ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
Pracob@sb4af.org
Keywords: CW105, ประวัติศาสตร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจ การเมือง
แปลและเรียบเรียง
(Colonial
อเมริกายุคอาณานิคมเป็นผลมาจากลัทธิการค้าของอังกฤษ ที่ได้มีการออกกฎหมายเรียกว่า Navigation Acts เริ่มในสมัยที่ Oliver Cromwell เป็นผู้สำเร็จราชการ ครองอำนาจในประเทศอังกฤษ และในยุคที่มีการสถาปนาราชวงศ์สจ๊วดอีกครั้ง ชาวอาณานิคมได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งทำให้อังกฤษได้รับการผูกขาดสินค้าในอาณานิคมดังกล่าว เศรษฐกิจแบบอาณานิคมใหม่ได้เกิดขึ้น เป็นการสะท้อนความแตกต่างด้านภูมิอากาศและภูมิประเทศ สินค้าการเกษตรมีความสำคัญในทุกภูมิภาค
ในแขตที่พวกอังกฤษมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในช่วงแรก เรียกว่า “อังกฤษใหม่”
ในอาณานิคมแถบกลางหรือใต้ลงมาเป็นฟาร์ขนาดเล็ก และมีฟาร์มขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Estates มีการเพาะปลูกกันอย่างกว้างขวาง แผ่นดินถือครองกันในแบบเจ้าครองนคร (Feudal Grant) และมีการขยายตัวไร่ขนาดใหญ่ (
ฟาร์มขนาดใหญ่และแรงงานทาส
การเกษตรขนาดใหญ่ยุคต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก
ในราวปลายศตวรรษที่ 17 ฟาร์มขนาดเล็กตามบริเวณชายฝั่งตอนใต้ได้เปลี่ยนไปกลายเป็นฟาร์มขนาดใหญ๋ที่ต้องใช้แรงงานคนจำนวนมากที่เรียกว่า
ศาสนาและความเชื่อ
กลุ่มศาสนาและเสรีภาพในความเชื่อ
ในทางศาสนามีการพัฒนาไปในหลายทิศทาง ในแมสาชูเสทส์มีกลุ่มศาสนาพวกนิกาย Puritan เป็นหลัก ในทางกลับกันทาง
การปกครอง
ในทางการเมือง ชาวอาณานิคมได้มีการพัฒนาสถาบันการปกครองกันขึ้น มีการจัดตั้งเป็นที่ประชุมอาณานิคม (Colonial Assemblies) แต่การมีส่วนร่วมก็ยังจำกัดอยู่กับพวกที่ถือครองที่ดินจำนวนมาก ในแดนอาณานิคมแบบเจ้าของสมบัติ (Proprietary Colonies) พวกคนทำกินมีความขัดแย้งกับพวกฝ่ายบริหาร พวกที่ถือสิทธิเป็นเจ้าของนั้นอาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษ แต่ขณะเดียวกัน ก็ไม่สามารถอยู่คุ้มครองป้องกันอาณาเขตได้ และความขัดแย้งมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ซึ่งมักจะเป็นการเข้ามามีบทบาทมากของกลุ่ม Anglicans ซึ่งเป็นศาสนากระแสหลักในประเทศอังกฤษ ในอาณานิคมแมสสาชูเสทส์ การร้องเรียนจากฝ่าย Puritans ที่ต้องการการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด
ต้องการเสรีภาพมากขึ้น
ความต้องการปกครองตนเอง และผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง
ด้วยความขัดแย้งดังกล่าวจึงทำให้อังกฤษเองมีการรวมตัวกันป้องกันการรุกรานจากฝรั่งเศสและการมีระบบควบคุมอาณานิคม จึงทำให้มีการเปลี่ยนอาณานิคมในระบบบริษัทไปเป็นภายใต้การดูแลของอาณานิคมภายใต้กษัตริย์ (Royal Colonies) โดยทั่วไปอาณานิคมภายใต้กษัตริย์มีการปกครองที่เป็นระบบกว่า มีการให้เสรีภาพที่มากกว่า แต่ก็มีการเพ่งเล็งการร้องเรียนและการกระด้างกระเดื่องจากชาวอาณานิคมที่ได้มีการก่อตัวขึ้น ที่ประชุมชาวอณานิคมได้มีความขัดแย้งกับผู้ว่าราชการบ่อยครั้ง และที่สำคัญที่สุดคือกับ Edmund Andros และ Francis Nicholson ในประแด็นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี ชาวอาณานิคมได้ต่อต้านการจัดเก็บภาษีเพื่อสนับสนุนนโยบายของกษัตริย์ และได้พยายามปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระมากขึ้นเรื่อยๆ
ยุค Enlightenment
ในช่วงศตวรรษที่ 18 การเรียกร้องของชาวอาณานิคมมีความรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ระบบการค้าผูกขาดของอังกฤษ เป็นประโยชน์ในด้านการเกษตร แต่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาการค้าและอุตสาหกรรม ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นตามมา อย่างไรก็ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของอาณานิคมก็ยังคงมีอยู่ และในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 นี้ได้มีความรู้สึกต้องการแยกตัวออกจากความเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากขึ้น ในบริเวณ
การเกิดมหาวิทยาลัย
การศึกษานับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอาณานิคม อเมริกามีมหาวิทยาลัยก่อนที่จะมีเอกราชของประเทศ
ในปี ค.ศ. 1636 มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกขึ้น คือ
การรณรงค์ด้านศาสนา
การเคลื่อนไหวด้านศาสนาได้มีความสำคัญและได้มีการรือฟื้นขึ้นในช่วงที่เรียกว่า The Great Awakening ซึ่งกระตุ้นโดย Jonathan Edwards การเคลื่อนไหวทำให้เกิดพวกนับถือ Methodism ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวด้านสิทธิที่เท่าเทียม แต่แม้จะมีความเชื่อมากขึ้นเรื่องสิทธีที่เท่าเทียม แต่ก็ยังไม่ได้รับชัยชนะในยุคอาณานิคม ลัทธิความเท่าเทียมได้เกิดขึ้นเมื่อเจ้าของผู้ครองที่ดินที่มั่งมีแถบตะวันออกที่มีบทบาทมากในที่ประชุมชาวอาณานิคม ต้องขัดแย้งกับคนแถบชายแดนที่ไม่มีสิทธิมีเสียง จนกระทั่งได้เกิดมีความเคลื่อนไหวที่เรียกว่า The Regulator Movement แต่กระนั้น การคิดอย่างชาวอาณานิคมยังเข้มแข็งกว่าพวกก่อตั้งชาติใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งกันเองในชาวอาณานิคมยังไม่รุนแรงเท่ากับประเด็นความขัดแย้งกับประเทศอังกฤษ
โจนาธาน เอ็ดเวิดส์ เกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1703 และเสียชีวิตในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1758 เขาเป็นนักเทศและนักการศาสนา เป็นที่รู้จักกันในฐานะนักเทศและนักบวชที่มีพลัง งานของเขามีลักษณะกว้างขวาง แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องในฐานะผู้ปกป้องแนวคิด Calvinist และมรดกทางวัฒนธรรมของพวก Puritan
No comments:
Post a Comment