ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
Pracob@sb4af.org
Keywords: CW105, ประวัติศาสตร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจ การเมือง
แปลและเรียบเรียง
(Ford and Carter)
ยุคสมัยของสงครามเย็นได้เปลี่ยนไปสู่อเมริกันพยายามหาทิศทางใหม่ด้านศีลธรรมของตนเอง
รองประธานาธิบดี Gerald R. Ford ได้สาบานเข้ารับตำแหน่างสืบต่อจากรองประธานาธิบดีคนแรกของนิกสันที่ชื่อ Spiro T Agnew ซึ่งต้องลาออกด้วยเรื่องการหลีกเลี่ยงภาษี Ford สัญญาว่าจะดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศของนิกสันต่อไป โดยเฉพาะการปรับปรุงสัมพันธภาพกับประเทศจีนและสหภาพโซเวียต และในระยะปลายสมัยของนิกสัน เขาได้เดินทางไปเยือนตะวันออกกลาง และสหภาพโซเวียต และเขาได้สัญญาว่าจะนำสันติภาพที่ถาวรกลับมา
ในกิจการภายในประเทศ สหรัฐได้รับผลกระทบจากค่าพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นเมื่อกลุ่มประเทศอาหรับได้รวมตัวกันตอบโต้สหรัฐที่สนับสนุนอิสเรลในสงคราม Yom Kippur War หรือที่เรียกว่าสงครามอาหรับกับอิสเรล (Arab-Israeli Wars) ฟอร์ดได้พยายามควบคุมไม่ให้มีเงินเฟ้อมากนัก แต่ในปี ค.ศ. 1974 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจหลังสงครามก็ถึงจุดสูงสุดนับหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาต้องเผชิญกับปัญหาการว่างงาน ปัญหาโลกขาดอาหาร ความนิยมของฟอร์ดตกต่ำเมื่อเขาได้ประกาศนิรโทษกรรมให้นิกสันในความผิดเมื่อดำรงตำแหน่างประธานาธิบดี และด้วยเหตุดังกล่าว พรรค Republican จึงต้องเสียอำนาจให้กับพรรค Democrat ไปในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1974 Nelson A. Rockefeller อดีตผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ค ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่ง แต่ทั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีก็ไม่มีความนิยมเหลืออยู่แล้ว ช่วงดำรงตำแหน่ง เขาต้องเผชิญกับปัญหาด้านเศรษฐกิจ การทำงานที่ไม่ราบรื่นกับรัฐสภาซึ่งมีเสียงข้างมากของพรรคตรงกันข้าม คือ Democrat ฟอร์ดต้องวีโต้กฏหมายหลายฉบับที่ต้องการผลักดันนโยบายด้านสังคม แต่การที่ไม่สามารถทำอะไรได้มากนั้น ทำให้คะแนนเสียงของเขาแม้ในพรรคของเขาเองก็ไม่เป็นหนึ่งเดียว มีผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย Ronald Reagan ท้าทายด้วยการเสนอตัวเป็นผู้แทนเข้าชิงตำแหน่งในนามพรรค แม้ฟอร์ดจะได้รับเลือกเป็นตัวแทนพรรค แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ในการแข่งขันเป็นประธานาธิบดี
ประธานาธิบดีคาร์เตอร์
อเมริกาเข้าสู่ยุคของการแสวงหาค่านิยมใหม่
อดีตผู้ว่าการรัฐ
และได้มีการจัดตั้งกระทรวงพลังงาน (Department of Energy) ขึ้นในปี ค.ศ. 1977 และได้เน้นการใช้พลังงานจากนิวเคลียร์เพื่อทดแทนการใช้ถ่านหินที่มีผลต่ออากาศและสิ่งแวดล้อมโดยรวม แต่พลังงานนิวเคลียร์ในสหรัฐก็ต้องประสบปัญหาความเชื่อถือเมื่อเกิดอุบัติเหตุกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลที่โรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่ เกาะ เรียกว่า Three Mile Island power facility ใกล้เมือง Harrisburg ในรัฐ, Pennsylvania
รัฐหลายๆ รัฐได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันไม่เหมือนกัน รัฐที่มีอุตสาหกรรมด้านน้ำมันเช่น
เงินเฟ้อยังเป็นปัญหาสำคัญของรัฐบาลภายใต้การนำของฟอร์ด และเป็นจุดเลวที่สุดในรอบ 30 ปีเมื่อค.ศ. 1979 ความพยายามที่จะควบคุมสภาพเงินเฟ้อด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็ยิ่งทำให้ประเทศเข้าสู่สภาพเศรษฐกิจถดถอย คนไม่อยากลงทุน เพราะต้องมีต้นทุนดอกเบี้ยร่วมเข้าไปด้วย ในช่วงปี ค.ศ. 1977 ประธานาธิบดี Carter ได้ทำการลงนามในสัญญาคลองปานามาใหม่ (The Panama Canal Treaty) และในอีกหนึ่งปีต่อมารัฐสภาก็ได้ลงมติคืนคลองปานามาให้กับประเทศของเขามีผลในปี ค.ศ. 1999 ความสำเร็จที่สำคัญของ Carter ในด้านการต่างประเทศคือการประสานงานและเจรจาให้ Egypt และ Israel ได้มีการเจรจากันที่ Camp David, Md ซึ่งนำไปสู่การลงนามในสัญญาสันติภาพระหว่างสองประเทศ สัญญานี้มีขื่อว่า Camp David accords ลงนามโดยประธานาธิบดี Anwar al- Sadat แห่งอียิปต์ และนายกรัฐมนตรี Menachem Begin ในปี ค.ศ. 1979 สหรัฐในยุค Carter ได้ประสานความสัมพันธ์กับประเทศจีนเพื่อนำไปสู่ความสัมพันธ์ระดับปกติ และในด้านสงครามเย็นกับโซเวียต ได้มีการเจรจารองสอง เพื่อการจำกัดการมีอาวุธนิวเคลียร์กับสหภาพโซเวียต (SALT II)
คาร์เตอร์ประกาศที่จะต่อต้านประเทศที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชน อันทำให้มีการห้ามค้ากับสหภาพโซเวียตในด้านการค้าธัญญพืชและและเทคโนโลยีระดับสูงต่อการที่โซเวียตได้บุกอัฟกานิสถาน และคาร์เตอร์ได้ปฏิเสธการเข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิกที่จัด ณ กรุงมอสโคว์ (Moscow Olympics) ในปี ค.ศ. 1979 เขาได้อนุญาตให้อดีตกษัตริย์ Muhammad Reza Shah Pahlevi แห่งอิหร่านได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ก่อให้เกิดการอเมริกันในประเทศอิหร่านอย่างรุนแรง และในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 กลุ่มหัวรุนแรงในอิหร่านได้บุกเข้าสถานฑูตสหรัฐในอิหร่าน และจับเจ้าหน้าที่ของสหรัฐเป็นตัวประกัน 66 คน
วิกฤติในอิหร่านได้ทำให้ความนิยมในตัวประธานาธิบดีคาร์เตอร์ในฐานะผู้นำลดลงอย่างมาก จากเหตุการจัดตัวประกันในอิหร่าน และความพยายามจะช่วยตัวประกันได้ทำให้มีคนอเมริกันเสียชีวิต 8 คน ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจของประเทศก็เข้าสภาวะวิกฤติถดถอยยิ่งขึ้น คาร์เตอร์ไม่มีโอกาสในการเลือกตั้งครั้งที่ 2 มากนักที่จะต่อสู้กับผู้รับสมัครจากพรรครีพับลิกันที่ชื่อ Ronald Reagan ซึ่งสัญญาจะนำอเมริกาสู่ความยิ่งใหญ่ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจอีกครั้ง
สู่ยุคอนุรักษนิยมใหม่
ในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 20 เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 เป็นต้นมา สหรัฐมีประธานาธิบดี 4 คน รวม 6 สมัย และเป็นช่วงที่พรรครีพับลิกันกลับมามีอำนาจครองทำเนียบขาวรวม 4 สมัย และมีพรรคเดโมแครตครองอำนาจเพียง 2 สมัย
ประธานาธิบดี Ronald Reagan เป็นจุดเริ่มต้นของการครองอำนาจและการเข้ามามีบทบาทของแนวคิดเศรษฐกิจแบบอนุรักษนิยมใหม่ ในขณะเดียวกันก็ได้เห็นการถดถอยของลัทธิสังคมนิยมในเวทีโลก มีความขัดแย้งภายในชาติของยุโรปตะวันออกมากขึ้นเป็นลำดับ อันเป็นผลมาจากความล้มเหลวด้านนโยบายเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ และระบบสังคมนิยมที่แข็งกระด้าง ในยุโรปตะวันตกเองที่มีระบบรัฐสวัสดิการ ก็ลดความสำคัญลงไป และกลายเป็นเปิดโอกาสให้มีระบบการค้าเสรีมากขึ้น ในสหรัฐอเมริกาก็เช่นกัน สหภาพแรงงานได้ถดถอยลงไป เกิดแนวคิดเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า Neo Capitalism
สหรัฐอเมริกาได้เข้าสู่ยุคความเป็นผู้นำทางทหารแบบขั้วอำนาจเดียว เมื่อสหภาพโซเวียตและประเทศสังคมนิยมตะวันออกล่มสลายภายในปี ค.ศ. 1989 และประเทศจีนได้เปลี่ยนไปสู่การแสวงหาโอกาส และการพัฒนาเศรษฐกิจ และสร้างความแข็งแกร่งในด้านอุตสาหกรรมในศตวรรษใหม่ที่ 21 นี้
ขณะเดียวกันในโลกที่สงครามเย็นหมดไป แต่ได้มีความขัดแย้งใหม่เกิดขึ้น มีการก่อการร้ายที่มีฐานมาจากกลุ่มศาสนาอิสลามหัวรุนแรง ประกอบกับความด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจในประเทศและในเวทีโลก และการกลับมาของลัทธิเผ่านิยม (Racism) และการคุกคามสิทธิมนุษยชนขึ้นในโลกหลายๆ แห่ง
Ronald Wilson Reagan, | 1981 - 1989 |
George Herbert Walker Bush, | 1989 - 1993 |
William Jefferson Clinton, | 1993 - 2001 |
George Walker Bush, | 2001 - 2009 |
ช่วงรัฐบาลเรแกน (The Reagan Years)
ชาวอเมริกันได้ตอบสนองต่อแนวทางอนุรักษ์นิยมใหม่ (Neoconservatism) และทำให้ Ronald Reagan ได้เป็นประธานาธิบดี ซึ่งมีอายุมากที่สุดที่ได้รับเลือกตั้งที 70 ปี แนวทางของเรแกนได้รับการตอบรับอย่างดี และทำให้ในรัฐสภาก็มีตัวแทนพรรครีพับลิกันรับเลือกเข้ามามากยิ่งขึ้น และเป็นเสียงข้างมากในสภาหลังจากปี ค.ศ. 1954 เป็นต้นมา ซึ่งนับเป็นการกลับมาของนโยบายเศรษฐกิจแบบอนุรักษ์นิยม แนวนโยบายของเขาเรียกว่า supply-side economics โดยเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการลดภาษี แต่เพราะลดภาษีกลับทำให้ได้เก็บภาษีเพิ่มมากขึ้น ฝ่ายต่อต้านแย้งว่าการลดภาษีทำให้บริษัทขนาดใหญ่และคนร่ำรวยได้ประโยชน์ แต่ขณะเดียวกันเรแกนได้ตัดโปรแกรมเพื่อสวัสดิการสังคมบางอย่างลง เพื่อทำให้ค่าใช้จ่ายภาครัฐบาลกลางลดลง
การถดถอยของสหภาพแรงงาน
ในทางด้านแรงงาน เรแกนมีนโยบายไม่สนับสนุนสหภาพแรงงาน ดังใน ค.ศ. 1981 เมื่อมีการนัดหยุดงานเกิดขึ้นในกิจการควบคุมการบิน เขาได้มีคำสั่งปลดผู้ร่วมนัดหยุดงาน 13000 คนออกจากงาน ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1981 เขาได้รับบาดเจ็บจากการลอบสังหาร แต่ก็กลับสู่สภาพปกติได้ ทำให้เสียงคนวิพากษ์ด้านประสิทธิภาพและปัญหาอายุของเขาลงไป แต่อย่างไรก็ตามสภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังคงเลวลง จนในปี ค.ศ. 1983 อัตราคนว่างงานได้ถึงจุดสูงสุดที่ร้อยละ 11 นับว่าเลวร้ายที่สุดตั้งแต่มีวิกฤติเศรษฐกิจในช่วง ค.ศ. 1929 ที่เรียกว่า The Great Depression แต่อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มลดลง อัตราเงินเฟ้อลดลง ซึ่งได้ช่วยทำให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว เรแกนได้ใช้วิธีการลดการควบคุมธนาคาร สายการบิน และอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันกันได้อิสระยิ่งขึ้น ทำให้เศรษฐกิจมีพลภาพมากยิ่งขึ้นอีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1984 อัตราคนว่างงานได้ลงดลง เงินเหรียญสหรัฐแข็งค่าขึ้น และสัญญาณเศรษฐกิจหลายๆตัวได้ดีขึ้น ทำให้เรแกนได้รับเลือกเข้าสู่ตำแหน่งอีกครั้งอย่างท่วมท้น
การเลือกตั้ง
พรรคเดโมแครตได้เลือก Walter F. Mondale เป็นตัวแทนพรรคในตำแหน่งประธานาธิบดี และมีผู้แทนรัฐสภาหญิงชื่อ Geraldine Ferraro เป็นทีมตัวแทนแข่งขันในตำแหน่งรองประธานาธิบดี นับเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับเลือกให้ชิงต่ำแหน่งระดับสูงเช่นนี้ ในการนี้เรแกนชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น โดยชนะใน 49 รัฐ และชนะให้เสียงตัวแทน 525 เสียง (Electoral Vote) แต่เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ไม่นาน ในขณะที่เรแกนได้ตัดงบประมาณภาครัฐบาลกลางลง ซึ่งรวมถึงสวัสดิการสังคม แต่งบประมาณด้านทหารกลับได้รับเพิ่มขึ้นสูงสุดนับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง งบประมาณรัฐบาลกลางมีลักษณะติดลบหนักยิ่งขึ้น และในปี ค.ศ. 1987 เรแกนได้เสนอรัฐสภาขอผ่านงบประมาณที่ทำให้งบประมาณติดลบ คือใช้มากกว่าที่จะจัดเก็บรายได้ และงบประมาณของประเทศได้ขึ้นถึง 1ล้านล้านเหรียญ (Trillion Dollar Budget) เป็นครั้งแรก หรือคิดเป็นประมาณ 40 เท่าของประเทศไทย ในขณะที่การลดการควบคุมด้านเศรษฐกิจได้ก่อให้เกิดเสียงครหา และการค้าแบบติดลบ คือสินค้าเข้า มากว่าสินค้าส่งออกหรือว่าขายได้ (Trade Imbalance) ในที่สุดเศรษฐกิจบนฐานที่ไม่มั่นคงก็ได้ประสบวิกฤติ โดยในปี ค.ศ. 1987 หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้ล่วงลงมา 508 จุดในวันเดียว
ต่อต้านคอมมิวนิสต์
ในด้านการต่างประเทศ เรแกนมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ และไม่ได้ดำเนินนโยบายสายกลางๆ คือไม่เห็นด้วย แต่ยังคบหากัน แบบของนิกสัน ฟอร์ด และคาร์เตอร์ เรแกนได้กลับไปใช้วาจาที่แรงในแบบสงครามเย็นอีกครั้ง โดยเรียกสหภาพโซเวียตว่า The Evil Empire หรือ “อาณาจักปีศาจ” ในทางการทหาร ได้มีการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศ มีการเตรียมระบบป้องกันขีปนาวุธนิวเคลียร์ที่เรียกว่า Strategic Defense Initiative ซึ่งเป็นแผนที่เรียกกันติดปากว่า Star Wars ในปี ค.ศ. 1981 เรแกนได้ใช้นโยบายไม่คบค้ากับโปแลนด์ (
นาวิกโยธิน 241 คนในเบรุตถูกฆ่า
สงครามที่เปลี่ยนไป ภัยจากการก่อการร้ายแบบใหม่ได้เพิ่มขึ้น
ในปี ค.ศ. 1983 ทหารนาวิกโยธินของสหรัฐที่ประจำอยู่ในเบรุต ประเทศเลบานอน ในฐานะกองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติได้ถูกโจมตีด้วยผู้ก่อการร้ายได้ขับรถบรรทุกระเบิดพุ่งเข้าใส่ เป็นผลทำให้ทหารนาวิกโยธินเสียชีวิต 241 คน ในปีเดียวกันเรแกนได้สั่งทหารบุกเข้าประเทศเล็กๆ ในทะเลแคริเบียน ชื่อว่า
ในปี ค.ศ. 1986 ในด้านอวกาศที่สหรัฐประสบความสำเร็จมาตลอดนั้น ได้เกิดเหตุยานอวกาศแบบบินขนส่ง ชื่อ Challenger ได้เกิดระเบิดหลังจากปล่อยออกจากฐานไม่ได้นาน เป็นผลทำให้ลูกเรือนักบินอวกาศทั้ง 7 คนเสียชีวิต นโยบายใช้ความรุนแรงในตะวันออกกลางของเรแกนเลวร้ายและทำให้สัมพันธภาพกับโลกอาหรับเลวร้ายยิ่งขึ้น ในปี ค.ศ. 1986 เขาได้สั่งให้กองทัพอากาศโจมตีลิเบียในฐานที่สนับสนุนการก่อการร้ายในเบอร์ลินตะวันตกที่ได้ฆ่าทหารอเมริกันไป 2 นาย
การก่อการร้าย
อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีที่ประกาศว่าจะไม่เจรจากับพวกผู้ก่อการร้าย แต่สมาชิกของฝ่ายบริหารในรัฐบาลกลับได้มีการเจรจาอย่างลับๆ ที่เป็นเรื่องอื้อฉาวที่เรียกว่า Iran Contra Affair อันเป็นการขัดกับนโยบายและสวนทางกับรัฐมนตรีต่างประเทศ และรัฐมนตรีกลาโหม ซึ่งเจ้าหน้าที่ของเรแกนได้จัดหาอาวุธให้กับอิหร่าน เพื่อเป็นการแลกกับการปล่อยตัวประกันชาวอเมริกันในตะวันออกกลาง และผลจาการขายอาวุธได้นำไปใช้สนับสนุนขบถฝ่ายขวา คือพวก Contra ในประเทศนิคารากัว
เรแกนได้ปรับปรุงภาพลักษณ์ของเขาก่อนที่จะออกจากตำแหน่ง เมื่อเขาตกลงที่จะเจรจาลดอาวุธกับโซเวียต โดยมีผู้นำของโซเวียตในขณะนั้นคือ Mikhail Gorbachev ในช่วงดำรงตำแหนง เขาได้แต่งตั้งบุคคลฝ่ายอนุรักษ์เข้าดำรงตำแหน่งในศาลสูงถึง 3 คน ซึ่งรวมถึง Sandra Day O'Connor ซึ่งเป็นสตรีคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งในศาลระดับสูงเช่นนี้
ช่วงบุชผู้พ่อ
เรแกนได้มีรองประธานาธิบดีชื่อ George H. W. Bush ซึ่งได้เข้าแข่งขันรับการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในนามตัวแทนพรรครีพับลิกัน ในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1988 การหาเสียงเลือกตั้งเป็นลักษณะที่คนไปเลือกตั้งน้อย และคนไม่พอใจต่อผู้สมัครของทั้ง 2 พรรค การหาเสียงเป็นในเชิงลบ มีการสาดโคลนต่อกันต่อมา ตัวแทนฝ่ายพรรคดีโมแครต ซึ่งเป็นผู้ว่าการรัฐแมสาชูเสทส์ ชื่อว่า Michael Dukakis ซึ่งต้องเสียการนำในการหาเสียงและท้ายสุดพ่ายแพ้ไป ประธานาธิบดีบุชใช้นโยบายการต่างประเทศในลักษณะเดียวกับเรแกน
ในปี ค.ศ. 1989 หลังจากการก่อการขบถที่หนุนหลังโดยสหรัฐในประเทศปานามาเพื่อโค่นล้มประธานาธิบดี Manuel Noriega ประสบความล้มเหลว บุชได้สั่งทหารบุกปานามา และได้จับตัวประธานาธิบดีและส่งไปคุมขังในเมืองไมอามี รัฐฟลอริดา (
สงครามอ่าวเปอร์เซีย
การสงครามครั้งสำคัญในสมัยบุช คือการรบในสงครามที่เรียกว่า “สงครามอ่าวเปอร์เชีย” (Persian Gulf War)
โดยในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้ประกาศสงครามกับอิรัคที่ได้ส่งทหารเข้ายึดครองคูเวตก่อนหน้านั้น และทำการรบที่เรียกว่า “ปฏิบัติการโล่ทะเลทราย” (Operation Desert Shield) ซึ่งการรบได้รวมถึงการปิดล้อมทางอากาศ การส่งกำลังทหารไปรวมพลในทะเลทรายเสริมกำลังในประเทศซาอุดิอาเรเบีย ในเดือนพฤศจิกายน สหประชาชาติได้ให้การรับรองสหรัฐในการใช้มาตรการที่จำเป็นในการผลักดันทหารอิรัคออกจากคูเวต และได้กำหนดเส้นตายในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1991 และก่อนหน้านั้นเล็กน้อย รัฐสภาของสหรัฐได้ลงมติด้วยเสียงชนะเพียงเล็กน้อยให้ไปทำสงครามนอกประเทศเพื่อขับล่าอิรัคจากคูเวตได้
ในการสงครามครั้งนี้ สหรัฐได้ใช้กำลังคนกว่า 500,000 คน รถถังนับพันคัน เครื่องบิน และเรือบันทุกเครื่องบินและกองทหารไปยังบริเวณอ่าว กองกำลังผสมที่นำโดยสหรัฐได้ใช้การโจมตีทางอากาศ ซึ่งอาวุธในยุคใหม่ได้เปลี่ยนไปเป็นการมีระบบควบคุมขีปนาวุธที่แม่นยำด้วยคอมพิวเตอร์และระบบ GIS การบุกได้ใช้เวลา 100 ชั่วโมงที่จะยึดคูเวตคืน และอิรัคได้พ่ายแพ้ ถอนทหารกลับไป และทางบุชได้ประกาศยุติสงคราม
ชนะสงครามสู่ปัญหาเศรษฐกิจ
ในด้านสงคราม สหรัฐได้รับชัยชนะอย่างราบคาบ มีการเสียกำลังพลที่น้อยมาก และประธานาธิบดีบุชได้รับความนิยมที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในประวัติศาสตร์ แต่ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศก็ตามมา ทำให้คะแนนนิยมลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อตอนที่บุชเข้ารับตำแหน่งนั้น เขาได้ประกาศแผนที่จะช่วยกิจการธนาคารประเภท Savings and Loan ซึ่งต้องประสบวิกฤติล่มสลายหลังการใช้ระบบเปิดการค้าเสรีในช่วงรัฐบาลเรแกน แต่ในปี ค.ศ. 1991 ประมาณว่าจะต้องใช้เงินจากภาษีอากรประมาณ 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพยุงธุรกิจธนาคารนี้
สู่สังคมบริการและข้อมูลข่าวสาร
สังคมอเมริกาและโลกกำลังเข้าสู่โลกยุคข้อมูลข่าวสาร
ในช่วงทศวรรษที่ 1980 และจนถึงช่วง 1990 ระยะแรกนั้น สังคมสหรัฐได้เปลี่ยนไปทั้งในด้านประชากร เศรษฐกิจ และการเมือง ระบบอุตสาหกรรมได้เสื่อมถอยลงเริ่มตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 แต่ได้เปลี่ยนสู่ธูรกิจด้านบริการและอื่นๆมากขึ้น รัฐที่มีฐานด้านธุรกิจบริการ การค้า และเทคโนโลยีระดับสูง บริเวณที่หลายๆ คนเรียกว่า “ย่านแสงตะวัน” (The Sun Belt States) กลับมีความรุ่งเรืองขึ้น มีประชากรไปอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น ส่วนย่านที่เคยเป็นอุตสาหกรรมหนัก ซึ่งรวมถึงย่านตะวันตกกลาง (
สิ้นสุดยุคสงครามเย็น
ในช่วงการสิ้นสุดสงครามเย็น ได้เกิดการยุบเลิกกลุ่ม
ในช่วงเดือน เมษายน ค.ศ. 1992 ในเมือง Los Angles ในรัฐ
ยุคคลินตัน
คลินตัน (Bill Clinton) กับแนวคิดเสรีนิยมใหม่
คลินตันได้รับชัยชนะโดยได้เสียงร้อยละ 43 จากคะแนนเลือกโดยประชาชน และได้เสียงเลือกจากตัวแทน 370 เสียง (Electoral Vote) ส่วนบุชได้เสียงร้อยละ 38 และได้เสียงจากระบบตัวแทน 168 เสียง ส่วนผู้สมัครอิสระชื่อ H. Ross Perot ไม่ได้รับคะแนนจากระบบตัวแทน แต่ได้รับเสียงจากการเลือกตั้งโดยตรงร้อยละ 19 ซึ่งนับว่ามาทีเดียวสำหรับผู้สมัครที่ไม่มีพรรคสังกัด ทั้งนี้เพราะเขาเสนอที่จะขจัดการขาดดุลงบประมาณกลางที่กว่า 3.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คลินตันจัดเป็นนักการเมืองสายกลาง (Political Moderate) ได้รับคะแนนเสียงจากรัฐในภาคตะวันตกกลาง และตะวันตก ซึ่งในอดีตเคยละทิ้งพรรคดีโมแครต และหันไปออกเสียงให้กับเรแกน คลินตันชนะเพราะการหันมาให้ความสำคัญในเรื่องปากท้องและความเป็นอยู่ของประชาชน ส่วนบุชแม้ชนะสงคราม แต่ไม่สามารถให้คำตอบในเรื่องปากท้องและกิจการภายในประเทศได้ งานสุดท้ายในฐานะประธานาธิบดีคือ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1992 ได้ส่งกองกำลังของสหรัฐเข้าไปในโซมาเลีย (Somalia) เพื่อรักษาสันติภาพ อันเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสหประชาชาติและเพื่อลำเลียงสัมภาระเพื่อการบรรเทาทุกข์ด้านความอดอยาก
การผลักดันการค้าเสรี
เมื่อคลินตันได้เข้ารับตำแหน่ง เศรษฐกิจค่อยๆ ดีขึ้น มีการเพิ่มภาษีและก็ขณะเดียวกันลดการใช้จ่ายภาครัฐลงไป ทำให้สภาพการใช้เงินเกินดุลในภาครัฐบาลกลางลดลง สหรัฐอเมริกาได้ลงนามในสนธิสัญญาการค้าเสรีในอเมริกาเหนือกับแคนาดาและเมกซิโก (The North American Free Trade Agreement) ในปี ค.ศ. 1992 ทั้งนี้เพื่อทำให้ประเทศสมาชิกมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้ สนธิสัญญาได้มีการปรับปรุงและได้มีผลใช้ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1994
การเข้ายุ่งเกี่ยวในกิจการโลก
สงครามเย็นได้หมดไป แต่ความขัดแย้งใหม่ๆ ได้เกิดขึ้นในโลก
ในช่วง 2 ปีแรกที่เข้ารับตำแหน่ง คลินตันได้ถอนทหารออกจากโซมาเลีย ซึ่งสหรัฐได้สูญเสียทหารด้วยการที่ไม่มีแผนการรบที่ดีเพียงพอ และไม่มีความเข้าใจในภูมิประเทศ แต่ขณะเดียวกันได้ส่งทหารเข้าสู่
ตัวอย่างวิกฤติทางการบริหารเมื่องบประมาณรัฐบาลกลางไม่สามารถผ่านการรับรองโดยรัฐสภาได้ในช่วงเดือนเมษายน ค.ศ. 1996 และทำให้เกิดการชะงักงันยาวนาน 7 เดือน ต้องปิดหน่วยงานภาครัฐเป็นการชั่วคราว
การเข้าสู่บอสเนีย
การเข้าสู่ยุก่อการร้ายในอเมริกาเอง
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1995 ได้เกิดวินาศกรรมจากการก่อการร้ายที่รุนแรงที่สุดในดินแดนอเมริกันเองเป็นครั้งแรก เมื่อมีการวางระเบิดอาคารที่ทำการรัฐบาลกลางในเมืองโอคลาโฮมาซิตี้ รัฐโอคลาโฮมา (
ราว ค.ศ. 1996 ประธานาธิบดีคลินตันได้พัฒนาสถานะของเขา และได้รับคะแนนเสียงเมื่อเผชิญกับรัฐสภาเสียงข้างมากโดยสมาชิกพรรครีพับลิกัน และมีการยอมรับข้อเสนอของพรรครีพับลิกันหลายประการ และปฏิเสธข้อเสนอที่มีลักษณะอนุรักษ์มากๆ บางข้อ และคลินตันได้รับเสนอชื่อเป็นตัวแทนพรรคในการสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งโดยปราศจากคู่แข่ง ส่วนพรรครีพับลิกันได้ตัวแทนชื่อ Bob Dole และพรรคปฏิรูปที่ได้ตั้งใหม่ได้ Ross Perot เป็นตัวแทน คลินตันชนะการเลือกตั้งอีกครั้งด้วยคะแนนเสียงที่ดีขึ้น
การสอบสวนประธานาธิบดี
การเมืองคือเรื่องการตรวจสอบ
ในการดำรงตำแหน่งอีกครั้ง ศัตรูทางการเมืองของคลินตันทั้งในสภาและนอกสภาได้นำเรื่องเพื่อการสอบสวนในกรณีความเป็นไปได้ในการทุจริต Whitewater ที่อาจมีการใช้อำนาจอย่างผิดๆ ของประธานาธิบดี ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1997 ได้มีการแต่งตั้งอัยการอิสระ Kenneth Starr เพื่อสืบหาข้อมูลเรื่องอื้อฉาวทางเพศเกี่ยวกับเยาวชนฝึกงานในทำเนียบขาวที่เรียกว่า Lewinsky scandal ซึ่งกลายเป็นข่าวพาดหัวใหญ่ระดับชาติในปี ค.ศ. 1998 การรณรงค์ถอดถอนไม่เป็นผล โดยมีสมาชิกฝ่ายพรรครีพับลิกันยืนฝ่ายให้ถอถอน แต่ฝ่ายเดโมแครตยืนอยู่ฝ่ายสนับสนุนคลินตัน คนอเมริกันซึ่งมักจะคาดหวังอย่างสูงสำหรับศีลธรรมของผู้นำประเทศ คราวนี้ส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ส่วนหนึ่งของทัศนคติดังกล่าว เพราะเศรษฐกิจของประเทศกำลังไปได้ดี หุ้นในตลาดหลักทรัพย์สูงขึ้น อัตราการว่างงานลดลง หนี้รัฐบาลกลางลดลง และสัญญาณเศรษฐกิจทั่วไปดี แต่ฝ่ายวิพากษ์ก็กล่าวว่าสภานะของคนรวยกับคนจนก็ยิ่งห่างกันออกไปมากยิ่งกว่าเดิม ระยะนี้สงครามเย็นได้จบลงอย่างชัดเจนตราบจนสิ้นทศวรรษ 1990
สู่ปัญหา
ในเวทีโลก สหรัฐเป็นมหาอำนาจเดียวแท้จริงของโลก
แนวโน้มสันติภาพในตะวันออกกลางอยู่ในเกณฑ์พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง George Mitchell, ตัวแทนการฑูตจากสหรัฐ (
ในขณะเดียวกัน ใน Kosovo องค์กรนาโต้ (North Atlantic Treaty Organization – NATO) ไม่สามารถหยุดยั้งการล่าสังหารชนกลุ่มน้อยใน
การเจรจาในตะวันออกกลาง
การเจรจาในตะวันออกกลางที่ได้เริ่มมาแต่ปี ค.ศ. 2000 ได้แตกหักลง มีการขยายตัวของความรุนแรงในอิสราเอล ฉนวนกาซา และในฝั่งตะวันออกในราวกลางปีนั้น รัฐบาลคลินตันได้พยายามเข้าไกล่เกลี่ย แต่ประเด็นความขัดแย้งมีความยากลำบากที่จะแก้ไขในช่วงนั้น ในช่วงเวลาเดียวกันในทางเศรษฐกิจ ตลาดหุ้น Nasdaq อันเป็นตลาดหุ้นธุรกิจใหม่ด้านการสื่อสารที่ได้ทยานขึ้นต่อเนื่องมาแต่ช่วย ค.ศ. 1999 ได้ประสบปัญหาสดุดลง เศรษฐกิจใหม่ อันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ ได้พลอยทำให้เศรษฐกิจสหรัฐหดตัวลงเมื่อช่วงสิ้นปี
No comments:
Post a Comment