Friday, December 4, 2009

การเตรียมการเข้าสอบวัดคุณสมบัติ ภาคปลาย ปีการศึกษา 2552

การเตรียมการเข้าสอบวัดคุณสมบัติ ภาคปลาย ปีการศึกษา 2552
(Qualifying Examination)
หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต ความเป็นผู้นำและการบริหารการศึกษา (Doctoral Program in Educational Leadership and Administration) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (Surindra Rajabhat University - SRRU)

Updated: Saturday, December 05, 2009

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org
ศึกษาและนำเสนอ

Keywords: การสอบวัดคุณสมบัติ (QE)

ถึงนักศึกษาดุษฎีบัณฑิตสาขาความเป็นผู้นำและการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (Doctoral Program in Educational Leadership and Administration) รุ่นที่ และรุ่นที่ 2

ผมได้รับหนังสือเชิญประชุมจากเลขานุการคณะกรรมการหลักสูตรฯ แล้ว โดยได้มีการกำหนดวันสอบวัดประมวลความรู้ และ สอบวัดคุณสมบัติ (QE) ดังต่อไปนี้

กำหนดวันสอบ

สอบประมวลความรู้
(Comprehensive Examination)

19-20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สอบวัดคุณสมบัติ
(
Qualifying Examination – QE)

26-27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ตามกำหนดการ ผมจะต้องเดินทางไปสอนในช่วงวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 2552 นี้ ผมจะงดการเดินทางไปในช่วงสัปดาห์ดังกล่าว แต่จะรวบยอดไปพบกับผู้เรียนในช่วง 12-14 ธันวาคม พ.ศ. 2552 แทน จึงแจ้งของดการเดินทางไปให้ทราบโดยทั่วกัน

แต่เพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างทั่วถึงสำหรับทุกคนที่อาจเดินทางมาสะดวก หรือไม่สะดวก ก็ให้สามารถสื่อสาร และได้รับทราบแนวทางการสอบได้ไปพร้อมๆกัน สำหรับผม ส่วนที่จะต้องออกข้อสอบในวิชาหลัก 2 ด้าน คือ 1. หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา และ 2. ความเป็นผู้นำทางการศึกษา

การรับการสอบประมวลความรู้

การรับการทดสอบประมวลความรู้ ให้ติดต่อกับผู้อำนวยการหลักสูตรฯ คือ ผศ.ดร. นภดล พูนสวัสดิ์ โดยตรง

การเตรียมตัวสอบ QE

การสอบวัดคุณสมบัติ สามารถศึกษาพื้นฐานความเข้าใจทั่วไปได้ที่ http://pracob.blogspot.com/2009/08/qualifying-examination.html

หากยังไม่ชัดเจน หรือไม่เข้าใจ ให้เข้ามาเขียนคำถามได้ที่ช่องแสดงความคิดเห็น

การเตรียมตัวสอบวัดคุณสมบัติ หรือ Qualifying Examination (QE) มีด้วยกัน 3 ส่วน ผม กล่าวสั้นๆ คือส่วนที่ว่าด้วย

1. หลัก ทฤษฎี และการปฏิบัติทางการบริหารการศึกษา

2. ความเป็นผู้นำทางการบริหารการศึกษา

3. การวิจัยทางการบริหารการศึกษา

ผมจะกล่าวใน 2 ส่วนแรก เพื่อให้ได้ทราบกรอบในการสอบพอประมาณ

หลัก ทฤษฎี และการปฏิบัติทางการบริหารการศึกษา

ให้ยึดหลักเนื้อหาจากวิชา

ประมวลการสอนวิชา หลัก ทฤษฎี และปฏิบัติการบริหารการศึกษา (Principles, Theories, and Practices of Educational Administration)

ส่วนที่ 1 แนวคิดการบริหาร

ได้แก่เรื่องเกี่ยวกับ นักบริหารการศึกษา (Educational Administrator), ประวัติของศาสตร์การบริหาร, วัฒนธรรมองค์การและเงื่อนไขสภาพแวดล้อม (Organization Culture and Environment: The Constraints)

ส่วนที่ 2 การวางแผนและการออกแบบองค์การ

ได้แก่เรื่องที่เกี่ยวกับ การวางแผนและการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Planning and Management), เครื่องมือในการวางแผน (Planning Tools and Techniques), การจัดองค์การ (Organizing) , และ องค์การและการออกแบบงาน (Organization and Job Design Options)

ส่วนที่ 3 การบริหารคน

ได้แก่เรื่องที่เกี่ยวกับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management), การนำ (Leading), แรงจูงใจ (Motivation), ความเป็นผู้นำ (Leadership), และ การสื่อสาร และทักษะมนุษยสัมพันธ์ (Communication and Interpersonal Skills)

ส่วนที่ 4 การบริหารสู่ความเปลี่ยนแปลง

ได้แก่เรื่องที่เกี่ยวกับ การบริหารความเปลี่ยนแปลง (Managing Change), การควบคุม (Foundations of Control), ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Information Control Systems) และ การบริหารระบบปฏิบัติการ (Operations Management)

สิ่งที่ต้องรู้ (Must)

สิ่งที่ต้องรู้ และผู้เรียนต้องแสดงความสามารถในการวิเคราะห์ระบบ โดยเสนอให้ใช้แนวคิดระบบ ความเป็นระบบเปิด (Open System) เพื่อวิเคราะห์กรณีตามคำถามที่ท่านจะได้รับในเวลาที่สอบ

การสอบวัดคุณสมบัติโดยหลักการ จะเป็นการวัดความสามารถในการวิเคราะห์ (Analysis) และความสามารถในการสังเคราะห์ (Synthesis) ไม่เจตนาที่จะวัดความจำ แต่การรู้ศัพท์ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องย่อมแสดงสถานะของผู้ศึกษาเล่าเรียน และจะเป็นประโยชน์เมื่อต้องมีการศึกษาในระดับทำวิทยานิพนธ์ที่ต้องใช้ศัพท์ทางวิชาการเฉพาะด้านของตน (Terminology) ได้อย่างเข้าใจ และถูกต้อง

อ่านคำถามให้ดี แล้วตอบให้ตรงคำถาม ใช้เวลาสักช่วง 10-15 นาที่แรกของ 3 ชั่วโมงเพื่อทำความเข้าใจในคำถาม และวางแผนเตรียมตอบอย่างเป็นระบบ พยายามตอบให้ตรงประเด็น การตอบมาก หรือเขียนมาก แต่ไม่ตรงประเด็นจะไม่มีความหมาย และเป็นผลเสีย

ความเป็นผู้นำทางการบริหารการศึกษา

1067201 ความเป็นผู้นำและการบริหารการศึกษา (Leadership and Administration in Education) ซึ่งสอนโดย ประกอบ คุปรัตน์และทีมงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ภาคต้น ปีการศึกษา 2550

กรอบเนื้อหา

ซึ่งมีประมวลการสอนดังนี้

การศึกษาความหมาย ความสำคัญ และคุณลักษณะของผู้นำ ประเภทของผู้นำ ความเป็นผู้นำ พฤติกรรมผู้นำ ทฤษฎีผู้นำแบบต่างๆ รวมปึงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมสำหรับผู้บริหารเพื่อนำไปสู่การเป็นผู้บริหารแบบมืออาชีพ โดยเน้นกรณีศึกษาความเป็นผู้นำในประเทศและภูมิภาค

เนื้อหา (Content) ที่ควรศึกษา ประกอบด้วย ความเป็นผู้นำ(Leadership) กรณีเพื่อการศึกษา, บทบาทของนักบริหารการศึกษา, ถอดระหัสความลับของมนุษย์, ปรากฏการณ์หอยแมลงภู่, EQ ทำงานอย่างไร, ปรากฏการณ์ Dilbert, ปัญหาผู้นำระดับสูง (Toxic Leaders), รูปแบบการนำที่เป็นปัญหา, ผู้นำกับการตัดสินใจ, การเข้าสู่ตำแหน่งงานใหม่ ผู้บริหารจะเตรียมตัวอย่างไร, ลักษณะของผู้นำที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล (Efficiency and Efficiency) ผู้นำกับการจัดองค์การให้มีประสิทธิภาพ (Organization), สู่ความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงตนเองและองค์การ (Change, Planned Change), การสร้างมิตร ขยายพวก, การสร้างและใช้เครือข่าย เพราะคนเราไม่สามารถทำงานให้สำเร็จโดยลำพังได้, ผิดให้เป็นครู และ ล้มแล้วรู้จักลุก - เราจะเรียนรู้จากสิ่งที่พลาดไปได้อย่างไร, ความเป็นผู้นำ - ประสบการณ์จากนักบริหารนานาชาติ (Globalization, Internationalization), พลภาพของความสำเร็จ ทำอย่างไรจึงจะทำงานให้สำเร็จ, การพัฒนาความเป็นผู้นำ เราจะพัฒนาคนให้เป็นผู้นำได้อย่างไร

สิ่งที่ต้องเรียนรู้ (Must)

ในการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นผู้นำนี้ จะมีเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมศาสตร์ อันได้แก่ จิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยามาก มีศัพท์ทางวิชาการขั้นพื้นฐานที่พึงทำความเข้าใจ ซึ่งได้กำหนดให้ผู้เรียนต้องไปศึกษาหนังสืออ่าน ชื่อ The Leadership Mystique: Leading Behavior in the Human Enterprise เขียนโดย Manfred Ketz De Vries ความยาว 276 หน้า ค.ศ. 2006

การอ่านภาคบังคับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่เน้นการสร้างความสามารถของผู้เรียนที่จะต้องทำงานในบรรยากาศของความเป็นนานาชาติได้ (Internationalization) ส่วนกรอบการศึกษา ได้ให้สไลด์การนำเสนอ (Presentation) ที่ได้แจกจ่ายให้กับผู้เรียนไปแล้วในระหว่างที่เรียน แต่หากใครยังไม่ได้รับ ให้ขอได้จาก ธัญญเทพ สิทธิเสือ และประภาพร บุญปลอด หรือขอให้ที่ผม ผู้สอนโดยตรง

การวิเคราะห์และสังเคราะห์ คือการแสดงความสามารถในการอ่านกรณีที่ให้ แล้วตอบไปตามเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ต้องตอบให้ตรงคำถาม อ่านโจทย์และวางแผนการตอบให้เหมาะสมในเวลาสัก 10-15 นาที การตอบไม่ตรงประเด็น และตอบแบบน้ำท่วมทุ่ง ไม่เป็นผลดี การตอบให้ได้ความตามเวลาที่กำหนด นับว่าสำคัญ เพราะกรรมการตรวจอ่าน จะอ่านตามเท่าที่เขียน

ขอให้ทุกท่านโชคดี

ปัญหา (Problems) คือโอกาส (Opportunities) จงตั้งสติ แล้วศึกษาปัญหาให้ดี แล้วการแก้ปัญหา คือการใช้สติปัญญา ใช้ความสามารถในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ไม่ใช่เพียงความจำ หรือความเข้าใจ

โชคดีทุกคนครับ

No comments:

Post a Comment