Friday, December 25, 2009

อาณานิคมนักโทษ (Penal colony)

ภาพ โบราณสถาน คุกอาณานิคมที่
Port Arthur, Tasmania, Australia

อาณานิคมนักโทษ (
Penal colony)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail:
pracob@sb4af.org

จาก Wikipedia, the free encyclopedia

Keywords: สังคม, การพัฒนา

ภาพ การอพยพย้ายนักโทษ จาก Saint Martin De Re
ไปยัง
Penal Colony ที่ Cayenne ใน Guyana

อาณานิคมนักโทษ หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Penal Colony เป็นการจัดตั้งชุมชน (settlement) (exile prisoners) เป็นการแยกนักโทษออกจากประชากรส่วนใหญ่ ไปตั้งยังที่ๆห่างไกล เป็นอันมากที่เป็นเกาะที่ห่างไกล ยากที่จะหลบหนี บางทีคำนี้หมายถึงสถานที่ซึ่งนักโทษ จะได้รับการควบคุมดูแลโดยผู้คุม (Wardens, หรือ Governors) ซึ่งมีอำนาจเหนือพวกเขา บริเวณที่เขาไปอยู่และถูกควบคุมนั้นใหญ่โต และกว้างขวางกว่า ฟาร์มในคุก (Prison Farm) ในทางปฏิบัติอาณานิคมนักโทษนั้น จะเป็นเหมือนชุมชนทาส (Slave communities)

แดนอาณานิคมนักโทษนี้ เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในยุคอาณานิคม ที่คนส่วนหนึ่งที่ต้องโทษทางการเมือง ทางความเชื่อศาสนาที่แตกต่างกัน แล้วเขาเลือกที่จะไปใช้ชีวิตในต่างแดน อีกส่วนหนึ่งคือทวีปออสเตรเลีย ก็เคยเป็นแดนอาณานิคมนักโทษของประเทศอังกฤษ

ภาพ โบราณสถาน คุกที่ Port Arthur,
Tasmania, ประเทศออสเตรเลีย (Australia)
จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่ง

คุกที่ Port Arthur, Tasmania, ประเทศออสเตรเลีย (Australia) จะใช้ในการควบคุมนักโทษฉกรรจ์ชาวอังกฤษและไอริช และพวกที่มาอยู่ในออสเตรเลียแล้ว ยังมาก่อคดีอีก นักโทษที่ก่อการกบฏหรือจลาจลในคุกอื่นๆของออสเตรเลีย ก็จะถูกย้ายมารวมอยู่ที่นี้ จัดเป็นแดนควบคุมความปลอดภัยสูงสุดของระบบทัณฑสถานของอังกฤษ

ภาพ คุกอาณานิคม Port Arthur, Tasmania, Australia
มองจากภายในที่เขาสงวนไว้เป็นที่ท่องเที่ยวประวัติศาสตร์

ภาพ การใช้แรงงานนักโทษในไร่ ของนักโทษ
Port Arthur, Tasmania, Australia
ปี ค.ศ. 1926

ภาพ นักโทษที่ถูกส่งไปอยู่ไซบีเรีย
(Siberia, Russia) อ้นเป็นแดนที่น่าสะพรึงกลัว

ภาพ ไซบีเรีย (Siberia, Russia) ในปัจจุบันที่เป็น
เขตเฟื่องฟูด้วยปิโตรเลียมและถ่านหิน

นิคมนักโทษแตกต่างจาก แดนสัญญาแรงงาน (Indentured servant) คนงานรับใช้ที่ถูกจ้างหรือซื้อมาด้วยสัญญา ทำงานตามสัญญา โดยได้รับค่าใช้จ่ายด้านการเดินทาง อาหาร เสื้อผ้า ที่พัก และความจำเป็นอื่นๆ ซึ่งต่างจากทาส (Slaves) คนงานสัญญาจ้างดังกล่าวจะทำงานตามกำหนดในสัญญา และคนทำงานหวังว่า เมื่อทำงานจนหมดในข้อตกลงแล้ว เขาจะได้รับอิสระที่จะไปใช้ชีวิต หรือเริ่มต้นชีวิตของเขาเอง

แต่ในบางครั้งเมื่อไปอยู่ในดินแดนที่ห่างไกล ยากที่กฎหมายบ้านเมืองทีศิวิไลยจะควบคุมถึง คนทำงานในลักษณะดังกล่าว ก็ถูกกักกันให้ทำงานที่นอกเหนือหรือเกินไปกว่าสัญญา ส่วนหนึ่งเพราะแรงงานนั้น คือการอพยพ หรือนำพาไปอยู่ในบริเวณห่างไกลที่กฎหมายไม่สามารถเอื้อมไปถึง ดังที่สังคมไทยไม่นานมานี้ ก็ยังมีการใช้แรงงานที่ไปเกณฑ์คนมาทำงานในไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด หรือถางป่า ที่ต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก และเพราะแรงงานเหล่านี้ที่ไปรับมาจากต่างจังหวัด ไม่รู้จักภูมิประเทศ ต้องอยู่ในแดนที่เป็นป่าเขา จึงห่างไกลจากที่บ้านเมืองหรือกฎหมายจะเข้าไปดูแล คนงานจึงถูกกักกัน และใช้แรงงานจนเกินเลยไปจากในสัญญา แต่ไม่สามารถบิดพลิ้ว หรือหลีกเลี่ยงได้

ในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย หรือไซบีเรียในประเทศรัสเซียนั้นในบางบริเวณเคยเป็นแดนเนรเทศคน เมื่อแรกๆ ดินแดนเหล่านี้คนที่จะถูกส่งไปกักกันจุดูน่ากลัวมา แต่เมื่อมีคนไปอยู่กันมากๆ นักโทษที่พ้นโทษแล้ว ก็ใช้ชีวิตในดินแดนใหม่กันมีความสุขในชีวิตและอัตตภาพ ที่ว่าเคยเป็นที่ๆไม่มีใครอยากไปก็กลายเป็นชุมชนที่มีคนคึกคัก มีความอุดมสมบูรณ์ คนที่ไปในช่วงหลังๆ จึงไม่ใช่เป็นนักโทษ แต่เป็นแดนที่คนอยากไปใช้ชีวิตที่เริ่มต้นใหม่

No comments:

Post a Comment