน่งด้วยการทำหน้าที่รักษาการประธานาธิบดี (acting President) ในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999 เมื่อประธานาธิบดี Boris Yeltsin ที่ต้องป่วยหนักและลาออกจากตำแหน่ง และเมื่อได้มีการเลือกตั้งใหม่ในปี ค.ศ. 2000 (2000 presidential election) ปูตินได้รับการเลือกตั้งเข้ามาด้วยตนเอง และเมื่อหมดวาระในปี ค.ศ. 2004 เขาได้เข้ารับการเลือกตั้งอีกครั้งเป็นสมัยที่สอง และได้รับการลงคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น และดำรงตำแหน่งสืบมาจนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2008

แต่ด้วยรัฐธรรมนูญของประเทศได้จำกัดวาระการดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 สมัย ทำให้เขาไม่มีสิทธิในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่สาม และเมื่อ Dmitry Medvedev ซึ่งเป็นบุคคลในทีมของเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2008 (2008 presidential elections) เขาก็ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เขาเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2008

ในตลอดช่วงสมัยการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา เขาได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนและการยอมรับจากสาธารณรัฐรัสเซียอย่างมาก เขาได้รับการยกย่องว่าได้พารัสเซียออกจากความไม่แน่นอนทางการเมือง การสร้างและนำกฎหมายสู่ความศักดิสิทธิ์ ในช่วง 8 ปีที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ด้วยการบริหารเศรษฐกิจเชิงมหภาค การปฏิรูปนโยบายการเงินการคลัง ประกอบกับราคาน้ำมันอันเป็นทรัพยากรสำคัญของรัสเซียได้เพิ่มสูงขึ้น เศรษฐกิจของรัสเซียได้กลับฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และรอดพ้นจากวิกฤตินานัปการ

รายได้ประชาชาติ (GDP) ได้เพิ่มขึ้น 7 เท่า (72% in PPP) ความยากจนได้ลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง เงินเดือนเฉลี่ยได้เพิ่มขึ้นจากเดือนละ USD 80 เป็น USD 640 หรือประมาณร้อยละ 150 ในมูลค่าแท้จริง (real rates) บรรดานักวิเคราะห์ได้พรรณนาการปฏิรูปเศรษฐกิจของรัสเซียภายใต้ปูตินว่า น่าประทับใจ ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่ง เขาได้ออกกฎหมายหลายอย่างที่รวมถึง การเก็บภาษีรายได้แบบทั่วไปที่ร้อยละ 13 ลดภาษีจากกำไร (Profits Tax) กำหนดกฏหมายและกฏเกณฑ์ต่างๆว่าด้วยสิทธิที่ดิน

แต่ในขณะเดียวกัน การดำเนินการของเขาได้รับการวิพากษ์ในด้านกิจการภายในจากพรรคฝ่ายตรงกันข้าม จากรัฐบาลต่างประเทศ และองค์การด้านสิทธิมนุษยชนในการที่เขาได้นำให้ประเทศเข้าสู่สงครามเชคเชนครั้งที่สอง (Second Chechen War) และการที่เขาได้นำประเทศเข้าสู่ความเป็นทุนนิยมใหม่แบบรัสเซีย ก็ได้มีกลุ่มธุรกิจที่ใกล้ชิดกับเขาที่ได้ดิบได้ดี (group of business magnates) ดังเช่น Gennady Timchenko, Vladimir Yakunin, Yuriy Kovalchuk, Sergey Chemezov บุคคลเหล่านี้มีความใกล้ชิดเป็นการส่วนตัวกับปูติน โดยระบบแล้ว เขาเป็นผู้นำในระบอบประชาธิปไตย และประสบความสำเร็จตามกรอบกติกา แต่ในอีกด้านหนึ่ง เขาเป็นผู้นำแบบไม่ลังเลที่จะใช้อำนาจที่จะทำให้วัตถุประสงค์ได้บรรลุผล

No comments:

Post a Comment