ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
Pracob@sb4af.org
ศึกษาและเรียบเรียงจาก Wikipedia, the free encyclopedia ทั้งในส่วนที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
Keywords: ประเทศจีน, China, การเมือง, เศรษฐกิจ, ผู้นำ
เหมา เจอตุง | |
ประธานกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |
ดำรงตำแหน่งในช่วง | |
มีผู้ช่วยหรือรอง | |
ผู้ดำรงตำแหน่งมาก่อน | |
ผู้รับตำหแหน่งสืบทอด | |
ประธานของสาธารณรัฐประชาชนจีนคนที่หนึ่ง | |
In office | |
นายกรัฐมนตรี | |
รองประธาน | |
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้า | Position Created |
ผู้รับตำแหน่งสืบทอด | |
ประธานคณะกรรมการทหารคนแรก | |
In office | |
Preceded by | Position Created |
Succeeded by | |
ประธานคนแรกของ | |
In office | |
Preceded by | Position Created |
Succeeded by | |
In office | |
| |
เกิดเมื่อ | 26 December 1893 |
เสียขีวิตเมื่อ | 9 September 1976 (aged 82) |
สัญชาติ | Chinese |
พรรคการเมือง | |
คู่ครอง | Luo Yixiu (1907–1910) |
ศาสนา | |
ลายเซ็น |
ความนำ
เหมา เจอตุง มีทั้งคนที่ยกย่องเชิดชู ทั้งในประเทศจีน และในส่วนอื่นๆของโลก แม้แนวคิดของเขาในปัจจุบัน จะไม่เป็นที่ยอมรับและใช้กันมากนักในโลกปัจจุบัน ลัทธิคอมมิวนิสต์โดยรวมทั้งตามแนวทางของ Marx และ Lenin ก็ถดถอยลง หมดบทบาทในประเทศยุโรปตะวันออก แต่โดยรวมในประเทศจีน แม้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมมีการปรับเปลี่ยนไปมากแล้ว แต่กระนั้น พรรคคอมมิวนิสต์ในสายที่เขาจัดตั้งก็ยังมีบทบาทเป็นพรรคการเมืองหลัก และเป็นพรรคเดียวที่รวมศูนย์ในประเทศจีน
ในการนี้ผู้แปลได้เลือกที่จะใช้การแปลโดยใช้ฐานจาก Wikipedia ในภาษาอังกฤษ เพื่อคงศัพท์ที่เกี่ยวข้องที่จะมีการศึกษาต่อได้ และขณะเดียวกัน สำหรับผู้ที่ต้องการได้ข้อมูลเพื่อเรียนรู้ ก็สามารถกระทำได้ในแบบสองภาษา (Bilingual)
เหมา เจอตุง (Mao Zedong) ซึ่งอาจมีคนเขียนที่เป็นภาษาไทยบางส่วนว่า “เหมา เซตุง” เกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1893 และเสียชีวิตเมื่อวันที่9 กันยาน ค.ศ. 1976 เป็นผู้นำการปฏิวัติ revolutionary, นักทฤษฎีการเมือง (Political theorist) และผู้นำคอมมิวนิสต์ (communist leader) เขานำพรรคคอมมิวนิสต์จีน (The People's Republic of China - PRC) เริ่มตั้งแต่ก่อตั้งปี ค.ศ. 1949 จนกระทั่งเสียชีวิตเมือปี ค.ศ. 1976 ทฤษฎีของเขายังประโยชน์ต่อแนวทางการต่อสู้ด้วยการทหารตามแนวทางทฤษฏีการเมืองของ Marxism-Leninism โดยใช้ฐานจากชาวนาและเกษตรกร แทนที่จะเป็นการลุกขึ้นต่อสู้จากกรรมกรและคนยากจนในเมืองแบบในรัสเซียและในยุโรปตะวันออก แนวทางของเขาจึงมีคนเรียกว่า Maoism หรือผู้เดินตามแนวทางของเหมา
แนวทางของเหมานับเป็นความขัดแย้งแม้จนในปัจจุบัน ที่ทั้งต้องโต้เถียงกัน (Contentious) ว่าเป็นผลเสีย และส่วนที่ดีที่ต้องระลึกถึง (Evolving legacy) ในประเทศจีนอย่างเป็นทางการจึงยกย่องเขาในฐานะนักการปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ (great revolutionary) นักยุทธศาสตร์การเมือง (political strategist), นักคิดด้านการทหาร (military mastermind), และผู้กอบกู้ชาติ (savior of the nation)
ชาวจีนเป็นอันมากเชื่อว่าด้วยนโยบายทางเศรษฐกิจที่เขาวางไว้ การได้วางพื้นฐานทางเทคโนโลยีและวัฒนธรรมสำหรับจีนยุคใหม่ ได้ทำให้ประเทศก้าวเปลี่ยนจากความเป็นสังคมเกษตร (agrarian society) สู่ความเป็นมหาอำนาจใหม่ในโลกใหม่ดังในปัจจุบัน
นอกจากนี้เหมายังได้รับการยกย่องว่าเป็นนักประพันธ์ (poet) นักปรัชญา (philosopher) และผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล (visionary) แต่ในอีกด้านหนึ่งเขากระทำโดยการสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ยกย่องบุคคล (cult of personality) ที่ได้เกิดขึ้นในช่วงเขามีอำนาจ อันเป็นผลให้แม้ในปัจจุบันยังมีภาพของเขาตระหง่านอยู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน (Tiananmen) และบนธนบัตรค่าเงินของจีน (Renminbi bills) ทั้งหมด
ในด้านที่เป็นข้อวิพากษ์ โปรแกรมด้านสังคมและการเมืองตามความคิดของเขาดัง เช่น “การก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่” (Great Leap Forward) อันเป็นแนวทางการพัฒนาด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมใหม่ และ “การปฏิวัติวัฒนธรรม” (Cultural Revolution) ที่หวังจะปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจีนด้านวัฒนธรรมและการเมืองอย่างต่อเนื่อง อันเป็นความขัดแย้งรุนแรงในประเทศ และก่อให้เกิดการเสียชีวิตของคนจำนวนมาก ทำให้เกิดความอดอยากอย่างรุนแรง (famine) มีการทำลายล้างทางวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของจีน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นที่รับทราบและยอมรับในประเทศจีนและในพรรคคอมมิวนิสต์จีน (Chinese Communist Party) นโยบายของเหมาที่นำไปสู่การทำลายล้างคนที่คิดต่างทางการเมือง (political purges) ที่ได้เกิดขึ้นในช่วงปี ค.. 1949 – 1976 อันเป็นที่เชื่อกันว่าเป็นต้นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตทั้งโดยตรงและโดยอ้อมประมาณ 50-70 ล้านคน เมื่อผู้นำการเมืองสายปฏิรูปอย่าง เติ้ง เสี่ยวผิง (Deng Xiaoping) ได้ขึ้นครองอำนาจในปี ค.ศ. 1978 ได้มีการเลิกนโยบายที่เหมาได้ริเริ่มขึ้น และเปลี่ยนไปสู่การปฏิรูปทางเศรษฐกิจ (economic reforms) เปิดให้มีการใช้แนวทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมบางส่วน มีการเปิดประเทศลดความตึงเครียดทางการเมือง เพิ่มการระดมทุนจากต่างประเทศเพื่อการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมในประเทศให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว
เหมามีทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่บกพร่อง แต่กระนั้นเขาก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลสำคัญที่สุดหนึ่งในร้อยคนของศตวรรษที่ 20 ดังได้มีการจัดอันดับของนิตยสารไทม์ (the 100 most important people of the 20th century) เติ้ง เสี่ยวผิง กล่าวประเมินเหมาอย่างให้เกียรติว่า “ท่านประธานเหมามีดี 70 มีเสีย 30”
No comments:
Post a Comment