Friday, May 7, 2010

หน่วยที่ 11 สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II)

หน่วยที่ 11 สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II)

ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
Pracob@sb4af.org

Keywords: CW105, ประวัติศาสตร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจ การเมือง

แปลและเรียบเรียง

ความขัดแย้งและความวินาศ

สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นและจบในช่วงปี ค.ศ. 19391945 บริเวณมีการรับขยายไปจากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยมีอาณาบริเวณรบทั้งใน ยุโรป (Europe) ทางเอเซียย่าน Pacific ทั้งในจีน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (South-East Asia) ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และในตะวันออกกลาง (Middle East) ในแถบ Mediterranean และในทวีปห่างไกลอย่าง Africa

สาเหตุของความขัดแย้งมาจากหลายๆ ด้าน ตั้งแต่ข้อตกลง Treaty of Versailles ที่ไม่ยุติธรรมและกดดันฝ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างเยอรมัน ปัญหาจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลก (the Great Depression) การเกิดลัทธิชาตินิยม การคลั่งเผ่าพันธ์ของพวกนาซีที่มีอำนาจในเยอรมัน เผด็จการอย่างทหารในเยอรมัน อิตาลี จักรวรรดินิยมญี่ปุ่น และลัทธิทหาร ประเด็นความขัดแย้งยังคงโต้เถียงกันไปได้อีกนาน

ผลของสงครามคือ ฝ่ายพันธมิตร (Allies) อันมีสหรัฐ อังกฤษ รัสเซีย และชาติอื่นๆ ที่เข้าร่วมด้วย ฝ่ายอักษะ (Axis) ฝ่ายผู้แพ้สงคราม ที่เข้าร่วมหลัก ได้แก่ เยอรมันและกลุ่มประเทศภายใต้การนำ รวมทั้งอิตาลี ญี่ปุ่นในเอเซียและแปซิฟิก ผลของสงครามทำให้ฝ่ายพันธมิตรมีทหารเสียชีวิต 17 ล้านคน ฝ่ายอักษะ (Axis) มีทหารเสียชีวิต 7 ล้านคน

สหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมสงครามด้วยความผูกพัน และการมีผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและการค้าร่วมกับทางประเทศในยุโรป และอีกส่วนหนึ่งที่ถึงความแตกหักเมื่อญี่ปุ่นได้ลอบเข้าโจมตีและทำลายฐานทัพสหรัฐที่อ่าว Pearl Harbor

ความเป็นมา

ในช่วงของ Roosevelt สถานการณ์ในโลกได้เข้าสู่ยุควิกฤติอีกครั้ง ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1930 ได้เกิดกลุ่มประเทศอักษะ (Axis Nations) อันประกอบด้วยเยอรมันและอิตาลี ขึ้นในยุโรป เช่นเดียวกับในเอเซียได้เกิดประเทศญี่ปุ่นที่มีอิทธิพลในเอเซียตะวันออก ได้มีสงครามเกิดขึ้นในประเทศจีน เอธิโอเปีย และสเปน สหรัฐอเมริการพยายามทำตัวเป็นกลางไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว แต่เมื่อฝ่ายอักษะได้กร้าวร้าวมากขึ้นและได้เกิดสงครามใหญ่ในยุโรปในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 ขณะนั้นสหรัฐก็ยังคงไม่เข้ายุ่งเกี่ยว แม้จะมีความเห็นใจในฝ่ายสัมพันธมิตร แต่หลังจากฝรั่งเศสได้พ่ายแพ้ฝ่ายเยอรมันเข้ายึดครองได้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 การสนับสนุนฝ่ายอังกฤษก็เป็นไปโดยเปิดเผย โดยมีการให้ยืมวัสดุอาวุธเพื่อใช้ในการสงครามแก่อังกฤษ และแก่รัสเซียในเดือนพฤศจิกายน และจากภัยสงคราม สหรัฐได้มีการเตรียมความพร้อมด้านกำลังทัพ มีการเตรียมป้องกันประเทศและได้มีการเข้าใกล้กับการร่วมกับอังกฤษมากยิ่งขึ้นในสัญญาที่เรียกว่า Atlantic Charter

ในด้านเอเชีย รัฐบาลภายใต้การนำของ Roosevelt ได้ประท้วงญี่ปุ่น ที่ได้ส่งกองทัพเรือเพื่อครอบครองน่านน้ำในเอเชียตะวันออก และหลังจากที่ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองอินโดจีนจากฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 และแสดงการคุกคามต่อประเทศฟิลิปปินส์ สหรัฐได้ยึดทรัพย์ของญี่ปุ่นในประเทศสหรัฐ และเมื่อญี่ปุ่นได้เข้าโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐที่ Pearl Harbor ในทะเลแปซิฟิก ในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 สหรัฐจึงได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น ก็ได้ประกาศสงครามกับเยอรมันและอิตาลี และในอีก 4 วันต่อมา ฝ่ายเยอรมันและอิตาลีก็ได้ประกาศสงครามตอบโต้

ด้วยความที่ประเทศสหรัฐได้มีศักยภาพด้านทรัพยากรอย่างมหาศาล จึงได้แปลงมาเป็นโรงงานผลิตอาวุธสร้างแสนยานุภาพทางการทหาร และรวมถึงการมีคนหนุ่มจำนวนมากที่ได้เกณฑ์เข้าร่วมรบในสงคราม มีการจัดตั้งสำนักงานเพื่อสงครามขึ้นหลายแห่ง เพื่อควบคุมและประสานงานด้านวัสดุอุปกรณ์ การขนส่ง และการจัดกำลังคน รัฐบาลได้เข้ามามีส่วนในชีวิตของผู้คน มีการประกาศควบคุมการปันส่วนสินค้าและอาหาร การมีกฏหมายควบคุมราคาสินค้า และการมีเครื่องมือที่ประกาศออกมาเพื่อป้องกันสภาพเงินเฟ้อและการ

สงครามได้เพิ่มความสำคัญของสหรัฐที่มีทรัพยากร ความน่าเกรงขามและอำนาจในเวทีโลก ในระหว่างสงครามได้มีการประชุมเกี่ยวกับสันติภาพและชัยชนะ ในการประชุมเหล่านี้ได้แก่ การประชุมที่มอสโคว์ (Moscow Conferences) การประชุมที่คาซาบลังคา (Casablanca Conference) การประชุมที่ไคโร ประเทศอียิปต์ (Cairo Conference) การประชุมที่เตราน ประเทศอิหร่าน (Tehran Conference) และการประชุมที่เยลต้า (Yalta Conference) ที่ซึ่ง Roosevelt, นายกรัฐมนตรี Winston Churchill แห่งอังกฤษ และ Joseph Stalin ผู้นำของรัสเซียได้วางแผนการจัดตั้งในช่วงหลังสงคราม และ Roosevelt ได้เป็นบุคคลสำคัญในการก่อตั้งสหประชาชาติ (The United Nations)

เมื่อสงครามสงบ

หลังจากการเสียชีวิตในระหว่างดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีรูสเวลต์ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 รองประธานาธิบดี Harry S Truman ได้เข้ารับตำแหน่งสืบต่อ และในช่วง 1 เดือนหลังจากนั้นสงครามภาคพื้นยุโรปก็ยุติ เยอรมันยอมจำนนในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 Truman ได้เดินทางไปที่ประชุม ณ Potsdam อันเป็นช่วงเดือนมิถุนายน สิงหาคม ที่ซึ่งมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการจัดการบริหารยุโรปยุคหลังสงคราม ก่อนสงครามจะสิ้นสุดลงด้วยการยอมแพ้ของญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาได้ใช้อาวุธระเบิดปรมาณูถล่มเมืองสำคัญ 2 เมืองของประเทศญี่ปุ่น บังคับให้ญี่ปุ่นต้องประกาศยอมแพ้และเป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง

สหรัฐได้เตรียมปรับตัวหลังสงครามอย่างดี มีการออกบัญญัติว่าด้วย G.I. Bill ทำให้ทหารผ่านศึกที่เป็นคนหนุ่มที่ถูกเกณฑ์ไปรบได้กลับมาศึกษาเล่าเรียนต่อ ทหารนับล้านคนได้กลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและการผลิตของประเทศ เกิดการขยายตัวด้านการบริโภค มีการลดเวลาทำงานลงในช่วงหลังสงครามป็นสัดส่วนกับการลดค่าตอบแทน ทำให้เกิดการนัดหยุดงาน ทำให้รัฐบาลต้องออกกฏหมายชื่อ Taft-Hartley Labor Act ในปี ค.ศ. 1947 เพื่อดูแลด้านแรงงาน มีสภาพของเศรษฐกิจเงินเฟ้อในปี ค.ศ. 1947 การควบคุมเศรษฐกิจแบบสงครามก็ยกเลิกไป รัฐสภาพภายใต้การนำของ Truman ได้กำหนดให้มีกฎหมายแรงงานขั้นต่ำ มีการจัดสร้างบ้านพักสนับสนุนโดยรัฐบาล การจัดการเรื่องราคาพืชผลการเกษตร การให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืม และเป็นการยอมรับบทบาทรัฐบาลกลางในการเข้าแทรกแซงกิจการของประเทศในช่วงที่เข้าสู่ความมั่งคั่ง ประเทศได้สนับสนุน Truman เกี่ยวกับนโยบายของเขาและทำให้เขาได้ชัยชนะต่อคู่แข่ง Thomas E Dewey จากพรรค Republican อย่างพลิกล๊อค

No comments:

Post a Comment